หารือกับหน่วยจัดการความรู้ อาคารวิจัย ม.วลัยลักษณ์


แนวทางการเขียนหนังสือ 5 เล่ม

    เมื่อวาน วันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ทีมวิจัย ม.วลัยลักษณ์ และทีมวิจัยตำบลกะหรอ เข้าร่วมหารือกับหน่วยจัดการความรู้ ทีมพี่ภีม เพื่อหารือแนวทางในการเขียนหนังสือ 5 เล่ม ที่ทางหน่วยเสนอมาให้แต่ละพื้นที่เขียนเพื่อนำไปเสนอในการรายงานความก้าวหน้า ในวันที่ 30 -2 กรกฎาคม 2549 ณ. จังหวัดสงขลา

   จากการหารือกับทีมของพี่ภีม ได้ผลสรุปออกมาว่า โครงร่างที่ทีมกะหรอจะเขียนประกอบไปด้วย

 1. เรื่องของกองทุนสัจจะวันละ 1 บาท จะเริ่มต้นตั้งแต่แนวคิดในการจัดตั้ง การจุดประกายของทีมชุมชน การศึกษาดูงาน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดตั้ง การหารือผลสรุปในการจัดตั้งกองทุน การลงสัญจรไปทั้ง 9 หมู่บ้านเพื่อประชาสัมพันธ์ในเรื่องนี้ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่เครือข่ายได้เจอในการจัดตั้งกองทุนนี้

 2. เรื่องของสถาบันการเงินระดับตำบล ในเรื่องนี้จะเป็นการขายความคิด ข้อค้นพบในการดำเนินงาน การเชื่อมโยงกองทุนสัจจะวันละ 1 บาท เข้ากับสถาบันการเงินระดับตำบล ซึ่งรายละเอียดจะนำเสนอในหนังสือ

 3. แผนที่ความคิด และภาพรวมทั้งหมดของตำบลกะหรอ ซึ่งในเรื่องนี้ทีมวิจัยชุมชนจะเป็นคนรับผิดชอบในการนำเสนอ

 4. การเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนหมู่บ้าน ทั้ง 9 หมู่บ้าน จากการทำงานที่ผ่านมา เป้าหมายที่วางไว้ในระดับนี้คือ จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันข้ามหมู่บ้าน โดยจะให้แต่ละตำแหน่งในกองทุนหมู่บ้าน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แต่ข้อจำกัดที่เจอคือ ในคนหนึ่งคนจะรับผิดชอบหลายหนาที่ และจากการสังเกต ถ้าเป็นการแลกเปลี่ยนกันเองในตำบล ความตื่นตัวที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กันจะน้อยมาก ซึ่งอาจจะคิดว่าเราก็เห็นกันอยู่บ่อยมากและคงจะไม่มีอะไรแตกต่างกันมากในเรื่องการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน แต่ถ้าเป็นการไปศึกษาดูงานนอกพื้นที่ ทีมจากชุมชนจะมีการตื่นตัวสูงมาก มีการซักถาม และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างเต็มที่  ซึ่งในเรื่องระดับกองทุนหมู่บ้าน ก็จะเชื่อมโยงไปถึงระดับสมาชิกด้วย

 5. เรื่องของหน่วยงานสนับสนุน ซึ่งที่ผ่านมากิจกรรมที่ทำร่วมกับหน่วยงานสนับสนุนมีน้อยมาก อาจจะมีเหตุผลหลายประการ อาจเป็นไปได้ว่าทีมวิจัยไม่ได้เข้าไปติดต่อกับหน่วยงานสนับสนุนอย่างจริงจัง หรือหน่วยงานสนับสนุนเองอาจจะมีข้อจำกัดในการทำงาน

    ทั้งหมดนี้ก็คือโครงร่างแนวทางในการเขียนหนังสือ 5 เล่ม ที่ได้หารือกับทีมของพี่ภีม และพี่ภีมก็ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มากในการเขียนหนังสือ ฉบับสมบูรณ์จะออกมาในรูปแบบใด จะนำมาเสนอต่อไปค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28854เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2006 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท