เทคนิคการถ่ายภาพ


ในบทนี้มาศึกษาเทคนิคการถ่ายภาพในลักษณะต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทักษะ ความแม่นยำในการบันทึกภาพ
 

เทคโนโลยีการถ่ายภาพระบบดิจิตอล

 การแสดงผลและพิมพ์ภาพดิจิตอล

  • การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล (Digital camera) ซึ่งมีการบันทึกภาพด้วยระบบหน่วยความจำ(Memory) สามารถแสดงผล หรือการชมภาพที่ถ่าย หรือการพิมพ์ภาพลงบนวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ พลาสติก ผ้า ฯลมีหลายวิธีด้วยกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  • การแสดงผลภาพถ่าย  การบันทึกภาพด้วยกล้องดิจิตอล สามารถเลือกรูปแบบการแสดงรูปภาพได้หลายรูปแบบ เช่น
  • 1.แสดงภาพด้วยจอ LCD (Liquid crystal display) หรือ จอภาพผลึกเหลว เป็นจอภาพ ระบบดิจิตอลขนาดเล็ก ที่ติดมากับตัวกล้อง สามารถแสดงผลในลักษณะของภาพกราฟิก ที่สามารถแสดงผลภาพที่บันทึกได้ทันที กล้องบางรุ่นยังสามารถ ตกแต่งภาพได้ในตัวกล้อง

 

 

การแสดงผลการบันทึกภาพระบบดิจิตอล ด้วยจอ LCD ในตัวกล้อง

2. ต่อเชื่อมสัญญาณภาพกับเครื่องรับโทรทัศน์  กล้องดิจิตอลบางรุ่น สามารถต่อสัญญาณ AV เข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์ การชมจะต้องเป็นสัญญาณดิจิตอลเพียงอย่างเดียว เพื่อชมภาพได้จอขนาดใหญ่ สามารถชมได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว (Motion picture)

 

 

การต่อสัญญาณจากกล้องดิจิตอลเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์ เพื่อชมภาพด้วยจอขนาดใหญ่

3. ต่อเชื่อมสัญญาณภาพกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการต่อเชื่อมสัญญาณจากกล้องเข้า เครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถชมภาพได้ทางจอภาพ (Monitor) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านระบบการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น  ระบบปฏิบัติการ Windows หรือ โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับตกแต่งภาพ เช่น

 Adobe PhotoShop

 

ต่อเชื่อมสัญญาณภาพกับเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากจะได้ชมภาพที่มีความคมชัดแล้วยัง
สามารถตกแต่งภาพ ในลักษณะต่าง ๆ ด้วยโปรแกรมสำหรับตกแต่งภาพ เช่น Adobe Photoshop

4. กรอบภาพอิเล็คทรอนิกส์ ในช่วงต้นปี ค.ศ.2000 หรือ พ.ศ. 2543 บริษัท โซนี่ ได้ผลิตกรอบภาพ ที่มีจอLCD และมีช่องเสียบการ์ดที่เรียกว่า Memory Stick ที่ใช้สำหรับบันทึกภาพจากกล้องดิจิตอล โดยกรอบภาพนี้จะสามารถแสดงรูปถ่าย และสามารถเลื่อนเปลี่ยนภาพที่บันทึกออกแสดงทางกรอบภาพได้อย่างคมชัด

 

 

 

กรอบภาพอิเล็คทรอนิกส์ เป็นเทคโนโลยีในการแสดงภาพที่บันทึกจากกล้องดิจิตอล ซึ่งบริษัทโซนี่ ได้ผลิตออกมาจำหน่าย ในปี ค.ศ.2000

           นอกจากนี้ ยังมีการแสดงภาพในรูปแบบอื่น ๆ อีก ซึ่งผู้ผลิตแต่ละบริษัทได้พยายามพัฒนารูปแบบที่ทันสมัย และสะดวกต่อผู้ใช้ เช่น การฉายจอขนาดใหญ่ด้วยเครื่องฉาย LCD Projector เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือนาฬิกาข้อมือ ที่สามารถบันทึกภาพ และแสดงภาพทางหน้าปัทม์นาฬิกาซึ่งผู้ใช้ต้อง ศึกษาลักษณะของการนำเสนอ แต่ละประเภทเพื่อประยุกต์ ใช้ให้เกิด ประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด

ระบบการพิมพ์ภาพ      นอกจากการแสดงภาพถ่ายในลักษณะต่าง ๆ แล้ว เพื่อความสะดวกในการทำสำเนาภาพเพื่อแจกจ่ายหรือเก็บเป็นที่ระลึกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอัดภาพลงบนกระดาษ หรือวัสดุอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ เช่นเดียว กับกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์ม โดยสามารถ พิมพ์ภาพได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่

1. การพิมพ์ภาพผ่านเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet) ระบบนี้จะต้องเป็นสัญญาณภาพระบบดิจิตอลเท่านั้น สีที่ใช้จะเป็นสีน้ำ 4 สี บางรุ่นมีถึง 6 สี ที่อยู่ในเครื่องพิมพ์ โดยสั่งงานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถ พิมพ์ภาพได้ทั้งภาพสีและ ขาวดำ กระดาษที่ใช้พิมพ์ภาพควรใช้กระดาษที่ใช้สำหรับเครื่องพิมพ์แบบนี้โดยเฉพาะ คุณภาพของภาพที่ได้อาจจะมีความละเอียด และสีของภาพด้อยกว่าระบบถ่ายภาพด้วยฟิล์มสีหรือสไลด์ แต่หลาย บริษัทก็ได้พัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นและแนวโน้มราคาจะถูกลง

     

     

     

    เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet)สำหรับ
    พิมพ์ภาพจากกล้องดิจิตอลโดยผ่านการ
     สั่งงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์

2. การพิมพ์ภาพ ระบบ Dye Sub เป็นระบบการพิมพ์ภาพที่ทันสมัย ขนาดเล็กและสามารถพกพาได้ การพิมพ์ ภาพใช้สัญญาณดิจิตอล จากกล้องดิจิตอลโดยตรง หรือจากเครื่องคอมพิวเตอร์ กระดาษที่ใช้พิมพ์ ภาพเป็นกระดาษ สำหรับการพิมพ์ระบบนี้โดยเฉพาะ โดยใช้ความร้อนในการพิมพ์ภาพผ่านริบบิ้นสีลงบนกระดาษ

     

     

    เครื่องพิมพ์ภาพระบบ Dye Sub ยี่ห้อ Olympus

    มีหลักการทำงานโดยใช้ความร้อนในการพิมพ์ภาพผ่าน

    ริบบิ้นสีลงบนกระดาษ

   3.  การอัด ขยายภาพภาพด้วยระบบดิจิตอลมินิแลป (Digital Minilab) เป็นเทคโนโลยีของ เครื่องอัด  ขยายภาพ สำหรับธุรกิจร้านถ่ายภาพ เป็นเครื่องอัด ขยายภาพที่สามารถรับสัญญาณ ดิจิตอลจาก แผ่นดิสก์เก็ต (Diskette) หรือจาก แผ่นซีดีรอม (CD-ROM) ที่ให้ความละเอียดและความคมชัดสูง ขยาย ภาพได้หลายขนาด ซึ่งแนวโน้ม ร้านค้าที่ให้บริการ ล้างอัด ขยายภาพจะนำเครื่องพิมพ์ภาพแบบนี้เพิ่มมากขึ้น ตามกระแสความนิยมของผู้ใช้บริการ บางบริษัท ยังให้บริการ อัด  ขยายภาพผ่านทางไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกส์ (E-mail) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าอีกด้วย

    เครื่องดิจิตอลมินิแลป (Digital Minilab)

     สำหรับอัด ขยายภาพระบบดิจิตอล

     ซึ่งร้านค้าที่ให้บริการล้าง อัด ขยายภาพ

    นำมาใช้ในการอัดขยายภาพจากกล้องดิจิตอล

 4. ระบบการอัด ขยายภาพ แบบThermal printer  เป็นการอัด ขยายภาพระบบดิจิตอลเช่นเดียวกัน โดยมีหลักการ คือใช้ความร้อน ในการอัดภาพ โดยใช้หมึกพิมพ์แบบริบบิ้นสี กระดาษสำหรับอัดภาพเป็นกระดาษ ที่ใช้เฉพาะเครื่อง Thermal printer เท่านั้น  

 

ระบบการอัด ขยายภาพ แบบThermal printerและหลักการทำงานโดยใช้ความร้อน เพื่อนำสีจากริบบิ้นสีพิมพ์ลงบนกระดาษ

               นอกจากการพิมพ์ภาพระบบดิจิตอลที่ได้กล่าวถึงทั้ง 4 รูปแบบ นี้แล้ว ยังมีรูปแบบอื่น ๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นมา เช่น เครื่องพิมพ์แบบ Plotter printer เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์สีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประโยชน์การ ใช้งานและลักษณะ ของคุณภาพของภาพถ่ายแต่ละประเภท ซึ่งเทคโนโลยีดิจิตอลพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรต้องศึกษา และติดตาม ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเพื่อเลือกใช้งานในรูปแบบที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดเพื่อผลงานภาพถ่าย ที่ตรงตามความต้องการ

เทคนิคการถ่ายภาพ

            ในบทนี้มาศึกษาเทคนิคการถ่ายภาพในลักษณะต่าง ๆ  เพื่อพัฒนาทักษะ ความแม่นยำในการบันทึกภาพ เลือกรายการได้เลยครับ

  • DEPTH OF FIELD 
     
    เทคนิคการกำหนดรูรับแสงเพื่อกำหนดระยะชัดของภาพแบบต่าง ๆ

  • LAND SCAPE
    การถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือที่เรียกว่าภาพวิวให้ประทับใจ 

  • STOP ACTION
    ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงเพื่อ หยุดสิ่งที่เคลื่อนไหว 

  • ACTION
    ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าเพื่อแสดงพลังของการเคลื่อนไหว

  • PANNING 
    เทคนิคเคลื่อนกล้องตามวัตถุที่เคลื่อนไหว แสดงให้เห็นความเร็ว และ แรง

  •  CLOSE UP 
    เทคนิคการถ่ายภาพใกล้ เห็นรายละเอียดชัด ๆ 

  • SILHOUETTE  
    ถ่ายภาพย้อนแสง เพื่อเน้นรูปร่าง หรือเงาดำแปลกตาน่าสนใจดี

  • NIGHT PICTURE 
    ราตรีอันงดงาม บันทึกความประทับใจบนแผ่นฟิล์ม ตราบนิรันด์

  • LOW KEY  
    ภาพดูลึกลับ เหงา ถ่ายทอดได้ทั้งความงามและความน่ากลัว

  • CREATIVE
    สร้างสรรค์แบบไร้ขีดจำกัด มุมมองที่มีจินตนาการ

 

 

1) การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition)  สำหรับการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ตรงตามความต้องการ มีคุณค่า มีความงามทางด้านศิลปะ นอกจาก จะทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้กล้องถ่ายภาพ และเครื่องมือที่มีคุณภาพแล้ว การจัดองค์ประกอบภาพ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้ภาพมีคุณค่าขึ้น ดังนั้นเราจึงมาศึกษาการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งในบทนี้ จะกล่าวถึงการจัดองค์ประกอบภาพอยู่ 10 ลักษณะ  คือ

รูปทรง  เป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่ให้ความรู้สึก สง่างาม มั่นคง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ ทางสถาปัตยกรรม การถ่ายภาพวัตถุ หรือถ่ายภาพสิ่งต่างๆ เน้นให้เห็นความกว้าง ความสูง ความลึก โดยให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง และความลึก หรือที่เรียกว่าให้เห็น Perspective หรือภาพ 3 มิติ

ภาพที่ 1  ภาพตึกและอาคาร ถ่ายจากด้านข้างเน้นให้เห็น     
              ความมั่นคงใหญ่โต
ภาพที่ 2 หน้ากากผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย  เน้นให้เห็นระยะ
              ความลึก และรูปทรงของหน้ากาก
  • รูปร่างลักษณะ มีการจัดองค์ประกอบภาพตรงข้ามกับรูปทรง คือเน้นให้เห็นเป็นภาพ 2 มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่ให้เห็นรายละเอียดของภาพ หรือที่เรียกว่าภาพเงาดำ ภาพลักษณะนี้ เป็นภาพที่ดูแปลกตา น่าสนใจ ลึกลับ ให้อารมณ์และสร้างจินตนาการ ในการในการดูภาพได้ดีนิยมถ่ายภาพในลักษณะ ย้อนแสง         
             ข้อควรระวังในการถ่ายภาพลักษณะนี้คือ วัตถุที่ถ่ายต้องมีความเรียบง่าย เด่นชัด สื่อความหมาย ได้ชัดเจน ฉากหลังต้องไม่มารบกวนทำให้ภาพนั้น หมดความงามไป
  • ความสมดุลที่เท่ากัน  เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา คล้ายกับแบบเน้นด้วยรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุล นิ่ง ปลอดภัย ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว
  • ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน  การจัดภาพแบบนี้ จะให้ความรู้สึกที่สมดุลย์เช่นเดียวกับแบบที่แล้ว แต่จะต่างกันอยู่ที่ วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่จะสมดุลได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี  รูปทรง ท่าทาง  ฉากหน้า  ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนในกว่าแบบสมดุลที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะ น้อยกว่า แต่แปลกตาดี
  • ฉากหน้า  ส่วนใหญ่จะใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือภาพอื่น ๆ ใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้ กลาง ไกล หรือมีมิติขึ้น ทำให้ภาพน่าสนใจอาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้องเพื่อช่วยเน้นให้จุดสนใจที่ต้องการเน้น มีความเด่นยิ่งขึ้น และไม่ให้ภาพมีช่องว่างเกินไป
  •    กฏสามส่วน  เป็นการจัดภาพที่นิยมมากที่สุด ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จืดชืด การจัดภาพโดยใช้เส้นตรง 4 เส้นตัดกันในแนวตั้งและแนวนอน จะเกิดจุดตัด 4 จุด (ดังภาพที่ 19) หรือแบ่งเป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน  การวางจุดสนใจของภาพจะเลือกวางใกล้ ๆ หรือ ตรงจุด 4 จุดนี้ จุดใดจุด  หนึ่ง โดยหันหน้าของวัตถุไปในทิศทางที่มีพื้นที่ว่างมากกว่า ทำให้ภาพดูเด่น ไม่อึดอัด ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป นักถ่ายภาพทั้งมืออาชีพ และมือสมัครเล่นนิยมจัดภาพแบบนี้มาก

  • เส้นนำสายตา  เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่ง อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปสู่จุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้นมีความ เด่นชัด และน่าสนใจยิ่งขึ้น

  • เน้นด้วยกรอบภาพ  แม้ว่าภาพถ่ายจะสามารถนำมาประดับ ตกแต่งด้วยกรอบภาพอยู่แล้ว แต่การจัดให้ฉากหน้าหรือส่วนประกอบอื่นล้อมกรอบจุดเด่น เพื่อลดพื้นที่ว่าง หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจนั้น ทำให้ภาพกระชับ น่าสนใจ

  • เน้นรูปแบบซ้ำซ้อน   หรือแบบ Pattren เป็นการจัดภาพที่มีรูปร่าง ลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันวางเป็นกลุ่มทำให้ภาพดูสนุก สดชื่น และมีเสน่ห์แปลกตา


    การใช้กล้องถ่ายภาพ

             หลังจากที่ได้ศึกษา เกี่ยวกับอุปกรณ์ในการถ่ายภาพมาแล้ว  ในบทนี้จะพูดถึง การใช้กล้องถ่ายภาพ โดย
    เริ่มต้นจาก

             1. การบรรจุฟิล์ม
      เพื่อให้กล้องพร้อมที่จะใช้งาน ผู้ใช้ต้องศึกษาจากคู่มือของ กล้องอย่างละเอียด เพราะ กล้องแต่ละชนิดแต่ละรุ่นจะมีกลไกในการทำงานไม่เหมือนกันแต่กล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยว       โดยทั่วไป แล้วจะ ไม่แตกต่างกันเท่าใดนักโดยมีขั้นตอนการบรรจุฟิล์มและการตรวจสอบเป็นขั้นตอน ดังนี้

     

       1.  เปิดฝาหลังกล้องและดึงก้านกรอฟิล์มกลับขึ้นจนสุดและวางกลักฟิล์มให้เข้า  กับช่องใส่กลักฟิล์ม ระวังอย่าให้นิ้วหรือหางฟิล์มกระทบกับม่านชัตเตอร์ เป็นอันขาด

      2. ดึงหางฟิล์มออกจากกลัก และสอดปลายของหางฟิล์มเข้ากับแกนหมุนฟิล์ม ให้แน่นและให้รูหนามของกล้องเข้ากับรูหนามเตยของฟิล์มให้สนิท

     3.  ปิดฝาหลังกล้องทดลองขึ้นฟิล์มและกดชัตเตอร์ประมาณ 2 ภาพ  (เพราะเป็นส่วนหัวฟิล์มที่โดนแสงแล้ว)ตรวจสอบความเรียบร้อยของฟิล์ม โดยหมุนก้านกรอฟิล์มกลับให้ตึง เมื่อขึ้นฟิล์มก้านกรอฟิล์มกลับจะหมุนตาม แสดงว่ากล้องถ่ายภาพพร้อมที่จะใช้งานได้แล้ว

     

     

    หมายเหตกล้องถ่ายภาพบางรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้องที่ถ่ายภาพระบบอัตโนมัติจะมีกลไกในการบรรจุฟิล์มที่สะดวกขึ้น ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้กล้องถ่ายภาพชนิดนั้น ๆ

        2. การตั้งค่าความไวแสงของฟิล์ม (ISO)

               ฟิล์มที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะมีค่าความไวแสงที่แตกต่างกันตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นก่อน การถ่ายภาพควรต้องตรวจสอบว่าฟิล์มที่ใช้มีความไวแสงเท่าใด โดยดูได้จากกล่องของฟิล์มและที่ม้วนของ   ฟิล์ม หากกำหนดค่าความไวแสงของฟิล์ม ผิดพลาดจะทำการวัดแสงผิดพลาดด้วย จะทำให้ภาพที่ได้อาจจะ มืดหรือสว่างเกินไปก็เป็นได้

               ในกล้องถ่ายภาพ 35 มม.สะท้อนเลนส์เดี่ยวโดยทั่วไปจะมีปุ่มปรับค่าความไวแสงไว้ที่ด้านบนของตัว กล้อง ซึ่งมีตัวเลขแสดงค่าความไวแสงขนาดต่าง ๆ ไว้ ผู้ใช้ต้องปรับให้ค่าความไวแสงให้ถูกต้อง ซึ่งกล้อง แต่ละรุ่นจะมีวิธีการไม่เหมือนกันซึ่งต้องดูรายละเอียดจากคู่มือการใช้กล้องชนิดนั้น ๆ

               ในกล้องถ่ายภาพบางรุ่นจะมีระบบปรับค่าความไวแสงเองโดยอัตโนมัติโดยตัวกล้องจะมีปุ่มสำหรับอ่านค่า
    ความไวแสงจากรหัสที่กลักฟิล์มดังนั้นเวลาจับกลักฟิล์มต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดของมือเพราะอาจจะทำ ให้รหัสของฟิล์มมีรอยหรือมีคราบสกปรกจะทำให้การวัดแสงผิดพลาดไปด้วย

    •   การตั้งค่าความไวแสงของฟิล์มที่ตัวกล้อง ให้ตรงกับค่าความไวแสง ของฟิล์มเพื่อป้องกันไม่ให้วัดแสงผิดพลาด
          

              3. วิธีการจับกล้องถ่ายภาพ

                 วิธีการจับกล้องถ่ายภาพเพื่อถ่ายภาพต้องจับในท่าที่ถนัดและมั่งคงที่สุด เพื่อป้องกันการ สั่นไหว ของกล้องถ่ายภาพขณะบันทึกภาพ ด้วยการจับด้วยสองมือให้มั่นคง ใช้นิ้วชี้ของมือขวาจะใช้กดชัตเตอร์ และปรับความเร็วชัตเตอร์ และนิ้วหัวแม่มือจะใช้ในการเลื่อนฟิล์ม และใช้อุ้งมือและนิ้วที่เหลือจับกล้องให้มั่น ส่วนมือข้างซ้ายจะวางอยู่ที่ด้านล่างของกล้องโดยใช้อุ้งมือเป็นตัวรองรับด้านล่างของกล้อง ใช้นิ้วหัวแม่มือ สำหรับการปรับระยะชัดและปรับขนาดรูรับแสง ข้อศอกทั้งสองข้างชิดลำตัวเพื่อให้กล้องนิ่งที่สุด
    ขณะบันทึกภาพ

                 นอกจากนี้ยังมีท่าจับกล้องในลักษณะต่างๆ ตามสถานการณ์การถ่ายภาพ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอนและท่าอื่น ๆ เพื่อให้ได้ภาพในมุมที่สวยและคมชัดที่สุด

     

     

       1.  ท่าถ่ายภาพท่าปกติ ใช้มือซ้ายประคองกล้องให้นิ่ง พร้อมปรับระยะชัด และปรับรูรับแสง มือขวา จับตัวกล้องให้แน่น พร้อมทั้งลั่นชัตเตอร์ ข้อศอกชิดลำตัว ทำให้การจับถือกล้องมั่นคงยิ่งขึ้น

     

     

     

     

     

     2.  ท่าถ่ายภาพท่าปกติ ในแนวตั้ง  ข้อศอกชิดลำตัว ทำให้การจับถือกล้องมั่นคงยิ่งขึ้น

     

     

     

    3.  ท่าถ่ายภาพในท่านั่ง  ข้อศอกซ้ายตั้งบนหัวเข่าช่วยให้กล้องนิ่งยิ่งขึ้น

     

     

    4.  ท่าถ่ายภาพท่าในท่านอน   ข้อศอกทั้งสองข้างตั้งพื้น ใช้ในกรณีถ่ายภาพที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ โดยไม่มีขาตั้งกล้อง หรือถ่ายภาพ วัตถุในที่ต่ำ

     

     

      5.  ท่าถ่ายภาพท่าในท่านอน   วางกล้องกับพื้น ใช้ในกรณีที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ    มาก เพื่อให้กล้องนิ่งที่สุด ( ถ้ามีขาตั้งกล้องให้ใช้แทน) หรือตั้งเวลาในการถ่ายภาพตัวเอง

     

     6.  ท่าถ่ายภาพท่าเหนือศรีษะ  ใช้สำหรับถ่ายภาพผ่านสิ่งกีดขวาง แต่ถ่ายภาพในลักษณะนี้ ผู้ถ่ายต้องมั่นใจว่าจะสามารถถ่ายภาพได้ไม่หลุด                  กรอบ หรือกะระยะโฟกัสได้แม่นยำ

     

                 3. วิธีการถ่ายภาพ

                 3.1 การปรับระยะชัด (Fucusing)

                    สิ่งที่สำคัญในการถ่ายภาพ คือการปรับระยะชัดหรือระยะโฟกัสจะช่วยให้ภาพที่ได้มีความคมชัด สำหรับกล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวสามารถมองผ่านช่องมองภาพได้ โดยปรับความคมชัดจากวงแหวน ปรับระยะชัดที่เลนส์ โดยภาพที่ปรากฏผ่านช่องมองภาพจะเป็นภาพจริง ดังนั้นผู้ถ่ายภาพควร ต้องคำนึงถึง วัตถุที่ต้องการเน้นให้มีความชัดเจนมากที่สุด ที่กระบอกเลนส์จะมีค่าแสดงตัวเลขบอก ระยะทางจากตัวกล้อง ไปจนถึงวัตถุที่ปรับระยะชัด ช่วงระยะในการชัดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง ยิ่งแคบมากยิ่งทำ    ให้ ระยะชัดลึกมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าเปิดรูรับแสงกว้างมากต้องระวังการปรับระยะชัดให้ดีเพราะช่วงชัดลึก    จะสั้น หรือเลนส์ยิ่งมีความยาวโฟกัสมากเท่าใดความชัดลึกย่อมมีน้อยตามไปด้วย ดังนั้นผู้ใช้ต้องทำความ      เข้าใจ ในเรื่องนี้และฝึกการปรับระยะชัดให้แม่นยำและรวดเร็ว

                  ในปัจจุบันกล้องบางรุ่นจะมีระบบปรับความชัดอัตโนมัติ (Auto focus) ซึ่งต้องศึกษาการใช้งาน จากคู่มือของกล้องรุ่นนั้นให้ดี เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการถ่ายภาพ

     

     

     

     

     ภาพแสดงวงแหวนปรับระยะชัด พร้อมทั้งตัวเลขบอกระยะชัด

             3.2 การกำหนดความเร็วชัตเตอร์

                      การกำหนดความเร็วชัตเตอร์เป็นความจำเป็นอีกประการหนึ่งในการถ่ายภาพ เพราะจะเป็น ตัวกำหนดช่วงเวลาในการรับแสงของฟิล์ม ซึ่งที่ตัวกล้องจะมีตัวเลขแสดงค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นจำนวน       เต็ม เช่น B 1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 เป็นต้น แต่ความ เป็นจริงแล้ว 1 หมายถึง กล้องจะเปิดม่านชัตเตอร์ให้แสงกระทบกับฟิล์มเป็นเวลา 1 วินาที 2 หมายถึง1/2 วินาที ไปจนถึง 1/1000 วินาที ค่าตัวเลขยิ่งสูงมากเท่าใดความเร็วยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

                     การกำหนดความเร็วชัตเตอร์จะขึ้นอยู่กับสภาพแสงและจุดประสงค์ในการถ่ายภาพเป็นสำคัญ ถ้าแสงมีความสว่างมากเช่นในตอนกลางวันช่วงเวลา 10.00 น. -14.00 น. ในวันที่ฟ้าสดใสไม่มีเมฆ หรือหมอกมาบังจะสามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้สูง เช่น 1/250 1/500 หรือ 1/1000 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การกำหนดรูรับแสงด้วยซึ่งจะได้กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพควรตั้งความเร็วชัตเตอร์   สูงไว้ คือ ตั้งแต่ 1/125 ขึ้นไปจะช่วยป้องกันปัญหากล้องสั่นไหว จะส่งผลให้ภาพที่ได้พร่ามัว และการถ่ายภาพ วัตถุที่ไม่หยุดอยู่กับที่ เช่น การแข่งขันกีฬา ควรตั้งความเร็ว ชัตเตอร์ที่สูงด้วย เช่นกัน เพราะจะทำให้ ภาพ ที่ไห้หยุดนิ่ง (Stop action)

       

     

     

    ภาพแสดงวงแหวนปรับความเร็วชัตเตอร์ 

              3.3 การกำหนดค่ารูรับแสง

                        การกำหนดรูรับแสง เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติควบคู่กับการกำหนดความเร็วชัตเตอร์ เพราะเป็น ตัวกำหนดปริมาณของแสงที่มากระทบกับฟิล์ม ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสงโดยมีการ กำหนดค่าตั้งแต่กว้างสุด จนถึงแคบสุด โดยแทนค่าเป็นตัวเลข ยิ่งตัวเลขมากเท่าใดรูรับแสงยิ่งแคบลง

                     วิธีการเพิ่ม หรือลดรูรับแสงนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแสง ค่าความไวแสงของฟิล์มและความเร็วชัตเตอร์ เป็นสำคัญ ยิ่งเปิดรูรับแสงแคบเท่าใดต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำลง เพื่อรักษาความสมดุลย์ของแสง การเปิดรูรับแสงนั้นจะส่งผลต่อภาพในเรื่องของระยะชัด (Depth of field) ของภาพ ในกรณีที่เปิดรูรับแสงกว้าง จะทำให้ภาพมีความชัดเฉพาะจุดหรือชัดตื้น ถ้าเปิดรูรับแสง ปานกลางถึงแคบสุดภาพ จะเพิ่มระยะชัดหรือมี ความชัดลึกมากขึ้น 

    ภาพแสดงค่าตัวเลขของรูรับแสง (Aperture) 

     

    ภาพชัดตื้น
    เปิดรูรับแสง F 1.4 ความเร็วชัตเตอร์ 1/500

    ภาพชัดกลาง
    เปิดรูรับแสง F 5.6 ความเร็วชัตเตอร์ 1/250

    ภาพชัดลึก
    เปิดรูรับแสง F 22 ความเร็วชัตเตอร์ 1/60

     

               3.4 การวัดแสง

                  หลังจากที่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความเร็วชัตเตอร์กับการเปิดรูรับแสงแล้วต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องการวัดแสงเพื่อให้ได้ภาพมีความสมดุลย์ของแสงและความอิ่มตัวของสี ความเร็วชัตเตอร์และรูรับ แสงต้องมีความสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพส่วนใหญ่จะสามารถปรับสภาพของการรับแสง ของกล้องได้โดยอัตโนมัติก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ถ่ายภาพต้องทำความเข้าใจคือ ลักษณะของภาพที่ต้องการ อาจต้องการภาพที่มีความชัดลึก เช่น ภาพภูมิทัศน์ ภาพงานพิธีต่าง ๆ หรือภาพที่ต้องการให้มีลักษณะชัดตื้น เพื่อเน้นเฉพาะจุด เช่น การถ่ายภาพบุคคล การถ่ายภาพวัตถุ ต่าง ๆ หรือภาพที่ต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ ที่สูงเพื่อหยุดภาพที่เคลื่อนไหวอย่างเร็ว หรือภาพที่ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า

                   ภาพที่วัดแสงได้ถูกต้อง หรือ Normal จะได้ภาพที่มีความเข้มของสีถูกต้อง เหมาะสม แต่ถ้าวัดแสง ผิดพลาดคือ ให้ฟิล์มรับแสงน้อยเกินไป หรือ Under  อาจเกิดจากเปิดรูรับแสงน้อยเกินไป หรือ ใช้ความเร็ว ชัตเตอร์เร็วเกินไป ภาพจะออกมามีโทนสีดำมาก หรือที่เรียกว่า ภาพมืด  ยิ่งผิดพลาดมากเท่าใดภาพยิ่ง มืดมากเท่านั้น ส่วนภาพที่รับแสงมากเกินไป หรือ Over มีสาเหตุจากใช้รูรับแสงกว้างเกินไป หรือความเร็วชัตเตอร์ช้าเกินไป ทำให้ภาพที่

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2880เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2005 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท