หลักสตร 51


หลักสูตร 51

การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

                ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 293/2551          เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 กำหนดให้สถานศึกษา ในสังกัด จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังนี้(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)

1.       โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรและโรงเรียนที่มีความพร้อมตามรายชื่อที่กระทรวง

ศึกษาธิการประกาศ  ใช้หลักสูตรฯ ดังนี้

1.1   ปีการศึกษา 2552 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4

1.2   ปีการศึกษา 2553 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5

1.3   ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551 ทุกชั้นเรียน

2.       โรงเรียนทั่วไป ให้ใช้หลักสูตรฯ ดังนี้

2.1   ปีการศึกษา 2553 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4

2.2   ปีการศึกษา 2554 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5

2.3   ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551 ทุกชั้นเรียน

                สถานศึกษา ที่ต้องใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ควรศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางฯ และเตรียมการจัดทำสิ่งต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนที่จะถึงกำหนดเวลาตามคำสั่งของกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวแล้ว เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางฯ สถานศึกษา สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.curriculum51.net และกระทรวงศึกษาธิการจะทะยอยส่งเอกสารเป็นรูปเล่มให้สถานศึกษาที่ต้องใช้หลักสูตรแกนกลางฯ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 ตั้งแต่เดือนมกราคม เอกสารหลักสูตรแกนกลางฯ มีดังนี้

1.       หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

2.       ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้.............ตามหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๆ ละ 1 เล่ม

 เอกสารประกอบหลักสูตรฯ แกนกลาง มี 3 เล่ม ดังนี้

1.       แนวทางการบริหารหลักสูตร

2.       แนวทางการจัดการเรียนรู้

3.       แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

นอกจากนี้ สถานศึกษา ที่สนใจสามารถขอยืมได้จากผู้ที่ได้รับการอบรมเป็นวิทยากร

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทุกเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ผ่านการอบรมอย่างน้อยเป็นศึกษานิเทศก์ จำนวน 7 คน และครูโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรฯ จำนวน 3 คน

                เมื่อได้เอกสารแล้ว ฝ่ายวิชาการและคณะครูของสถานศึกษาควรศึกษารายละเอียดในเอกสารให้เข้าใจ โดยเฉพาะ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนด วิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้(รวมทั้งตัวชี้วัด) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงสร้างเวลาเรียน และศึกษาเอกสาร  แนวทางการบริหารหลักสูตร อย่างละเอียดจะทำให้ทราบว่าสถานศึกษาจะต้องดำเนินการใช้หลักสูตรฯ อย่างไร เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ จะให้แนวการจัดการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมาย สื่อการจัดการเรียนรู้ การจัดทำคำอธิบายรายวิชา การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ส่วนเอกสารแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แนะนำการบริหารจัดการงานวัดผลของสถานศึกษา การจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ตลอดจนเอกสารหลักฐานการศึกษาที่ต้องใช้

                การจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1.       ระดับประถมศึกษา(ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะ

พื้นฐานด้านการอ่านการเขียน การคิดคำนวณ การคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้ง                   ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

2.       ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นให้

ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด และความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน           มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำรงชีวิต           มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐาน         ในการประกอบอาชีพ หรือการศึกษาต่อ

 3.       ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้น       

การเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน ทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ มีทักษะ มีทักษะในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ

กรอบภาพรวมของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีดังนี้ 

                มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด   8  กลุ่มสาระการเรียนรู้                                                            

                     1. ภาษาไทย      2. คณิตศาสตร์    3. วิทยาศาสตร์                             

4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   5. สุขศึกษาและพลศึกษา    

    6.  ศิลปะ      7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี       8. ภาษาต่างประเทศ                                                

 

<table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

     1. รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์

     2. ซื่อสัตย์สุจริต             3. มีวินัย

     4. ใฝ่เรียนรู้                     5. อยู่อย่างพอเพียง

     6. มุ่งมั่นในการทำงาน   7. รักความเป็นไทย

                           8. มีจิตสาธารณะ

</td> </tr></tbody></table> <table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1.       ความสามารถในการสื่อสาร

2.       ความสามารถในการคิด

3.               ความสามารถในการแก้ปัญหา

4.       ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5.       ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

</td> </tr></tbody></table> <table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

จุดหมาย

1. มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

              2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา  การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต

3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย

                            4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ           การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

              5.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย   การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม                  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข 

 

</td> </tr></tbody></table> <table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

.กิจกรรมแนะแนว

๒.กิจกรรมนักเรียน

๓. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

</td> </tr></tbody></table> <table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

วิสัยทัศน์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

</td> </tr></tbody></table></strong> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: 36pt;"> </p><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

คุณภาพของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

</td> </tr></tbody></table>
แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ได้กำหนด <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">องค์ความรู้ ทักษะสำคัญและคุณลักษณะที่สำคัญ ที่เป็นจุดเน้นในการพัฒนาผู้เรียน ดังนี้</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

องค์ความรู้ ทักษะสำคัญ

และคุณลักษณะ

ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน

</td> </tr></tbody></table><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

วิทยาศาสตร์   :   การนำความรู้

และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล  คิดวิเคราะห์

คิดสร้างสรรค์  และจิตวิทยาศาสตร์

 

</td> </tr></tbody></table><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  :    การอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุ  การเป็นพลเมืองดี  ศรัทธาในหลักธรรมของศาสนา การเห็นคุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความรักชาติ และภูมิใจในความเป็นไทย

 

</td> </tr></tbody></table><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

ศิลปะ : ความรู้และทักษะในการคิดริเริ่ม  จินตนาการ สร้างสรรค์งานศิลปะ  สุนทรียภาพและการเห็นคุณค่าทางศิลปะ

 

</td> </tr></tbody></table><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

ภาษาไทย   :  ความรู้  ทักษะ

และวัฒนธรรมการใช้ภาษา 

เพื่อการสื่อสาร   ความชื่นชม  

การเห็นคุณค่าภูมิปัญญา ไทย     และภูมิใจในภาษาประจำชาติ

</td> </tr></tbody></table><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

ภาษาต่างประเทศ   :    ความรู้ทักษะ  เจตคติ และวัฒนธรรม การใช้ภาษา ต่างประเทศในการสื่อสาร  การแสวงหาความรู้

และการประกอบอาชีพ

 

</td> </tr></tbody></table><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ece9d8;">

การงานอาชีพและเทคโนโลยี   : ความรู้  ทักษะ และเจตคติในการทำงาน  </spa

</td> </tr></tbody></table>

หมายเลขบันทึก: 284542เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท