nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

เก็บมาเล่าต่อเรื่อง “โรงเรียนนอกกะลา”


เราจะสามารถทำโรงเรียนแบบลำปลายมาศพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ ได้อีกหรือไม่???

วันนี้ได้อ่านบทความของคุณหมอ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ วรพงษ์ เวชมาลีนนท์ คอลัมม์จิตวิวัฒน์ ในมติชน วันเสาร์ที่ 15 ส.ค.2552   เล่าเรื่องโรงเรียนนอกกะลา

 

ผู้เขียนเล่าสิ่งที่ได้ฟังจาก คุณครูวิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งถูกเชิญไปเล่าเรื่องโรงเรียนนี้ในเวทีจิตวิวัฒน์    ฉ้นอ่านแล้วจับใจจึงเอาบางส่วนมาเล่าต่อ  ตัวหนังสือสีน้ำตาลลอกมาจากบทความทุกตัว

 

ลักษณะโดดเด่นของโรงเรียน นอกกะลา แห่งนี้

·        เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอบ

·        เป็นโรงเรียนที่ไม่มีเสียงออดเสียงระฆัง

·        เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการอบรมหน้าเสาธง

·        เป็นโรงเรียนที่ไม่มีแบบเรียนสำเร็จรูป

·        เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการให้ดาว

·        เหล่านี้คือประเด็นท้าทายระบบการศึกษา

 

แล้วนักเรียนล่ะ เป็นใคร มาจากไหน คัดมาเป็นพิเศษละซี

นักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียนนี้จะมาจากครอบครัวชาวไร่ชาวนาในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าได้ด้วยการจับสลากเท่านั้น และไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ร้อยละ 70 ยากจน อีกอย่างน้อย 40 ครอบครัว เป็นเด็กกำพร้า มีเด็กสติปัญญาบกพร่องร่วมเรียนด้วย

ผลการประเมินโรงเรียนโดย สมศ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้มาประเมินโรงเรียนแล้วพบว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก 13 มาตรฐาน และอยู่ในเกณฑ์ดี 1 มาตรฐาน

ผลการสอบเอ็นที (National Test)

พบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศ ทั้งที่โรงเรียนไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "วิชาวิทยาศาสตร์"

จัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร

คุณครูของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจะใส่ใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้เลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ เรียนรู้การวางแผน และลงมือทำจริง จากนั้นจึงนำผลงานมาแสดงและแลกเปลี่ยน ช่วยกันประเมินและเรียนรู้การวางแผนอีก เป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยๆ ไป เป็นไปตามปรัชญาที่ว่าการเรียนรู้ที่แท้เกิดจากการลงมือทำจริง

ผู้ปกครองทำอะไรบ้าง

มีชั่วโมงที่ผู้ปกครองจะเวียนกันมาสอนนักเรียน ที่เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ได้เพราะครูใช้เวลาทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง...ไม่รู้จะสอนอะไรก็มาทำกับข้าว หรือเล่านิทาน....พอเวลาผ่านไป...ผู้ปกครองจะเริ่มเปลี่ยน ไม่คาดหวังลูกในเรื่องการสอบแข่งขัน แต่มั่นใจในสิ่งที่โรงเรียนทำ ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ยั่งยืน...

 

คุณครูล่ะ เป็นอย่างไร    (มีคำตอบที่สั้นมาก แต่ได้ใจความ)

สำหรับครูที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาแล้ว

"ถ้าเป็นครูที่ดีไม่ได้ เราจะไปทำอาชีพอื่น"

มีครูจากทุกสารทิศไปดูงานที่โรงเรียนแห่งนี้  ประโยคที่ออกจากปากแขกที่ไปเยือนคือ

"เราทำไม่ได้หรอก"

คุณครูวิเชียร เล่าว่า มีอยู่คราวหนึ่งที่ได้ยินคำนี้จากผู้มาดูงานถึงห้าครั้งในเวลาครึ่งชั่วโมง

คำถาม ข้อสงสัยของผู้เขียนบทความ คงเหมือนกับคำถามของฉัน และ คงเป็นคำถามเดียวกับทุกๆ คนที่ได้ยินเรื่องโรงเรียนแห่งนี้คือ

 

เราจะสามารถทำโรงเรียนแบบลำปลายมาศพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ ได้อีกหรือไม่???

 

เสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2552

 

 

ในบทความเต็มมีรายละเอียดมากมายที่น่าสนใจ  ท่านสามารถเข้าไปอ่านเพื่อเติมพลังความคิดสร้างสรรค์ได้ที่นี่

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01150852&sectionid=0130&day=2009-08-15

 

เมื่อวันที่ ๒๙ เม.ย. ปี ๕๒ ฉันได้รับหนังสือชื่อ โรงเรียนนอกกะลา เขียนโดย คุณครูวิเชียร ไชยบัง จาก คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร  อ่านแล้วชอบมาก ได้ประโยชน์มาก  เขียนเล่าไว้แล้วที่

 

http://gotoknow.org/blog/nuinui/259312

 

หมายเลขบันทึก: 287784เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2009 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2014 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ

  • น่าชื่นชมมากค่ะ  โรงเรียนนอกกะลา
  • ได้อ่านหนังสือ..อ่านแล้วอ่านอีกค่ะ
  • ทำไมหนอสิ่งดี ๆทีมีอยู่จะเป็นต้นแบบให้ใคร ๆนำไปใช้กัน
  • มีความสุขและเป็นความโชคดีของเด็ก ๆที่ได้อยู่โรงเรียนนี้ค่ะ
  • อ่านแล้วชอบและอยากให้เป็นครับ แต่สงสัยเหมือนคนอื่น ว่าจะทำจริงได้อย่างไร "ทำไม่ได้หรอก" ถ้าระบบการศึกษาของบ้านเราเป็นอย่างปัจจุบัน
  • เข้าไปอ่านบทความเต็มเพิ่มเติม จึงพบส่วนท้าย ที่พูดถึงการบริหารแบบรวบอำนาจ..อุปสรรคน่าจะมีมากกว่านั้น ที่สำคัญที่นึกได้ บ้านเราไม่ใช่เรียนเพื่อรู้ครับ แต่เรียนเพื่อให้ได้หลักฐานการศึกษา หรือเพื่อปริญญาบัตรเท่านั้น หลักสูตรต่างๆของมหาวิทยาลัยจึงขายดิบขายดี วิทยาเขตกระจายไปทุกหัวระแหง "จ่ายครบจบแน่"เป็นคำที่เขานินทากัน
  • ฉะนั้น จึงคิดครับว่าเรียนเพื่อรู้ แบบโรงเรียนนอกกะลา คงยากที่จะให้ผุดขึ้นทั่วๆไป ทั้งๆที่ดีมาก เพราะคือการศึกษาที่แท้จริง
  • ขอบคุณสาระดีๆครับ
  • อาจารย์ธนิตย์ที่เคารพ
  • ดิฉันคนวงนอกแต่สนใจเรื่องนี้มากค่ะ  เพราะมันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับคุณภาพของคนค่ะ
  • ดิฉันเฝ้ามองคุณภาพของคนจากการทำงานของคนรุ่นใหม่ มันเปลี่ยนไปมาก...
  • “สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้มาประเมินโรงเรียนแล้วพบว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก 13 มาตรฐาน และอยู่ในเกณฑ์ดี 1 มาตรฐาน”   และ
  • "พบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศ ทั้งที่โรงเรียนไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "วิชาวิทยาศาสตร์"
  • ในฐานะคนวงใน อาจารย์อธิบายผลสัมฤทธิ์ตรงนี้อย่างไรคะ

  • เรียนคุณnuiที่เคารพครับ
  • ไม่รู้รายละเอียดอะไรมาก เช่น ทั้งที่โรงเรียนไม่มีสิ่งที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์.. ก็ยังไม่เข้าใจครับ
  • แต่พยายามคิดตามประสบการณ์ที่มีนะครับ..แม้นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีนี้ จะได้คะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ในหลายวิชาก็ตาม แต่ไม่น่าจะไปแข่งขัน ช่วงชิงความเป็นเลิศกับใครๆได้ ด้วยระบบการวัดประเมินผล หรือการคัดเลือกบุคคลเข้าเรียนต่อ รวมทั้งการคัดเลือกคนเข้าทำงาน คิดบนพื้นฐานการศึกษาบ้านเราในปัจจุบันนะครับ
  • ถ้าเป็นอย่างนี้แค่บางโรง เป็นเรื่องปกติครับ แต่ถ้าจะให้เป็นอย่างนี้ทุกโรง โดยเฉพาะโรงเรียนที่สุดยอดๆ(ฮิต)ด้วยแล้ว ทั้งโรงเรียนและผู้ปกครอง ไม่น่าจะยอมครับ
  • เอาง่ายๆนะครับ ให้โรงเรียนสุดยอดทั้งหลาย รับนักเรียนด้วยการจับฉลาก 100% ไม่ให้เลือกรับเฉพาะเด็กเก่งๆเท่านั้น ด้วยการสอบ แค่นี้ก็น่าจะยุ่งแล้วครับ..

 

  • ..ให้โรงเรียนสุดยอดทั้งหลาย รับนักเรียนด้วยการจับฉลาก 100% ไม่ให้เลือกรับเฉพาะเด็กเก่งๆเท่านั้น ด้วยการสอบ แค่นี้ก็น่าจะยุ่งแล้วครับ..
  • เรื่องการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่จริงๆ ดิฉันเคยอ่านบทความชื่อ "10 เหตุผลที่ต้องปฏิรูปการศึกษา" เขียนโดยนักการศึกษา จะลงอกลับไปอ่านอีกสักครั้ง เผื่อได้อะไรใหม่ๆ
  • ขอบคุณนะคะที่เข้ามาให้ความเห็น

สวัสดีค่ะ โอ้โรงเรียนดีๆอย่างนี้ต้องไปดูงานมากๆและประชาสัมพันธ์ให้มากๆ...ขอชื่นชนชมค่ะ...คะแนน NT ก็สูง...

ขอบคุณนะคะที่เอาเรื่องดีๆมาเล่าให้ฟังค่ะ

เอื้องนางชีค่ะ

  • สวัสดีค่ะคุณแดง
  • เอื้องนางชีสวยมากค่ะ  ตอนนี้กำลังหัดเลี้ยงหวาย (ไม่มีความรู้เลย) ถ้ามีปัญหาจะขอปรึกษาคุณแดงนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ไม่ได้เข้ามาทักทายนานแล้ว

มาขอบคุณที่ส่งของไปร่วมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษที่จ.สุพรรณบุรี

ครูต้อยเองเสียดายมากที่ไปร่วมด้วยไม่ได้

ด้วยติดภาระกิจที่บ้านกรุงเทพฯ

น้องอ.ขจิต ตื่นเต้นมากที่น้องคุณ nui

เห็นความสำคัญของการศึกษา

ขอบคุณค่ะ

ผมเพิ่งเสร็จเวทีเเรกของ การทำ KM ในวงการศึกษาประเด็น "การพัฒนาจิตสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์" ภายใต้ประเด็นตาม หนังสือ โรงเรียนนอกกะลา ครับ ผมได้ให้หนังสือเล่มนี้กับ ผอ.ทุกโรงเรียนที่ผมไปเยี่ยมและเก็บข้อมูลครับ

ดีใจมากครับที่ พี่ชอบและสนใจประเด็นการศึกษา หนังสือ เล่มนี้ผมเองก็ชื่นชอบมากครับ

วันนี้ได้คุยกับ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ก็คุยกันในประเด็นนี้ด้วย ในอนาคตเราจะขับเคลื่อนประเด็นการศึกษา ประเด็นก็คงไม่ต่าวจากเนื้อหาจากหนังสือ Value inEducation ครับ

และไม่กี่วันก่อน มีที่ปรึกษา รมต.ศึกษาฯ ท่านก็สนใจนะครับ ผมได้คุยกับท่านสองสามครั้งผ่านทางโทรศัพท์ ผมคิดว่า ตอนนี้ มีหลายภาคส่วนสนใจ และผมคิดว่าจะมีการขับเคลื่อนกันอย่างจริงจังน่าดีใจมากๆครับ

  • สวัสดีค่ะ krutoi
  • กว่าจะรู้ตัวว่าสนใจเรื่องการศึกษา ก็แก่เกินกว่าจะเปลี่ยนอาชีพแล้วค่ะ
  • ชอบตามข่าวเรื่องการศึกษา  ตามประเด็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ตอนทำหลักสูตร 50 ได้เข้าไปเป็นคณะทำงานกลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษา  สนุกและได้ประโยชน์จริงๆ ค่ะ
  • จะคอยตามอ่านเรื่องเล่าจากชาวค่ายค่ะ
  • ครูต้อยสบายดีนะคะ
  • สวัสดีค่ะคุณเอก
  • ประเด็น"การพัฒนาจิตสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์"  ยอดเยี่ยมมากค่ะ  ชื่นชมใครก็ตามที่ทำเรื่องนี้
  • ฟังจากที่คุณเอกเล่า  พี่มีความหวังว่างานนี้จะเดินหน้า  อย่าท้อนะคะถ้าได้ยินคำว่า  "เราทำไม่ได้หรอก"
  • ตอนเริ่มทำงานทักษะชีวิต  อ.ประเวศ พูดที่โต๊ะอาหารของเราว่า  "การทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ นี่สิท้าทาย และเป็นความภูมิใจ"
  • วันก่อนคุณหมอยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ แวะไปเยี่ยมพี่ เอาหนังสือ "สุขแท้ด้วยปัญญา วิถีสู่สุขภาวะทางปัญญา" ของท่าน พระไพศาล วิสาโล ไปฝาก
  • เป็นหนังสือที่ต้องอ่านอย่าง "ประณีต" ค่ะ  เพื่อซึมซับสาระดีๆ
  • แค่ข้อความปกหน้า "สังคมดีขึ้นได้ ถ้าคุณไม่มัวแต่คิด และนิ่งเฉย" กับปกหลัง "ทัศนคติอันเป็นที่มาแห่งความสุข ๔ ประการ" ก็กินใจเกินบรรยายแล้วค่ะ
  • "สุขภาวะทางปัญญา" เป็น ต้นทางของ  "การพัฒนาจิตสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์"  ค่ะ
  • คนหนุ่ม ไฟแรง เปี่ยมอุดมการณ์ แบบคุณเอกย่อมเป็นหนึ่งพลังขับเคลื่อน "สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้" ค่ะ

สวัสดีครับ

มาอ่านเรื่องของโรงเรียนนอกกะลา จากที่นี่ แล้วน่าชื่นใจที่มีโรงเรียนในลักษณะนี้อยู่ในประเทศไทย อย่างไรการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่น่าไปถอดองค์ความรู้จากที่นี่นะครับ

  • สวัสดีค่ะอาจารย์ บินหลาดง
  • ดิฉันเพิ่งเจอบทความ สรุปบทเรียน เรื่อง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  ว่าจะเอามาเล่าต่อค่ะ
  • ถ้าดิฉันเป็นเด็ก ก็อยากเรียนที่นี่แหละค่ะ

โรงเรียนนี้ต้องขอชื่นชมกับแนวความคิดของผู้บริหารและผูู้ที่มองการศึกษาแบบยั่งยืน  ไม่ใช่การศึกษาแบบเกรดนิยม หรือปริญญานิยม อยากให้โรงเรียนแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยจังหวัดละแห่ง เป็นของรัฐยิ่งดี นี่คนต่างชาติด้วยซ้ำที่คิดจะทำ และทดแทนคุณแผ่นดิน เพราะชีวิตของลูกต้องอยู่ด้วยตัวของเขาเอง เป็นการปูพื้นฐานชิวิตจริง เป็นโรงเรียนที่สอนตำราชีวิตให้กับเด็ก ขอชื่นชมจริง ๆ ค่ะ อยากให้ลูกได้มีโอกาสเรียนโรงเรียนแบบนี้บ้าง แต่คงไม่มีโอกาสถ้าการศึกษาไทยยังประเมินครูด้วยการทำผลงาน ครูก็มีเวลาอยู่กับผลงานมากกว่าเด็ก

ผมอายุ15  ผมไม่เคยอ่านหนังสือนี้ นะครับ แต่ผมคิดแบบนี้ได้สัก4-5เดือนแล้วผมเคยพูดให้คนฟังเค้าบอกวาผมบ้าเค้าไม่กล้าคิดนอกกรอบเพราะผมเห็นการศึกษาสมัยนี้มัน ทำไปเพื่อเอาเกรดเพื่อเพิ่มเงินเดือน ไม่ได้พัฒนาความรู้ที่แท้จริง การศึกษาเริ่มมีแต่ความรู้ เหมือนคอมพิวเตอแต่ไม่ค่อยจะมีจินตนาการ ผมกำลังคิดอยู่ ผมเพิ่งขึ้นม. 4 ผมคิดผิดรึป่าวก็ไม่รุที่ไปเรียนในโรงเรียน
ผมสายวิทคนิตคับ ผมเบื่อจะทำสิ่งที่จอมปลอม เช่น
อ่านหนังสือเพื่อสอบ ทำรายงานเพื่อส่งครู สิ่งที่จริงคือการได้ศึกษาและได้ต่อยอดที่แท้จริง
ครู สมัยนี่พูดว่าอยากให้น.รคิดแบบใหม่ๆแต่สิ่งใหม่ๆจะมีได้อย่างไรหาก ครูยังทำแบบเดิม ผมเข้าใจว่าให้น.รทำรายงานเพื่อให้หาความรู้แต่ครูดันลืมคิดว่าให้หาความรู้ ไปเพื่อสิ่งใด คนสมัยนี้มักเห็นสิ่งผิดเป็นถูก
คิดแบบเดิมทำแบบเดิมสมองจะเกิดความเคยชิน
ค่า นิยมผิดๆ เช่นมอกว่าเด็กที่เไม่ได้เรียนในร.ร เป็นคนไม่ดึไม่มีความรู้การศึกษา แต่หากพวกเขาลองคิดถึงคำที่พวกเขาพูดดี เช่น คำว่าความรู้คืออะไร ความรู้ไม่ได้แปลว่าต้องเป็นวิชาคนิต หรือสิ่งที่เรียนในร.ร แต่ความรู้เกิดจากประสบการการสะสม ศึกษาจากสิ่งต่างๆ ไม่ได้มีแค่ในห้องเรียนในหนังสือหนังสืออย่างเดียว
การศึกษาแปลว่า การ เลือกจะรู้การเลือกจะจดจำการทดลองทำซ้ำๆ การใขว่คว้า ศึกษาๆได้ทุกที่ไมจำเป็นว่าต้องใน ร.ร มหาลัยเท่านั้น ใจของผมคิดมาตลอดว่าจะได้อยู่ใน โลกแห่งความเป็นจริง สักทีผมคิดว่าจะออกจากร.รแล้วมาทำในของจิงในสิ่งที่เป็นเป้าหมายของความฝัน แม้ว่าจะไม่ได้รวยล้นฟ้าแต่อย่างน้องมันก็สำเร็จ

แต่ผมก็รู้ว่าหากบอกใครเข้า เค้า พูดว่า แกบ้ารึ หากผมออกจากร.ร พ่อแม่คงไม่เข้าใจ ว่าทำไมคงคิดว่าผมไม่อยากเรียน แต่หากผมออกมาผมจะได้ลดอุปสรรคต่างที่มีใน ร.ร ในปัจจุบันใด้มากมาย

เรียน น้อง Nook

มีสาระสำคัญที่น่าทึ่งมากมายในสิ่งที่น้องเขียน สะท้อนว่า น้อง nook แตกต่างจากเด็กอายุ ๑๕ ทั่วไป 

คำถามที่แหลมคมของ nook คือ "ความรู้คืออะไร"  "เราหาความรู้ไปเพื่ออะไร" nook สงสัยและต้องการคำตอบจากครู  แต่ป้า (ขอแทนตัวว่าป้านะคะ)คิดว่า nook มีคำตอบอยู่แล้ว  โดยไม่ต้องหาคำตอบจากที่ไหน

ป้าพูดและเขียนไว้ในหลายๆ บันทึกถึงความหมายของคำว่า "การเรียนรู้ หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ที่เคยเรียน เคยรู้ เอามาใช้ในชีวิตประจำวัน"  ดังนั้น nook คงเห็นนะคะว่า ความรู้มากมายที่ถูกจับยัดใส่ในตัวเด็กๆ ไม่มีประโยชน์เพราะไม่เกิดการเรียนรู้ไงคะ

วิธีเรียนรู้ มีมากมาย และหลากหลาย    ความรู้ ก็มีมากมายและหลากหลาย ค่ะ เรียนรู้เท่าไหร่ก็ไม่พอ ไม่หมด สำหรับคนใฝ่รู้

ป้าขอเสนอให้ nook ลองค่อยๆ ไตร่ตรองนะคะ ว่า เราจะหันหลังให้ระบบการศึกษาที่โหลยโท่ย แล้วไปเรียนรู้่ด้วยวิธีของเราเอง  หรือ ยังไม่หันหลังให้ระบบ (เพราะเราอยู่กับมันได้นี่นะ) แต่ เรียนรู้ด้วยวิธีของเ้ราเองควบคู่ไปด้วย  แบบนี้ nook จะได้กำไร และไปโลดกว่า  เพราะยังไงๆ ชีวิตจริงเราก็ต้องอยู่กับมัน  และอาจไม่ทำร้ายจิตใจคุณพ่อคุณแม่ด้วยนะคะ

ทางเดินข้างหน้าเป็นของ nook   ป้าเชื่อว่าเด็กอย่าง nook เลือกทางที่ดีที่สุดแน่นอน  

ถ้าอนาคตของประเทศชาติอยู่ในมือเด็กคิดเป็นอย่าง nook เราคงตายตาหลับ

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

ป.ล. หวังว่า nook จะกลับมาอ่านคำตอบนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท