Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

โครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ : ๑๐ ปีของการสอนกฎหมายสำหรับพระธรรมทูต


เราพยายามที่จะใช้มุมมองการสอนแบบที่เขาทำกันใน school of MBA แต่เมื่อไม่ใช่เรื่องของธุรกิจ ก็คงต้องเรียกว่า MSA = Master of social administration มังนะ ซึ่งในแง่ที่สอนโดยครูกฎหมาย ก็จะต้องเป็น MSA by Law
       วันนี้ เป็นวันอาทิตย์ แต่ก็มีสอนหนังสือ เป็นการสอนใน “โครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ”  หัวข้อที่สอน ก็คือ “กฎหมายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ” สถานที่สอน ก็คือ ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา พุทธมณฑล นครปฐม สอนเป็นเวลา ๖ ชั่วโมง ช่วงเช้า ๓ ชั่วโมง และช่วงบ่าย ๓ ชั่วโมง 

     โครงการนี้เป็นโครงการระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโดยกองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกับสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ภายใต้การแนะนำ ควบคุมดูแลของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อุปเสณมหาเถร) โครงการนี้ดำเนินการมาแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๘ ผ่านมาแล้วรวม ๑๑ รุ่น  ที่สอนวันนี้ เป็นรุ่นที่ ๑๑ ค่ะ วัตถุประสงค์ ก็คือ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความสามารถ ความมั่นใจ และความพร้อมในการออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ

        รุ่นละประมาณไม่ต่ำกว่า ๕๐ รูป ดังนั้น ก็มี ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ รูปแล้วที่ได้พยายามถวายการศึกษา  เราพยายามที่จะใช้มุมมองการสอนแบบที่เขาทำกันใน school of  MBA แต่เมื่อไม่ใช่เรื่องของธุรกิจ ก็คงต้องเรียกว่า  MSA = Master of social administration มังนะ ซึ่งในแง่ที่สอนโดยครูกฎหมาย ก็จะต้องเป็น MSA by Law

         เรามีกำลังใจมากที่สอนมาแล้วถึง ๑๐ ปี เพราะคิดเข้าข้างตัวเองว่า แม้แหกคอกที่จะสอนกฎหมายแบบละเลยนิติอักษรศาสตร์ ก็ยังมีคนเชิญสอนมาเรื่อยๆ ก็มันไม่เชื่อจริงๆ นี่นาว่า กฎหมายมันจะแยกกันอยู่กับสังคมได้อย่างไร ? ตัวความต้องการของสังคมต้องเป็นเป้าหมายของการทำงานซิ ลูกความเป็นพระเจ้า เวลาที่สอนกฎหมายธุรกิจ ลูกความก็ต้องเป็นผู้ลงทุน แต่เมื่อมาสอนกฎหมายสำหรับพระธรรมทูต ลูกความก็คือพระที่ปวารนาตัวที่จะไปเผยแพร่ศาสนาพุทธในต่างประเทศ  ดังนั้น ๑๐ ปีที่สอน ก็คือ ๑๐ ปีที่ต้องค้นคว้าว่า ข้อกฎหมายแบบใดที่ลูกความต้องการรู้ ความปลอดภัยของธุรกิจอาจจะเป็นสิ่งที่นักลงทุนอยากทราบ สิ่งที่พระธรรมทูตอยากทราบ ก็คือ อะไรคือความทุกข์ร้อนของญาติโยมในต่างประเทศ ? ทั้งนี้ เพื่อพระธรรมทูตจะได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ญาติโยมได้ และเมื่อกลับมาในประเทศไทย ความรู้ที่สอน ก็จะทำให้พระมีโอกาสที่จะช่วยเหลือญาติโยมที่ประสบปัญหาอันเกี่ยวกับต่างประเทศ หรือคนต่างด้าว
            และที่ต้องสอนในทุกปี ก็คือ ปัญหาของคนที่เกิดและอยู่ในประเทศไทย แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนราษฎร ก็คือ พูดถึง “คนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ” ก็นั่นแหละ สิ่งที่อยากให้ใครหลายๆ คนทราบ ความไร้รัฐปรากฏเป็นปัญหาของเด็กวัดอย่างมาก และพระที่เป็นอดีตเด็กวัด เมื่อไม่มีเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลเลย อยู่ในวัด เป็นพระ ก็ดูจะปลอดภัย และทำคุณประโยชน์ได้มากกว่าที่จะเป็นฆราวาส
           เคยถามตัวเองว่า มีสักวันไหมนะที่ในหัวสมอง จะไม่มีเรื่องของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ ...... คงมีสักวันมังนะ......
หมายเลขบันทึก: 28657เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2006 01:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท