ท่าสักไดอารี่ วิจัยชุมชน (5) : เรียนรู้เรื่องกระบวนการเก็บข้อมูลในชุมชนภาค 2


ห้องเรียนแห่งชีวิต

เมื่อเริ่มต้นการสัมภาษณ์
                ขั้นแรก ต้องทักทายด้วยความเป็นกันเอง ตอนแรกต้องหรือการชวนคุยเรื่องสัพเพเหระ (small talk) ก่อน อาจจะชวนคุยเรื่องดินฟ้าอากาศ ประเด็นข่าวสำคัญที่ดูแล้ว “เขาน่าจะสนใจ” เพื่อให้เกิดการผ่อนคลายของคู่สนทนาทั้งสองฝ่าย (ไม่ใช่เขาอย่างเดียว บางครั้งเราก็เกร็ง) และพยายามจัดที่นั่งหรือนั่งเป็น ในลักษณะ เป็นมุมฉาก (Square) หลีกเลี่ยงการนั่งแบบประจันหน้า ตาต่อตา ฟันต่อฟัน จะทำให้คนที่สัมภาษณ์เกร็ง และไม่กล้าที่จะตอบ  การนั่งเยื้องกันหรือจัดที่นั่งเป็นมุมฉากนั่นก็เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ผ่อนคลาย ไม่เกร็งจนเกินไป โดยเฉพาะการสบสายตากับผู้สัมภาษณ์ โดยจะต้องนั่งหรือยืนในระดับเดียวกันกับผู้ถูกสัมภาษณ์ ไม่สัมภาษณ์ตรงไปตรงมาจนเกินไปหรือตามแบบสอบถามที่มีไว้ ไม่ถามเป็นข้อ ๆ เหมือนกับท่องมาจากหนังสือ 

(นักศึกษากำลังเก็บข้อมูลในชุมชนบ้านท่าสัก)


                การเรียนรู้ไม่จบแค่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น เพราะการเรียนรู้โดยการฟังเปรียบเหมือนกับ เอามีดไปตัดน้ำ ตัดปุ๊บหมดเลย (เรียนปุ๊บ อาจจะลืมปั๊บ) หรือการทดลองทำหรือลองปฏิบัติในห้องก็อาจจะเหมือนกับการเอามีดไปกรีดลงบนดิน ฝนตกเดี๋ยวก็เรือนหมด แต่การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ๆ นั้นเป็นการเอามีดกรีดไปบนหินลึก ต้องใช้มีดที่คมมาก อันนี้ความรู้จะอยู่นานและจะอยู่ลึก อยู่ตลอดไป 
 

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

ฉันมิใช่ "ครูดี" แต่ฉันเป็นคนมีหัวใจที่ทำเพื่อ "ศิษย์"

หมายเลขบันทึก: 28648เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2006 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท