"กระบวนการทางปัญญา"ของชาวบ้านในโครงการไตรภาคีฯ


ธรรมชาติที่เป็นอยู่และพบเห็น กระบวนการทางปัญญา การสร้างความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาสุขภาพร่วมกันกันของชุมชน และอุปสรรคที่มองเห็นว่ายังขาดความเป็นเลิศในการพัฒนาสุขภาพชุมชน

       ข้อค้นพบเบื้องต้นจากการสังเกตกระบวนการทางปัญญาของชาวบ้านในโครงการไตรภาคีฯ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการทำ Pilot Study ในช่วงต้นของการลงพื้นที่ทำ Capture KM "กุมภาพันธ์-มีนาคม 2548" โดยนำกรอบการนำเสนอ...คือ ธรรมชาติที่เป็นอยู่และพบเห็น  กระบวนการทางปัญญา การสร้างความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาสุขภาพร่วมกันของชุมชน และอุปสรรคที่มองเห็นว่ายังขาดความเป็นเลิศในการพัฒนาสุขภาพชุมชน

ธรรมชาติที่เป็นอยู่และพบเห็น
       จากการสังเกตที่ได้พบในการสนทนากันของ “ชาวบ้าน” ลักษณะเด่น คือ การมีจุดร่วมที่เป็นในแนวทางเดียวกันเกี่ยวกับ การมุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ซึ่งแสดงออกถึงความตั้งใจและมีความสนใจที่จะนำความรู้ที่ตนเองได้รับมาจากแหล่งความรู้ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต โดยมีพื้นฐานมาจากการเกิดความเชื่อในตนเอง (Self-efficacy) ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงออกถึง “การมองตนเอง” ของชาวบ้านว่าเขามีการรับรู้เกี่ยวกับตนเองอย่างไรบ้าง ซึ่งการที่คน ชุมชน มีการรับรู้เกี่ยวกับตนเองย่อมเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่แสดงออกถึงความพร้อมในการมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองและชุมชน

       และนอกจากนี้ยังมีการมองตนเองเกี่ยวกับชุมชนที่ว่า “สิ่งที่ดีในชุมชน” คืออะไร ซึ่งในกลุ่มได้ข้อสรุปร่วมกันว่า คือ "ความรักกันในเครือญาติที่ยังคงอยู่" และนี่คือการสะท้อนให้เห็นถึง วัฒนธรรมที่ชุมชนยังรักษาไว้ด้วยความรู้สึกที่ภาคภูมิใจ และน่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สามารถนำมาใช้เป็นตัวขับเคลื่อนให้ภารกิจในชุมชน (Task) ดำเนินไปได้

       สิ่งสำคัญที่พบเห็นอีกประเด็นหนึ่งนั่นคือ คนในชุมชนมองว่าตนเองโดนกลืนจากความเป็นวิชาการของภาครัฐ และถูกตีค่าว่าเป็น “คนโง่” (Key-Word: “คนทุกคนเป็นคนสำคัญ แต่หากเมื่อใช้ฐานสังคม..มองว่าตนเองต่ำต้อย ที่จบ ป.4”) นั่นแสดงให้เห็นได้ว่า คน ชุมชน ตระหนักในตนเองว่าจริงๆ แล้วเขาไม่ได้โง่ แต่พอภาครัฐเข้ามาประเมิน โดยเฉพาะตามตัวชี้วัด หรือข้อสอบต่างๆ การประเมินเหล่านี้กลับทำให้เกิดภาพสะท้อนออกมาว่า “ชาวบ้านโง่”

ลึกๆ ในกระบวนการทางปัญญา
       กระบวนการทางปัญญา หรือที่เรียกว่า Cognitive Process ที่สังเกตได้จากความเป็น “มนุษย์” ของชาวบ้านคือ มีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่ได้รับเข้ามา และเกิดการ Link กับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่ตนเองมี และสร้างความหมายในสิ่งที่ตนเองรู้ (Meaning Making) จนเกิดเป็นความหมายที่ลึกซึ้ง (Meaningful) และเกิดเป็นความเข้าใจ (Understanding) และสื่อออกมาไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำหรือพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ก็เริ่มมาจาก กระบวนการทางปัญญาของคน ชุมชน หลอมรวมกันเป็นภาพรวมของชุมชนเกิดขึ้น

       นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ได้พบคือ กระบวนการคิดของชาวบ้าน (Thinking Process) ผู้ซึ่งเรียกและมองตนเองว่าจบแค่ ป.4 ซึ่งมีทั้งการวิเคราะห์ การคิดเชิงบูรณาการ การคิดเชิงวิจารณญาณ และการคิดเชิงวิพากษ์ ที่มีต่อประเด็นการพัฒนาการดูแลตนเองในชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า กระบวนการทางปัญญาของชาวบ้านมีอยู่แล้ว ภาระที่สำคัญคือว่าจะส่งเสริมให้เขาใช้กระบวนการทางปัญญานี้ได้เต็มศักยภาพได้อย่างไร

การสร้างความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาสุขภาพร่วมกันกันของชุมชน
       การสร้างความรู้ใหม่นี้ผู้วิจัยมองว่าเป็นเรื่องของ Knowledge Construction ที่มีฐานความเชื่อในเรื่องกระบวนการทางปัญญาของมนุษย์ และที่เข้าร่วมสังเกต ซึ่งเครื่องมือหรือวิธีการหนึ่งในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ชาวบ้านมีกระบวนการทางปัญญา ที่เป็นความรู้ที่อยู่ข้างใน (Tacit Knowledge) ในแต่ละคนในชุมชน หากได้รับการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการถ่ายโอนความรู้ที่มีอยู่เฉพาะในตัวบุคคล “ภูมิปัญญา” เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างสอดคล้องตามบริบทของชุมชนจริงๆ ซึ่งไม่ใช่ตามที่ภาคเข้าไปจัดการ แต่หากให้ชุมชนหมุนเกลียวความรู้นั้นด้วยตนเอง ย่อมเกิดการสร้างความรู้ใหม่ในชุมชนแน่นอนและเป็นตามสภาพจริง และเกิดการถ่ายโอนไปมาระหว่าง Tacit Knowledge ไปสู่ Tacit Knowledge, Tacit Knowledge สู่ Explicit Knowledge, Explicit Knowledge สู่ Explicit Knowledge และ Explicit Knowledge สู่ Tacit Knowledge วิ่งวนเกิดเป็นการถ่ายโอนความรู้เกิดขึ้นในชุมชน

อุปสรรคที่มองเห็นว่ายังขาดความเป็นเลิศในการพัฒนาสุขภาพชุมชน
       ประเด็นที่มองว่ายังเป็นอุปสรรคที่ทำให้ขาดความเป็นเลิศในการพัฒนาสุขภาพชุมชน คือ ความคิด ความเชื่อ และความเข้าใจเกี่ยวกับที่ว่า “ชาวบ้านฉลาด” ในมุมมองของบุคลากรภาครัฐและเอกชนที่ลงไปทำงานในชุมชน และความจริงจังในการทำงานเพราะทำเพียงแค่สนองตอบต่อนโยบายและทำตามหน้าที่เท่านั้น ยังจัดว่าเป็นอุปสรรคในการพัฒนาสุขภาพชุมชนอย่างมาก

 

นิภาพร  ลครวงศ์ และ อนุชา หนูนุ่น

(Dr.Ka-poom และ คุณ"ชายขอบ")

บันทึกเมื่อ 15 พฤษภาคม 2549
 

หมายเลขบันทึก: 28662เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2006 01:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ทีมวิจัยคุณ ทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก ขอชื่นชม คิดว่าสิ่งที่กำลังทำคงจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ การที่พวกคุณมองชาวบ้านนั้นมีคุณค่า เดินหน้าต่อไป จะติดตามอ่านนะ หากเป็นไปได้จะขอคำแนะนำ ในเรื่อง ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน แต่ตอนนี้ขอเก็บเกี่ยวตามอ่านรายละเอียดให้เข้าใจยิ่งขึ้นก่อน

ทีมวิจัยคุณ ทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก ขอชื่นชม คิดว่าสิ่งที่กำลังทำคงจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ การที่พวกคุณมองชาวบ้านนั้นมีคุณค่า เดินหน้าต่อไป จะติดตามอ่านนะ หากเป็นไปได้จะขอคำแนะนำ ในเรื่อง ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน แต่ตอนนี้ขอเก็บเกี่ยวตามอ่านรายละเอียดให้เข้าใจยิ่งขึ้นก่อน

คุณ RR

     ขอบคุณมากครับที่ติดตาม หากจะเป็นไปได้คือเราอยากให้เกิดกระแสการให้โอกาสแก่คนในชุมชน โดยเชื่อว่า "เขามีศักยภาพพอที่จะคิดเองได้ก่อน" ตรงนี้จะเป็นการเริ่มต้นพัฒนาอย่างให้เกียรติกันจริง ๆ ไม่ใช่การครอบงำกันครับ

ความเป็นหรือมีภูมิปัญญาของชุมชนนั้นเรียนรู้มาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง มีการถ่ายทอดจากคนสู่คน บอกเล่า หรือนั่งคุยกันในยามที่ทานอาหารเย็นเสร็จ(ตอนหัวค่ำ  พอมุ้งมิ้ง)ที่ซึมซับมามัก  ลปรร. กันเกือบทุกเรื่อง........เสียอย่างเดียวขาดการบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษรเลยสลายหายไปในอากาศเสียเยอะ

พี่หรอย

     ผมดีใจเป็นที่สุดที่จุดเน้นเราเห็นเป็นเรื่องเดียวกัน คือ การบันทึกและนำเสนอ นี่คือส่วนขาด พี่คงเข้าใจสิ่งที่ผมพยายามพูดถึงอยู่เสมอ ๆ นะครับ
     พี่ครับ ลงมือนำสิ่งที่บันทึกได้ออกมานำเสนอ ใช้ทุกทางที่มีอยู่ และที่ทำได้ครับ พี่สามารถสนับสนุนให้ชาวชุมชนเกาะเรียนและเครือข่ายดำเนินการได้เป็นอย่างดีครับ

กลัวดัง.......ทำตัวไม่ถูก....น้องชาย?????

อย่ากลัว...เลยคะ...

ความดังหาใช่..สิ่งคงอยู่

แต่..อุดมการณ์..แห่งความเชื่อ...

จะทิ้งรอย...ไว้เมื่อเราหายไป...

          เร้นกาย.......ใจสันโดษ

    ไม่แบก.........ของหนัก

    รักคน.........  รักษ์โลก

    จิต....แสวงหา........กัลยาณมิตร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท