เนื้อหาสำหรับเขียนงานลงวารสาร SSPN (ตอนที่ 3)


เมื่อก่อนผมไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก กับการตั้งชื่อรายงานการวิจัยของผม เพราะผมมักจะคิดเสมอว่า เนื้อหาข้างในนั้นน่าจะสำคัญกว่าหัวเรื่องรายงานมากนัก

 

ผมเปลี่ยนชื่อเรื่องงานวิจัยที่จะส่งไปตีพิมพ์ในวารสารมาสองครั้งแล้วครับ "อาจารย์รอง" ก็ยังไม่ให้ผ่านซะที  ก็แค่ชื่อเรื่องเท่านั้นเอง ทำไมถึงให้ความสำคัญกับมากซะขนาดนั้น

ผมพยายามทำความเข้าใจว่า ชื่อเรื่องน่ะ คงสำคัญจริงๆ   และคงเป็นอย่างที่เราเคยได้ยินบ่อยๆ  ว่า ชื่อเรื่องสำคัญฉะไหน แบบนี้นี่เอง

ผมมานึกได้ว่า  ที่เห็นเด่นชัดก็คงเกี่ยวกับ  ชื่อเรื่องของหนังสือต่างๆ ที่ทำให้หนังสือเหล่านั้นน่าสนใจขึ้นมา    ความจริงเนื้อหาในหนังสือเป็นอย่างไรก็ยังไม่มีใครทราบก่อนที่จะได้อ่าน    แต่ชื่อเรื่องจะเป็นสิ่งที่ดึงความสนใจจากผู้คนที่ไม่ได้สนใจหนังสือนั้นมาก่อน

ส่วนอีกกรณีหนึ่ง ผมว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับหนังสือประเภทวิชาการ บทความงานวิจัย หรือตำราต่างๆ ที่คนต้องการค้นหาคำตอบ ดังนั้นการค้นหารายการหนังสือ หรือข้อมูลความรู้ในสิ่งที่เราสนใจเอาไว้แล้ว จะต้องรู้คำสำคัญ จะทั้ง key words หรือ title keyword  หรือถ้าชื่อผู้แต่งด้วยก็ยิ่งดี 

ผมเข้าใจว่า การตั้งชื่อเรื่องที่มีคำสำคัญเป็นส่วนประกอบ คงทำให้การค้นหารวดเร็วขึ้นแน่นอน

  • เมื่อก่อนผมไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก กับการตั้งชื่อรายงานการวิจัยของผม เพราะผมมักจะคิดเสมอว่า เนื้อหาข้างในนั้นน่าจะสำคัญกว่าหัวเรื่องรายงานมากนัก

ถึงตอนนี้ ผมเข้าใจแล้วครับว่า ชื่อเรื่องเป็นส่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกับตัวเนื้อหาในเล่มเลย

ชื่อเรื่องที่ฟังแล้วน่าสนใจดี ก็สามารถดึงความสนใจจากผู้ที่ไม่เคยสนใจมาก่อนได้

ส่วนชื่อเรื่องที่มีความชัดเจนในตัว เป็นตัวแทนที่ดีของเนื้อหาทั้งหมดนั้น ทำให้ผู้ที่สนใจอยู่แล้วสามารถเข้าถึงได้รวดเร็วขึ้นแน่เลย

--------------------------------------------------------------------------------------------

ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างการพัฒนาการตั้งชื่อเรื่องของผมน่ะครับ

ชื่อเริ่มแรก:  

  • Soil characteristics under land use types of previously shifting cultivation areas in Lower Northern, Thailand. (เพราะความไม่มั่นใจในตัวเอง ผมเลยตั้งแบบกว้างๆ เข้าไว้ครับ) 

เปลี่ยนชื่อครั้งแรกไปเป็น:

  • Soil Characteristics of upland Ultisols in reference to soil productivity potential: A case study of previously shifting cultivation areas in the Lower Northern Thailand (Ultisols บ่งบอกว่าเป็นดินอยู่แล้ว)
เปลี่ยนชื่อครั้งที่สองไปเป็น:
  • Ultisols under upland farming practices in Lower Northern Thailand with special reference to long term productivity (เนื่องจากเนื้อหามีการเพิ่มเติมตลอดการแก้ไข เพื่อกำหนด indicator สำหรับประเมินศักยภาพด้านผลผลิตของดินในระยะยาว)

-------------------------------------------------------------------

พรุ่งนี้ผมจะส่งงานเขียนนี้ไปให้อาจารย์ใหญ่อ่าน ถ้าโชคดีผมคงไม่ต้องแก้ไขงานมาก แล้วจะได้ส่งไปวารสารซะทีครับ

Gambatte !

หมายเลขบันทึก: 29051เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2006 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

วันนี้อาจารย์รอง บอกว่า ยังไม่ต้องส่งงานเขียนของผมไปให้อาจารย์ใหญ่อ่าน 

ท่านบอกว่าให้ผมอ่านงานชิ้นนี้ทุกวันจนถึงวันจันทร์  ให้อ่านแบบ word by word ให้ตั้งใจอ่าน และทำความเข้าใจงานเขียนของตัวเองให้มากที่สุด และท่านหวังว่าภายในระยะ ห้าวัน ที่ผมอ่านงานชิ้นเดิมนี้ซ้ำไปซ้ำมานี้  ผมอาจจะพบส่วนที่ไม่เป็นตรรก (non-logical part) บางส่วนในตัวงานชิ้นนี้   แล้วก็แก้ไขก่อนที่จะให้อาจารย์ใหญ่อ่านในขั้นสุดท้าย

ที่จริงผม ต้องการจะส่งงานนี้ไปตีพิมพ์ให้เร็วที่สุด เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนของผม  ผมว่าเขาเองก็กังวลแทนผมเหมือนกันเรื่องระยะเวลาที่น้อยลงเข้ามาทุกที คงกลัวผมจบไม่ทันเทอมนี้  

แต่ผมต้องขอบคุณอาจารย์ ที่คอยแนะนำในสิ่งที่ผมมิได้คาดคิดเอาไว้ และก็ฝึกให้ผมใจเย็นขึ้น

งานศึกษาของผมชิ้นนี้   ผมได้พยายามเขียนสรุปอย่างเต็มที่แล้ว (โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ) แต่ความสามารถผมคงมีเท่านี้จริงๆ ครับอาจารย์.

------------------------------------------------------------------

The conventional measurement of soil fertility status seemed inappropriate to evaluate the long term land productivity, since they can be readily change by land management and climatic condition. Results revealed that soil pH, mineral nitrogen, total carbon, and available P indicated condition of soil productivity at short term. On the contrary, charge characteristics and mineralogical properties i.e. weatherable clay mineral, oxides and hydrous oxides of aluminum and iron, and sp value, did not show appreciable change in the short term or by agricultural practice such as field burning. The measurements of charge characteristic and mineralogical property provided significant information that can serve as indicators of long-term soil productivity potential in the study area.

------------------------------------------------------------------

เนื้อหาข้างบนไม่สามารถอ้างอิงได้นะครับ เพราะงานยังไม่ได้ถูก review ครับ 

ข้อความสุดท้าย ผมจะเปลี่ยนเป็น long-term soil productive potential of agricultural lands

งานศึกษาต่อไป ก็คงจะเริ่มหาปริมาณการหมุนเวียนของธาตุอาหารต่างๆ ในรอบเพาะปลูกของแต่ละแปลง ผมจะพยายามทำให้เป็นแบบ  Precision agriculture อย่างที่วางแผนเอาไว้เมื่อต้นเดือนนี้  

แต่งานศึกษาชิ้นนี้อาจจะไม่ค่อยแม่นยำมากนัก  เพราะผมไม่ได้เก็บข้อมูลปริมาณธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในพืช  อาจจะแทนที่ข้อมูลนี้ด้วย การคำนวณหาปริมาณธาตุอาหารในดินที่สูญหายไปหลังจากระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว

ผมเองก็ไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับด้านการเกษตรเท่าไหร่  ต้องอ่านงานวิจัยของคนก่อนๆ ว่าจะใช้ข้อมูลแทนกันได้หรือเปล่า แล้วหลังจากนั้น ก็ไปปรึกษาอาจารย์ดูอีกทีครับ

เนื่องจากผมยังไม่รู้เลยว่าเราจะนำข้อมูลเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในดินไปประยุกต์ใช้ในด้านการจัดการพื้นที่การเกษตรได้ยังไงบ้าง 

ทำให้ผมคิดถึงอนาคตว่า ต่อไปงานของผมคงต้องการผู้ร่วมวิจัยที่ทำงานทางด้านจุลินทรีย์ในดินมาช่วยกันทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในระบบได้ครบทุกด้าน

วันนี้ผมจะเริ่มคำนวณ nutrient balance ในระดับแปลงซะทีครับ

หลังจากที่ผมหยุดพักผ่อนไปสามวัน ก็เพื่อเติมพลังให้กับสมองและร่างกายให้สดชื่นขึ้น สำหรับงานชิ้นใหญ่นับจากนี้ไปอีกสองสัปดาห์

ข้อมูลที่ได้จากการคำนวณ Nutrient balance at farm level ในแต่ละแปลงศึกษาในรอบสองปีของการเพาะปลูก  คงทำให้ผมเข้าใจพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของธาตุอาหารในดินและคุณสมบัตทางด้านกายภาพของดิน ได้ดียิ่งขึ้น 

ข้อมูลเหล่านี้คือพื้นฐานสำหรับการประเมินความเหมาะสมของที่ดินเพื่อการเกษตรในรปแบบต่างๆ ที่ผมคิดว่าจะเสนอเป็นทางเลือกให้เกษตรกรปฎิบัติ  อีกทั้งยังใช้เป็นแนวทางเพื่อสร้างแผนการอนุรักษ์ดินในระดับแปลงได้อีกด้วยครับ

 

 

 

ผมว่าคงจะคำนวณหา  nutrient balance ไม่ได้ เพราะผมไม่มีเก็บมูลปริมาณธาตุอาหารที่ดึงขึ้นมาใช้โดยพืชแต่ละชนิด

อาจจะมีหนทางอื่นก็ได้ คงต้องค้นคว้าอีกมาก 

เมื่อสมัยเพิ่งเรียนจบปริญญาโทใหม่ๆ ผมยังรู้สึกว่า การเขียนงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้ไม่น่าจะยุ่งยากเท่าไหร่

ปัจจุบันนี้ผมเข้าใจชัดเจนมากขึ้นครับ ว่าทำไมบางคนส่งงานไปแล้วถูกปฏิเสธบ่อยจัง (อย่างผมเป็นต้น)

แม้ผมได้เคยส่งงานไปลงวารสารวิชาการอยู่บ้าง  แต่งานเหล่านั้น เป็นงานเขียนที่ผมเขียนแบบ ไม่ค่อยมีหลักเกฑณ์เท่าไหร่ พูดง่ายๆ คือยังไม่เข้าใจการเขียนงานวิจัยดีนัก เลยทำไปตามเรื่องตามราวของผม

แต่ตอนนี้ผมคงโชคดีแล้วมั๊งครับ ที่มีอาจารย์คอยตรวจทาน และสอนวิธีเขียนงานวิจัยเพื่อลงวารสารให้ผม  ทำให้ผมต้องแก้ไขตั้ง หก ครั้ง  คงเป็นเพราะผมมักจะมองประเด็นไม่ค่อยจะแตกน่ะครับ  เลยต้องเคี่ยวเข็ญให้หนัก

จุดอ่อนของงานวิจัยของผม ไม่ใช่งานที่จะสร้างองค์ความรู้เบื้องต้นใหม่ขึ้นมา เป็นงานที่มองในภาพรวม ก็มีนักวิจัยมากมายได้ศึกษาพื้นฐานเอาไว้   [แต่ผมก็หวังว่า จะเป็นงานวิจัยที่ช่วยชาวไร่ชาวนาได้จริงนะ] 

ในเมื่อมีงานมากมายที่ใกล้เคียงกับงานชิ้นนี้ ดังนั้นผมต้องพยายามแสดงให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของการศึกษาครั้งนี้อย่างสุดความสามารถครับว่า  จำเป็นต้องดำเนินการจริงๆ

ทำให้ผมต้องเน้นความสำคัญกับการเขียน คำนำ ให้มากเป็นพิเศษ น่ะครับ อย่างเช่น

  • เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างในทุกมุมมอง ของการศึกษาครั้งนี้ กับงานวิจัยที่มีมาก่อน
  • เป็นการศึกษาต่อเนื่องจากงานครั้งที่ผ่านมา (ของตัวเอง) เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาอย่างแท้จริง และรู้ข้อจำกัดของการใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยครั้งที่แล้ว
  • ค้นหาข้อสมมติฐานที่มีมาแล้ว แต่ยังไม่พบว่ามีคนศึกษาต่อยอด  เพื่อกำหนดตัวชี้วัดที่เฉพาะเจาะจงสำหรับพื้นที่เฉพาะแห่งได้  และสามารถตอบปัญหาที่งานวิจัยครั้งก่อนตอบไม่ได้

ตอนนี้มีความสามารถคิดได้แค่นี้แหละครับ

ผมคงต้องใช้เวลาอีกมากในการพัฒนาการเขียนงานของผม เพราะผมไม่ค่อยได้ฝึกคิดให้เป็นระบบซะเท่าไหร่เลยครับ

gambatte! 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท