รายงานการประชุมภาคี KM ท้องถิ่น ครั้งที่ ๑๕


 

รายงานการประชุมภาคีจัดการความรู้ในท้องถิ่น - ภาคประชาชน  - ประชาสังคม (ครั้งที่ 15)
วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม  2548   เวลา 9.00- 12.00 .

ณ  ห้องประชุม สสส. 1   ชั้น 15   อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์

ถนนพหลโยธิน  สามเสนใน  กรุงเทพฯ

I I  I  I  I I  I  I I

ผู้เข้าร่วมประชุม                     

1.    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร
คุณสุรเดช       เดชคุ้มวงศ์      หัวหน้ากลุ่มสนับสนุนวิชาการ
2.    โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ .นครสวรรค์
นายแพทย์สมพงษ์        ยูงทอง นายแพทย์ศัลยกรรมประสาท
3.    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏนครสวรรค์
อาจารย์พรรณภัทร  ใจเอื้อ        อาจารย์ประจำโปรแกรมพัฒนาชุมชน
4.   โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันจัดการความรู้ของชุมชนท้องถิ่น
คุณทรงพล       เจตนาวณิชย์              หัวหน้าโครงการ
คุณสมโภชน์     นาคกล่อม       ผู้ประสานงานวิชาการ
5.  สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
. นพ. วิจารณ์           พานิช            ผู้อำนวยการ
ดร. ประพนธ์    ผาสุขยืด         ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้ 
คุณชุติมา        อินทรประเสริฐ 
คุณอุรพิณ        ชูเกาะทวด      เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
คุณธวัช          หมัดเต๊ะ         เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
คุณสุภาภรณ์    ธาตรีโรจน์       เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
คุณนภินทร      ศิริไทย           เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
คุณวรรณา       เลิศวิจิตรจรัส    เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
เริ่มประชุม 9.30 .     

วาระที่ 1.        เรื่องเพื่อทราบ

วาระที่ 1.1        ความคืบหน้าโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันจัดการความรู้ของชุมชน
ท้องถิ่น
 คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ หัวหน้าโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันจัดการความรู้ของชุมชนท้องถิ่น นำเสนอความคืบหน้าของการดำเนินงานโครงการฯ สรุปได้ว่า ได้ชี้ให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เห็นความสำคัญในฐานะเป็น “รัฐบาลท้องถิ่น” ทำงานเสมือนเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ สามารถเชื่อมโยงชุมชนกับหน่วยงานภายนอกได้   ในส่วนของการขับเคลื่อนต่อนั้น โครงการฯ ยินดีจะไปเปิดเวทีประชุมในพื้นที่ โดยจะตอกย้ำให้แกนนำเห็นเนื้องานและวิธีการทำงาน  ขณะนี้ อบต. ประดู่ยืน ได้แจ้งความจำนงมาแล้วเป็น อบต. แรก โดยประเด็นที่สนใจคือ โรงเรียนผู้นำ 
ความคืบหน้าอีกอย่างหนึ่งคือ คุณสุจินต์ เกษการ นักจัดการความรู้ท้องถิ่นรุ่นที่ 1 ที่มีพื้นที่ทำงานในจังหวัดอุทัยธานี มีความต้องการที่จะนำกระบวนการจัดการความรู้ชุด “ธารปัญญา” ไปใช้ในการแก้ปัญหาความยากจน ในพื้นที่ของตนเอง โดยได้แรงบันดาลใจจากการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ตลาดนัดคุณอำนวยแก้ปัญหาความยากจน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2548 ที่ผ่านมา ประกอบกับการชี้แนะจากคุณทรงพล อีกส่วนหนึ่ง 
ในส่วนของการเชื่อมโยงกับสหกรณ์นั้น มีกำหนดจัดกระบวนการให้แก่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูน ระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน 2548  แบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน  ณ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ผู้เข้าร่วมคือแกนนำของสหกรณ์ประเภทต่างๆ เช่น สหกรณ์ธุรกิจบริการ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู สหกรณ์ตำรวจ ฯลฯ ของจังหวัดลำพูน
                   ความเห็นที่ประชุม
 คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ ห้วหน้ากลุ่มสนับสนุนวิชการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการใช้กระบวนการจัดการความรู้ของ อบต.ท้ายน้ำ จ.พิจิตร สรุปได้ว่า อบต. ท้ายน้ำใช้ชุดเครื่องมือธารปัญญาเต็มรูปแบบ มีการร่วมกันวางแผนการทำงานในระยะ 4-5 เดือนถัดไป มีผู้รับผิดชอบชัดเจน มีทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกบ้าง แต่ส่วนใหญ่ อบต. เป็นผู้รับผิดชอบ  และใช้เวลาเพียง 2 วัน 
วาระที่ 1.2        ตลาดนัดความรู้ผู้ประกอบการทางสังคมรุ่นเยาว์
อุรพิณ ชูเกาะทวด เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ สคส. นำเสนอผลการจัดตลาดนัดความรู้ผู้ประกอบการทางสังคมรุ่นเยาว์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างอาศรมวงศ์สนิท มูลนิธิพูนพลัง และ สคส.  จัดขึ้น ณ อาศรมวงศ์สนิท .นครนายก เมื่อวันที่ 4-5 พฤษภาคม2548 มีผู้เข้าร่วม 34 คน สรุปได้ว่า ผู้เข้าร่วมเป็น "ผู้ประกอบการทางสังคมด้วยจิตวิญญาณ" จึงไม่เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับใคร  สคส. จึงต้องปรับแผนในวันที่ 6 พฤษภาคม ให้เรียนรู้ในรายประเด็น คือ เกษตรธรรมชาติ, ความรู้, เยาวชน, และศิลปะ  แทนการประเมินตนเอง  รวมทั้งได้วางแผนการทำงานร่วมกันในระยะต่อไป มีกำหนดจัด "ค่ายส่งต่อแรงบันดาลใจ" ในระหว่างวันที่ 13 - 15 กรกฎาคม 2548 แก่งกระจานริเวอร์ไซด์  รีสอร์ท     สำหรับ "แก่นความรู้" "ตารางอิสรภาพ" และ "ชุดความรู้รายประเด็น" "รายชื่อ ที่อยู่ ที่ติดต่อได้" นั้น อาศรมวงศ์สนิทและมูลนิธิพูนพลังจะรวบรวมเพื่อจัดทำเป็นเอกสารสรุปผลการจัดกิจกรรมแล้วส่งให้ สคส. และผู้เข้าร่วมทุกคนต่อไป  
ความเห็นที่ประชุม
          คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ให้ความเห็นว่าภาคประชาสังคม ถูกหล่อหลอมให้ต่อสู้กับชีวิต ปฏิเสธโครงสร้างและระบบ  สิ่งที่ต้องระวังเป็นสิ่งแรกในการทำงานร่วมกันคือ ภาษาที่เป็นได้ทั้งเอื้ออำนวยให้บรรยากาศราบรื่น เป็นกัลยาณมิตร แต่หากใช้ภาษาไม่เหมาะสม เช่น ใช้ภาษาอังกฤษแทนภาษาไทย ใช้คำศัพท์วิชาการก็อาจกลายเป็นอุปสรรคก็ได้

 วาระที่ 2.       รับรองรายงานการประชุม

วาระที่ 2.1        รับรองรายงานการประชุมภาคีจัดการความรู้ในท้องถิ่น ภาคประชาชน ประชาสังคม ครั้งที่ 14
ความเห็นที่ประชุม
                             รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 14

วาระที่ 3.        เรื่องเพื่อพิจารณา

วาระที่ 3.1         ชุดโครงการวิจัยพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์

                             . ดร. ประเสริฐ  โสภณ  ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นำเสนอชุดโครงการวิจัยพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ของฝ่ายวิชาการ สรุปได้ว่า ชุดโครงการนี้มีที่มาจากข้อมูลการใช้สารเคมีทางการเกษตรในปริมาณมากเกินความต้องการของพืช ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และไม่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค  อีกทั้งรัฐบาลยังประกาศให้การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปลายปี 2547 เป็นต้นมา  เป้าหมายของชุดโครงการนี้คือ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนของการผลิตพืช ให้ใช้สารอินทรีย์และ/หรือจุลินทรีย์ทดแทน  ซึ่งจะส่งผลให้ได้ผลิตผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนไม่น้อยกว่าการใช้ระบบการผลิตที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน  การโดยใช้ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยพื้นฐานของ สกว. ในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์

                             แนวทางและขอบเขตของชุดโครงการฯ นี้ ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลักคือ

1)      ดิน ปุ๋ย และสภาพแวดล้อม  เช่น การศึกษาผลกระทบของสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรต่อประชากรจุลินทรีย์และความสมบูรณ์ของดิน หรือการหาจุลินทรีย์หรือตัวเร่งในการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยน้ำจากมวลชีวภาพ (biomass) และวัสดุเหลือใช้ที่มีความปลอดภัย

2)      การกำจัดศัตรูพืช เช่น การหาพืชและสารสกัดจากพืชเพื่อกำจัดหรือลดการทำลายจากศัตรูพืช

3)      การพัฒนาพันธุ์พืช การพัฒนาสารกระตุ้น เช่น การศึกษาและพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ plant-growth-promoting-rhizobacteria และ mycorrhizhae

4)      เทคนิคหลังการเก็บเกี่ยว

 

                   ความเห็นที่ประชุม
                             นายแพทย์สมพงษ์ ยูงทอง ให้ความเห็นว่าแนวคิดชุดโครงการนี้ดีมาก เป็นการเชื่อมโยงความรู้ของชาวบ้านที่เกิดจากการทำงานเข้ากับความรู้ทางวิชาการ    จริงๆ  แล้วชาวบ้านมีความรู้และสร้างความรู้ได้เอง รวมทั้งได้นำไปปฏิบัติจริง เห็นผลจริง แต่ขาดการอธิบายทางวิชาการ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเช่นกันคือ เมื่อได้คำอธิบายทางวิชาการแล้ว จะนำกลับไปสู่ชาวบ้านได้อย่างไร ให้เป็นภาษาที่ชาวบ้านจะเข้าใจได้ง่าย จากประสบการณ์ของตนเองพบว่า นักเรียนมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์จะเป็นตัวเชื่อมโยงที่ดี  วิธีการที่ใช้คือประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ อาจารย์ใหญ่ อาจารย์สอนวิชาเกษตร อบต. แล้วชี้ให้เห็นว่าหากทำงานร่วมกันในแนวทางนี้ ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ เช่น อาจารย์ได้ตำแหน่งทางวิชาการ นักเรียนได้ฝึกทำวิจัย อบต. ได้ผลงาน ชาวบ้านได้ความรู้ใหม่ๆ
 

วาระที่ 3.2        การจัดการความรู้เกษตรธรรมชาติ จ.นครสวรรค์: วิธีแสวงหาการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการและองค์การบริหารส่วนจังหวัด

นายแพทย์สมพงษ์ ยูงทอง และอาจารย์พรรณภัทร ใจเอื้อ นำเสนอการจัดการความรู้ของ จ.นครสวรรค์ และวิธีแสวงหาการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการและองค์การบริหารส่วนจังหวัด สรุปได้ดังนี้ กลุ่มงานใช้ชื่อว่า “นครสวรรค์ฟอรั่ม” มีแกนนำประมาณ 10 คน ร่วมทำงานกันมาตั้งแต่ปี 2540  โดยมีโครงการที่จะร่วมกับระบบราชการ 2 โครงการคือ
1) โครงการ “เครือข่ายโรงเรียนชาวนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ชาวนารวมตัวกันทำการจัดการความรู้แบบชาวบ้าน เพื่อแก้ปัญหาในการทำนา เดินเรื่องโดยชูประเด็น “ลดต้นทุน”   โดยได้รับการสนับสนุนจากวิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.) และดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วทั้ง 2 เฟส  ส่วนเฟสที่ 3 จะทำเรื่องกองทุนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนวิถีการผลิต                
ในโครงการนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องจากภายนอก เช่น ทีมนครสวรรค์ฟอรั่ม, ผู้ทรงคุณวุฒิ, เจ้าหน้าที่เกษตร ฯลฯ จะเป็นเพียง “คุณอำนวย” เท่านั้น  ผลการดำเนินงานถึงขณะนี้พบว่ามีสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิม 14 แห่ง เป็น 25 แห่ง แต่ความเข้มแข็งไม่เท่ากัน   เนื้อหาหลักที่ใช้เป็นตัวเดินเรื่องคือ 1) ปุ๋ย  2) ระบบนิเวศน์ของนาข้าว  3) การคัดและผสมพันธุ์ข้าว 4) การจัดตั้งกองทุนผลิตปุ๋ย   กระบวนการที่ใช้มี 3 อย่างคือ 1) การเรียนรู้เป็นกลุ่ม  2) ธรรมาภิบาล  3) นวัตกรรม
ในส่วนของการแสวงหาการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนตัว เริ่มจากพาไปเยี่ยมชมโรงเรียนชาวนาในอำเภอต่างๆ เท่ากับเป็นการหาเสียงของนักการเมืองท้องถิ่นไปในตัวด้วย    
2)  โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อแก้ปัญหาความยากจน  เริ่มจากเครือข่ายองค์กรชุมชนที่มีศักยภาพและเข้มแข็ง 2 แห่ง คือ  เครือข่ายพื้นที่ อ.ไพศาลี และ เครือข่ายกิ่ง อ.แม่เปิน-แม่วงศ์   เครือข่ายที่เพิ่งก่อรูป 1 แห่งคือ เครือข่าย อ.หนองบัว   โดยดำเนินการผ่านทีมนครสวรรค์ฟอรั่ม, อบจ., และผู้นำในพื้นที่    เจ้าภาพรองได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน มีนโยบายเทียบโอนผลการเรียนรู้เป็นหน่วยกิจเพื่อเลื่อนระดับวุฒิการศึกษาก่อนปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ รับผิดชอบการเทียบโอนหน่วยกิจระดับปริญญาและหลังปริญญา, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาชนและอื่นๆ   มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี   มีเจัาหน้าที่ทำงานเต็มเวลา  ถือหลักว่ามาเรียนรู้ร่วมกัน   นอกจากนี้ยังได้เชื่อมโยงกับ รศ. ดร. เนาวรัตน์ พลายน้อย มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อจัดโปรแกรมการฝึกอบรมการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำเพื่อความเข้มแข็งของท้องถิ่น 

การขับเคลื่อนงานของเครือข่ายที่เข้มแข็งทั้ง 2 แห่งนั้น ทีมประสานงานขับเคลื่อนผ่านยุทธศาสตร์สำคัญๆ เช่น การแก้ปัญหาเรื่องน้ำ, การจัดการป่าไม้ เป็นต้น

 
                   ความเห็นที่ประชุม
 คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ให้ความเห็นว่าเมื่อสิ้นสุดการทำงานในแต่ละเฟสที่ได้รับการสนับสนุนจากวิทยาลัยการจัดการทางสังคม และมีข้อตกลงที่จะต้องถอดบทเรียนของชาวนานั้น ทีมประสานงานต้องคำนึงว่าจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านได้ฉุกคิด เกิดประกายความคิดใหม่ๆ ได้แนวทางในการทำกิจกรรมในระยะต่อไปแมัจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากภายนอกแล้ว
คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ ให้ความเห็นว่าเป้าหมายของโครงการคือการสร้างเครือข่าย แต่ทีมประสานงานควรคำนึงถึงเป้าหมายในระดับอื่นๆ ด้วย เช่น ความยั่งยืนของเครือข่าย เป็นต้น 
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด ให้ความเห็นว่าจากที่นายแพทย์สมพงษ์ นำเสนอมานั้น ทำให้เห็นว่าความเข้มแข็งของชุมชนเริ่มมาจากพลังตนหรือแรงผลักดันระดับปัจเจก เมื่อมารวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนจึงส่งผลให้เกิดพลังชุมชนที่พร้อมจะร่วมทำงานไปในทิศทางเดียวกัน
วาระที่ 3.3        การจัดตลาดนัดความรู้เกษตรไร้สาร

อุรพิณ ชูเกาะทวด นำเสนอโครงการ ตลาดนัดความรู้เกษตรไร้สารสรุปได้ว่า ในเบื้องต้นจะมีภาคีร่วมจัด 4 หน่วยงานคือ 1) โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันจัดการความรู้ของชุมชนท้องถิ่น  2) มูลนิธิข้าวขวัญ  3) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์กรมหาชน  4) สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม    โดยผู้เข้าร่วมคือแกนนำเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์จากโรงเรียนชาวนาของมูลนิธิขัาวขวัญ, โรงเรียนชาวนาของ สจ.เสมียน หงษ์โตโรงเรียนเกษตรอินทรีย์ของคุณรัตนา สมบูรณ์วิทย์โรงเรียนชาวนาของ นครสวรรค์ฟอรั่มและเครือข่ายเกษตรปลอดสาร จ.พิจิตร รวมทั้งหมดไม่เกิน 40 คน  และมีผู้สังเกตการณ์ที่เป็นตัวแทนจากสื่อมวลชน, นักวิชาการด้านการเกษตร, เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอจากจังหวัดที่มีเกษตรกรเข้าร่วมนายก อบต.,  นายก อบจ.,  ตัวแทนจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนรศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อยและคณะ, อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน  ดำเนินการโดยใช้ชุดเครื่องมือธารปัญญา  มีวิทยากรกระบวนการประจำกลุ่ม มีผู้บันทึก ซึ่งอาจเป็น คุณอำนวยของมูลนิธิข้าวขวัญ หรือนักจัดการความรู้ท้องถิ่นของ สรส.   นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการที่มีทั้งเนื้อหาในโปสเตอร์และมีผลิตผลเกษตรปลอดสารด้วย โดยทีมประชาสัมพันธ์จะเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องนี้  สำหรับเวลาและสถานที่นั้นยังไม่ได้กำหนด  

 

ความเห็นที่ประชุม

คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ให้ความเห็นว่าหากเดินเรื่องด้วยเกษตรไร้สารนั้นจะทำให้มีผู้เข้าร่วมได้น้อยเพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังใช้ปุ๋ยเคมี  แต่หากชูประเด็นเรื่องเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรที่ใช้น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งอาจจะไม่ไร้สารเคมี แต่เป็นประเภทลด ละ เลิก จะทำให้มีผู้เข้าร่วมได้มากกว่า   สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมนั้นต้องพิจารณาเรื่องการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง มีผลงานเชิงประจักษ์  ซึ่งส่งผลให้เครือข่ายคุณรัตนา สมบูรณ์วิทย์ จะไม่สามารถเข้าร่วมได้เนื่องจากเพิ่งเริ่มต้นยังไม่มีผลงานที่เด่นชัด 
สำหรับวัน เวลา ที่จัดน่าจะขึ้นอยู่กับปฏิทินของพื้นที่นั้นๆ  และออกแบบให้มีความเชื่อมโยงระหว่างดิน ปุ๋ย น้ำชีวภาพ เมล็ดพันธุ์  โดยคุณทรงพล ยินดีช่วยประสานงานให้ คาดว่าจะจัดครั้งแรกในช่วงเดือนกันยายน แล้วนำผลงานไปร่วมแสดงในงานมหกรรมความรู้แห่งชาติวันที่ 1-2 ธันวาคม 2548 ณ โรงแรมมิราเคิลด้วย
คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ ให้ความเห็นว่าโครงการนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้กำลังใจ ได้เพื่อน ได้ความรู้ ได้แผนไปทำต่อในระยะ 4-5 เดือน แต่ ควรระบุให้ชัดว่าเป็นผลิตผลเกษตรปลอดสารชนิดใด เช่น ผักปลอดสาร, ข้าวปลอดสาร เป็นต้น เพราะพืชแต่ละชนิดต้องใช้ความรู้ในการเพาะปลูกต่างกัน  นอกจากนี้ยังเสนอให้พี่เลี้ยงหรือ “คุณอำนวย” ของเกษตรกรแต่ละคนมาเข้าร่วมด้วย เพื่อให้สามารถกลับไปขับเคลื่อนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช ให้ความเห็นว่าเห็นด้วยที่จะให้ “คุณอำนวย” ของเกษตรกรแต่ละคนมาร่วมด้วยตามที่คุณสุรเดชเสนอ นอกจากนี้ยังเสนอให้เชิญตัวแทนของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ สคส. เคยจัด workshop ให้มาร่วมอีกด้วย
 
   
 วาระที่ 4         เรื่องอื่น ๆ                               
                             กำหนดการประชุมครั้งต่อไปเป็นวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2548  เวลา
9.00 . และเรียนเชิญนายแพทย์สมพงษ์ ยูงทอง เข้าร่วมการประชุมทุกครั้ง โดย
สคส. รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ปิดประชุมเวลา 12.30 .
นางสาวอุรพิณ ชูเกาะทวด                                    
ผู้สรุปการประชุม                  
                              
 
หมายเลขบันทึก: 286เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2005 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท