เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ (กับภารกิจที่ ตำบลน้ำขาว อ.จะนะ) ตอนจบ


เวทีจัดการความรู้ตำบลน้ำขาว

คุยกับพ่อชบพอประมาณ จิปาฐะทั้งเรื่องงานและสารทุกข์สุขดิบ ถึงเวลาอาหารเที่ยงรีบรับประทานอาหารเพราะพ่อชบมีประชุมเรื่องจัดตั้งสมาคมที่มูลนิธิ บ่ายโมงตรง ส่วนหนูเคเอ็มก็ต้องเดินทางจากมูลนิธิไปตำบลน้ำขาวร่วมกิจกรรมจัดการความรู้กับกรรมการและสมาชิก

ดีใจจังเลยคะที่เดินทางมาถึงยังไม่เริ่มเวที สังเกตุเห็น อ.ประเสริฐ นั่งคุยกับกรรมการและสมาชิกส่วนหนึ่งในบริเวณสนามเด็กเล่น แต่หนูเคเอ็มเดินเข้ามาที่ประชุมก่อนเพราะต้องเตรียมอุปกรณ์การประชุมให้แล้วเสร็จ จำนวนผู้เข้าร่วมเวทีวันนี้ทั้งหมดจำนวน ๕๑ คน เป็นกรรมการ ๒๗ คน (กรรมการทั้งหมด ๓๐ คน) มากันเยอะทีเดียวเลยคะ วันนี้วิทยากรกระบวนการเวทีก็เป็นพี่อภิญญา คนเดิม พี่อภิญญาให้กรรมการและสมาชิกใหม่ที่มาเข้าร่วมประชุมแนะนำตัวกันฝึกกความกล้าแสดงออก ลืมบอกไปคะว่าสมาชิกใหม่ที่เป็นเด็กมาเข้าร่วมเวทีวันนี้ประมาณ ๑๐ คน หลังจากแนะนำตัวกันเสร็จเรียบร้อยกับบรรยากาศแบบเป็นกันเองไม่เครียด ก็เป็นช่วงที่พี่อภิญญาทำความเข้าใจกับสมาชิกใหม่ในเรื่องของสัจจะลดรายจ่ายวันละ ๑ บาทรายละเอียดไม่กล่าวถึงนะคะเพราะได้บันทึกลงบล็อคกันไว้หลายครั้งแล้วคะในเรื่องสวัสดิการ ๙ เรื่อง ส่วนสมาชิกของตำบลน้ำขาวปัจจุบัน (วันที่ ๗ พ.ค.๒๕๔๙)มีสมาชิก ๑,๘๙๘ คน เสียชีวิต ๑ คนคงเหลือ ๑,๘๙๗ คน ทำสัจจะลดรายจ่ายมา ๒๖ เดือน สถานะทางการเงินของตำบลน้ำขาว (วันจันทร์? ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙) ๑,๐๒๐,๙๙๓ บาท จ่าย ๒๐,๐๐๐ กว่าบาท คงเหลือ ๘ แสนกว่าบาท (แจ้งคร่าว ๆในเวที)  และพี่อภิญญาได้เชื่อมโยงในเรื่องของโครงการจัดการความรู้ฯที่ทำร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยหน่วยจัดการความรู้ฯ เพื่อความเข้าใจในเบื่องต้นของการมาร่วมเวทีครั้งนี้ของหนูเคเอ็ม หลังจากพี่อภิญญาก็ อ.ประเสริฐได้ขึ้นมากล่าวถึงภาพรวม เป้าหมายหลักของจังหวัดสงขลา “สังคมดี คนมีความสุข” คนมีความสุข คือ คนมีความมั่นใจ บายใจ มีความรักความผูกพันธ์ มีการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น มีแนวคิดเริ่มต้นการมีสัจจะของตนเอง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้สังคมดี คนมีความสุขทั้งนั้น ซึ่งสัจจะลดรายจ่ายถือเป็นกระบวนการที่ฝึกคน เป็นตัวอย่างกิจกรรมที่ดีมากทีเดียวเลยครับ และอ.ประเสริฐ ก็ได้ชี้แจงประเด็นกิจกรรมวันนี้ และชี้ไปทางมุมด้านซ้ายมือของผู้เข้าร่วมเวที มีประเด็น ๓ เรื่องที่แปะติดไว้ที่ฝาผนัง(ลองดูภาพประกอบด้วยนะคะ)

๑)      ให้เล่าวิธีการทำสัจจะของตนเอง

๒)    แผ่นสีฟ้าที่ให้ไปไปดำเนินการอย่างไร

๓)    มีความรู้สึกอย่างไรที่ได้ทำสัจจะลดรายจ่ายวันละ ๑ บาท

เป็นประเด็นกิจกรรมที่ให้ในเวทีร่วมกันทำโดยให้แบ่งกลุ่ม ๔ กลุ่มแต่ก่อนที่จะแบ่งกลุ่มก็ให้เวทีหนู

เคเอ็มเพื่ออธิบายกิจกรรมที่หนูเคเอ็มเตรียมมาเพื่อเอาหัวปลากลับมาฝากพี่ภีมคะ

                หนูเคเอ็มก็ทักทายทำความเข้าใจเบื้องต้นที่มาที่ไปของโครงการพอเห็นภาพ (มีภาพประกอบด้วยคะ) ก็ได้ชี้แจงสิ่งที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ และเพื่อไม่ให้กิจกรรมที่ทางเวทีปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องก็อธิบายเสริมไปกับกิจกรรมเดิมที่ปฏิบัติกันอยู่แล้วว่า

                อันที่จริงแล้วประเด็นกิจกรรมที่ทางทีมงาน (พี่อภิญญา) ได้เตรียมไว้นั้นก็เรื่องเดียวกัน อย่างเช่น ในข้อที่ ๑) ให้เล่าวิธีการทำสัจจะของตนเอง ส่วนนี้ก็คือกิจกรรมที่ทางตำบลน้ำขาวใช้ฝึกสมาชิก (ซึ่งก็ตอบคำถามอยู่ในตัวในเรื่องของกิจกรรมการฝึกที่ทางทีมงานหนูเคเอ็มต้องการเพียงแต่เพิ่มเติมนอกเหนือไปอีกหน่อยว่านอกจากกิจกรรมการฝึกเรื่องสัจจะลดรายจ่ายแล้วยังมีกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกหรือเปล่า) ส่วนข้อ ๒) แบบฟอร์มสีฟ้าที่แจกจ่ายกันไปนั้นไปดำเนินการอย่างไร (ส่วนนี้ก็เป็นเครื่องมือ และยังมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่นำมาใช้เพิ่มเติมอะไรอีกบ้างก็ให้ช่วยเขียนตอบกันมา เช่น การประชุม เป็นต้น) ส่วนประเด็นที่ ๓) มีความรู้สึกอย่างไรในการทำสัจจะลดรายจ่ายวันละ๑ บาท (ซึ่งนี่คือผลลัพท์ที่เกิดขึ้นหลังจากการฝึกแล้วก็ให้ตอบมาได้เลยสอดคล้องกับประเด็นที่หนูเคเอ็มเตรียมมาเหมือนกันคะ) เพิ่มเติมปิดท้ายนิดหนึ่งว่า ผลสำเร็จที่แท้จริงแล้วที่ทางสงขลา ได้วางเป้าหรือกำหนดหัวปลาไว้นั้น “สังคมดี คนมีความสุข” เป็นอย่างไร แล้วสังคมตำบลน้ำขาวเป็นอย่างไร สังคมดีคนมีความสุขหรือยัง หลังจากพูดคุยสักระยะหนึ่งหนูเคเอ็มก็ให้ผู้เข้าร่วมเวทีซักถามในประเด็นที่ยังไม่เข้าใจ แต่ปรากฎว่าไม่มีผู้ใดยกมือถามเลย (หนูเคเอ็มคิดสองอย่างคือ ๑) เข้าใจดีแจ่มแจ้ง ๒) ไม่เข้าใจเลย) แต่อย่างที่ทราบกันแล้วว่า การจัดการความรู้ คือการปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติก็จะไม่เกิดความรู้ ฉะนั้นเพื่อความเข้าใจก็ให้ลงมือปฏิบัติกันเลยคะ

                ผลจากกิจกรรมดังกล่าวหลังจากแบ่งกลุ่มออกเป็น ๔ กลุ่ม (โดยการให้นับเลข ๑-๔ )


 

กลุ่มที่ ๑

๑)      เล่าวิธีการทำสัจจะของตนเอง

-          ได้เงินมาใช้ไม่หมดคงเหลือไว้จ่ายในวันต่อไป

-          แบ่งเงินเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ จ่าย ส่วนที่ ๒ เก็บ

-          รายได้จากการขายของใส่กระปุก

-          เก็บผักริมรั้ว ไม่ต้องซื้อ ปลูกผักกินเอง ปลอดสารพิษ

๒)    แผ่นสีฟ้า (เครื่องมือ)ทำอย่างไร

-          นึกได้วันไหน  จดวันนั้นให้ครบตามจำนวน

-          หยอดเลย ขีดเลย เก็บไว้ใกล้กระปุกออมสิน

๓)    ความรู้สึกที่ได้ทำสัจจะวันละ ๑ บาท

-          ดีได้รับสวัสดิการและเงินเหลือเก็บ และได้เข้าสังคมกับเพื่อนด้วย

-          อนาคตของเด็กดี มีเงินใช้

-          เด็กตื่นเต้นมีนิสัยอดออม

-          รู้ค่าของเงิน ๑ บาท ได้มาพบปะกันทุกเดือน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

กลุ่มที่ ๒

๑)      เล่าวิธีการทำสัจจะของตนเอง

-          ทำบัญชีจ่ายในแต่ละเดือนว่าจ่ายอะไรไปบ้าง ที่เหลือเก็บเป็นออมวันละ ๑ บาท เช่น หยอดกระปุกเป็นต้น

-          ลดรายจ่ายสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น ของกิน น้ำมันรถ

-          ไปไหนเพื่อลดรายจ่ายไปด้วยกันรถคันเดียว

๒)    แผ่นสีฟ้า (เครื่องมือ)ทำอย่างไร

-          ขีดทุกวันเพราะหยอดทุกวันจนครบ ๑ เดือน พอเข้าถึงเวลาก็เอาไปฝาก (หากวันไหนลืมหยอดไม่ขีด) แต่จะใส่ย้อนหลัง

-          แผ่นสีฟ้าตั้งไว้ใกล้กระปุก

 ๓)  ความรู้สึกที่ได้ทำสัจจะวันละ ๑ บาท

-          รู้สึกอุ่นใจที่มีสวัสดิการไว้เมื่อยามแก่เฒ่า

-          รู้สึกดีใจมีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

-          มีระเบียบวินัยในการจ่ายงเนมากขึ้น


 

กลุ่มที่ ๓

๑)      เล่าวิธีการทำสัจจะของตนเอง 

-          ช่วยแม่เก็บยาง ขายน้ำยาง เอาเศาเงินมาเก็บ

-          เงินเหลือจากโรงเรียน

-          เศษเงินที่เหลือจากการซื้อขนม

-          อดออมจากเงินที่พ่อแม่ให้

-          จ่ายเป็นธนบัตรเหลือเป็นเศษตังค์ ก็เก็บไว้

-          พยายามให้เป็นธนบัตรไว้เก็บ

๒)    แผ่นสีฟ้า (เครื่องมือ)ทำอย่างไร

-          วันไหนที่หยอดกระปุกก็จะขีดเครื่องหมาย วันไหนลืมก็ไม่ขีด

๓)  ความรู้สึกที่ได้ทำสัจจะวันละ ๑ บาท

-          ดีที่ได้รับสวัสดิการ

-          ดีใจที่ได้รับทุนการศึกษา

-          ฝึกนิสัยให้ลุก ๆ รู้จักการออม

-          ดีใจที่ได้รู้จักรับผิดชอบตัวเอง

-          ฝึกความอดทน

-          ทำให้เห็นคุณค่าของเงิน ๑ บาท

กลุ่มที่ ๔

๑)       เล่าวิธีการทำสัจจะของตนเอง 

-          หยอดกระปุกทุกวันวันละ ๑๐ บาท

-          เหลือจากพ่อแม่ให้จ่าย

-          เหลือจากการจ่ายตลาดนัด

๒)    แผ่นสีฟ้า (เครื่องมือ)ทำอย่างไร

-          วันไหนหยอดขีด ไม่หยอดก้ไม่ขีด

๓)  ความรู้สึกที่ได้ทำสัจจะวันละ ๑ บาท

-          ดีใจที่ได้ประหยัดเบี้ยวันละ ๑ บาท

-          รู้จักค่าของเงิน

-          รู้สึกดีสบายใจที่ได้รัขบสวัสดิการเมื่อนอนโรงพยาบาล

-          ดีใจที่มาพบปะกันกับเพื่อนในวันประชุม

-          ดีใจที่เปิดเทอมลูกได้มีทุนการศึกษามาจากกลุ่มมาช่วยเหลือ

เป้าหมาย :  “สังคมดี  คนมีความสุข”

กิจกรรม :  สัจจะลดรายจ่ายวันละ ๑ บาท

เครื่องมือ/วิธีการ :  -  แบบฟอร์มสีฟ้า

-          กระปุกออมสิน

-          เงิน

-          คน

-          การประชุมเพื่อถ่ายทอดความรู้/แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

-          แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นของแต่ละคน

-          ประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย งานศพ

-          สื่อ

ผลลัพท์ :                  -      เกิดความเข้าใจในเรื่องสัจจะวันละ ๑ บาทมากขึ้น

-          เกิดนิสัยการออม

-          มีระเบียบวินัยในการจ่ายเงิน

ผลสำเร็จ  :         คนมีความสุข

-          มีเงินเก็บ

-          เหมือนเราทำประกันชีวิต

-          รู้สึกว่ามีเงินเป็นของตัวเอง

-          มีความสุขที่ได้พบเพื่อน

-          พัฒนาความรู้ได้เรียนรู้ (พัฒนาตัวเอง)

-          มีความรู้สึกที่ดีที่เราได้ช่วยเหลือสังคม

สังคมดี

-          ช่วยพัฒนาชุมชน คนในสังคมมีจิตใจที่จะช่วยเหลือเกื้อกูล

-          คนมีความรักสามัคคี

-          ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

-          ทำให้คนมีสัจจะ

จบสักทีนะคะกับการบันทึกเรื่องราวของเสาร์-อาทิตย์ ที่ค้างกันไว้ เนื่องจากต้องลงพื้นที่ ประชุม ติดตามอ่านบันทึกต่อไปนะคะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29218เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2006 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท