ใช้ยาอย่างไร? ให้ปลอดภัยและได้ผลประโยชน์สูงสุด


สื่อการเรียนรู้...มศว มศวกับสังคม เปิดโอกาศให้คนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

ใช้ยาอย่างไร? ให้ปลอดภัยและได้ผลประโยชน์สูงสุด โดย กลุ่มวิชาเภสัชกรรมคลินิค
คณะเภสัชศาสตร์ จากหนังสือ
มศว โลกทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2546 

        ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีตมนุษย์ได้นำส่วนต่างๆ จากธรรมชาติ ทั้งจากพืช ตัวอย่างเช่น ราก ใบ หรือลำต้น หรือจากอวัยวะสัตว์ เช่น ดีหมี ดีวัว นอแรด เป็นต้น เพื่อผลิตเป็นยาหรือที่เรารู้จักกันดีในนามของยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพร ซึ่งขั้นตอนการผลิตไม่ได้มีพื้นฐานมาจากการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่ได้จากการถ่ายทอดสืบความรู้ต่อๆ กันมา ในประเทศไทย ปัจจุบันหน่วยงานของรัฐได้เล็งเห็นความสำคัญของยาสมุนไพร จึงได้เร่งศึกษาและวิจัย ซึ่งในอนาคตการใช้ยาสมุนไพรสำหรับรักษาโรคอาจจะมีบทบาทมากขึ้น

        สำหรับยาที่ใช้รักษาโรคในปัจจุบัน หรือที่เรียกกันว่ายาแผนปัจจุบัน เป็นยาที่ได้จากการสังเคราะห์จากสารเคมีในห้องทดลอง โดยผ่านขั้นตอนการวิจัยพัฒนายาหลายขั้น ตลอดจนการศึกษาทดสอบด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของยา ทั้งในมนุษย์และสัตว์ก่อนที่จะนำมาใช้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาที่จำหน่ายในท้องตลาดจะมีการศึกษาทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยเป็นอย่างดีแล้ว หากนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้องก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายให้แก่ร่างกายได้ บทความนี้ จึงมุ่งที่จะเสริมสร้างความเข้าใจในการใช้ยา เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากยา และลดโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากยานั้นให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบทความนี้มุ่งหวังสำหรับให้ความรู้เบื้องต้นในการใช้ยาเท่านั้น ทุกครั้งก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความรู้เรื่องยาเป็นอย่างดี
รูปแบบของยา

ยาอาจมีหลายรูปแบบได้หลายอย่าง แต่รูปแบบที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป แบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

  1. ยาของแข็ง มักพบในรูป ยาเม็ด ยาแคปซูล เป็นต้น ยารูปแบบนี้จะพบบ่อยที่สุด เนื่องจากสามารถพกพาได้สะดวก และการรับประทานจะได้ขนาดของยาที่ต้องการ
  2. มักพบในรูป ยาเม็ด ยาแคปซูล เป็นต้น ยารูปแบบนี้จะพบบ่อยที่สุด เนื่องจากสามารถพกพาได้สะดวก และการรับประทานจะได้ขนาดของยาที่ต้องการ
  3. ยาของเหลว พบในรูป ยาน้ำเชื่อม ยาแขวนตะกอน ยาน้ำใส เป็นต้น รูปแบบนี้มักพบในยารับประทานที่ใช้สำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่กลืนยายาก เนื่องจากรับประทานได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบยาที่อยู่ในรูปของเหลว ที่ใช้เป็นยาภายนอก ได้แก่ เจล โลชัน หรือที่อยู่ในรูปยาฉีด
  4. พบในรูป ยาน้ำเชื่อม ยาแขวนตะกอน ยาน้ำใส เป็นต้น รูปแบบนี้มักพบในยารับประทานที่ใช้สำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่กลืนยายาก เนื่องจากรับประทานได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบยาที่อยู่ในรูปของเหลว ที่ใช้เป็นยาภายนอก ได้แก่ เจล โลชัน หรือที่อยู่ในรูปยาฉีด
  5. ยากึ่งแข็ง ได้แก่ ครีม ขี้ผึ้ง ซึ่งนิยมเตรียมเป็นยาใช้ภายนอก
  6. ได้แก่ ครีม ขี้ผึ้ง ซึ่งนิยมเตรียมเป็นยาใช้ภายนอก

การที่ต้องมีรูปแบบยาหลายรูปแบบก็เพื่อประโยชน์ในการรักษา เพราะยาแต่ละชนิด ก่อนที่ยาจะออกฤทธิ์จนมีผลในการรักษา ยาจะต้องผ่านเข้าไปในบริเวณที่ยาจะออกฤทธิ์เสียก่อน ปัจจุบันไม่มียาชนิดใดที่จะสามารถรักษาได้ทุกโรค และยาบางชนิดก็สามารถออกฤทธิ์ได้หลายๆ อย่าง เพราะฉะนั้น การรับประทานยาชนิดหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรค อาจทำให้เกิดอาการอย่างอื่นที่ไม่ต้องการได้ ซึ่งก็ถือเป็นอันตรายจากการใช้ยานั่นเอง

อันตรายจากการใช้ยา
เนื่องจากยาส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่ได้จากการสงเคราะห์ จึงอาจก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ อันตรายจากการใช้ยาที่พบทั่วไป ได้แก่

  1. การใช้ยาเกินขนาดจนทำให้เกิดพิษ
    ปกติขนาดของยาที่ใช้ในการรักษาและขนาดที่ทำให้เกิดพิษจะมีช่วงที่กว้าง หากใช้ในขนาดที่ให้ผลรักษามักไม่ค่อยเกิดพิษต่อร่างกาย แต่หากใช้เกินขนาดจนถึงขนาดที่ทำให้เกิดพิษ จะเกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่นยาพาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาลดไข้แก้ปวดที่ใช้กันอยู่ทั่วไป หากใช้ในขนาดรักษา จะช่วยบรรเทาอาการปวดและลดไข้ หากใช้เกินขนาดอาจทำให้เกิดพิษต่อตับและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  2. อาการแทรกซ้อนของยา
    ยาบางชนิดแม้ใช้ในขนาดรักษาบางครั้งอาจก่อให้เกิดฤทธิ์ของยาที่ไม่ต้องการ ซึ่งเรียกว่า อาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ ( Side Effect) เช่น การใช้ยาแก้หวัด ลดน้ำมูก อาการข้างเคียงของยา คือทำให้เกิดอาการง่วงซึม ดังนั้นผู้ที่รับประทานยาชนิดนี้ ควรหลีกเลี่ยงการควบคุมเครื่องจักร หรือขับยานพาหนะเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้ การใช้ยาแต่ละครั้ง จึงควรศึกษาข้อมูลยาแต่ละชนิดให้ดีก่อนใช้
  3. พิษเนื่องจากการแพ้ยา
    การแพ้ยาไม่ได้เกิดในทุกคนและทุกชนิด บางครั้งอาจแพ้ยาได้ในบางชนิด การใช้ยาที่ตนเองแพ้จะทำให้เกิดอาการต่างๆได้ เช่น เป็นผื่นคันบริเวณผิวหนัง เกิดลมพิษ ในบางรายมีอาการแพ้ขั้นรุนแรง เช่น การแพ้ยาเพนิซิลลิน หากได้รับยาจะเกิดอาการช็อค แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หากไม่ได้รับการแก้ไขทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น ควรแจ้งทุกครั้งว่าท่านแพ้ยาอะไร และไม่ควรใช้ยาที่เคยแพ้ ในกรณีรับประทานยาแล้วเกิดอาการแพ้ ควรหยุดยาทันที แล้วรีบไปพบแพทย์
  4. ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา
    การใช้ยาหลายชนิดพร้อมๆกัน อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่ได้ผลการรักษาเต็มที่เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา ยาบางชนิดอาจจะทำให้ยาอีกชนิดหมดฤทธิ์ ซึ่งทำให้ไม่ได้ผลในการรักษา หรืออาจทำให้ยาอีกชนิดเกิดพิษมากขึ้น ดังนั้นหากใช้ยาหลายๆชนิดพร้อมกัน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อตรวจสอบดูว่ายาแต่ละชนิดสามารถใช้ร่วมกันหรือไม่ และหากใช้ร่วมกันได้ต้องใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัยและให้ผลดีในการรักษา
หลักการใช้ยาทั่วไป
วิธีการใช้อย่างถูกต้อง ควรจะใช้ให้ถูกโรค ถูกขนาด และถูกวิธี ซึ่งนอกจากจะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ด้วย การใช้ยาที่ถูกต้องต้องมีหลักดังนี้
  1. ควรถามแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้ง ว่ายาที่ได้รับเป็นยาอะไร รับประทานหรือใช้อย่างไร ใช้แล้วจะก่อให้เกิดผลอย่างไร มีข้อห้ามหรือข้อควรระวังหรือไม่
  2. ควรอ่านรายละเอียดบนฉลากยาและปฎิบัติตามที่ฉลากยาระบุอย่างเคร่งครัดทุกครั้ง ก่อนหยิบยามารับประทาน
  3. 2.1 ยาที่ให้รับประทานก่อนอาหาร ตัวอย่างเช่น ยาปฎิชีวนะ ควรรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่ว โมง เนื่องจากอาหารอาจลดการดูดซึมยาหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร อาจไปทำลายยาทำให้ผลในการรักษาไม่เต็มที่
    2.2 ยาที่ให้รับประทานหลังอาหาร ให้รับประทานหลังอาหารได้เลย แต่มียาบางชนิดที่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะมาก มักนิยมให้รับประทานหลังอาหารทันทีหรือรับประทานพร้อมอาหาร เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก เป็นต้น
  4. หากลืมรับประทานยา เมื่อนึกขึ้นได้ก็ให้รับประทานทันที แล้วก็กลับไปเข้าตารางใช้ยาที่กำหนดไว้ แต่หากว่านึกขึ้นได้ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลาการใช้ยาครั้งต่อไปมาก ก็ให้ใช้ยาโดยถือว่าเป็นการใช้ยาครั้งต่อไปเสีย จากนั้นก็ใช้ยาตามตารางปกติต่อไป ข้อที่พึงระวังมากก็คือว่า ต้องไม่เพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่าของขนาดใช้ยาปกติเพื่อเป้นการชดเชยกับยาที่ลืมใช้ไป ให้ใช้ขนาดปกติที่แพทย์สั่งให้เท่านั้น
  5. ระยะเวลาในการใช้ยาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่นยาบรรเทาลดปวด ลดไข้ ควรใช้เมื่อมีอาการ หากอาการปวดหรือไข้หายแล้วก็สามารถหยุดใช้ยาได้ แต่ยาบางชนิดจำเป้นต้องรับประทานให้ครบตามเวลา เช่น ยาปฎิชีวนะ จะต้องรับประทานติดต่อกันอย่างน้อยเป้นเวลา 5-7 วัน แม้ว่าบางครั้งอาการผู้ป่วยดีขึ้นบ้างแล้ว ก้ไม่ควรจะหยุดยา ควรรับประทานติดต่อกันไปจนครบกำหนด เพื่อใมห้มั่นใจว่าเชื้อโรคได้ถูกกำจัดไปหมดแล้วและเพื่อป้องกันเชื้อโรคดื้อยาในภายหลัง
    การใช้ยาในผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคหืด ผู้ป่วยเหล่านี้อาจจำเป็นต้องได้รับยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือกระทั่งต้องใช้ยาตลอดชีวิต ผู้ป่วยประเภทนี้ ควรได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับเปลี่ยนขนาดยาด้วยตัวเอง
  6. ไม่ควรนำยาของผู้อื่นที่ใช้รักษาลักษณะอาการคล้ายๆกันมาใช้เนื่องจากโรคบางโรคอาจมีอาการคล้ายกัน เช่น อาการหอบเหนื่อย ซึ่งเอาจเกิดจากโรคหัวใจ หรือโรคหอบหืด ซึ่งวิธีการรักษาด้วยยาของโรคทั้งสองแตกต่างกัน หากได้รับยาไม่เหมาะสมในแต่ละโรค จะก่อให้เกิดอันตรายได้ และถึงแม้จะเป็นโรคเดียวกันจริง ยาส่วนมากที่ใช้ในโรคใดโรคหนึ่งก้มักจะต้องมีการคำนวณขนาดยาให้เหมาะสมกับอายุ น้ำหนัก อีกทั้งสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย จึงควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและสั่งจ่ายยาที่เหมาะสมกับตัวเราเท่านั้น อีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่ควรใช้ยาร่วมกับผู้อื่นคือ เราอาจตืดโรคจากคนที่เราเอายามาใชั เช่น การใช้ยาหยอดยา หรือยาป้ายตาร่วมกัน
  7. ควรเลือกใช้ยาที่มีส่วนประกอบเป็นตัวยาเดี่ยวๆเพื่อใช้ในการรักษาแต่ละอาการ การใช้บาผสมจะทำให้ได้รับยาที่ไม่จำเป็นร่วมด้วย
  8. ตรวจสอบวันหมดอายุของยา หากยานั้นหมดอายุแล้วก็ไม่ควรใช้ ยาที่หมดอายุนอกจากจะไม่มีประโยชน์ในการรักษาโรค ยังอาจก่อให้เกิดโทษ เราสามารถสังเกตอายุของยาโดยดูที่ข้างขวด กล่อง หรือซองยา ซึ่งมักจะระบุวันหมดอายุไว้ อาจเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เช่น Expiry Date, Expiration Date, Exp. Date หรือ Used Before แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่ยาหมดอายุ
  9. สังเกตว่ายาได้เสื่อมสภาพไปหรือไม่ ถึงแม้ว่ายานั้นยังไม่หมดอายุตามที่ฉลากยาได้ระบุไว้ แต่หากเก็บรักษาไม่เหมาะสมก็อาจเสื่อมคุณภาพไปก่อนได้ ก่อนใช้ยาแต่ละครั้งควรสังเกตว่ามีการเปลี่ยนแปลงของ สี กลิ่น รส หรือเนื้อยาหรือไม่ การเสื่อมสภาพที่สังเกตได้ เช่น ยาเม็ดและยาแคปซูลอาจเปราะแตก หรือเปื่อย ยาน้ำใสอาจจะขุ่นหรือเกิดตะกอน ยาน้ำแขวนตะกอน เมื่อเขย่าแล้วผงยาเกาะกันแน่นอยู่ก้นขวดไม่กระจายตัว ยาโลชันซึ่งปกติจะเกิดการแยกชั้น ซึ่งเมื่อเขย่าแล้วไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน หากพบการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก็ควรทำลายและแยกทิ้ง
    มีข้อแนะนำกว้างๆในการเก็บรักษายาให้เหมาะสมดังนี้ ให้เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง ห่างจากแหล่งความร้อน หรือความชื้น เช่น ในครัวหรือห้องน้ำ ยาบางชนิดที่จะสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกแสง ก็ควรเก็บไว้ในขวดสีชาตามที่ได้รับมา นอกจากนี้ ควรเก็บยาให้พ้นเด็กและสัตว์เลี้ยง
  10. 9.    หากจำเป็นต้องใช้ยาที่ต้องการเทคนิคพิเศษในการใช้และเก็บรักษา ควรศึกษาวิธีใชัและ

           ปฎิบัติตามให้ถูกต้อง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28713เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2006 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท