Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

คนที่มีสัญชาติต่างประเทศแต่สัญชาตินี้ไม่ก่อสุขภาวะอันพึ่งมี จึงเป็นเสมือนคนไร้สัญชาติ


เมื่อสัญชาติที่มีไม่ก่อประโยชน์ สัญชาติที่ก่อประโยชน์ ก็คือ "สัญชาติไทย" แต่ก็ไม่มีสัญชาติไทย ทั้งที่ควรจะมีสัญชาติไทย คนอย่างคุณมาเรียหรืออีก ๓ คนที่มาในวันนี้ จึงตกเป็น "เสมือนคนไร้สัญชาติ" ทั้งที่มีสัญชาติ

วันนี้ เริ่มต้นงานโดยการสอบปากคำคน ๓ คนที่มีสัญชาติ แต่สัญชาติที่เขามีไม่เอื้อสุขภาวะของพวกเขาแต่อย่างใด ?

เคยเล่าถึง "คุณมาเรีย" ซึ่งเป็นคนที่มีสัญชาติต่างประเทศที่เข้ามาสมรสกับชายสัญชาติไทย และอาศัยอยู่ในประเทศไทย จนสัญชาติเดิมที่มีอยู่ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อการดำงชีวิต เมื่อสัญชาติที่มีไม่ก่อประโยชน์ สัญชาติที่ก่อประโยชน์ ก็คือ "สัญชาติไทย" แต่ก็ไม่มีสัญชาติไทย ทั้งที่ควรจะมีสัญชาติไทย คนอย่างคุณมาเรียหรืออีก ๓ คนที่มาในวันนี้ จึงตกเป็น "เสมือนคนไร้สัญชาติ" ทั้งที่มีสัญชาติ

          แล้วรัฐไทยจะนั่งนิ่งเฉยในทุกขภาวะของคนเล่านี้หรือไหร่ ?

         โดยกฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติไทย ถ้าคนเหล่านี้พิสูจน์ได้ว่า เขามีความกลมกลืนกับสังคมไทย หรือมีศักยภาพที่จะกลมกลืนกับสังคมไทย รัฐไทยก็อาจให้สัญชาติไทยแก่เขาได้ 

         ขอให้สังเกตว่า ในสถานการณ์นี้ นิติศาสตร์ได้เปิดพื้นที่ให้รัฐศาสตร์เข้ามาในวินาทีนี้

         หากนักการเมืองและนักนโยบายไม่รู้จักใช้ รัฐศาสตร์ในสถานการณ์ที่จุดเกาะเกี่ยวทางการเมืองที่แท้จริงได้ปรากฏขึ้นระหว่างรัฐและคนที่สูญเสีย "ความเกาะเกี่ยวกับรัฐเจ้าของสัญชาติเดิม"   ทุกขภาวะก็จะค่อยขยายตัวเข้าครอบงำคนที่มีปัญหาสถานะบุคคลดังกล่าว ปัญหาความไม่มั่นคงแห่งความเป็นมนุษย์ที่เกิดแก่ คนๆ หนึ่งบนแผ่นดินของรัฐไทย จึงอาจขยายตัวกลายเป็นความไม่มั่นคงของดินแดน

           ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชดำรัสต่อคณะรัฐมนตรีในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๔ ว่า ประชาชนที่อยู่ในประเทศเขามีมานานแล้ว แต่ก็ไม่เป็นคนไทย คือ เขาไม่ถือว่าเป็นคนไทยแท้จริง เขาอยู่และเกิดในเมืองไทย แต่ก็ไม่ได้รับประโยชน์ของความเป็นไทย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะต้องปฏิบัติเหมือนกัน เพราะว่า ถ้าหากว่ามีคนที่อยู่ในเมืองไทยและก็มีความน้อยใจมาก ไม่มีใครเอาใจใส่ก็จะทำให้ความมั่นคงของประเทศด้อยไป

            จะเห็นว่า ความในพระราชดำรัสดังกล่าวจึงเป็นข้อเสนอที่พระองค์ท่านมีต่อรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ถึงงาน ความมั่นคงแห่งชาติในทางประชากรดังที่เชื่อในนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงว่า เมื่อความมั่นคงในมนุษย์ (Human Security) ภายในชาติไม่มี ความมั่นคงแห่งชาติก็เกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งที่ทรงแนะนำให้สร้างความเป็นไทยให้แก่ประชากรซึ่ง (๑) อยู่ในประเทศเขามีมานานแล้ว และ (๒) อยู่และเกิดในเมืองไทย ดังกล่าว เป็นการสนองรับพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ ๖ ซึ่งทรงใช้ มาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๕๖ ในการให้ความเป็นไทยแก่คนต่างด้าวและครอบครัวซึ่งเข้ามาเป็นจำนวนมากในสมัยนั้นเช่นกัน

          ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองไทยจึงมีมาโดยตลอดแม้จะมีการเข้ามาของคนต่างชาติที่มีพลังอำนาจทั้งในทางทหารและเศรษฐกิจ ทิศทางที่ทั้งสองพระองค์ทรงพระราชดำรินั้นเป็นสิ่งที่ฝ่ายงานความมั่นคงของรัฐไทยทำมาโดยตลอด แต่ไม่ต่อเนื่อง จึงไม่เสร็จสิ้น สภาความมั่นคงแห่งชาติจึงควรที่จะถอดบทเรียนนี้อย่างจริงจังเสียที

           แต่ก็คิดว่า สภาความมั่นคงแห่งชาติเรียนรู้ข้อบกพร่องของตนเองและฝ่ายบริหารของไทย จึงมีการผลักดันให้คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘ ยอมรับ ยุทธศาสตร์การจัดการสถานะและสิทธิของบุคคล

          ขอแต่อีกครั้ง สภาความมั่นคงแห่งชาติก็ผลักดันยุทธศาสตร์ให้มีผลอย่างเต็มที่ไม่ได้ เพราะรัฐบาลทักษิณฯ ไม่ได้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ ใจร้ายไหมนะ ที่ฟันธงแบบนี้ คุณจาตุรนอาจจะเห็นเรื่องนี้สำคัญ แต่ไม่ใช่คนอื่นๆ ใน ทรท.

          .....แล้วจะมาเล่าต่อ...ถึงการให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ (๑) คุณฟองจันทร์ คนสัญชาติอเมริกันที่ไม่เคยรู้สึกผูกพันกับประเทศสหรัฐอเมริกา (๒) คุณสุขสบาย คนสัญชาติอินเดีย ที่คิดไม่ออกว่า ตนจะกลับไปอยู่อินเดียได้ไหม เขาไม่ใช่คนอินเดีย แล้วกัน !!! และ (๓) คุณเดยา คนสัญชาติอินโดนีเซีย ซึ่งทุกข์มาก เมื่อคิดว่า จะต้องไปจากประเทศไทย

          การรักษาทุกขภาวะแก่ คนไข้เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทำได้โดยกฎหมายและนโยบายของฝ่ายบริหาร แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะรับฟัง และฟังรู้เรื่องไหมนะ ?

    ช่วยบอกหน่อยค่ะว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยชื่ออะไรนะคะ ?

ปล.ไม่น่าเชื่อว่า แนวคิดเรื่องคนเสมือนไร้สัญชาตินี้ ได้รับการยอมรับจนเป็นเหตุให้สามารถทำให้สามารถขจัดปัญหาความเสมือนไร้สัญชาติไทยให้แก่ฟองจันทร์ได้ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ โดยมาตรา ๒๓ วรรค ๑ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

หมายเลขบันทึก: 28786เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2006 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจไม่ตรงประเด็นอาจารย์นัก และดูจะเป็นการเอาแต่ใจไปหน่อยที่จะแลกเปลี่ยนดังต่อไปนี้ (อิอิ)

มี ๒ ประเด็น นะคะ --อาจารย์

หนึ่ง-ตามความรู้เท่าที่ยังพอติดสมองและสามารถนึกมาใช้ ณ ตอนนี้ รัฐไทยเราก็มีหลักการเรื่องแปลงสัญชาติอยู่แล้วนิคะ หนูยังไม่เข้าใจ /ไม่เห็นภาพค่ะ ว่า "ความยาก" หรือปัญหาที่คุณฟองจันทร์ (สัญชาติอเมริกัน), คุณสุขสบาย (สัญชาติอินเดีย) และคุณเดยา สัญชาติอินโดฯ กำลังเผชิญอยู่นันคืออะไรคะ คงต้องขอข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีกค่ะ ถึงจะร่วมแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมได้ค่ะ

สอง- หนูเห็นด้วยและสนับสนุนเสมอในหลักการที่ว่า สังคมไทยควรต้องใส่ใจกับปัญหาสถานะบุคคลของคนที่เกิด/อยู่อาศัยในรัฐไทยมานานแล้ว ผสมกลมกลืนแล้ว แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะปัญหาที่เขาต้องเจอนั้นมันเป็นเรื่องใหญ่และแสนจะไม่เป็นธรรมสำหรับทุกชีวิตเหล่านั้น

และการให้สัญชาติไทย ให้สิทธิอาศัยฯ แก่กลุ่มคนที่มีปัญหาสถานะบุคคล ก็เป็นทางออกหนึ่ง และรัฐควรดำเนินการตามหลักการที่ว่าไว้อย่างจริงจัง

อย่างไรก็ดี หนูกำลังมีคำถามและคิดต่อเกี่ยวกับเรื่อง "สิทธิที่จะได้รับการยอมรับและแตกต่าง และการเข้าถึงสิทธิในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ"

หนูเคยถามบอมและใหญ่ว่า ถ้า 'คนพื้นเมือง' (ขอใช้คำนี้นะคะ) หรือ คนต่างด้าวที่เข้ามาในรัฐไทยมาเป็นเวลานานแล้ว ในรูปแบบต่างๆ--ไม่ได้สัญชาติไทย แต่เขาสามารถเข้าถึงสิทธิในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ สัญชาติไทย-ยังเป็นสิ่งที่หลายคนอยากได้อยู่ไหม???

ประเด็นที่สองนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ อาจารย์และใครหลายคนพูดถึงมานานแล้ว แต่หนูว่าภาพความชัดเจนของมันยังไม่ชัดเจนเท่าประเด็น "การให้หรือไม่ให้สัญชาติ"

สาม-ขอถามกลับแกมเปลี่ยนเป็นประเด็นค่ะว่า--เป็นไปได้ไหมคะ ที่เมืองไทยจะมีกฎหมายรับรองสิทธิคนพื้นเมือง

อาจารย์ครับ... ตามมาอ่านBlog ครับ โดยเนื้อหาและประเด็นของBlog น่าสนใจมากเลยครับ ผมทำงานอยู่ที่แม่ฮ่องสอน ทำงานกับคนชายขอบ ที่มีปัญหาเรื่องสัณชาติ และก็ก่อเกิดปัญหาต่างๆตามมาโดยปัจจัยต่างๆ เห็นความไม่เป็นธรรม(ทั้งๆที่มันไม่มีอยู่แล้วในความเป็นจริง) แทบไม่มีพื้นที่ทางสังคมให้คนเหล่านี้... การเรียกร้องสิทธิอันพึงมี ในฐานะมนุษย์ กลับถูกเพิกเฉย และถูกปฏิบัติราวกับว่า...เขาไม่มีจิตใจ บางทีเราพบความจริงที่เจ็บปวด ... และพบบ่อยครั้งว่าเราไม่มีทางเลือกครับ เราก็ต่อสู้กันไปตามศักยภาพที่พอมี.. ช่วงหลังเราได้ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพและสร้างพื้นที่ทางสังคม ...ตลอดจนกระบวนการวิจัย สร้างความมั่นใจ อบอุ่นให้กับพวกเขา อาจเป็นวิธีเดียวที่เราใช้ที่นี่ครับ ประเด็นที่เราทำเป็นเรื่องของ "ยาเสพติด" ครับ ซึ่งก็เป็นเงื่อนไขที่รัฐใช้เป็นเงื่อนในการ "บังคับวิถี" ซึ่งวิเคราะห์ดูแล้ว สาเหตุที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากคนชายขอบเหล่านี้แต่เพียงอย่างเดียว...การโยนความผิด ทำให้สังคมมองคนกลุ่มนี้ผิดไปจากความจริงมาก เสียงที่เบาๆอยู่แล้วก็แทบไม่มีแรงที่เปล่งเสียงเรียกร้องใดๆได้เลย ----------------ขออนุญาตนำBlog อาจารย์เข้าใน Planet ของผมเพื่อที่จะได้ติดตามและแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ในห้วงต่อๆไป

สวัสดีครับ..

ผมเรียนวิศวะฯ

ถาม หลักนิติรัฐ คือ อะไร

กฎหมายของแต่ละประเทศมีไว้ทำไม

เมื่อมีกฎหมายจะต้องถือปฏิบัติเหมือนกันหรือไม่

กฎหมายที่กำหนดแต่ละเรื่องไว้ก็คือหลักทั่วไปที่ทุกคนต้องปฏิบัติและได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน การไม่ต้องปฏิบัติ คือ ข้อยกเว้น การยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายต้องทำอย่างไร

ที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งกรณีคนไร้สัญชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยหรือผู้หลบหนีเข้าเมือง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการละเลยการปฏิบัติตามกฎหมาย จนนำไปสู่การยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายหลายต่อหลายครั้ง แล้วกฎหมายจะศักดิ์ ได้อย่างไร นิติรัฐ คือ ความหมายในลักษณะไหน

การที่ไม่สามารถทำให้ทุกคนได้รับยกเว้น หรือการไม่ไม่สามารถทำให้คนหลบหนีเข้าเมืองหรือคนที่ยังไม่ครบองค์ประกอบตามหลักกฎหมาย ได้สัญชาติไทย เป็นความผิดของรัฐไทย หรือ ?

ตอบคุณไท

สิ่งที่คุณไทอภิปรายมา น่าจะถูกหากจะกล่าวถึงเพียง "คนไร้รัฐหรือคนไร้สัญชาติโดยข้อกฎหมาย" ซึ่งเป็นคนต่างด้าวสำหรับกฎหมายไทย และยิ่งถูกหากกล่าวถึงคนที่เพิ่งเข้ามา (new comers)

หากจะกล่าวถึง "คนไร้รัฐหรือคนไร้สัญชาติโดยข้อเท็จจริง" อาทิ กรณียุทธนา ผ่ามวัน การเคารพ "หลักนิติรัฐ" ก็คือ การนำเขากลับเข้าสู่ ทร.๑๔ และชาวเขาดั้งเดิมจำนวนมาก ก็จะต้องได้รับการปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน

หลักนิติรัฐควรจะศักดิ์สิทธิ์สำหรับคนทุกคน มิใช่คนบางคน เรื่องของ Stateless Person หรือ Nationalityless Person เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันเป็นเรื่องๆ กรณีคนแม่อาย ๑๒๔๓ คน ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของคนหลายธรรมชาติที่ประสบปัญหาความไร้รัฐและความไร้สัญชาติเหมือนกัน แต่อาจมีสาเหตุที่ต่างกัน

จึงสรุปว่า รัฐไทยก็มีทั้งถูกและผิดในเรื่องนี้ค่ะ

แต่ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไทยในหลายพื้นที่อาจผิดมากกว่ารัฐไทยที่ปล่อยให้ "หลักสิทธิมนุษยชน" ถูกละเมิด หรือยอมรับให้การทุจริตดำเนินไปอย่างลอยนวล

แต่ก็แน่นอน เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกต้องดีงามก็มีอยู่เช่นกัน

หากเราพิจารณาด้วยความรู้ มิใช่อารมณ์ เราก็จะแก้ปัญหาของประเทศไทยได้ค่ะ ในอดีต ประเทศไทยสงบสุขกว่าพม่า ทั้งที่มีชนกลุ่มน้อยไม่น้อยกว่าพม่า แล้ววันนี้ล่ะ ??? ผู้บริหารรัฐไทยจะรักษาความสงบสุขนี้ไว้ได้หรือไม่ ???

หากยังมีการอ้างกฎหมายเพียงเพื่อแสดงความใจร้ายต่อมนุษย์ด้วยกัน หลายสิ่งร้ายๆ ก็คงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน....

รัดมนตรีกระทรวงมหาดไทยชื่ออะไรหยอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท