เทคโนโลยีสารสนเทศ


เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลระบบสื่อสารโทรคมนาคม ที่มีการวางแผนมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการดังนี้
1. ระบบประมวลผล การจัดเก็บและการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุนในการจัดการข้อมูล เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
2. ระบบสื่อสารโทรคม ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. การจัดการข้อมูล มีความเป็นศิลปะในการจัดรูปแบบและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

คอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบและการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยแบ่งเป็น 4 ส่วนดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) มีหน้าควบคุมการทำงานและการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ โดยที่เราสามารถเปรียบเทียบ CPU กับสมองของมนุษย์ที่ที่หน้าหลัก 2 ประการคือ
- ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
- คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล
3. หน่วยความจำ (Memory Unit)
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการปฏิบัติของสมาชิก ตั้งแต่ผู้บริหาร
ระดับสูง ผู้จัดการระดับกลาง หัวหน้างาน จนถึงพนักงานทั่วไป


ประเภทของคอมพิวเตอร์
แบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe)
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนแปลงโลก
การพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในราคาที่ถูกลง ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่มีส่วนในการเพิ่มความสามารถและขอบเขตการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานส่วนตัวหรืองานธุรกิจ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานมากขึ้น หลากธุรกิจเลือกนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้งานแทนระบบอื่น เนื่องจากความคล่องตัวในการทำงาน ความสะดวกในการบำรุงรักษาและราคาที่ถูกกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ จนมีผู้กล่าวว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการปรับตัวเข้าสู่สังคมสารสนเทศอย่างแท้จริง

ปัจจุบันทางด้านองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆได้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานของสมาชิก ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการระดับกลาง หัวหน้างาน จนถึงพนักงานทั่วไป


ชุดคำสั่ง (Software)
Software แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ชุดคำสั่งสำหรับระบบ (System Software)
2. ชุดคำสั่งประยุกต์ (Application Software)


ภาษาคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
1. ภาษาระดับต่ำ (Lower Level Language)
2. ภาษาระดับสูง(Higher Level Language)


ภาษายุคที่สี่
การคิดคนและพัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตังแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 จนถึงปัจจุบันได้รับการยอมรับว่ามีสวนสนับสนุนและกระตุ้นความต้องการใช้ภาษาระดับที่สูงมาก เพื่อทีผู้ใช้จะสามารถนำไปใช้กับงานเฉพาะอย่าง เช่น งานประมวลเอกสาร งานประมวลตัวเลข และงานฐานข้อมูลได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมักจะเป็นบุคคลธรรมดาที่มีความรู้และเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ต้องการเพียงใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานของตนให้มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องการมีความรู้และความชำนาญในระบบคอมพิวเตอร์อย่างมืออาชีพ “ภาษายุคที่สี่(Four generation language; 4GL)” จึงถูกพัฒนาขึ้น โดยที่ภาษาในยุคที่สี่จะเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปใช้งาน ภาษายุคที่สี่มีลักษณะเด่น 3 ประการดังนี้
1. ง่ายต่อการเรียนรู้ (Easy-to-learn)
2. ง่ายต่อการใช้งาน (Easy-to -Use)
3. มีประสิทธิภาพสูง (High Productivity)
ภาษายุคที่สี่จะมีข้อดีดังต่อไปนี้
1. เป็นภาษาที่ง่ายต่อการศึกษาและทำความเข้าใจ
2. เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับผู้ใช้(end-user oriented)
3. เหมาะกับงานทางด้านฐานข้อมูลและงานทางธุรกิจ
4. ใช้ชุดคำสั่งในการสั่งงานที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับภาษาคอมพิวเตอร์แบบเดิม

  1. ใช้ภาษาที่ง่ายและใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ
  2. ใช้สามารถตรวจข้อผิดในการทำงานได้ง่ายกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคก่อน

  3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน


เทคโนโลยีโทรคมนาคม
คำกล่าวที่ว่า “คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนแปลงโลก(Computer is the machine that changed the world.)” เป็นความจริงไม่น้อย แต่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงในสังคมได้อย่างที่เราเผขิญอยู่ในปัจจุบัน ถ้าขาดเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม(Telecommunication Technology)


ระบบเครือข่าย
มีส่วนประกอบดังนี้
1. คอมพิวเตอร์
2. สถานี (Terminal)
3. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Communication Channels)
4. อุปกรณ์สนับสนุนการติดต่อสื่อสาร (Communication Processor)
5. ชุดคำสั่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร (Communication Software)


ชนิดของระบบเครือข่าย
จำแนกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามระยะห่างและการเชื่อมโยงอุปกรณ์ออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
1. ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่(Local Area Network; LAN)
2. ระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมือง (Metropolitan Area Network; MAN)
3. ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ (Wide Area Network; WAN)
4. ระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ (International Network)


ช่องทางการสื่อสารข้อมูล
ช่องทางการติดต่อสื่อสารเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ช่องส่งสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกัน ปัจจุบันช่องทางการติดต่อสื่อสารมีอยู่หลายลักษณะ โดยที่เราสามารถแบ่งช่องทางออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. การสื่อสารตามสาย เช่น สารโทรศัพท์
- สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ (Twisted Pair) ประกอบด้วยเส้นลวด 2 เส้นพันอยู่กันเป็นเกลียว
- สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable หรือ Coax ) มีลักษณะเป็นสายทรงกระบอกที่ทำด้วยทองแดงและมีลวดตัวนำอยู่ตรงกลาง


  • สายใยแก้วนำแสง(Fiber Optic) มีลักษณะเป็นเส้นบาง ๆ คล้ายเส้นใยแก้ว
  • ระบบสื่อสารแบบไร้สาย
  • คลื่นสั้น(Microwave) เป็นการส่งสัญญานคลื่นวิทยุความถี่สูงผ่านอากาศ
  • ดาวเทียม (Satellite System) เป็นอุปกรณ์สื่สารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ลอยอยู่ในอากาศอยางสัมพันธ์กับการโคจรของโลกและสาถนีภาคพื้นดิน

อุปกรณ์สนับสนุนการติดต่อสื่อสาร
1. อุปกรณ์ประมวลผลส่วนหน้า (Front end Processor)
2. อุปกรณ์รวบรวม(Concentrator)
3. อุปกรณ์ควบคุม (Controller) เป็นหน่วยที่ควบคุมการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยประมวลผลกลางและอุปกรณ่อเชื่อมต่าง ๆ เช่นเครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ เป็นต้น


สรุป
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การส่งผ่านข่าวสารข้อมูลในระยะไกลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสมบูรณ์ขึ้นโดยเฉพาะระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่สองระบบเข้าด้วยกัน
เราจะเห็นว่าเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ที่เคบปฏิบัติงานเก็บรวบรวม ประมวลผล และจัดการสารสนเทศให้สารมารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่อยู่คนละส่วนงานหรือคนละพื้นที่ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจึงต้องติดตามศึกษาการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโลโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29118เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2006 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กากกากากากากไรงงมากเลยสาด

ขอบพระคุณมากค่ะ

สำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท