จับภาพมอง "ไตรภาคีฯ" ที่พัทลุง


เชื่อในกระบวนการทางปัญญาของมนุษย์ ที่ชี้เจาะจงลงมาที่ "ภูมิปัญญา" ของชาวบ้านในการดูแล-พัฒนาสุขภาพของตน ครอบครัว และชุมชน

       สืบเนื่องจากโครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชนที่มีการดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2548  ดิฉันได้รับการติดต่อทาบทามจากนักวิจัยและผู้รับผิดชอบโครงการฯ คือ นพ.ยอร์น จิระนคร และคุณ"ชายขอบ" ผ่าน Blog  GotoKnow.org ให้มาร่วมในกระบวนการดำเนินการในส่วนที่เป็น Capture KM ภายใต้ฐานแนวคิดที่เชื่อในกระบวนการทางปัญญาของมนุษย์ ที่ชี้เจาะจงลงมาที่ "ภูมิปัญญา" ของชาวบ้านในการดูแล-พัฒนาสุขภาพของตน ครอบครัว และชุมชน

       การลงสู่พื้นที่สองครั้งที่ผ่านมาครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ และครั้งที่สองในเดือนมีนาคม (2549) เป็นการทำ Pilot study หรือการศึกษานำร่องหาข้อมูลตามบริบทที่เป็นสภาพจริง ในส่วนที่เป็นงานที่ดิฉันรับผิดชอบ เพื่อนำข้อมูลเชิงประจักษ์นั้นมาวิเคราะห์-สังเคราะห์ และสร้างเป็น Theme เป็นบทนำทางที่นำไปสู่กระบวนการศึกษาที่เจาะลึกลงไป การลงพื้นที่ครั้งแรกนั้นดิฉันได้ไปตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีการจัดเวทีที่มีการเดินเรื่องอยู่แล้ว เพียงแต่ดิฉันเข้าไปร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมในแต่ละเวที แล้วนำสิ่งที่พบตามกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่ตนเองใช้ในการวิจัยนี้ เป็นตัวเดินเรื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นกระบวนการทางปัญญาของชาวบ้านในมุมมองเรื่อง "สุขภาพ"จากการลงพื้นที่ทำการศึกษานำร่องดังกล่าว เรานำข้อมูลที่ได้มาจัด Theme และทำ Road Map เพื่อดำเนินการต่อให้เกิดการขับเคลื่อนไปตามเป้าประสงค์ของโครงการวิจัย เราในทีมผู้วิจัยตั้งเป้าไว้ในการลงพื้นที่ตามระยะเวลาที่กำหนดประมาณ 1-2 ปี โดยมีเป้าประสงค์ที่อาจดูเหมือนเป็นความคาดหวังให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในการดูแลสุขภาพชุมชนของชาวบ้าน คน ครอบครัว ชุมชน และสังคม...

       ข้อสังเกตที่ดิฉันพบจากการลงพื้นที่ที่ผ่านมา คือ ทีมที่เกิดขึ้นจากการที่นักวิจัยและผู้รับผิดชอบโครงการฯ "คุณชายขอบ" สร้างเครือข่ายและทีมไว้ในพื้นที่ต่างๆ มีการสอดรับและสนองตอบ ร่วมเดินตามไปในโครงการฯ แม้แต่ภาคเอกชน และภาคการเมืองท้องถิ่นด้วย ต่างมีความร่วมมือและพร้อมที่จะร่วมเดิน มีความเอาจริงเอาจังของคนทำงานในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น อสม. หมออนามัย ชาวบ้าน และองค์กรท้องถิ่นต่างๆ ต่างจริงจังมากเมื่ออยู่ในเวทีที่มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกคนที่มาต่างมาด้วย"จิตวิญญาณ"ที่อยากจะพัฒนาชุมชนของตนเองอย่างแท้จริง แม้แต่บุคลากรทางด้านสาธารณสุขในชุมชนเองต่างมุ่งมั่นอย่างมากในการทำงานดังกล่าว ทำให้มองเห็นถึงความแตกต่างออกไปจากการทำงานในพื้นที่อื่นๆ ที่มักมุ่งทำตามนโยบายมากกว่าที่จะทำเพื่ออยากพัฒนาจริงๆ ดิฉันมองเห็นว่าพื้นที่ภายใต้โครงการฯนี้มีความพร้อมอย่างมากตามบริบทที่ควรจะลงมาศึกษากระบวนการทางปัญญา อันนำไปสู่การเกิดเป็น "ภูมิปัญญา" ของคนในท้องถิ่นต่อเรื่อง สุขภาพ...

 

 

หมายเลขบันทึก: 28369เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2006 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

  อ่านอย่างละเอียด  และติดตามด้วยความชื่นชมครับ  ชื่นชมทั้งผู้บันทึก .. เรื่องราวทั้งหมด และ ภาพความงามแห่งความสำเร็จของงาน ที่เกิดจากความมุ่งมั่นด้วยจิตวิญญาณของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง .. นึกภาพออกครับ  แม้ไม่ไปเห็นด้วยตา อย่างนี้ท่านอาจารย์พุทธทาสบอกว่า .. "ถูกต้อง" .. "พอใจ" เดินหน้าต่อไปนะครับ.

      ....  ที่ถูกต้อง  รีบทำต่อ  อย่ารอคอย
            ทีละน้อย  เก็บอิ่มใจ  ไว้เป็นทุน.
 

อาจารย์"Handy"

ความเห็นของท่านทำให้เกิดกำลังใจอย่างมากเลยคะ เพราะ "เรา" มักถูกถามจากหลายคนว่าทำไปทำไมทำไปเพื่ออะไร ...จากคำถามเหล่านี้สักวันเขาจะได้คำตอบว่าที่เราๆ ลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างเพื่ออะไร และทำไปเพื่อใคร...ในยามที่ท้อจะขอนำ "กำลังใจ"ท่านเป็นแรงผลักและขับดัน...ว่าอย่างน้อยก็มีใครคนหนึ่งที่มองเห็นว่า "เรา" กำลังทำอะไร

     บันทึกนี้เป็นกระจกแก่ผมและทีมงาน ขอบคุณจริง ๆ อีก คห.อาจารย์ Handy คือแรงใจในความมุ่งมั่น ก็ขอบคุณมาก ๆ เช่นกันครับ

คุณ"ชายขอบ"

สิ่งที่ทำหาใช่ทำเพื่อใคร"คนหนึ่ง"

หากแต่ทำ..ทำเพื่อ"คน"ส่วนใหญ่

สิ่งที่ทำนั้น...หวัง"ก่อเกิด"

สิ่งที่เป็นประโยชน์...ต่อ

คน ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

ขอบคุณเช่นกัน...

ที่ท่าน..กำลังทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่

เพื่อ"ชาวบ้าน"...

เป็นกำลังใจให้เช่นกันนะคะ

ขอร่วมเป็นกำลังใจให้อีกแรง ด้วยความเป็นเลือดสีเดียวกัน คนทำงานสาธารณสุข
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท