ไม่พูดไม่เล่าไม่ได้...งานบั้งไฟยโสธร


พยายามสานต่อประเพณีท้องถิ่นไว้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาร่วมด้วย

       หลังจากแอบดูเรื่องคุณลุงวอ เล่าถึงประเพณีบ้านเฮา "บุญบั้งไฟ" เมืองยศ (ยโสธร) เพิ่งผ่านมาเมื่อไม่กี่วัน (13-14 พ.ค.2549) มีคุณ ki คุณออต เล่าถึง..ในฐานะเจ้าบ้านหากไม่พูดก็ไม่ได้ เสียชื่อคนเมืองยศ แต่เสียดายว่าปีนี้ไม่ได้อยู่ร่วม เพราะที่ภาระ"งาน" ไปที่เมืองลุง..คนเมืองยศก็เลยอด..ดูงานจริง แต่หากเฝ้าตามจากทีวี ข่าว และแม่เล่าเรื่องมาบอก และบันทึกนี้ขอเล่าเรื่องอย่างเป็นคนในท้องถิ่น..."ไม่พูดไม่เล่าไม่ได้...งานบั้งไฟยโสธร"

       จำได้ว่าเมื่อตอนเด็กๆ ทุกปีหลังเสร็จสิ้นเทศกาลสงกรานต์แล้ว ชาวบ้านคุ้มต่างๆ เขาจะพากันเตรียมตัวเพื่องานบุญประจำจังหวัดกันต่อ และจะมีการเตรียมกันตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นเดือน นั่นก็คืองานขอฝน"บุญบั้งไฟ" ซึ่งสิ่งที่มีการเตรียมกันก็จะเป็นบั้งไฟจุด(แข่งประชันกันจุดขึ้นสูง-ใครสูงที่สุดและตกช้าหรือลับหายไปจากสายตา จะถือว่าเป็นผู้ชนะ) บั้งไฟสวยงาม มีการตกแต่งกันอย่างสวยงาม (ประชันกันในวันแห่-วันที่สอง) และประกวดขบวนฟ้อน-สวยงามและพร้อมเพรียง ซึ่งจะมีการซ้อมฟ้อนรำกัน โดยจะเป็นหญิงสาวประจำแต่ละคุ้มมารวมตัวกันและฝึกซ้อมทุกวันในตอนเย็น ในช่วงก่อนถึงเทศกาลเราๆ จะพากันตระเวณไปดูเขาซ้อมรำกัน ในแต่ละคุ้ม รวมทั้งดูการตกแต่งบั้งไฟสวยงามด้วย..

       ที่คุ้มบ้านพ่อ(อาจารย์วีระ ลครวงศ์) ที่เป็นบ้านดั้งเดิมของปู่กับย่า จะเรียกว่าคุ้มเจ้าแม่สองนาง ก็จะมีการทำบั้งไฟร่วมด้วยแต่จะเน้นเป็นบั้งไฟจุดขึ้นสูง โดยจะมีอาและเหล่าญาติๆ ทั้งหลายที่อยู่ในคุ้ม (ส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติกัน) รวมตัวและช่วยกันทำบั้งไฟ ทำทั้งวันทั้งคืนเป็นเดือน ตำ(โขก)ดินประสิว-ภาษาอีสานเรียกว่าขี้มื๋อ อัดแน่นเพราะหากอัดเข้าไปไม่แน่น เมื่อจุดขึ้นไปอาจแตกได้ (หากท่านใดทราบละเอียดกว่านี้ มาร่วม ลปรร. นะคะ) ดิฉันไม่ทราบหรอกว่า กระบวนการวิธีที่ เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นนั้น เขาคิดเขาทำอย่างไร..หากทราบแต่ว่า บั้งไฟต้องไม่แตก..และจุดขึ้นสูง..จนเมื่อมาสักระยะหนึ่งสมัยที่พ่อยังมีชีวิตอยู่ พ่อก็เป็นคนหนึ่งที่เป็นแนวหน้าในการคงอนุรักษ์ประเพณีให้คงอยู่คู่เมืองยศ เพราะมีการพยายามหรือทำให้เกิดการล่มสลายประเพณีที่เมืองนี้อยู่บ่อยครั้ง เพราะมีการแข่งขันกันมาก มีการให้งบประมาณเพื่อทำวิจัย ศึกษาเรื่องการทำบั้งไฟขึ้นสูงตาม"ภูมิปัญญาท้องถิ่น" ที่ไม่ใช่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างที่ทำ"จรวดส่งออกนอกโลก"...จำได้ว่าเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่เริ่มเข้ามาเจาะและสืบเสาะหาข้อมูลอันเป็นภูมิปัญญา...พ่อเล่าให้ฟังว่าเขามาทุกรูปแบบ แต่สิ่งหนึ่งที่พ่อกังวลคือ การมานำเอาเกร็ดความรู้ที่เป็นการถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ในการทำบั้งไฟ ไปประยุกต์ใช้ที่บ้านเมืองเขา..พอเรารู้ตัวอีกที สิ่งที่เป็น "ความรู้" ของเราเขาก็เอาไปจดลิขสิทธิ์เป็นของเขาไปเรียบร้อยแล้ว

       เมื่อถึงวันงาน..."บุญเดือนหก" วันงานที่เป็นแก่นจริงจะมี 3 วัน คือ วันเซิ้ง..วันแห่..และวันจุด..วันเซิ้งก็จะเป็นวันที่คณะบั้งไฟแห่เซิ้งไปตามบ้านตามคุ้มต่างๆ..สนุกสนาน พอยุคสมัยเปลี่ยนไปมีปัจจัยเชิงสังคมเข้ามาแทรก และเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เริ่มมีการจัดระเบียบการเซิ้งใหม่ โดยให้ตั้งเป็นจุดๆ ไปตามแนวยาวของถนนแจ้งสนิท..ซึ่งเป็นถนนหลักของจังหวัด และให้คนเดินดูร่วมสนุกได้ สำหรับวันแห่ก็ยังคงมีรูปลักษณ์ไม่ต่างจากเดิมมากเพียงแต่..มีการแห่ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นตามความเจริญ...และในวันที่สามจะเป็นวันจุดซึ่งถือได้ว่าเป็น HighLight สำคัญของงานก็ว่าได้ของคนในท้องถิ่น เพราะวันนี้เหมือนกับเป็นวันประกาศผลเลยว่าสิ่งที่เขาเตรียมกันมาเป็นแรมเดือนผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง...แรกเขาไม่มีหลักการอะไรมากหรอกคะทำตามกันไปตาม "ภูมิปัญญา"  แต่พอมาช่วงปีหลังต่างมีนักวิชาการ นักวิจัย...นักวิทยาศาตร์เข้ามาช่วยดูและติดตาม เพราะบางครั้งจุดไม่ขึ้นบั้งไฟแตก...ก็อาจนำมาสู่อันตรายแก่คนได้...แต่ท่านเชื่อไหมคะว่า คนในท้องถิ่นจริงๆ..เขาไม่ได้มองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องประมาท หากเมื่อใดปีใดที่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น คนในท้องถิ่นจะเชื่อว่าเป็นการทำผิดธรรมเนียมประเพณี ดั่งเช่นเคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นบั้งไฟระเบิดแล้วมีคนเสียชีวิต...ในปีนั้นคนในท้องถิ่นมองว่าทำผิดประเพณีเพราะเป็นการแห่บั้งไฟเข้าเมือง เพราะปกติจะแห่ออกนอกเมือง แต่ไม่มีใครสักคนที่ออกมาตำหนิว่าคนทำบั้งไฟทำไมทำบั้งไฟแตก เพราะเราคนในท้องถิ่นมองว่าหากกลัวบั้งไฟแตก ก็คงไม่ต้องทำอะไรเลยสิ ล้มเลิกไปเลย...แต่จริงๆ ตามหลักของนักวิชาการทั้งหลายแหล่รวมถึงผู้รับผิดชอบทุกระดับ ต่างก็พยายามหามาตรฐานการให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด และในขณะเดียวกันก็พยายามสานต่อประเพณีท้องถิ่นไว้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาร่วมด้วย...โดยไม่ปล่อยให้ตายไปกับคนรุ่นเก่าก่อน...

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28801เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2006 00:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • อยากดูรูปงานบั้งไฟยโสธรด้วยครับ

คุณ"ขจิต"...

กลับถึงเมืองยศ..บ้านเฮาเมื่อไหร่..จะนำภาพมาฝาก เพราะเครือข่ายเก็บภาพไว้ให้แล้วคะ...อดใจรอนะคะ

ผมเห็นเจ้าของอู่ซ่อมรถตกใจและให้สัมภาษณ์ทีวีสีหน้าไม่ค่อยดีนะคับ ดร.น่าจะได้ดู นั้นคนพื้นถิ่นนะคับ ผมว่ารถนักเรียนที่โดนวันนั้นหากมีนักเรียนอยู่บนรถจะเกิดอะไรขึ้น ไม่อยากคิด

ดร.ต้องคิดย้อนกลับนะคับ หากเราทำแค่พอดีพอดีถึงแตกหรือตกใส่คนอาจจะแต่บาดเจ็บ(เท่านี้ก็เกินพอดีแล้ว)

หากคนในท้องถิ่นตามที่ ดร.เล่ามาคิดว่าเป็นการผิดประเพณี ปีนี้นักท่องเที่ยวมาตามโฆษณาเยอะแล้วเจอบั้งไฟล้านตกใส่ตาย นักท่องเที่ยว ครอบครัวเขาจะคิดเหมือนคนพื้นถิ่นหรือเปล่า ผมว่าคนในพื้นที่ก็คงต้องฉุกคิดแล้วนะคับ คนเรามีสิทธิจะไม่ตายไม่ว่าคนพื้นถิ่นหรือคนต่างถิ่น

แนวทางที่คุณพ่อ ดร.ทำมานั้นถูกทางแล้วนะครับ การที่บั้งไฟของชาวบ้านแตกไม่มีใครว่าประมาทหรอกนะครับเพราะมันอันตรายน้อย มันพอดีมันเหมาะสม แต่วันนี้แนวทางที่พ่อ ดร.ทำมันเปลี่ยนไป มันอันตรายนะพูดจริง ๆ  ดร.เตือน ๆหน่อย เอาพอดีพอดี

พอดีพอดี ขอย้ำ

 

     ในบันทึกนี้อยากจะแนะนำให้อ่านดู เป็นลักษณะการนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ ผ่านการเล่าเรื่องและให้ความเห็นโดยคนใน (ผู้บันทึก) ที่มองเหตุการณ์ความเป็นไป (Phenomenon) ด้วย Emic ที่ไม่มี Etic เจอปน แม้ผู้นำเสนอมีโอกาสที่จะพลาดในการตีความด้วย Etic เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ที่ถูกระบบการศึกษาในปัจจุบันครอบไว้...แต่กลับไม่
     หากสนใจเรื่อง Emic-Etic ลองตามไปที่บันทึก Emic (เขา) หรือ Etic (เรา) กันแน่ครับ! นะครับ

ถึงคุณ"แฟนคลับเล้าข้าว "ที่เคารพ

ดิฉันไม่ได้มองในประเด็นที่ว่า...อันตรายแล้วก่อให้เกิดคนตายเป็นเรื่องดี...

แต่เมื่อเข้ามาเจอบันทึกและความเห็นของคุณดิฉันตกใจในถ้อยความ...ที่ท่านแสดงความคิดเห็น...ที่เสมือนการตัดสิน...ความเป็นคนในท้องถิ่น ภายใต้สิทธิรัฐธรรมนูญไทยท่านมีสิทธิ์ให้ความเห็นอะไรใครก็ได้...แต่ภายใต้ความเห็นนั้นท่านก็ควรพึงใช้ถ้อยความที่สุภาพ ให้เกียรติและนับถือในความเป็น "มนุษย์" ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นใคร..แต่ภายใต้ศักดิ์และศรีที่ท่านมีในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง..ท่านก็พึงที่จะเรียนรู้ในการเคารพเกียรติและศักดิ์...มนุษย์นั้นด้วย...ไม่มีใครหรอกคะที่จะทำอะไรเพื่อให้ใครตาย...หากท่านลองแสวงสิ่งที่พึงรู้ ที่ดิฉันขอเสนอไปในเรื่อง Etic และ Emic ท่านจะเข้าใจได้ว่าดิฉันกำลังพยายามสื่ออะไรให้ท่านทราบ...ภายใต้การรวงข้าวที่เม็ดโตและโน้มนำลงสู่พื้นดิน...หาใช่เป็นเม็ดเรียวเล็กที่ชูช่อ

 

ถึงคุณ"แฟนคลับเล้าข้าว "ที่เคารพ

ดิฉันไม่ได้มองในประเด็นที่ว่า...อันตรายแล้วก่อให้เกิดคนตายเป็นเรื่องดี...

แต่เมื่อเข้ามาเจอบันทึกและความเห็นของคุณดิฉันตกใจในถ้อยความ...ที่ท่านแสดงความคิดเห็น...ที่เสมือนการตัดสิน...ความเป็นคนในท้องถิ่น ภายใต้สิทธิรัฐธรรมนูญไทยท่านมีสิทธิ์ให้ความเห็นอะไรใครก็ได้...แต่ภายใต้ความเห็นนั้นท่านก็ควรพึงใช้ถ้อยความที่สุภาพ ให้เกียรติและนับถือในความเป็น "มนุษย์" ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นใคร..แต่ภายใต้ศักดิ์และศรีที่ท่านมีในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง..ท่านก็พึงที่จะเรียนรู้ในการเคารพเกียรติและศักดิ์...มนุษย์นั้นด้วย...ไม่มีใครหรอกคะที่จะทำอะไรเพื่อให้ใครตาย...หากท่านลองแสวงสิ่งที่พึงรู้ ที่ดิฉันขอเสนอไปในเรื่อง Etic และ Emic ท่านจะเข้าใจได้ว่าดิฉันกำลังพยายามสื่ออะไรให้ท่านทราบ...ภายใต้การเป็นรวงข้าวที่เม็ดโตและโน้มนำลงสู่พื้นดิน...หาใช่เป็นเม็ดเรียวเล็กที่ชูช่อ

แฟนคลับเล้าข้าว เมื่อ จ. 15 พ.ค. 23:12:43 2006 เขียนว่า:

ผมว่าให้หล่นบนกบาลท่านผู้ว่าก็ดีนะครับ ถ้าไม่เจอกับตัวเองก็ไม่รู้สึก...

คือ...ความเห็นในบันทึก"กังวลใจ กังวลจิต คิดมากไป บั้งไฟล้าน-ของคุณเล้าข้าว

ผมว่าจะนำภาพลงให้ดูกัน แต่เครื่องมันบอกว่าไฟล์ใหญ่เกินไป

เรียน...ท่านอาจารย์วรชัย

ขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะกับเรื่องเล่า..สิ่งดีดีของเมืองยศ

สำหรับเรื่องรูปอาจารย์ลองไปแต่ง...ลดขนาดก่อนคะ...อาจใช้

photoshop ทำก็ได้นะคะ...

นิภาพร  ลครวงศ์

ปล. อ่านเพิ่มที่ ชุมชนเทคนิค เกร็ดดีๆเรื่องบั้งไฟ และ ชุมชนคนช่างเชื่อมโลหะ เรื่องเล่าดีดีของคนอิสาน

ผมนำข่าวเกี่ยวกับบุญบั้งไฟไปเสนอไว้ในบล็อกของผมว่า ปีนี้ยโสธรจัดงานบุญบั้งไฟค่อนข้างใหญ่โตมีชาวโยชิดะ ญี่ปุ่นมาร่วมงานทุกปี จัดทำบั้งไฟแสน บั้งไฟล้านเสียเงินสร้างเกือบ หกแสนบาท มีเจ้ากระทรวงคมนาคมพรรคไทยเจี๊ยะไทยมาเป็นประธานเปิดจุดไปได้สูงประมาณ 500 เมตร ก็หันหัวลงไปในหมู่บ้านเคราะห์ดีไม่เกิดโศกนาฏกรรมตายหมู่ มีต้นมะม่วงมารับเคราะห์แทนเลยโชคดีไป..มีคนเขาว่าเอาให้พอดี พอดีเถอะ แค่บั้งไฟแสนก็น่าจะเพียงพอครับ เพื่อรักษาประเพณีอันดีงามเอาไว้ก็น่าจะพอ

ขอบคุณครับ http://gotoknow.org/ymanit

 

ตัวเล็กแต่มีพิษสง

  ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย ซึ่งจะต้องมีการทำบั้งไฟ ขบวนบั้งไฟต่างๆเพื่อแสดงถึงภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ตามมาจิก แฟนคลับเล้าข้าว.. หากคุณคิดว่าการที่คนในท้องถิ่นหรือการทำบั้งไฟเป็นเรื่องที่งมงาย ดิฉันคิดว่าถือเป็นการดูถูภูมิปัญญาของคนจังหวัดยโสธรมันเป็นการกระทำที่ผิดด้วยหรือ!!ที่เค้าจะแสดงถึงประเพณีบุญบั้งไฟที่เป็นประเพณีที่เก่าแก่ สิ่งที่เป็นผลตามมาที่เกิดคนตายหรือแม้กระทั่งเกิดความเสียหายเราไม่สามารถกำหนดหรืออาจรู้ได้ว่ามันจะเกิดขึ้น !!ไม่มีใครต้องการให้มันเกิดขึ้นหรอกดิฉันคิดว่าพวกเราทุกคนไม่เคยเห็นว่าชีวิตมนุษย์คือเรื่องเล่น..หากแต่เป็นสิ่งสำคัญ ..ถ้าพวกเค้ารู้ว่าจะทำให้มีคนตายหรือเสียหายคุณก็มานำเสนอแนวคิดติดตั้งอุปกรณ์กำหนดทิศทางที่จะตกสิ!!คงจะดีนะสำหรับแนวคิดที่ว่า ..หากคุณได้มาสัมผัสการทำบั้งไฟแล้วคุณจะรู้ว่ามันไม่ง่ายเหมือนกับสิ่งที่คุณพูด(ง่ายอย่างปากพูด) มันยากมากกับการที่จะทำบั้งไฟบั้งนึงคุณควรจะคิดถึงหัวอกของคนทำบ้าง(อย่าอยู่แต่ในลัทธิของคุณ)คงจะไม่เกี่ยวกับพญาแถนหรือผู้ว่ายส. ควรใช้วิจารณญาณในการอ่านหวังว่าคุณคงคิดว่ามันเป็นเพียงแค่ความคิดเห็นหนึ่ง ขอบคุณที่อ่านเจ้าค่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา1ใน 1oข้อหลักการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท