การเลี้ยงกระต่าย


การเลี้ยงกระต่าย

การเลี้ยงกระต่าย

                    การเลือกซื้อกระต่าย

การเลี้ยงกระต่ายเพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย ปัจจัยแรกคือ การเลือกซื้อกระต่ายที่จะนำมาเลี้ยง ส่วนใหญ่มักหาซื้อจากตำแหน่งต่างๆซึ่งมีคุณภาพที่แตกต่างกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอๆก็คือผู้ที่เริ่มเลี้ยงกระต่ายยังขาดหลักการและประสบการณ์ในการเลือกซื้อกระต่าย ทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อกระต่ายที่ดีตามความต้องการได้

               ดังนั้นในขั้นแรกจึงควรจะทราบรายละเอียดและทำความเข้าใจในหลักการเลือกซื้อกระต่ายเสียก่อน การเลือกซื้อกระต่ายควรมีหลักการพิจารณา ดังนี้

1.     เลือกพันธุ์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง เช่นเมื่อต้องการเลี้ยงกระต่ายเนื้อก็ควรเลือกพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์หรือแคลิฟอร์เนีย ถ้าต้องการเลี้ยงเพื่อเอาขนควรเลือกพันธุ์แองโกร่า แต่ถ้าต้องการเลี้ยงไว้ดูเล่นควรเป็นกระต่ายที่สวยงาม เช่น พันธุ์เซเบิล ( Sable )

2.     รูปร่างลักษณะของกระต่าย ถ้าเป็นพันธุ์แท้ต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์กระต่ายตัวเมีย ควรมีเต้านมอย่างน้อย 8 เต้า มีอวัยวะเพศภายนอกปกติ กระต่ายตัวผู้ควรมีอัณฑะเต็มทั้ง 2 ข้าง และไม่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์

3.     สุขภาพ กระต่ายจะต้องมีสุขภาพดี ท่าทางตื่นตัว ไม่หงอยเหงา หรือเซื่องซึม ไม่มีโรคของระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และโรคของผิวหนังรวมทั้งไร ขี้เรื้อนต่างๆ

4.       ประวัติ ควรซื้อจากแหล่งที่มีประวัติการเลี้ยงดี กระต่ายเติบโตเร็วและไม่มีโรค

5.       อายุ ควรเป็นกระต่ายที่หย่านมแล้ว มีอายุเกิน 6 สัปดาห์ เพราะกระต่ายมีอายุน้อยกว่านี้จะอ่อนแอและมีความต้านทานโรคต่ำ

หลังจากเลือกซื้อกระต่ายได้แล้ว การขนย้ายกระต่ายเพื่อนำไปเลี้ยงจำเป็นจะต้องทำอย่างระมัดระวังและรวดเร็ว ในขณะที่อากาศยังไม่ร้อนในช่วงเช้าๆ หรือตอนเย็น หรือกลางคืน พยายามอย่าให้ถูกแสงแดดโดยตรง และมีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้กระต่ายเครียดเกินไป

ช่วงที่นำกระต่ายมาเลี้ยงใหม่ๆ ควรดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะกระต่ายมักจะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ควรที่จะผสมวิตามินในน้ำให้กระต่ายกินประมาณ 3-5 วัน ถ้ามีการนำกระต่ายใหม่มาเลี้ยงก่อนที่จะนำมาเลี้ยงรวมกัน ควรทำการกักโรคประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่ากระต่ายที่ซื้อมาใหม่จะไม่นำโรคเข้ามา

 

พันธุ์กระต่าย

กระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทยมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ ดังนี้

  • พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ ( Newzealand White ) เป็นกระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุด มีขนสีขาวตลอดตัว ตาสีแดงหน้าสั้น มีสะโพกใหญ่ ไหล่กว้าง ส่วนหลังและสีข้างใหญ่มีเนื้อเต็ม ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 4.1-5.0 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.5-5.5 กิโลกรัม
  • พันธุ์แคลิฟอร์เนีย ( Californian ) มีขนสีขาวตลอดตัวยกเว้นที่บริเวณใบหู จมูก ปลายเท้าและปลายหางจะมีสีดำ ลำตัวท้วมหนา สะโพกกลม ช่วงไหล่และช่วงท้ายใหญ่ ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 3.5-4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.0-5.0 กิโลกรัม
  • พันธุ์แองโกร่า ( Angora ) เลี้ยงกันมากทางภาคเหนือ มีขนฟูยาว ขนสีขาว สีดำหรือสีอื่นๆ เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 2.4-3.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.5-3.8 กิโลกรัม
  • พันธุ์พื้นเมือง มีหลายสีเช่น สีเทา ขาว น้ำตาล ฯลฯ ตาสีดำ หน้าแหลม เลี้ยงลูกเก่ง ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-3.0 กิโลกรัม ปัจจุบันมีการผสมข้ามพันธุ์กับกระต่ายพันธุ์อื่น จนหากระต่ายพื้นเมืองแท้ได้ยาก

โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง

1.     โรงเรือน ลักษณะของโรงเรือนที่ดีควรตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกกับตะวันตก มีลวดตาข่ายล้อมรอบเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์ ซึ่งจะทำอันตรายและนำโรคมาสู่กระต่าย หลังคาของโรงเรือนจะต้องกันแดดและฝนได้ดี พื้นภายในโรงเรือนควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อไม่ให้เปียกชื้นและทำความสะอาดได้ง่าย กรณีที่ผู้เลี้ยงมีพื้นที่ในบ้านมากพอสมควร และกระต่ายที่เลี้ยงมีจำนวนไม่มากนัก ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือน

2.     กรง ขนาดของกรงจะขึ้นอยู่กับจำนวนกระต่าย ถ้าเป็นกรงเดี่ยวควรมีขนาดกว้าง 50 - 60 เซนติเมตร ยาว 60 - 90 เซนติเมตร สูง 45 - 60 เซนติเมตร ถ้าต้องการเลี้ยงกระต่ายหลายตัวอาจทำเป็นกรงตับและซ้อนกัน 2 - 3 ชั้น หรือถ้าจะขังหลายๆตัวรวมกัน กรงที่ใช้จะต้องใหญ่พอที่กระต่ายจะอยู่ด้วยกันได้โดยไม่หนาแน่นเกินไป วัสดุที่ใช้ทำกรงอาจใช้ไม้ระแนง หรือลวดตาข่ายที่มีช่องกว้างประมาณ ? - ? นิ้ว ถ้าเป็นกรงสำหรับแม่กระต่ายเลี้ยงลูก ลวดตาข่ายที่ใช้บุพื้น ควรมีช่องขนาด ? นิ้ว เพื่อป้องกันขาของลูกกระต่ายติดในร่องของลวด ถ้าเลี้ยงกระต่ายไม่กี่ตัว อาจซื้อกรงสำเร็จรูปที่มีขายตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ทั่วไป แต่ต้องไม่ลืมว่ากรงที่ใช้จะต้องมีขนาดใหญ่พอที่กระต่ายจะอยู่ได้อย่างสบาย และต้องแข็งแรง ทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนาน

3.     อุปกรณ์การให้อาหาร ควรใช้ถ้วยดินเผาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และมีน้ำหนักมากพอที่กระต่ายจะไม่สามารถทำล้มได้ อาจใช้กล่องใส่อาหารที่ทำด้วยอลูมิเนียมเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปครึ่งวงกลมผูกแขวนติดข้างกรง ถ้าเป็นกระต่ายขุนอาจใช้กล่องอาหารอัตโนมัติเพื่อที่กระต่ายจะได้กินอาหารตลอดทั้งวัน

4.     อุปกรณ์การให้น้ำ มีหลายแบบด้วยกัน เช่น ดินเผาใส่น้ำ แต่มีข้อเสียคือ กระต่ายอาจถ่ายมูลหรือปัสสาวะลงในถ้วยทำให้สกปรกได้ หรืออาจใช้ขวดอุดด้วยจุกยาง ซึ่งมีรูสำหรับสอดท่อทองแดง วิธีใช้ให้นำขวดไปเติมน้ำจนเกือบเต็มขวดแล้วคว่ำขวดแขวนที่ข้างกรงกระต่ายให้ปลายท่อทองแดงสูงระดับที่กระต่ายกินน้ำได้สะดวก ควรตัดท่อทองแดงให้โค้งพอเหมาะ น้ำจึงจะไหลได้ดีถ้าเลี้ยงกระต่ายเป็นจำนวนมากๆอาจใช้อุปกรณ์ให้น้ำแบบอัตโนมัติก็ได้ เพื่อประหยัดแรงงานและอุปกรณ์ แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

5.     รังคลอด ควรมีขนาดกว้างพอที่แม่กระต่ายและลูกกระต่ายอยู่ได้อย่างสบาย โดยทั่วไปรังคลอดควรมีขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 40 เซนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร พื้นรังคลอด

6.       บุด้วยลวดตาข่ายขนาด ? นิ้ว หรือใช้ไม้ตีปิดพื้นให้ทึบ ปูพื้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง

การทำความสะอาดโรงเรือนและกรงควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง เพื่อลดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากมูลกระต่าย ส่วนภาชนะใส่น้ำและอาหารควรล้างทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

อาหาร

อาหารมีความสำคัญต่อการเลี้ยงกระต่ายอย่างยิ่งเพราะต้นทุนในการเลี้ยงกระต่ายมากกว่าครึ่งหนึ่งใช้เป็นค่าอาหาร การที่จะเลี้ยงกระต่ายให้เติบโตเร็ว มีสุขภาพดีและให้ผลผลิตสูงจำเป็นจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของกระต่าย

อาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.     อาหารหยาบ ( Roughage ) หมายถึง อาหารที่มีโภชนะย่อยได้ต่ำ มีเยื่อใยสูง ซึ่งหมายถึงอาหารที่กินเข้าไปแล้วเหลือกากขับถ่ายออกมาเป็นของเสียมาก ส่วนใหญ่ได้มาจากลำต้น และใบของพืชตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าขน หญ้ากินนี กระถิน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วซีราโต ถั่วไกลซีน ถั่เทาสวิลสไลโล เป็นต้น หรืออาจจะใช้ต้นพืชผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดหอม หัวผักกาด มันเทศ มันแกว ฯลฯ เลี้ยงกระต่ายก็ได้ อาหารหยาบประเภทใบพืช ผัก หญ้า ควรให้กินเต็มที่ กระต่ายชอบหญ้าสด ผักสด มากกว่าตากแห้ง แต่หญ้าแห้งก็อาจใช้ได้ แต่ควรเป็นหญ้าที่อยู่ในระยะยังอ่อน ตากแห้งสะอาดไม่มีรา ไม่สกปรก ไม่มียาฆ่าแมลง ควรหั่นเป็นท่อนๆได้ยาวพอควร

2.     อาหารข้น ( Concentrate ) แม้ว่ากระต่ายจะสามารถยังชีพและขยายพันธุ์ตามปกติธรรมชาติ โดยอาศัยอาหารประเภทต้นหญ้า ใบพืชได้ก็ตาม แต่หากเราต้องการให้มันเจริญเติบโต ให้ผลผลิตเร็ว ให้เนื้อมาก ให้ขยายพันธุ์มีลูกดก ได้ลูกปีละหลายตัว เราจะต้องเลี้ยงดูให้ดี โดยมีอาหารข้น ( Concentrates ) เพิ่มเสริมให้ด้วย อาหารข้นนี้เป็นอาหารที่มีโภชนะย่อยได้สูง มีเยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1.     อาหารที่เป็นแหล่งพลังงาน คือ อาหารที่มีแป้ง และน้ำตาล ( คาร์โบไฮเดรต ) หรือไขมันสูง ได้แก่ รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเส้น และไขมันจากพืชหรือสัตว

2.     อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน ได้แก่ นมผง ปลาป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และใบกระถินป่น สำหรับอาหารข้นควรเสริมให้กินในตอนบ่าย กระต่ายไม่ได้เสริมด้วยอาหารข้นควรมีแร่ธาตุประกอบด้วย เกลือ กระดูกป่น และเปลือกหอยบดอย่างละเท่าๆกัน ผสมให้เข้ากัน ตั้งให้กินตามใจชอบ อาหารป่นที่แห้งอาจผสมน้ำเล็กน้อยพอชื้น เพื่อสะดวกในการกินและจะช่วยมิให้ร่วงหล่นเสียหาย

3.     อาหารสำเร็จรูป ( Complete feed ) เกิดจากการนำอาหารข้นและหยาบมารวมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีสภาพเป็นผงหรืออัดเป็นเม็ด นำมาใช้เลี้ยงกระต่ายได้สะดวก กระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เพียงพอจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการเลี้ยงทั่วไปนิยมเสริมหญ้าสด เพื่อลดต้นทุนและควรให้หญ้าหลังจากที่กระต่ายกินอาหารสำเร็จรูปในปริมาณมากพอสมควร เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่จะเป็นอย่างเพียงพอ

ความต้องการโภชนะของกระต่าย

ระดับโภชนะที่กระต่ายต้องการนั้นเกี่ยงข้องกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ พันธุ์ น้ำหนัก ระยะการเจริญเติบโต อุณหภูมิและสภาพแวดล้อมอื่นๆ ความต้องการโภชนะของกระต่ายที่เลี้ยงแบบให้กินอาหารเต็มที่ ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1

  

                       ตารางที่ 1 ความต้องการโภชนะของกระต่าย

ประเภทโภชนะ

ระยะ

 เจริญเติบโต 

 ดำรงชีพ 

 ตั้งท้อง 

 เลี้ยงลูก 

 พลังงานย่อย ( แคลอรี่ )

2,500

2,100

2,500

2,500

 โภชนะย่อยได ้(%)

65

55

58

70

 เยื่อใย (%)

10-12

10-12

10-12

10-12

 ไขมัน (%)

2

2

2

2

 โปรตีน (%)

16

12

15

17

 แคลเซี่ยม (%)

0.4

*

0.45

0.75

 ฟอสฟอรัส (%)

0.22

*

0.37

0.75

หมายเลขบันทึก: 290635เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท