การเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ


สอนให้คิดเป็น
มีหลายวิธี ที่สำคัญคือต้องสอนให้รู้จักคิด และต้องฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
หมายเลขบันทึก: 28632เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2006 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

คงมีหลากหลายวิธี หลายความคิด เชิญท่านที่มีประสบการณ์แลกเปลี่ยนกันนะครับ

การเรียนการสอนแบบบรรยายก็สามารถ กระตุ้นให้นักศึกษาคิดอย่างมีวิจารณญาณได้

วันนี้ไปร่วมสังเกตการณ์จัดทำ KM ของ วพบ.สระบุรี คณาจารย์ที่นั่นได้เล่าเรื่องรวมที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการสอนนักศึกษา อาจารย์ได้เล่าถึงการใช้คำถามที่กระตุ้นให้นักศึกษาคิด และให้เวลาในการคิดกับนักศึกษา ฟังดูแล้วก็น่าจะเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ช่วยพัฒนาการคิดของนักศึกษาได้ ก็เลยเอามาฝาก ที่เห็นว่า ดีเพราะว่าอาจารย์เราหลายคน หรือในคนเดียวกันก็มีหลายครั้งที่ถามนักศึกษาแล้วไม่ให้เวลาในการคิดแก่นักศึกษา แล้วก็สรุปว่านักศึกษาไม่รู้จักคิดน่าเห็นใจจริงๆเลย...

       การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก แต่เป็น      สิ่งจำเป็นที่ผู้สอนจะต้องช่วยกันส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะนี้เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้สถาบันได้บัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพ

       วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้นักศึกษามีความคิดวิจารณญาณ คือ การใช้สถานการณ์ที่กระตุ้นให้คิด

เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ

การสอนที่เสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สิ่งสำคัญอย่างยิ่งขั้นแรกก่อนสอน คือ การวิเคราะห์ผู้เรียน ให้รู้ก่อนว่าผู้เรียนมีคุณลักษณะอย่างไร ง่าย ๆฝากครูทุกคน ดังนี้

1. การวิเคราะห์ลักษณะทั่ไปของผู้เรียน เป็นการพิจารณาผู้เรียนด้านต่าง ๆเช่น เพศ อายุ สติปัญญา วัฒนธะม ศาสนา

2. การระบุความสามารถของผู้เรียน ก่อนผู้เรียนจะเรียนเนื้อหาดังกล่าวมีพื้นความรู้ใดมากอนบ้าง (prerequisite skill) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน ตลอดจนทัศนะคติอย่างไร(target skill)หากพบว่าขาดควรเพิ่มก่อนสอนต้องเสริมให้มีควมรู้ส่วนนั้นก่อน

3ใลีลาการเรียน (Learning Styles) หมายถึง ลักษณะทางจิตวิทยา (trait) ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของบุคคล ผลจากการศึกษาและการวิจัยยืนยันว่า ลักษณะทางจิตวิทยาของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนจากวิธีการและสื่อการสอนต่างๆ Howard Gardner (1993 อ้างถึงใน Heinich และคณะ, 1996) ผู้เป็นต้นแบบแนวคิดเรื่อง พหุปัญญา (Multiple Intelligence) กล่าวไว้ว่า "คนเราไม่ได้มีความสามารถในด้านต่างๆ เหมือนกันทุกคน และคนเราก็ไม่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการเดียวกันทุกคน"  ดังนั้นการสอนต้องให้ผู้เรียนมีโอกาสที่จะพัฒนาความรู้และทักษะในทางที่ตนเองถนัดและมีความสามารถโดยผ่านทางเทคนิค วิธีการ และสื่อการสอนที่หลากหลาย

 

เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ
คุณเข้าใจว่าการคิดคืออะไร การคิดเป็นหัวใจของการเรียนรู้ การคิดประกอบด้วยการตั้งประเด็นคำถามและการเชื่อมโยงไปสู่ประสบการการค้นคว้าแสวงหาคำตอบและการสร้างสรรค์แนวคิดที่นำไปสู่การปฏิบัติการ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากขั้นตอนของการเปิดกว้างของแนวคิดจนจบลงด้วยการปิดตัว การเปิดกว้าง (Opening up) เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับขั้นตอนเบื้องต้นในการแสวงหาคำตอบ เพื่อที่จะก้าวไปสู่การเจาะลึกลงไปมากขึ้น จนกระทั่งล่วงพ้นไปจากประสบการณ์ที่มีมาแต่ต้น การปิดลง (Closing down) เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับขั้นตอนเบื้องต้นในการสรุปผลและลงมือกระทำ ณ ศูนย์กลางของการคิดอย่างชาญฉลาดก็คือขุมพลังของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) และการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative thinking) การมีวิจารณญาณ (Being Critical) ก็คือกระบวนการวิเคราะห์ จากประเด็นปัญหา แนวคิดและการกระทำทั้งหลายถูกชักนำเข้ามารวมกันแล้วแปรเปลี่ยนไปสู่การปฏิบัติการ การมีวิจารณญาณนั้นมุ่งเน้นไปที่การค้นคว้าทดลองและการตั้งประเด็นปัญหา การมีความคิดสร้างสรรค์ (Being Creative) เป็นกระบวนการของการสร้างจินตนาการ โดยกระบวนการนี้ ผู้ใช้จะหลุดพ้นออกไปจากความทรงจำทั้งมวลที่สะสมไว้จากประสบการณ์เดิม จะคิดเลี่ยงๆไปหรือที่เรียกว่าคิดนอกกรอบ การมีความคิดสร้างสรรค์จะมุ่งเน้นไปที่การคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและสร้างสรรค์แนวคิดออกมาเป็นกระบวนอย่างหลากหลาย การคิดอย่างสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นกระบวนการที่มีส่วนร่วมทั้งสนับสนุนและ ส่งเสริมกันและกันจนผลที่เกิดขึ้นยิ่งเพิ่มพูนทับทวี ในช่วงเวลาของการคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง บ่อยครั้งที่กระบวนการคิดอย่างใดอย่างหนึ่งจะมีพลังเหนือกว่าและเป็นตัวชี้นำ ทั้งสองกระบวนการคิดสามารถเป็นได้ทั้งการทำหน้าที่เปิดกว้างออกไปสู่การคิดหรือปิดกระบวนการคิดลง พลังของการประสานร่วมกันของกระบวนการคิดทั้งสองจะลักษณะดังแผนภูมิต่อไปนี้

         ทำไมเงียบเหงาจัง อาจารย์แต่ละท่านความรู้มาก ๆ ช่วยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหน่อย มีผลงานอะไร สอนอย่างไรที่ทำให้นักศึกษาคิดอย่างมีวิจารณญาณ  มีความเอื้ออาทร ก็เล่าสู่กันฟังหน่อย อย่าปล่อยให้ COP เหงา

                          

พยายามเข้ามาแสดงความคิดเห็นหลายครั้งแล้วค่ะ แต่ว่ายังทำไม่ได้ วันนี้ลองดูอีกครั้งนะคะ                การใช้คำถามปลายเปิดช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาคิด เป็นวิธีการหนึ่งที่ลองใช้แล้วได้ผลดีค่ะ ที่จะช่วยส่งเสริมความคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาได้

ขอบคุณ ครูจุ๋มนะครับ อาจจะเป็นเพราะเทคนิค (หรืออาชีวะก็ได้) ที่ทำไม่ได้ แต่พอเราได้ เรียนรู้การใช้ Web blog กันเทื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาก็สามารถทำได้แล้ว หวังว่า ครูจุ๋มจะเข้ามา ลปรร. กันอีกนะครับ

กนกอร ศรีสมพันธุ์

สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีด้วยนะคะที่มีเวที่ดีๆแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อนำประโยชน์ที่ได้นี้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนของเราให้ดีขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนค่ะ

จากประสบการณ์ ....การใช้โจทย์สถานการณ์ เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนก็ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ทางหนึ่งค่ะ แต่ผู้สอนต้องมีเทคนิคและขั้นตอนในการใช้ค่ะ ที่จะกระต้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างมีวิจารณญาณและสนใจการทำกิจกรรมกลุ่ม..... ขอยกตัวอย่างเช่น แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3กลุ่ม ให้ข้อมูลโจทย์ปัญหาที่จำลองสถานการณ์คล้ายของจริงที่เกิดขึ้นในwardกลุ่มละ 1โจทย์ ซึ่งในโจทย์นั้นจะมีแนวคำถามกระตุ้นการเรียนรูของผู้เรียนด้วย  ต่อจากนั้นให้ทำกระบวนการกลุ่มโดยน.ศ.ดำเนินกระบวนการกลุ่ม และอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะ จนกระทั่งได้แนวทางตอบคำถามที่มีในแต่ละโจทย์แล้ว นำเสนอในกลุ่มใหญ่ เมื่อนำเสนอแล้วให้มีการตั้งคำถามย้อนกลับไปยังผู้ฟังเพื่อทดสอบความเข้าใจ  และกระตุ้นการคิดหรืออาจารย์จะเป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมภายหลังการสอนก็จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับรู้ข้อมูล,ความรู้ที่สมบูรณ์มากขึ้นค่ะ

 

วันนี้ได้อ่านบทความของ อาจารย์ประกอบ  คุปรัตน์ เรื่อง หินกลิ้งจะไม่มีตระไคร่เกาะ น่าสนใจ เรื่องมีอยู่ว่า

สุภาษิตในยุโรปราวปี ค.ศ. 1300 กล่าวว่า "A rolling stone gathers no moss."  หมายความว่า หินที่กลิ้งไม่มีตะไคร่เกาะ จะสังเกตได้จากก้อนหินที่อยู่ตามชายหาดนั้น จะถูกคลื่นซัดสาดตลอดเวลา หินจะถูกขัดเกลาและไม่มีเวลาที่ตะไคร่จะมาเกาะได้ แต่ถ้าหินที่อยู่ในน้ำที่นิ่งกว่า หินไม่มีการขยับตัว น้ำไม่เคลื่อนไหวแรงพอ ตะไคร่ก็จะมาเกาะได้ และเมื่อมาเกาะได้มากพอจนทำให้ไม่เห็นความเป็นหิน  "หินกลิ้ง" เปรียบเหมือนกับคนที่ทำตนเองให้อยู่ในกระแสของความเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ไม่หยุดนิ่ง ปรับเปลี่ยนตัวเอง พัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ก็จะมีสภาพสะอาดสดใสเหมือนหินตามชายหาด แต่ถ้าเราทำตนให้อยู่ในสภาพสงบนิ่ง ไม่รับการเปลี่ยนแปลง ไม่ได้

ไปเห็น หรือทำในสิ่งใหม่ๆ ก็เหมือนกับหินที่มีตะไคร่เกาะเต็ม

   "กระแสน้ำ" เปรียบเหมือน ความสนใจขวนขวาย ความพากเพียรหมั่นฝึกฝน ไม่ปล่อยให้ตนเองหมดสภาพไปเพราะความชะล่าใจ ความไม่ใส่ใจ หรือความขี้เกียจ นักกีฬาที่ว่าเคยเก่งแสนเก่ง แต่ถ้าไม่หมั่นฝึกซ้อมอยู่เสมอ นานๆ เข้าร่างกายก็จะอ่อนล้าลง ความอดทนก็ลดลง เหนื่อยง่าย เจ็บง่าย ประสาทที่ฉับไว ตอบสนองได้ดี ก็จะลดลงไม่สามารถตัดสินใจในการเล่นได้ดีพอ ความเรื้อรัง เปรียบไปก็เหมือน "ตะไคร่" บนก้อนหิน หรือสนิมบนเนื้อเหล็ก คนเราหากมีสิ่งดีๆ ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา ร่างกาย หรือทักษะใดๆ ถ้าไม่รู้จักใช้ ไม่รู้จักฝึกฝน ก็มีแต่จะหมดสภาพไปทุกขณ

บทความนี้ได้ข้อคิดว่าทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดนะ การจะสอนลูกศิษย์ ครูต้องค้นคว้า คิดวิธีการสอนใหม่ ๆ สอนให้นักศึกษาคิดอย่างมีวิจารณญาณ ครูต้องมีวิจารณญาณก่อน ครูต้องไม่มีตระไคร่มาเกาะสมอง ใช้สมองมาก ๆสมองไม่เสื่อมแต่ถ้าหยุดใช้ โรค สองเสื่อมจะมาเร็วเพราะตระไคร่มาเกาะ

การคิดวิจารฌญาณมีความจำเป็นและสำคัญมากในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน  ดิฉันสอนระดับชั้น

ม. 6ลองใช้เทคนิคหมวก 6 ใบของโบโน นักเรียนมีทักษะการคิดระดับสูงขึ้นมาก แต่อยากทดสอบกับแบบทดสอบด้านการคิดวิจารณญาณพอจะได้หรีอ

ไม่อยากหารือกับผู้รู้และแบบทดสอบนั้นจะใช้ของนักการศึกษาผู้ใด และจะทำอย่างไรต่อไป

 ขอบคุณมาก

 

 

กำลังหาวิธีการศึกษากรณีศึกษาของนักศึกษา ที่กระตุ้นให้นักศึกษาทุกคนได้คิดเชิงเหตุผล และร่วมแสดงความคิดเห็นขณะเพื่อนนำเสนอข้อมูล โดยสมาชิกกลุ่มไม่เบื่อหน่าย และมุ่งแต่อ่าน paper ของตนเองขณะเพื่อนนำเสนออยู่ และครูไม่ "สมองบวม" เพราะ concentrate เนื้อหาที่นักศึกษาอยู่คนเดียว โดยใช้สถานการณ์ที่เป็นสถานการณ์เทียบเคียงกับสถานการณ์จริง และให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและศึกษาสถานการณ์เดียวกัน และมีคำถามกระตุ้นการเรียนรู้ ค่อนข้างได้ผลดีแตกต่างจากวิธีการศึกษากรณีศึกษาแบบเดิมค่ะ

เป็นวิธีการที่ดีมากครับ และตัวเองได้ใช้ร่วมกับการให้นักศึกษาที่ฟังเพื่อนนำเสนอแล้ว ให้ถามคำถาม และเมื่อนักศึกษาถามคำถามนั้นแล้ว เรา(ครู)ก็ถามถึงความคิดของนักศึกษา ซึ่งหมายถึงเหตุผลของเขา ก็ช่วยทำให้นักศึกษาคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ และที่สำคัญอีกอย่าง ต้องเสริมแรงทางบวกให้กับนักศึกษาที่ให้เหตุดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท