การจัดการความรู้ ในการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 10


 ตอน 1 "Click"  ตอน 2 "Click"  ตอน 3 "Click"
 ตอน 4 "Click"  ตอน 5 "Click"  ตอน 6 "Click"
 ตอน 7 "Click"  ตอน 8 "Click"  ตอน 9 "Click"  

          หากย้อนกลับไปดู "ตอน 4"  จะทราบว่า  เราได้ใช้เครื่องมือ KM เพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาไป 2 อย่างแล้วนะคะ  ได้แก่   AAR (SAR/CAR) และ River diagram  สำหรับช่วยสร้างรากฐานวัฒนธรรมการประเมินตนเอง ต่อไป ยังมีเครื่องมือที่จะช่วยสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  อันได้แก่

  1. บันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : Stair Diagram
  2. เพื่อนช่วยเพื่อ : Peer assist  และ
  3. Blog

          บันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : Stair Diagram / (Ladder Diagram) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในชุด "ธารปัญญา"  เพราะใช้โปรแกรมประมวลผลชุดเดียวกับ ธารปัญญา ช่วยแจกแจงให้เห็นคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ ให้ดูง่ายขึ้น โดยจะเป็นการดูความสามารถหลักทีละตัว

          ถ้านำมาใช้กับการประกันคุณภาพ ก็มาดูกันทีละตัวบ่งชี้ ดังตัวอย่างภาพข้างล่าง เลือกตัวบ่งชี้ เรื่อง การวิจัย(รวมทั้งงานสร้างสรรค์) เกี่ยวกับ ผลงานวิจัย ให้โปรแกรม plot กราฟ เปรียบเทียบผลของคณะวิชาต่างๆ ของ มน. 20 คณะ ในปีการศึกษา 2546 ออกมาให้ดู จะได้ดังรูป

แกนนอน  คือค่าผลต่างระหว่าง ค่าเป้าหมายในปีต่อไป (ตั้งแต่ 0 ถึง 5) กับค่าผลการดำเนินงานในปีนั้นๆ (ตั้งแต่ 0 ถึง 5 เช่นกัน)  ให้ชื่อว่า GAP

แกนตั้ง  แสดงค่าผลการดำเนินงานในปีนั้นๆ  (ตั้งแต่ 0 ถึง 5) ให้ชื่อว่า LEVEL   

(การอธิบายต่อไปนี้ เป็นเพียงตัวอย่างสมมุติ ไม่ใช่ความจริงนะคะ โปรดอย่าได้นำไปใช้อ้างอิง)

ลองดูคณะมนุษย์ในกราฟ ซึ่งอยู่ในแถบพื้นที่สีเหลืองก่อน  จะเห็นว่า ค่าผลการดำเนินงานเกี่ยวกับผลงานวิจัย ในปี 2546 ได้ = 2 (ตกอยู่ในช่องที่ 2 ของ LEVEL)

          โดยที่คณะมนุษย์ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในปีต่อไป จะพยายามพัฒนาผลการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ = 3  (ตกอยู่ในช่องที่ 1 ของ GAP => 3 - 2 = 1)

          ในขณะที่ คณะศึกษาในกราฟ  อยู่ในแถบพื้นที่สีส้ม ค่าผลการดำเนินงานเกี่ยวกับผลงานวิจัย ในปี 2546 ได้ = 1 (ตกอยู่ในช่องที่ 1 ของ LEVEL) แต่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในปีต่อไป จะพยายามพัฒนาผลการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ = 4  (ตกอยู่ในช่องที่ 3 ของ GAP => 4 - 1 = 3)

          คณะสังคม ในแถบพื้นที่สีเขียวของกราฟ ค่าผลการดำเนินงานเกี่ยวกับผลงานวิจัย ในปี 2546 ได้ = 4 (ตกอยู่ในช่องที่ 4 ของ LEVEL) และเป้าหมายไว้ว่า ในปีต่อไป จะคงผลการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ = 4  (ตกอยู่ในช่องที่ 0 ของ GAP => 4 - 4 = 0)

          จึง พอจะวิเคราะห์ได้ว่า หากกลุ่มคณะวิชาที่อยู่ในแถบพิ้นที่สีเขียว เป็นกลุ่มที่มีผลการดำเนินงานดี  น่าจะเป็นกลุ่มที่ พร้อมให้  best practice ในเรื่องนั้นๆ และกลุ่มคณะวิชาที่อยู่ในแถบพื้นที่สีส้ม เป็นกลุ่มที่แม้มีผลการดำเนินงานยังไม่ดีนัก แต่ก็มีใจใฝ่เรียนรู้

          แผนภูมิเช่นนี้ จึงช่วยให้เราสามารถมองภาพรวมของการจับคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ อย่างง่ายๆ หน่วยประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย  อาจทำหน้าที่ “แม่สื่อ – พ่อชัก” (match – maker) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คู่ที่เหมาะสมกันมาเจอกัน ทำกิจกรรม “เพื่อนช่วยเพื่อน” (Peer Assist) เป็นกลยุทธ์ถัดไป   

 

          

หมายเลขบันทึก: 28629เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2006 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท