tasanee somjit


อุปกรณ์การถ่ายภาพยนต์

ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์การถ่ายภาพยนตร์

3.1.1 กล้องภาพยนตร์
ความจริงประการหนึ่งในความหมายของคำว่า "ภาพยนตร์" คือ "ภาพนิ่ง" หลายๆ ภาพเรียงติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายต่อภาพเท่าๆ กัน ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันเป็นธรรมชาติ ดังนั้นการสร้างกล้องภาพยนตร์จึงใช้หลักการเบื้องต้นอันเดียวกันกับการสร้างกล้องถ่ายภาพ
อย่างไรก็ตามก็มีส่วนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ กล้องถ่ายภาพออกแบบสร้างขึ้นเพื่อบันทึกภาพที่ละภาพลงบนฟิล์ม เมื่อบันทึกภาพหนึ่งเรียบร้อยแล้วจะต้องเคลื่อนฟิล์มที่บันทึกแล้วให้ผ่านหน้ากล้องไปโดยใช้มือหมุนหรือเคลื่อนฟิล์มอัตโนมัติ (Motor drive) ในขณะที่กล้องภาพยนตร์จะมีกลไกลภายในกล้องบังคับควบคุมให้ฟิล์มเคลื่อนที่เพื่อบันทึกภาพที่ละภาพอย่างต่อเนื่อง การทำงานของกล้องภาพยนตร์ขณะบันทึกภาพนั้นมีระบบการทำงานสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืนเหมือนกลไกการทำงานของนาฬิกา ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ได้แก่

    กล้องภาพยนตร์

  • 1. โครงสร้างของกล้องถ่ายภาพยนตร์

  • 1. กล้องถ่ายภาพสามารถบันทึกภาพที่ละภาพโดยผู้ถ่ายเป็นผู้เลื่อนฟิล์มภาพต่อไปด้วยตนเอง ส่วนกล้องภาพยนตร์แม้จะบันทึกภาพทีละภาพเช่นเดียวกันแต่ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วโดยมีกลไกขับเคลื่อนฟิล์มที่ทำงานสัมพันธ์กับชัตเตอร์
  • 2. กล้องภาพยนตร์ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 5 ระบบ คือ
  • 2.1 กลไกการเคลื่อนที่ของฟิล์มและการบันทึกภาพ มีตัวหนามเตย ตัวกวักหมุนยึดฟิล์ม แผ่นกดฟิล์ม ประตูฟิล์มและชัตเตอร์ทำงานเข้ากันและสัมพันธ์กันได้ด้วยดีเหมือนกลไกของนาฬิกา
  • 2.2 มอร์เตอร์ เป็นแหล่งพลังงานที่ทำให้กลไกต่างๆทำงานได้ มอร์เตอร์อาจคับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าหรือลาน

  • 2. ระบบควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในกล่องภาพยนตร์ เช่น สวิตช์เปิด-ปิดปุ่มควบคุมความเร็วชัตเตอร์

    ระบบช่องดูภาพ (Viewing System)

  • ระบบช่องดูภาพของกล้องภาพยนตร์มีการทำงานควบคุมไปกับการทำงานของเลนล์โดยทั่วไประบบช่องดูภาพของกล้องภาพยนตร์แต่ละกล้องนั้นมักจะมีความแตกต่างกันไปตามรุ่นที่ผลิต ประเภท และยี่ห้อของกล้องภาพยนตร์นั้นๆ

    ช่องดูภาพ

  • 2. เลนส์ที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์
  • เลนส์ (Lens) หมายถึง วัตถุทรงกลมเมื่อมองด้านข้างจะมีลักษณะแบนรี ทำด้วยกระจกใสหรือวัตถุโปร่งใสที่ยอมให้แสงผ่านไปได้ ผิวนอกเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านอาจจะโค้งนูนออกมาจากริมทั้งสองหนานูนบริเวณกลาง บ้างบริเวณริม หรืออาจจะเว้าเข้าไปจากริมทั้งสองทำให้หนาบริเวณริม ทำให้เลนส์มีคุณสมบัติสามารถรวมแสงและสร้างภาพได้ดีหรือกระจายแสง แต่สร้างภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะการนูนหรือการเว้าของเลนส์นั้นๆ

    คุณสมบัติของเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์
    เมื่อกล่าวถึงคุณสมบัติของเลนส์ ย่อมหมายถึง ความสามารถในการทำงานของเลนส์แต่ละเลนส์ โดยจะต้องมีองค์ประกอบเป็นโครงสร้างของระบบการทำงานที่สัมพันธ์กัน ซึ่งประกอบด้วย

  • 1. ความยาวโฟกัส หมายถึง ระยะทางจากจุดกึ่งกลางของเลนส์นั้นไปถึงผิวแผ่นฟิล์ม (Film Plane ) ในกล้อง เมื่อปรับความชัดของเลนส์นั้นที่ระยะไกลสุดความยาวโฟกัสมากสามารถรับภาพได้มุมภาพแคบกว่าเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้น
  • 2. รูรับแสง เลนส์สามารถรับแสงตามหลักการพื้นฐานของรูเข็มของกล้องรูเข็ม รูที่เลนส์ยอมให้แสงผ่านเข้ามาได้เรียกว่า " รูรับแสง" เลนส์สำหรับกล้องภาพยนตร์สามารถปรับให้เล็กลงและกว้างออกได้ โดยมีไดอะแฟรม (Diaphragm) ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับเกล็ดปลาซ้อนกันอยู่เป็นตัวควบคุมไดอะเฟรมนี้จะขยายกว้างและหดเล็กลงได้โดยการปรับแสงกว้างออกหรือเล็กลงเท่าใดก็เพียงปรับหมุนวงแหวนตั้งหน้ากล้องนี้ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ

    รูหน้ากล้องเมื่อปรับค่า F-number ต่างๆกัน

  • 3. ความไวแสงของเลนส์ หมายถึง ความสามารถในการเปิดรูรับแสงได้กว้างสุดเพื่อรับแสงมาสัมผัสฟิล์มได้มากหรือน้อยที่เป็นผลมาจากเลนส์แต่ละเลนส์
  • 4.การปรับความคมชัด บริเวณใกล้กับวงแหวนปรับตั้ง F-stop จะมีวงแหวนอีกอันหนึ่งรอบเลนส์สำปรับความคมชัด ซึ่งมีตัวเลขแสดงระยะทางจากวัตถุที่จะถ่ายทำถึงผิวแผ่นฟิล์มกล้องภาพยนตร์สลักอยู่บนวงแหวน ตั้งแต่ระยะใกล้สุดจนถึงสุด ในกล้องภาพยนตร์สมัยใหม่ผู้ถ่านทำภาพยนตร์สามารถปรับความคมชัดโดยการมองภาพในช่องมองภาพแบบกระจกสะท้อนแล้วปรับหมุนวงแหวนปรับความคมชัด (Focus ring ) พร้อมๆ กัน เมื่อมองภาพในช่องมองภาพว่าชัดเจนดีก็ลงมือถ่ายทำได้

    การปรับแสงและเงาเพื่อความคมชัด


    การใช้และการบำรุงรักษาเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์
  • การบำรุงรักษาเลนส์นั้นคงทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการทำความสะอาดและป้องกันไม่ให้เลนส์สกปรก หรือเป็นรอยขีดข่วนเท่านั้นเอง เพราะหากเลนส์เป็นรอย แตกหรือหลุดจากฐานเลนส์ก็คงทำอะไรไม่ได้นอกจากโยนทิ้งไป ดังนั้น การทำความสะอาดเลนส์ การเก็บ การถอด-ใส่เลนส์นั้นจะต้องทำด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ประเภทของฟิล์ม
    ฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพโดยทั่วไป อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ฟิล์มถ่ายภาพขาวดำ และฟิล์มถ่ายภาพสี
    ฟิล์มถ่ายภาพขาว-ดำ (Black and white film) แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
  • 1.ฟิล์มเนกาทีฟ (Negative film) คือ ฟิล์มขาว-ดำที่ใช้ถ่ายภาพโดยทั่วไป มีเยื่อไวแสงซึ่งให้สีตรงกันข้ามกับสีของวัตถุ หลังจากถ่ายภาพไปแล้ว นำฟิล์มไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม ลักษณะของภาพจะเป็นเนกาทีฟ คือ ขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว เมื่อนำฟิล์มไปอัดขยายลงบนกระดาษอัดภาพ จะได้ภาพที่มีสีตรงกับความเป็นจริงของวัตถุ

    ฟิล์มสี

  • 2. ฟิล์มโพสิทิฟ (Positive film) เป็นฟิล์มขาว-ดำ ใช้สำหรับ Copy จากฟิล์มเนกาทีฟให้เป็นฟิล์มโพสิทีฟหรือสไลด์ขาว-ดำ
  • 3.ฟิล์มริเวอร์ซัล (Reversal film) คือ ฟิล์มประเภทสไลด์ เป็นฟิล์มโปร่งใส เมื่อถ่ายภาพแล้วนำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม จะได้ภาพที่มีลักษณะเหมือนธรรมชาติ

    ฟิล์มสี (Color film) แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดเช่นเดียวกัน ได้แก่

  • 1.ฟิล์มสีเนกาทึฟ(Color negative film) เป็นฟิล์มสีที่ใช้ถ่ายภาพโดยทั่วๆ ไป หลังจากถ่ายภาพแล้ว นำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม แล้วนำไปอัดขยายลงในกระดาษอัดภาพ จึงจะได้ภาพที่มีสีตรงกันตามความเป็นจริงของวัตถุที่ถ่าย
  • 2.ฟิล์มโพสิทีฟ (Color positive film) เป็นฟิล์มที่ใช้สำหรับ Copy จากฟิล์มเนกาทีฟเป็นฟิล์มโพสิทีฟ คือสไลด์สี
  • 3.ฟิล์มริเวอร์ซัล (Color reversal film) เป็นฟิล์มสีที่เมื่อนำไปถ่ายภาพ แล้วผ่านกระบวนการล้างฟิล์มแล้ว จะได้ภาพโปร่งใสที่มีสีตรงตามความเป็นจริงของวัตถุ หรือที่เรียกว่าฟิล์มสีสไลด์นั่นเอง      
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2887เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2005 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท