การวิเคราะห์ตามลำดับชั้น(Analysis Hierarchy Process)


การวิเคราะห์ตามลำดับชั้น ตัวช่วยตัดสินทางเลือกที่ดีที่สุด

              กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analysis Hierarchy Process)  หรือเรียกสั้นๆว่า AHP เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Best  Alternative)  พัฒนาขึ้นโดย Saaty ในปี ค.ศ. 1970  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหาร  โดยมีหลักการคือ  แบ่งโครงสร้างของปัญหาออกเป็นชั้นๆ  ชั้นแรกคือ  การกำหนดเป้าหมาย (Goal) แล้วจึงกำหนดเกณฑ์(Criteria) เกณฑ์ย่อย(Sub criteria)  และทางเลือก(Alternatives) ตามลำดับ  แล้วจึงวิเคราะห์หาทางเลือกที่ดีที่สุด  โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Trade off) เกณฑ์ในการคัดเลือกทางเลือกที่ละคู่(Pair wise)  เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจ  ว่าเกณฑ์ไหนสำคัญกว่ากัน  โดยให้คะแนนตามความสำคัญหรือตามความชอบ  หลังจากให้คะแนนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของเกณฑ์แล้ว  จึงค่อยพิจารณาวิเคราะห์ทางเลือกทีละคู่ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทีละเกณฑ์จนครบทุกเกณฑ์  ถ้าการให้คะแนนความสำคัญหรือความชอบนั้นสมเหตุสมผล(Consistency) จะสามารถจัดลำดับทางเลือก  เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดได้   วิธี AHP นำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการตัดสินใจต่างๆมากมาย เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานทางธุรกิจ  ได้แก่การสั่งซื้อวัตถุดิบ  การเลือกสถานที่ในการประกอบการ  การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดรวมถึงการประยุกต์ใช้ในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคลาในองค์กร  เช่นการจัดลำดับความสามารถของพนักงาน  การประเมินทางเลือกของสายอาชีพ  การสำรวจทัศนคติของพนักงาน เป็นต้น

จุดเด่นของกระบวนการขั้นเชิงวิเคราะห์มี ดังนี้
1. ให้ผลการสำรวจน่าเชื่อถือกว่าวิธีอื่นๆ เนื่องจากใช้วิธีการเปรียบเทียบเชิงคู่ในการตัดสินใจก่อนที่จะลงมือตอบคำถาม
2. มีโครงสร้างที่เป็นแผนภูมิลำดับขั้น เลียนแบบกระบวนการความคิดของมนุษย์ ทำให้ง่ายต่อการใช้และการทำความเข้าใจ
3. ผลลัพธ์ที่ได้เป็นปริมาณตัวเลข ทำให้ง่ายต่อการจัดลำดับความสำคัญ และยังสมารถนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปเปรียบเทียบ(Benchmarking)กับหน่วยงานอื่นได้
4. สามารถขจัดการตัดสินใจแบบมีคติหรือลำเอียงออกไปได้
5. ใช้ได้ทั้งแบบตัดสินใจแบบเดียวและแบบที่เป็นกลุ่มหรือหมู่คณะ
6. ก่อให้เกิดการประนีประนอมและการสร้างประชามติ
7. ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษมาคอยควบคุม

อ้างอิง: 

วชิรพงค์ สาลีสิงห์. (2547). สำรวจทัศนคติของพนักงานด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์
            Productivity World, ปีที่ 9 ฉบับที่ 48(มกราคม-กุมภาพันธ์).สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
วราวุธ วุฒิวณิชย์ .(2546). การตัดสินใจโดยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น.
            สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์. 4 มกราคม 2546. น.57-76.

 

คำสำคัญ (Tags): #ahp
หมายเลขบันทึก: 291974เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2009 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณบทความดี ๆ ค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ

อยากได้งานวิจัยนี้อะค่ะ

ขอบคุณนะคับ

สับสนมากค่ะ ว่าถ้าเปรียบเทียบเป็นคู่จนครบทุกคู่ หากในกรณีที่เกณฑ์หลักไม่มีเกณฑ์ย่อย มันสามารถนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ย่อยของเกณฑ์หลักอื่นๆได้เลยใช่ไหมคะ ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบทีละขั้นใช่ไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท