นวัตกรรม......"รำแคนแทนกินยาNSAIDs "


รำแคนแทนกินยาNSAIDs

นวัตกรรม......"รำแคนแทนกินยาNSAIDs "

            การดูแลผู้สูงอายุเป็นพันธกิจที่สำคัญหนึ่งในงานส่งเสริมสุขภาพของ PCU ในโรงพยาบาล บ้านลาด  เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็นจากการทบทวนการจ่ายยาในใบสั่งยาและทบทวนในสมุดประจำตัวของผู้สูงอายุ  ซึ่งเป็นกระบวนการคุณภาพอย่างหนึ่งที่ PCUในโรงพยาบาลบ้านลาดเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมทำกิจกรรมคุณภาพกับโรงพยาบาลบ้านลาด  ทำให้ทราบความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุรับประทานยา NSAIDs (Non-steroid Anti-Inflammatory Drugs) ซึ่งถ้าผู้สูงอายุกินยาประเภทนี้จำนวนมากและมีความถี่สูงส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น  เป็นแผลในกระเพาะและแพ้ยา  กลุ่มนี้บ่อย  ขณะเดียวกันทีมงาน PCU และกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน  ซึ่งกำกับและดูแลหน่วยงาน PCU ในโรงพยาบาลบ้านลาด  ได้ทบทวนเอกสารของ ศ.นพ.ดำรง  กิจกุศล  ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าสาเหตุที่ผู้สูงอายุปวดหลัง  ปวดเอว  ปวดข้อต่อจนต้องกินยากลุ่ม NSAIDs  เป็นจำนวนมาก  เนื่องจากมีการเสื่อมของข้อต่อและกระดูกเพราะภาวะสูงวัย  ขณะเดียวกันก็  ขาดการขยับข้อต่อหรือการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ  ทำให้ปริมาณอาหารและเลือดไปเลี้ยงข้อต่อไม่เพียงพอ  ศ.นพ.ดำรง กิจกุศล  ได้แนะนำถ้าหากมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและถูกวิธีจะทำให้เลือดและอาหารมาเลี้ยงข้อต่อมากขึ้นเกิดการซ่อมแซมส่วนสึกหรอให้กลับคืนมาใช้งานได้ใกล้เคียงกับวัยกลางคน  ทำให้อาการปวดข้อ  ปวดเข่า  ปวดหลังลดลง  สอดคล้องกับ นพ.เจมส์  นิโคลัส  ที่กล่าวว่า วิธีป้องกันการเสื่อมของข้อที่ดีที่สุดของผู้สูงอายุคือ  ให้ข้อนั้นได้มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ  นำไปสู่การพึ่งพายา NSAIDs ปริมาณลดลงตามไปด้วย  ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการใช้ยา NSAIDs ก็จะลดลงในที่สุด

            ผู้ศึกษามีโอกาสได้ใกล้ชิดและทำกิจกรรมร่วมกับชมรมผู้สูงอายุ  ทำให้ทราบว่าสมาชิกของชมรมหลายคนมีผู้สูงอายุที่สืบเชื้อสายจากไทยทรงดำซึ่งอพยพมาตั้งอยู่ใน  2  ตำบล  ได้แก่ตำบลห้วยลึก  และตำบลห้วยข้อง  ขณะเดียวกันก็มีตำบลท่าแลง  ซึ่งเป็นเขตของอำเภอท่ายางที่มีเชื้อสายไทยทรงดำเช่นเดียวกันผู้สูงอายุเหล่านี้มีความสามารถเป่าแคนและรำแคนได้ดี  จากการสังเกตพบว่าการรำแคนมีจังหวะที่เร่งเร้าสนุกสนาน  จูงใจให้มีผู้เข้าร่วมรำแคนด้วยเป็นจำนวนมาก  และคิดว่าสามารถนำการรำแคนมาประยุกต์ใช้กับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมกับวัย  มีผลทำให้เกิดประโยชน์ในการขยับข้อต่อ  ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Healthy of Thailand ของกระทรวงสาธารณสุข

            ผู้ศึกษาได้ทำ Continuous Quality Improvement :CQI. ของงานส่งเสริมสุขภาพจึงหยิบยกปัญหาการกินยา NASIDs ในผู้สูงอายุมาดำเนินโครงการทดลองของโรงพยาบาลบ้านลาด  ภายใต้นวัตกรรมสร้างสรรค์  รำแคนแทนกินยา NSAIDs”

 

รูปแบบ  เนื้อหา  และกลวิธีของนวัตกรรม

            การรำแคนเป็นการนำกิจกรรมรำแคนซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมการรำแบบพื้นเมืองของคนไทยที่มีเชื้อสายไทย-ลาวซึ่งได้อพยพมาจากเมืองเดียนเบียนฟูซึ่งอยู่ตอนเหนือของประเทศลาว  และได้อพยพมาอยู่ในจังหวัดเพชรบุรีในสมัยรัชกาลที่  5  โดยเฉพาะ  2  ตำบล  ได้แก่  ตำบลห้วยข้อง  และห้วยลึกของอำเภอบ้านลาดและอำเภออื่น   เช่น  อำเภอท่ายางและอำเภอเขาย้อย  คนในจังหวัดเพชรบุรีจะเรียกชนเผ่านี้ว่า  ไทยทรงดำ ซึ่งยังคงรักษาวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีได้แก่  การรำแคน  การแต่งกายด้วยเสื้อและผ้าถุงที่เรียกว่า ผ้าถุงลายแตงโม  การรำแคนจะมีท่ารำและการขยับข้อต่อต่างๆ  ได้แก่  ข้อมือ  ข้อเข่า  หัวไหล่  ประกอบท่าและจังหวะของเสียงแคนมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน  สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมสำหรับออกกำลังกายของผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย  ทำให้ผู้สูงอายุได้มีการขยับข้อต่อต่าง   ส่งผลให้เยื่อหุ้มข้อต่อมีอาหาร  มีเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยง (O2) ส่งผลให้มีการขยับข้อต่อส่วนต่าง  ของผู้สูงอายุ 

            ทีม PCU ในโรงพยาบาลบ้านลาดได้ประยุกต์ท่ารำแคนมาใช้ในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ  ขณะเดียวกันก็มีการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย  เรื่องของการรับประทานยากลุ่ม  NSAIDs ทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้  มีความเข้าใจ  สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการกินยากลุ่ม  NSAIDs มาเป็นพยายามลดและเลิกยากลุ่ม  NSAIDs  ลง ขณะเดียวกันเมื่อมีการประชุม PCU. เครือข่ายของโรงพยาบาลบ้านลาดก็จะพูดคุย  ส่งเสริมกับหัวหน้า PCU นำกิจกรรมรำแคนแทนกินยา  NSAIDs  ไปสร้างเสริมสุขภาพใน PCU อื่น   ขณะเดียวกันก่อนที่ผู้สูงอายุจะรำแคนทุกครั้ง  ผู้สูงอายุต้องได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตก่อน  เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Risk) ของผู้สูงอายุ

แนวคิดนวัตกรรมรำแคนได้นำมาจากหลักการ P-D-C-A /PDSA ที่มีการออกแบบระบบหรือมีการวางแผนกระบวนการ (Planning/Design) โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วนำไปปฏิบัติ(Do/Action) ในชมรมผู้สูงอายุของ PCU โรงพยาบาลบ้านลาดและ PCU ห้วยลึก และ PCU ห้วยข้อง  ทำให้เกิดการมีการตรวจสอบ (Check)ปรับปรุงพัฒนา (Improvements) ให้กิจกรรมดำเนินอย่างต่อเนื่องContinues Quality Improvements : CQI ของ PCUโรงพยาบาลบ้านลาดและ PCU ห้วยลึก และ PCU ห้วยข้อง 

โดยได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการโดยมีขั้นตอนดังนี้

 

 

โอกาสในการพัฒนา

            โครงการรำแคนแทนกินยาสามารถนำไปพัฒนาได้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  โดยขยายการให้สุขศึกษาและการออกกำลังกายไปสู่สถานีอนามัยในเครือข่ายคือ PCU ห้วยลึก และ PCU ห้วยข้อง  หรือในชมรมผู้สูงอายุในเครือข่ายอำเภออื่น ๆ  ตลอดจนสามารถพัฒนาเป็นการออกกำลังกายรูปแบบอื่นเช่น เห่เรือต้าน NSAISs หรือเปตองต้าน NSAISs เป็นต้น

 

รำแคนกินยา NSAIDs ใครได้ประโยชน์

            1.  ผู้สูงอายุกินยา NSAIDs ลดลง  มีภาวะแทรกซ้อนจากยาลดลง

            2.  งานส่งเสริมสุขภาพทำงานในบรรยากาศ  มีความสุข  สนุกสนาน  เรียนรู้  สร้างสรรค์ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข

            3.  โรงพยาบาลบ้านลาดสามารถสร้างสรรค์ผลงานการให้บริการเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพและในการสนับสนุนด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน

            4.  โรงพยาบาลบ้านลาดมีระบบบริการสุขภาพที่เน้นการบริการเชิงรุกมากกว่าเชิงรับตามโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า

            5.  สังคมบ้านลาดมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและระบบบริการของโรงพยาบาลบ้านลาด

ปัญหาและอุปสรรค

            อาสาสมัครผู้สูงอายุอาจไม่สามารถออกกำลังกายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด  คือสัปดาห์ละ  3  วัน  ช่วงเวลาวันละ  30  นาที  เนื่องจากชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลบ้านลาดจัดกิจกรรมเพียงสัปดาห์ละ  1  วัน  ทำให้การออกกำลังกายขาดความต่อเนื่อง  งานส่งเสริมสุขภาพได้ดำเนินการแก้ไขโดยการอัดเพลงรำแคนความยาว  30  นาทีเพื่อแจกอาสาสมัครให้ไปออกกำลังกายที่บ้านอีกอย่างน้อยคนละ  2  วันต่อสัปดาห์เพื่อให้ครบตามเกณฑ์การออกกำลังกายที่เหมาะสมหรือการออกกำลังกายรำแคนที่ชมรมประจำตำบลหรือที่ PCU ประจำตำบลเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการออกกำลังกาย

 

นวัตกรรมรำแคนแทนกินยา NSAIDs จะยั่งยืนหรือไม่

            ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลบ้านลาด  เริ่มก่อตั้งในปี  พ.ศ.  2536  ได้ดำเนินกิจกรรมการออกกำลังกายมาอย่างต่อเนื่อง  ปัจจุบันชมรมมีสมาชิก  4,116  คน  และรับสมัครสมาชิกเพิ่มทุกปี  มีทุนสำรองประมาณ  4  ล้านบาทเศษ  ด้วยความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของชมรมและโรงพยาบาลบ้านลาด  ดังนั้น  กิจกรรมรำแคนแทนการกินยา NSAIDs นี้  ต้องยั่งยืนตลอดไปไม่ว่าใครจะมาเป็นผู้ดำเนินการก็ตาม

 

สรุปผลการดำเนินงาน  2  ปี

            ตั้งแต่เดือนปีงบประมาณ  2550  เปรียบเทียบกับปีงบประมาณ  2551  ผลปรากฏว่าจำนวนผู้ออกกำลังกายด้วยการรำแคนเพิ่มขึ้นร้อยละ  22.40  และจำนวนผู้ขอรับยา NSAIDs ลดลงร้อยละ  33.22  สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 30,780  บาท

            1.  คัดเลือกอาสาสมัครจากสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลบ้านลาด  เพื่อแจ้งข้อกำหนดว่าต้องเข้าร่วมกิจกรรมรำแคนทุกสัปดาห์ครั้งละอย่างน้อย  30  นาที  และจะไม่กินยา NSAIDs นอกจากกรณีที่ปวดข้อ  ปวดเข่า  ปวดเอวมากจนทนไม่ไหว

            2.  การให้ความรู้กับกลุ่มอาสาสมัคร  เพื่อให้สุขศึกษาเรื่องผลแทรกซ้อนของการกินยา NSAIDs และประโยชน์ของการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์  จนแน่ใจว่าอาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจ  ทราบถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายและโทษของการกินยา NSAIDs

            3.  ทำความเข้าใจทีมเจ้าหน้าที่ของ PCU ในโรงพยาบาลผู้มีเจ้าหน้าที่ตรวจรักษา  และจ่ายยาให้กับคนไข้เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ยกเว้น Paracetamol และ Neotiga balm  สามารถจ่ายได้ตามปกติ  แต่ถ้าผู้สูงอายุปวดข้อ  และปวดเข่ามากจนทนไม่ไหว  ก็สามารถจ่ายยา NSAIDs ได้ตามความจำเป็น

            4.  การดำเนินงานตามโครงการเริ่ม  การนัดหมายกับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโดยแบ่งเป็นกลุ่มเล่นดนตรีเพลงแคนและกลุ่มออกกำลังกายด้วยการรำแคน  แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลไปเปรียบเทียบกัน

 

ผลสำเร็จที่ได้จากนวัตกรรม

            1.  สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง  30,780  บาท 

            2.  อาสาสมัครขอรับยา NSAIDs ลดลงร้อยละ 33.22

            3.  อาสาสมัครได้ออกกำลังกายโดยเหมาะสมกับวัยด้วยวิธีรำแคน  (เพิ่มขึ้นร้อยละ  22.4)

            4.  ผู้สูงอายุทราบถึงโทษ  และภาวะแทรกซ้อนของการกินยา NSAIDs

            5.  ผู้สูงอายุทราบถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย  โดยวิธีรำแคน

            6.  อาสาสมัครที่มีอาการปวดขา  ปวดเข่า  ปวดเอว  ลดลง

            7.  PCU. ในโรงพยาบาลบ้านลาดร่วมกันทำงานในลักษณะภาคีเครือข่ายเป็นกับคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ   PCU ห้วยลึก และ PCU ห้วยข้อง 

            8.  เจ้าหน้าที่ของ PCU ในโรงพยาบาลบ้านลาด  สร้างทัศนคติที่ดีต่องาน  ต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในองค์กร(ชมรมผู้สูงอายุ)และชุมชน

            9.  การนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้าน (Local Wisdom) และวัฒนธรรมท้องถิ่น(Folk Culture) อันเป็นทุนทางสังคม (Social Capital) และทุนทางวัฒนธรรม (Culture Capital) คือ  การรำแคนมาบูรณาการเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยตามนโยบาย Healthy of Thailand ของกระทรวงสาธารณสุข

            10.  นวัตกรรมรำแคนแทนกินยา NSAIDs เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการทำงานในลักษณะIndividual, Node, Network :  INNคือการทำงานที่ประยุกต์จากการสร้างสุขภาพของคนเป่าแคนไปสู่การรำแคนเป็นกลุ่ม  ขณะเดียวกันก็เป็นกิจกรรมที่เป็นลักษณะเครือข่ายคือการเชื่อมโยงและนำแนวคิดกิจกรรมรำแคนจากชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลบ้านลาดขยายผลไปยังชมรมผู้สูงอายุตำบลห้วยลึก (PCU ห้วยลึก)  และขยายผลต่อไปยังชมรมผู้สูงอายุตำบลห้วยข้อง (PCU ห้วยข้อง)  ซึ่งเป็น PCU ในเครือข่ายของโรงพยาบาลบ้านลาด (CUP บ้านลาด)

            11. นวัตกรรมรำแคนแทนกินยา NSAIDs ทำให้ PCUในโรงพยาบาลบ้านลาดได้ทำงานวิจัยเล็กๆ (Mini Research) ในลักษณะทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย (Routine to Research : R2R) ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่  ๆ (Knowledge) ทำให้เกิดการแรกเปลี่ยนเรียนรู้กับ PCU อื่น   (Share  Idea) นำไปสู่การเกิดแนวคิด/วิธีการใหม่   (Innovation)

            12. นวัตกรรมรำแคนแทนกินยา NSAIDs เป็นกิจกรรมที่ทำให้ PCU ในโรงพยาบาลบ้านลาดเกิดการเรียนรู้ที่ได้นำวัฒนธรรมพื้นบ้านมาประยุกต์ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (Risk) สามารถลด ความเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยง และทำให้ PCU เป็นองค์กร/หน่วยงานที่ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture) เป็นวัฒนธรรมคุณภาพ (Quality Culture) และเป็นหน่วยงานแห่งการเรียนรู้(Learning Organization)

  

อัตราการใช้ยา : จำนวนการรักษา  ปี  2550

37.53

อัตราการใช้ยา : จำนวนการรักษา  ปี  2551

12.66

ภาพรวมการเปรียบเทียบร้อยละของการใช้ยา NSAIDs ปี 2550 และปี 2551

หมายเลขบันทึก: 285777เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2009 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท