มาเลเซีย : การปกครองของอังกฤษในมาลายู คริสตวรรษที่ ๑๘


อังกฤษได้สนใจที่เจ้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสศตวรรษที่ 16 โดยอาศัยช่วงจังหวะที่โปรตุเกสกับฮอลันดามีกรณีย์พิพาทย์ระหว่างกันเรื่องการแบ่งเขตผลประโยชน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อังกฤษได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ โดยมีศูนย์กลางทางด้านตะวันตกของอินเดีย แล้วจึงค่อยชยายอำนาจเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยขจัดคู่แข่งคือโปรตุเกสและการต่อต้านของอินโดนีเซียได้ ในปี ค.ศ. 1613 เรือของพ่อค้าอังกฤษได้บรรทุกสิ่งสินค้าจำพวกผ้าและฝิ่นเข้าไปตามดินแดนต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าไปในหมู่เกาะเครื่องเทศโดยแข่งขันกับฮอลันดา แต่ก็ประสบปัญหาต่อต้านจากฮอลันดาและชาวพื้นเมือง อังกฤษจึงจำเป็นต้องถอนตัวออกมาก่อน

ในปี 1768 อังกฤษได้เช่าเกาะปีนังจากสุลต่านไทรบุรี       อังกฤษได้รับสิทธิในปีนัง อย่างเต็มที่ ในปี ค.ศ. 1800 อังกฤษก็ได้เช่าฝั่งตรงข้ามเกาะปีนัง คือมณฑล Welleslay เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารให้ปีนัง นับแต่นั้นเอง อังกฤษก็ได้ใช้ปีนังเป็นฐานทัพในการขจัดอิทธิพลของฮอลันดาในช่องแคบมะละกา นอกจากนั้นอังกฤษยังได้เช่าเกาะสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองท่าสำคัญอีกด้วย

 

การเข้ามาตั่งสถานีการค้าของอังกฤษในปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ ไม่ได้รับการขัดวางจากชาวพื้นเมืองเป็นอย่างใด อังกฤษใช้รูปแบบการปกครองมาลายูแบ่งเป็น 3 แบบคือ

 

                1. การปกครองโดยตรง (The Colony Of the Straits Settlement) โดยอยู่ในความดูแลของบริษัทอินเดียตะวันออกที่เบงกอลโดยตรง เมืองที่ใช้การปกครองนี้คือ ปีนัง มณฑลเวสเลย์ สิงคโปร์ มะละกา

 

                2. ปกครองทางอ้อมแต่ควบคุมอย่างใกล้ชิด (Federeted Malay Council)  โดยอังกฤษเป็นผู้ลงทุนในกิจการเองบางส่วนเช่น การทำเหมืองแร่ เมืองที่อังกฤษใช้การปกครองแบบนี้คือ เปรัค ปาหัง สลังงอ เนรักแซมบิสัน

 

                3. ปกครองทางอ้อม (Unfederate Malay State) มี 4 รัฐคือ ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ทั้ง 4 รัฐนี้เป็นรัฐอารักขาของไทย โดยอังกฤษทำสัญญากับไทยในปี ค.ศ.1909 โดยแลกเปลี่ยนกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และอังกฤษยังให้ไทยยืมเงินสร้างทางรถไฟสายใต้  ทั้ง 4 รัฐยอมรับที่ปรึกษาของอังกฤษประจำแต่ละรัฐ แต่ไม่ยอมเข้าเป็นสหพันธ์ในอังกฤษ อังกฤษมีสิทธิเข้าไปหาผลประโยชน์ใน 4 รัฐนี้ได้ตามสมควร

 

สิ่งที่ทำให้ประเทศอังกฤษแตกต่างกับชาติตะวันตกอื่นที่เข้ามาปกครองประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่อังกฤษไม่เผชิญกับปัญหาการต่อต้านจากชาวพื้นเมืองและได้รับความร่วมมืออย่างดีเนื่องมากจากรูปแบบและวิธีการปกครองที่ดีของอังกฤษนั้นเอง สาเหตุที่ทำให้คนมาลายูจึงพึงพอใจต่อการปกครองของอังกฤษจำแนกได้ดังนี้คือ

 

                1.  อังกฤษเป็นตัวกลางในการประสานผลประโยชน์ของผู้นำพื้นเมืองที่ส่งผลต่อการค้าและการลงทุน สภาพการเมืองภายในคาบสมุทรมาลายูไม่แน่นอนมีการชิ่งดีชิงเด่นกันอยู่ตลอดเวลา อังกฤษเข้าไปช่วยระงับความวุ่นวายต่าง ๆ โดยขอร้องให้สุลต่านรับต่าง ๆ วางมาตรการทางการค้าให้แน่นอนโดยตั้งที่ปรึกษาให้แก่สุลต่านรัฐต่าง ๆ ในเรื่องการปกครอง ภาษีอาการ

 

                2. อังกฤษมีขันติธรรมทางศาสนา อังกฤษไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับศาสนาและขนบประเพณีเดิมของชาวมาลายู

 

               3. อังกฤษมุ่งพัฒนามาลายูในทุก ๆ ด้าน เช่น

                   -  อังกฤษส่งเสริมการศึกษาแบบตะวันตกให้กับชนพื้นเมืองโดยมิได้กีดกันเฉพาะแต่ชนชั้นผู้นำหรือพ่อค้าเพียงอย่างเดียวอย่างเช่นโปรตุเกสและฮอลันดาเคยทำโดยการบีบบังคับขืนใจ

                  -  อังกฤษได้นำอาระบบราชการผลเรือนเข้ามาใช้ในมาลายูและไม่ได้กีดกันชาวพื้นเมืองในการเข้ามาทำงานราชการ    

                  -  อังกฤษได้พัฒนาเศรษฐกิจของมาลายู สร้างถนนหนทาง ทางรถไฟเชื่อมทุกรัฐ ระบบการขนส่งโทรคมนาคม พัฒนาสาธารณูปโภคให้กับมลายู

                  -  อังกฤษพัฒนาการลงทุนในมาลายูโดยการนำคนจีนและคนอินเดียเข้ามาทำงานในเหมืองแร่ และสวนยาง โดยมีชาวพื้นเมืองเป็นเจ้าของที่ อังกฤษจะเป็นผู้ลงทุน ให้กู้ยืม และเป็นตัวกลางในการรับซื้อสินค้า แต่พวกคนจีนก็สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจากการเก็บเล็กผสมน้อย จนกลายเป็นเจ้าของกิจการต่าง ๆ เช่นเหมืองแร่ ขายของ จนคนจีนสามารถคุมเศรษฐกิจของมาลายูมากขึ้นตามลำดับ

 

ในสงครามโลกครั้งที่ 1 มาลายูมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและการทหารกับอังกฤษมาก เนื่องจากมีทรัพยากรสำคัญ เช่น ยางพารา ดีบุก ที่เป็นประโยชน์ต่อทางทหารและยังรวมถึงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา อังกฤษได้ทุ่มกำลังพัฒนามาลายูอย่างเต็มที่ที่จะทำให้มาลายูกลายเป็นฐานกำลังสำคัญให้อังกฤษ ซึ่งก็เป็นผลดีกับมาลายูหลังได้รับเอกราชในภายหลัง

 

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลัทธิประชาธิปไตย ลัทธิคอมมิวนิสต์และการเรียกร้องเอกราชกำลังตื่นตัว อังกฤษได้ประสบกับปัญหาการเรียกร้องเอกราชจากประชาชนชาวพื้นเมืองและกองทัพปลดเอกประชาชนของมาลายูบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับการปกครองของอังกฤษ แต่ถูกทหารอังกฤษและทหารมาลายูปราบปรามอย่างหนัก  อังกฤษได้ใช้เวลาวางรากฐานประชาธิปไตยอยู่หลายปี จึงค่อย ๆ ส่งมอบเอกราชคืนให้กับมาลายู


คำสำคัญ (Tags): #มาลายู
หมายเลขบันทึก: 291568เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท