ผู้ว่าฯ CEO นครสวรรค์ กับโรงเรียนชาวนา


ผู้ว่าฯCEO โรงเรียนชาวนา นครสวรรค์

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ จัดสรรงบ 2 ทางให้กับกลยุทธโรงเรียนชาวนาที่นครสวรรค์  

      ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาที่นครสวรรค์ที่มีความพยายามผลักดัน แนวทางการรวมกลุ่มเรียนรู้ของเกษตรกร ในรูปแบบโรงเรียนชาวนา โดย กลุ่มนครสวรรค์ฟอรั่มผ่านไปยังผู้ว่าฯCEO  โดยมีหลักการสำคัญ ที่จะพยายามบูรณาการความร่วมมือ หรือ ชุดองค์ความรู้และหน่วยงานต่างๆเข้าหากัน ได้แก่ เกษตร-ภาคเอกชน-ราชภัฏ-กศน.-บริษัทค้าข้าวนครสวรรค์-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น-หน่วยงานสนับสนุนจากส่วนกลาง   

        ขึ้นตนเป็นลำไม้ไผ่ เหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา เริ่มต้นมีการประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ความสำเร็จในข้นต้น คือ ทุกฝ่ายเห็นด้วยในหลักการเรื่อง โรงเรียนชาวนา ผู้ว่าฯพร้อมสนับสนุน  แต่เรื่องความร่วมมือ ไม่สำเร็จ ณ วันนี้ มีงบประมาณ 3 (ส่วนอย่างน้อย) จัดสรรออกมา ให้กับการทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้  งบก้อนแรก เป็นงบประมาณของปี 2548 ประมาณ 11 ล้าน ของเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ ทำเรื่องศูนย์ข้าวชุมชน-การแปรรูปด้านการเกษตรและโรงเรียนชาวนา เป้าหมายพื้นที่ 35 จุดหรือพื้นที่    ส่วนที่ 2 จัดสรรไปตามหน่วยงาน-องค์กร ของทางราชการต่างๆ ในเรื่องเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพ ส่วนที่ 3 จัดสรรให้กับกลุ่มนครสวรรค์ฟอรั่ม  1.4 ล้าน สำหรับโรงเรียนชาวนา 30 แห่ง โดยไปทำเบิกจ่ายที ม.ราชภัฏนครสวรรค์  กาลกลับเป็นว่า ทางจังหวัดจะเปรียบเทียบ ระหว่างงานของ เกษตรจังหวัด กับ ของ NGO !!!   รูปการณ์ ตอนนี้กลายเป็นว่า NGO จะไปทำงานแข่งกับเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งข่าววงในว่าในแวดวงของเจ้าหน้าที่เกษตร เกิดความตึงเครียดในระดับที่แน่นอนหนึ่ง และสุ้มเสียงออกมามาทางไม่ค่อยพอใจกับกลุ่มเอกชนที่มี หมอสมพงษ์เป็นหัวโจกอยู่ ทั้งๆ ที่ความตั้งใจเดิม เราอยากจะให้ทางเกษตรเป็นพระเอก โดยเราไปช่วยหนุนเสริมเรื่อง กระบวนการการเรียนรู้และอยากนำเรื่องการจัดการความรู้(KM) ไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนชาวนาและในระดับของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเป็นคุณอำนวยให้กับกลุ่มของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรตำบล 

โรงเรียนชาวนาแห่งใหม่ 30 แห่ง ในระยะเวลา 4 เดือน !!!

ทิฐิหรือความตั้งใจเดิม ถูกสถานการณ์พาไป ก็ต้องปรับตัว-ปรับความคิด-วิธีการ ไปตามเงื่อนไขเหตุปัจจัยที่เราไม่สามารถกำหนดได้ทั้งหมด แต่เป้าหมาย-ความมุ่งมั่นยังเหมือนเดิม คือ การจัดการความรู้เพื่อความเป็นอิสระในระดับที่สูงขึ้นของกลุ่มชาวนเองพร้อมกับการเรียนรู้ของคุณอำนวยทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง  เราจะจัดการอย่างไร กับ ภาระกิจในช่วงสั้นๆ นี้ ซึ่งเป๋ย Creative tension ภารกิจชัดเจน ว่าเราจะต้องสร้างหรือก่อรูป การรวมตัวกันของเกษตรกรทำนาในนครสวรรค์ขึ้นใหม่ 30 จุดหรือหมู่บ้าน พร้อมกับการเริ่มกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาปรับปรุงการผลิตข้าวแบบใหม่ๆ ที่ไม่ใช้เคมีอันตรายและปุ๋ยเคมี และอื่นๆ เพื่อลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต ลดหนี้-เพิ่มเงินในกระเป๋า และสุขภาวะอื่นๆ

วิเคราะห์ต้นทุนสำคัญที่เรามีอยู่ตอนนี้

จากการประเมินกำลังตอนนี้ องค์กรที่เป็นภาคีหลักที่จะร่วมกันเคลื่อนงานครั้งนี้ได้แก่ เครือข่าย รร.ชาวนาเดิมประมาณ 14 กลุ่ม(กลุ่มครู-เข้มแข็ง 8 กลุ่ม),กลุ่มนครสวรรค์ฟอรั่ม,โปรแกรมพัฒนาชุมชน ม.ราชภัฏฯ, กศน.,แกนนำของ บริษัทค้าข้าวนครสวรรค์ ได้แก่ คุณ วาสนา อัศรานุรักษ์(ท่าข้าวกำนันทรง) และ คุณ วิรัช บัวมหกุล โรงสีไฟย่งฮงจั้ว หนองบัว,เกษตรตำบล(จำนวนหนึ่ง) และ ที่เพิ่งก่อตัวมาภายหลัง คือ องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) จำนวนหนึ่งที่ร่วมมือกับ ม.ราชภัฏ ตามโครงการพัฒนาศักยภาพ อบต.และเทศบาล 21 แห่ง (ทีมนครสวรรค์ฟอรั่มเพิ่งไปช่วยการทดลองทำแผนแม่บทชุมชน โดย นักศึกษาฝึกงาน+อบต.-เทศบาล 3 เดือนที่ผ่านมาได้ผลงาน-กำไรเรื่องคนความสัมพันธ์มาพอควร)

            วัน พุธ ที่ 22 มิถุนายน 2548 นี้จะมีการประชุมแกนนำ ที่สำคัญ เพื่อเริ่มเคลื่อนงาน เท่าที่คิดไว้ จะใช้กลไกการกำหนดและลงพื้นที่(Approach) ผ่าน อบต. 10 แห่ง เพื่อกำหนดหมู่บ้านและชักชวนให้ อบต. ร่วมกันผลักดันการจัดตั้งโรงเรียนชาวนา โดยไม่ให้ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ของเกษตรจังหวัดฯ  มีการกำหนดระบบกำลังคน ทรัพยากร การบริหารจัดการไว้เบื้องตนแล้ว โดยจะใช้ ม.ราชภัฏเป็นศูนย์ประสานงาน (ขยายทีมงานไปจากโครงการชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่ฯ ที่ สสส.และ LDI1-นครสวรรค์ฟอรั่มร่วมงานกันอยู่ในปัจจุบัน)
กระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียนชาวนา ใช้ประสบการณ์จากปีที่แล้ว มีองค์ประกอบเนื้อหาหลัก คือ
1) การเริ่มด้วยการ คว้าความรู้(Capture) สูตรพัฒนาดินในรูปของ ปุ๋ยชีวภาพ และหรือกระบวนบำรุงดิน จากกลุ่มต่างๆ ในจังหวัดประมาณ 2-3 แบบมาทดลองทำแปลงสาธิตเปรียบเทียบกันเพื่อดูว่าสูตรของใครเจ๋ง เหมาะที่จะนำมาใช้ที่หมู่บ้านของตัวเอง
2) การเรียนเรื่องระบบนิเวศน์นาข้าว และเรื่องแมลง(IPM) บนแปลงทดลองในข้อ 1)
3) การคัดพันธ์ข้าว และทดลองปลูกข้าวที่จะทำการตลาดร่วมกันในอนาคต คือ พันธุ์ชัยนาท1
4) และการเรียนรู้ข้ามกลุ่ม ระหว่าง-หลัง การปลูกข้าว-หลังการเก็บเกี่ยว
5)การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของเจ้าหน้าที่-ผู้ประสานงาน-แกนนำของชาวบ้าน ระหว่างและหลังโครงการเสร็จ เพื่อปรับ ระบบคิด-ค่านิยมของ แกนนำทั้งที่เป็นชาวบ้านและผู้สนับสนุนฝ่ายต่างๆ

6) ศูนย์การเรียนรู้เพื่อชีวิต

            ปีนี้จะมีแผนงานที่ซ้อนทับ ลงไปในโครงงานต่างๆโดยเฉพาะโรงเรียนชาวนา ที่ตกลงไว้กับ อธิการบดี ม.ราชภัฏ กับ ผอ.กศน. คือ จะมีการสร้างระบบบันทึก-ตรวจสอบ-การจัดเรียนรู้เสริม-การแปรรูปการเรียนรู้ของทุกที่ ทุกคนออกมาเป็นผลงานทางวิชาการ เพื่อเทียบโอนไปเป็นเครดิต ทางการศึกษา เพื่อเลื่อนระดับวุฒิ ทางการศึกษาให้กับ ผู้ที่ลงทะเบียนหรือมีความต้องการ โดย ระดับก่อนปริญญา ทาง กศน.เป็นผู้ให้วุฒิการศึกษา ส่วนระดับปริญญาและหลังปริญญาทาง โปรแกรมพัฒนาชุมชน ม.ราชภัฎเป็นผู้ให้วุฒิการศึกษา ซึ่งเรื่องนี้ นำความคิดมาจาก ดร.เนาวรัตน์  พลายน้อย แต่อย่างไรก็ตามเรายังอยู่ในอาการ ของการ คิดไปทำไป อยู่สูงมาก แต่ที่ผ่านแล้วก็คือ ระดับนโยบายเห็นพ้องและสนับสนุนเต็มที่ ส่วนทีมทำงาน ยังขยายไม่ออก   เรื่องนี้จะพยายามขยายความเพื่อเผยแพร่เป็นการจำเพาะอีกครั้ง

ระฆังการผลักดันเพื่อการขยายตัวของ เครือข่ายโรงเรียนชาวนาที่นครสวรรค์เริ่มแล้ว ครับ !


Nakhonsawan Forum      18 มิถุนายน 2548
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 288เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2005 04:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอให้กำลังใจครับ

ตอนให้ความรู้เชิงทฤษฎีแก่นักเรียนชาวนา   น่าจะเชิญวิทยากรจากสำนักงานเกษตรจังหวัด   หรือหาทางสร้างความสัมพันธ์กับทางราชการในรูปแบบอื่น

วิจารณ์

เสียดายค่ะ วันที่ 22 มิถุนายน ติดนัดสัมภาษณ์ของโรงเรียนรุ่งอรุณค่ะ ไม่อย่างนั้นทีมประชาสัมพันธ์ สคส. จะขออนุญาตเข้าฟังการประชุมแกนนำ

ขออนุญาติตั้งข้อสังเกตน่ะค่ะ ว่าโรงเรียนชาวนานครสวรรค์ 30 จุดพร้อมๆ กันมากเกิดกำลังหรือเปล่าค่ะ.(ไม่ทราบจริงๆ ค่ะว่าทีมงานเพียงพอที่จะดูแลนักเรียนชาวนาอย่างใกล้ชิดหรือไม่ คือเป็นห่วงเรื่องการให้เวลาที่อาจไม่เพียงพอ)

นอกจากนี้งานที่กล่าวว่าทับซ้อนหลายหน่วยงาน...ไม่ทราบจริงๆ และอยากรู้ลึกๆ ค่ะว่าเป้าประสงค์ไปด้วยกันจริงๆ หรือเปล่า บางครั้งเป้าอาจจะตรงกัน แต่เมื่อลงมือเดินเครื่องด้วยความที่ถือกระบวนการคนละอย่างอาจเป็นปัญหาได้ หรือเปล่าค่ะ..

ขอเป็นกำลังใจให้โรงเรียนชาวนาเกิดขึ้นได้จริงๆ และชาวนาได้ประโยชน์เต็มที่ค่ะ

เรา ทางบริษัท ไทยแมนเดท เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด ผู้นำเข้าปุ๋ยยูเรีย สูตร 46 -0 -0 จากประเทศยูเครน รายเดียว ในประเทศไทย ราคาตามท้องตลาด สนใจ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

อนุรักษ์ 01 345 9063 / 02 919 4995

 

เรา ทางบริษัท ไทยแมนเดท เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด ผู้นำเข้าปุ๋ยยูเรีย สูตร 46 -0 -0 จากประเทศยูเครน รายเดียว ในประเทศไทย ราคาตามท้องตลาด สนใจ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

อนุรักษ์ 01 345 9063 / 02 919 4995

 

อยากให้มีการดูงานในพื้นที่ให้หลากหลายมากขึ้น

วิรัตน์ คำศรีจันทร์
  • เรื่องการเชื่อมโยงโรงเรียนชาวนาเข้ากับการจัดการศึกษาอบรมด้วย น่าสนใจมากเลย ถ้ามีกิจกรรมและความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อีก จะพยายามขวนขวายมาเข้าร่วมนะครับ
  • ผมเคยได้คุยกับเพื่อนๆ-พี่ๆ ที่อำเภอหนองบัวถึงกิจกรรมและความริเริ่มของเครือข่ายโรงเรียนชาวนาที่คุณหมอและคณะ พยายามทำ ก็มีคนตื่นตัวและพูดถึงกันอยู่นะครับ    
  • รำลึกถึงทุกท่านนะครับ และขอเป็นกำลังใจ เวลากลับไปบ้านที่หนองบัวและได้จัดเวทีชุมชน จะหาทางเชื่อมต่อ ให้เด็กๆและชาวบ้านรอบนอกๆ  ได้มีโอกาสเป็นเครือข่ายเรียนรู้กับคุณหมอบ้างนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท