เนื้อหาสำหรับเขียนงานลงวารสาร SSPN (ตอนที่ 2)


สุดท้ายผมก็ไม่ได้ส่งงานลงวารสารฉบับนี้ เพราะอาจารย์ของผมคิดว่าเนื้อหาน้อยเกินไปที่จะส่งไปที่นั่น ผมจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอะไรบางอย่างที่ชัดเจนมากกว่านี้ เพื่อใช้ในการตอบปัญหาที่ผมต้องการรู้

บันทึกกันลืมของผมอันนี้ เป็นตอนต่อเนื่องจากบันทึกเรื่อง  เนื้อหาสำหรับเขียนงานลงวารสาร SSPN

สุดท้ายผมก็ไม่ได้ส่งงานลงวารสารฉบับนี้ เพราะอาจารย์ของผมคิดว่าเนื้อหาน้อยเกินไปที่จะส่งไปที่นั่น ผมจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอะไรบางอย่างที่ชัดเจนมากกว่านี้ เพื่อใช้ในการตอบปัญหาที่ผมต้องการรู้ 

จากการศึกษาของผมจนถึงขณะนี้   ผมก็สามารถกำหนด  indicator ที่จะนำมาใช้ประเมินศักยภาพด้านการผลิตของดินแล้ว แต่ผมคิดว่าคงใช้ได้ดีสำหรับพื้นที่ศึกษาของผมเท่านั้น   ถ้าเป็นพื้นที่อื่น ก็คงต้องศึกษาถึง ลักษณะของดินและการเปลี่ยนแปลงความอุมสมบรณ์ของดินในรอบเพาะปลูก กันใหม่ แล้วก็กำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสมของพื้นที่แห่งนั้น

ที่จริงตัวชี้วัดฯ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวเหล่านั้น ผมจะนำมาใช้เป็นข้อมูลสนับสนุน เพื่อสร้างคู่มือแนะนำการจัดการที่ดินในระดับแปลง สำหรับเกษตรกรที่อนุเคราะห์แปลงของเขาให้ผมทำการศึกษา  เพื่อใช้เป็นกรณีตัวอย่าง 

เนื่องจากคู่มือแนะนำฯ ที่ผมต้องการจะทำขึ้นมา  ผมคิดว่าผลจากการศึกษาลักษณะของดินเพียงแค่นี้คงไม่สามารถทำในสิ่งที่ผมต้องการได้ ผมคงต้องเข้าใจถึง พลวัตรการหมุนเวียนของธาตุอาหาร ที่จำเป็นต่อพืชในดินซะก่อน ซึ่งก็คงต้องเป็นข้อมูลเชิงปริมาณแน่นอน

ผมคงต้องศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่เกี่ยวกับ ความสมดุลย์ของธาตุอาหารในดิน ที่ได้เข้าสู่ระบบ กับที่สูญหายออกไปจากระบบ   ทำให้ผมจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการให้ปุ๋ยตลอดทั้งฤดูเพาะปลูก การใช้สารเคมีด้านการเกษตร การกำจัดวัชพืช จำนวนแรงงาน และข้อมูลผลผลิตในแต่ละแปลงด้วย  ซึ่งคงอาจจะเพียงพอสำหรับการสร้างคู่มือแนะนำฯ ให้เกษตรกรได้
ผมเองก็เพิ่งทำมาสองปีเอง ยังไม่รู้อะไรอีกเยอะเลยครับ คำแนะนำจากท่านทั้งหลาย เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อผมมากครับ

------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ: พื้นที่หมู่บ้านแห่งนั้น เพิ่งจะมีไฟฟ้าใช้ (solar cell) ใช้เมื่อปี 2548 เองครับ  เรียกได้ว่าเป็น  inaccessible remote area ในช่วงฤดูฝนสำหรับรถปิกอัพธรรมดาเลย

ผมว่า เป็นเพราะถนนไม่ดีมากๆ มีความลาดชันและมีหินโผล่ อีกทั้งยังอยู่ในพื้นที่อุทยานฯ ก็เลยทำให้ (แทบจะ) ไม่มีนักวิชาการเกษตร นักส่งเสริมการเกษตรไปแนะนำด้านการเกษตรเลยครับ เกษตรกรที่นั่นไม่ทราบแม้กระทั้งเกี่ยวกับการใช้ปูนขาว เพื่อลดสภาพความเป็นกรดของดิน ซึ่งทำให้ผมแปลกใจมาก (แต่อย่างไรการใช้ปูนขาวติดต่อกันนานก็ไม่ดี)  

พื้นที่หมู่บ้านที่อยู่ในเขตอุทยานฯ ทำให้มีปัญหาเรื่องการพัฒนา เพราะ อบต. ไม่สามารถเข้าไปพัฒนาได้อย่างเต็มที่เนื่องจากจะมีปัญหาที่เกี่ยวกับกฏหมายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และกฎหมายของอุทยานฯ ดังนั้น จึงไม่สามารถทำการส่งไฟฟ้าระบบสายเข้าไปในหมู่บ้านได้  อีกทั้งการสร้างถนนลูกรังที่มีคุณภาพก็ไม่สามารถทำได้เพราะอยู่ในพื้นที่อุทยานฯ ต้องทำการตกลงกันระหว่าง อบต. และอุทยานฯ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ขึ้นกับการตัดสินใจของผู้ใหญ่เท่านั้นครับ.

หมายเลขบันทึก: 28573เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2006 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท