ประเมินมาตรฐานที่ 5 สมศ. ....ทบทวนคิด...สู่ความเป็นจริง พื้นถิ่น


สิทธิที่เด็กพึงได้...ความสามารถที่เด็กพึงมี....โครงสร้างพื้นฐานที่พึงรองรับ...ก่อนประเมินอิงเกณฑ์เดียวกัน...การนับคนเก่งคือคำตอบ...เช่นนั้นก็หาไม่...ใครตอบได้?

                การประเมินภายนอกรอบสอง....ที่พึงคิด  และทบทวน ที่หน้างานหรือผู้เกี่ยวข้อง อะไรคือคำตอบ????? การศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี  นโยบายเรียนฟรี 15 ปี  คือ ความหวังของชาติบ้านเมือง การขับเคลื่อนให้ได้มาซึ่งคุณภาพ  คือ สะพานเชื่อม  สังคมไทยที่ภาคภูมิใจในความเป็นไทย  คนไทยที่ห่างไกลสิ่งเสพติด และคนไทยที่เก่งดี มีความพอเพียง  อยู่ในสังคมไทย สังคมอาเซียน และสังคม โลกได้ คือความใฝ่ฝัน

             วันนี้...ยุคนี้....เรามี สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ ใครๆเรียกว่า " สมศ." เข้ามาทำหน้าที่...เพื่อประเมิน...ประมวล...สรุป...ภาพคุณภาพการศึกษา  รอบนี้ ปีนี้ ยังอยู่ที่ " การประเมินรอบสอง ....ใครๆเรียกง่ายๆเช่นกันว่า....การประเมินภายนอกรอบ 2 " ประเมิน เจาะระเบิดกัน 14 มาตรฐาน พูดกันสั้นๆ ถามกันง่ายๆว่า....ทุกคน ที่เป็นฐานหน้างานรับการประเมิน...คิดอย่างไร? .... ใครบ้าง สถานศึกษาใดบ้าง ?ที่ประเมินก่อนวันที่ 2 มิถุนายน 2552 ? และใครบ้าง สถานศึกษาใดบ้างเอ่ย ประเมินหลัง วันที่ 2 มิถุนายน 2552 ? กระบวนการประเมินเป็นเช่นไร? แต่ละแห่งพิจารณาคำว่า" สถานศึกษามีการพัฒนา....เหมือนกันหรือไม่ ? ลองหาคำตอบดูดีไหม? ทำวิจัยกันเล็กๆ ที่สำคัญ การนำเด็กเก่ง....ในมาตรฐานที่ 5 เพียงจากการสอบ O-Net อย่างเดียว มาสรุปการมองว่าสถานศึกษา มีการพัฒนาหรือไม่พัฒนา...ใช่คำตอบสุดท้ายหรือไม่?  ผู้เข้าอ่าน Blog คงพอได้พบบ้างนะว่าใน  14 มาตรฐาน ของสมศ. สถานศึกษา รับการประเมินภาบนอก ได้ดีมาก และดี รวม 13 มาตรฐาน แต่ อีก 1 มาตรฐานไม่ผ่าน ...เพียงแค่นี้ อะไร คือ กระบวนการประเมิน..... กระบวนการประเมินมาตรฐานที่ 5 มีความต่าง หรือไม่สัมพันธ์กับกระบวนการอื่นๆอย่างไร? หรือ กระบวนการประเมินในมาตรฐานอื่นๆ ไม่สัมพันธ์กับมาตรฐานที่ 5 อย่างไร? ....ใคร คือ ผู้ต้องตอบ  และเราควรทักท้วงกระบวนการเหล่านี้บ้างหรือไม่? ขอยกตัวอย่างก็แล้วกัน ชัดดี...เผื่อประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสังคมพื้นถิ่นเราได้บ้าง

                        " การประเมินมาตรฐานที่ 5 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ  2552   ซึ่งมีโรงเรียนหนึ่งได้ยอมรับผลการประเมินแบบอิงเกณฑ์ คือ 1.70  ระดับคุณภาพพอใช้  แต่โรงเรียนขอให้ผู้เกี่ยวข้อง คือ หน่วยประเมินประเมิน พิจารณาทบทวนผลการประเมินอิงสถานศึกษา  ที่ได้ค่าเฉลี่ย 1.00 ระดับคุณภาพปรับปรุง   เนื่องจากโรงเรียนได้นำผลการประเมินภายนอกรอบแรกมาพัฒนาศักยภาพผู้เรียนภายใต้กิจกรรมตามโครงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โครงการพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  โครงการแข่งขันทักษะทางวิชาการ  โครงการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อการเรียนรู้  โครงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้  พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้อินเตอร์เน็ต  การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน  และโครงการจัดงานวันนักประดิษฐ์และนิทรรศการทางวิชาการ  ซึ่งผลการดำเนินการตามกิจกรรม/โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่โรงเรียนตั้งไว้  เป็นที่ประจักษ์ และยอมรับของคณะกรรมการประเมินที่มาตรวจสอบผลการดำเนินงานของโรงเรียนระหว่างวันที่  9 - 11  มิถุนายน  2552 (กลุ่มหลังวันที่ 2 มิถุนายน 2552)  ดังนั้นผลดำเนินงานของโรงเรียนในมาตรฐานที่  5  น่าจะแสดงถึงบรรลุตามเป้าหมาย หากพิจารณาอิงสถานศึกษารอบด้าน  และที่หน่วยประเมินอ้างว่าโรงเรียนดำเนินงานไม่บรรลุตามเป้าหมาย เพราะผลการทดสอบระดับชาติเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  .....ซึ่งหากพิจารณาทบทวนอีกครั้ง

น่าจะเป็นการตีความไม่ตรงกัน เพราะ ตามข้อความที่โรงเรียนเขียนไว้ว่า ผู้เรียนมีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์  ร้อยละ 65  เป็นเป้าหมายที่โรงเรียนคิดตามความเข้าใจของโรงเรียน คือคิดจากขีดจำกัดล่างของนักเรียนส่วนใหญ่  และเมื่อโรงเรียนระบุในผลการดำเนินการว่าร้อยละของผู้เรียนที่ได้ผลการทดสอบ O-NET  มากกว่าขีดจำกัดล่างของค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบของประเทศ คิดเป็นร้อยละ  73.14  จึงน่าจะบรรลุตามเป้าหมายและเจตนาของโรงเรียน  และคณะกรรมการประเมินทั้ง  4  ท่าน ก็ได้พิจารณาแล้วว่าร้อยละของเป้าหมาย และร้อยละของผลการดำเนินงานคิดตามเจตนาเดียวกัน     ผลการประเมินมาตรฐานที่  5  จึงควรจะเป็นดังนี้

                -ระดับคุณภาพของการประเมินแบบอิงเกณฑ์   ค่าเฉลี่ย  1.70   ระดับคุณภาพพอใช้  

 ผลการประเมินภายนอกรอบแรกของโรงเรียนอยู่ในระดับคุณภาพ พอใช้  แสดงว่าไม่มีการพัฒนา  แต่โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาตามข้อเสนอแนะและบรรลุตามเป้าหมาย(ตามคำชี้แจงข้างต้น)   จึงได้ค่าเฉลี่ย  2    ผลการประเมินมาตรฐานที่  5  จึงควรได้   1.85  ระดับคุณภาพ พอใช้

                              แต่เอาเข้าจริงๆ  ไม่ใช่.....อย่างนี้  คงถึงเวลาที่เราต้องช่วยกันทบทวนไปยัง สมศ.กันแล้ว เป็นความถูกต้องหรือไม่ที่  การประเมินรอบสองด้วยกัน แต่กระบวนการประเมิน ไม่ใช่กระบวนการเดียวกัน ....ถือเป็นการปฏิบัติ 2 มาตรฐานหรือไม่ ?  การตีความการพัฒนาไม่พัฒนาของโรงเรียน ...ไม่ตรงกัน ของหน่วยประเมิน และ สมศ. ....ใครจะเป็นคนตอบ??? หน่วยประเมินแต่ละหน่วย ถือปฏิบัติต่างกระบวนการไป.....ใครคือ ผู้รับผล .....

                              ที่สำคัญ....โรงเรียนที่ไม่เท่ากัน....เด็กๆที่ไม่เท่ากัน ....สิ่งแวดล้อม ที่ไม่เท่ากัน ....การดูแลของสังคมที่ไม่เท่ากันและไม่ใกล้เคียงกัน....โครงสร้างพื้นถิ่นทางสังคม ที่ห่างไกลลิบฟ้า...แต่เรามาวัดคำตอบด้วยกลไกเดียวกัน .....คือสอบวัดด้วยกระดาษคำตอบ....คือคำตอบสุดท้ายให้สังคมใช่ไหมว่า...." สังคมนั้น......  เราไม่รับรอง"

                               เพียง " 1 ตัวอย่างเท่านั้น " กับการ...ให้คำตอบสุดท้ายด้วยกระดานคำตอบ.......

ยังมีอีกมาก...ที่ขอเพียงมีข้าวกิน ...มีชายคาหลบแดด-ฝน....มีผ้าห่มผืน  ... ค่าแรงไม่ถึงขั้นต่ำ แต่มีที่ว่าไว้ก็เพียงพอแล้ว.... อย่างนี้ยังมีอีกหลายถิ่นเหลือเกิน....คุณภาพการศึกษาที่แท้จริงอยู่ที่ใด....ประกันคุณภาพการศึกษา ...ใครคือ ผู้ให้

 

หมายเลขบันทึก: 285359เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยทุกประการ เบื่อมากเลย.....

โรงเรียนของดิฉันอยู่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ที่โรงเรียนกำลังจะรับการประเมินรอบสอง กลัวไม่ผ่าน มฐ.5 เหมือนกัน อยู่ชายแดนสอนให้อ่านออกเขียนได้ รู้จักรักชาติไทยก็น่าจะพอแล้ว

เห็นด้วยกับคุณค่ะ ในเมื่อต่างก็บอกว่าคนเราแต่ละคนต่างกัน พื้นที่ วัฒนธรรมต่างกัน ความเป็นอยู่ต่างกันทำไมต้องใช้สิ่งวัดเหมือนกันละ

คนคิดประเมินเค้าคงขี้เกียจมาก เลยตั้งเกณฑ์มาเกณฑ์เดียว ไม่เผื่อใจให้ใครบ้างเลย

อย่างว่าแหละ คนคิดนั่งในห้องแอร์ คนถูกประเมินนั่งตากแดด จะเข้าใจหัวอกกันได้ยังไง

ผู้บริหาร ก็ต้องบริหารให้เป็นไปตามแผนแม่บทแห่ง ในทุกเรื่อง

ผู้ต่ำบังคับบัญชา ก็ต้องสนองนโยบายตามหน้าที่ของตนเองอย่างดี

ชาติเรามุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ เดินไปตามแผนแม่บท ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และต้องเร่งปรับเปลี่ยนในทุกเรื่อง ไปพร้อมๆกัน

ผลกระทบก็ต้องยอมมีแน่นอน สะท้อนได้จากผลผลิตก็คือนักเรียน ที่ดำรงอยู่ในสังคมอย่างไร

ดูในข่าวรายวัน พฤติกรรมเด็ก มีการเปลี่ยนแปลงไปทางด้านลบ ที่รุ่นแรงมากขึ้น จำนวนก็เพิ่มสูงขึ้น

แต่ก็ใช่ว่าเด็กในด้านบวกจะลดลง ก็สูงขึ้นเช่นกัน

ต้องมานั่งวิเคราะห์กันว่า ถ้าเด็กที่เกิดจากเปลี่ยนแปลงของนโยบายการศึกษาแห่งชาติ

ในด้านบวก และด้านลบ ที่มีการแปรผันแบบแปรผันตามกันเช่นนี้ สังคมยุคใหม่เราจะเกิดอะไรขึ้น

ในเมื่อการกำหนด มาตราฐานที่ 5 เทียบกับด้วยเกณฑ์เดียวกันทั่วประเทศ แล้วเอามาเป็นสาระสำคัญในการตัดสินชี้วัดคุณภาพโรงเรียน ชื่อเสียงโรงเรียนที่สะสมมาต้องมีอัน.......... โรงเรียนก็ต้องยกระดับผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนให้สูงขึ้น ด้วยเวลาอันสั้น

ยังไงก็ต้องไม่ทำให้โรงเรียนตนตกมาตราฐานนี้ ต้องทำทุกอย่างแน่นอน การเร่งผลผลิต รู้บ้างไหม อะไรๆ ในโรงเรียนก็เปลี่ยนไป

ระบบจัดการเปลี่ยนไป ครูก็เปลี่ยนไป นักเรียนก็เปลี่ยน เพื่อให้สถิติ ผลลัพธ์เป็นไปตามความพอใจของนโยบาย

คุณภาพของตัวเลข ก็เปลี่ยนไป นักเรียนเกรดเฉลี่ยสูงขึ้นแบบทันตา ถ้าในสมัยผมเรียน เด็กกลุ่มนี้สอบแพทย์ได้ทั้งกลุ่ม เป็นแพทย์กันหมดเลย

จริยธรรม คุณธรรม ของนักเรียนก็น้อยลง เห็นครูก็ไม่ต้องเกรงใจ เพราะเป็นแค่คนมาสอนกินเงินภาษีของพ่อแม่เรา

เพราะขาดการอบรมสั่งสอนจากครูอาจารย์น้อยลง เพราะครูต้องเร่งสอน ติว เพื่อผลสัมฤทธิ์แห่งชาติ

แตะไม่ได้ เพราะพ่อแม่มาเรียกร้องสิทธิเด็ก

ใช่ผมอาจจะเป็นครูโบราณ ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ต้องให้ออกสอนพิเศษ ทำเอกสารเพื่อประเมินวิทยาฐานะ

เป็นอาจารย์ 3 กัน ทั้งประเทศ ความเสื่อมในสังคมยุคนี้ ที่เรามอง อาจจะเป็นสังคมยุคใหม่อีกหลายๆ คน

ผมก็ขออยู่ตรงนี้สักพักก่อน เผื่อว่าฟ้ามีตาจริง คงกู้อะไรๆ กลับมา

"คืนครูให้เด็ก" ได้ไหม

ปล. มาคอมเม็น ในบล็อคอาจารย์ แบบหนักไปหน่อยนะครับ หลายคนอาจยังไม่รู้ไม่รู้จัก ดร.ศิริวรรณ อาจศรี ท่านเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนด้วยนะครับ มีวิสัยทัศน์ไกล

ที่รู้ท่านส่งเสริมให้เรา ขายความคิด กล้าที่จะแสดงออก ถ่ายทอดความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เติมเต็มซึ่งกันและกัน

ขอบคุณที่อ่านนะครับ

ครูตั๋น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท