นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา


นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

                    นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล ที่สามารถแก้ปัญหาการศึกษาได้เบ็ดเสร็จทุกอย่าง นวัตกรรมฯบางอย่างก็ล้มเหลว นวัตกรรมบางอย่างก็ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดายปัญหาในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ไปใช้คือ จะทำอย่างไรให้สมาชิกในสังคมยอมรับนวัตกรรมโดยการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมฯ และทำอย่างไรนวัตกรรมฯ นั้นจึงผสมกลมกลืนกับชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิก
                  ในฐานะที่ท่านเป็นนักการศึกษา มีบทบาทหน้าที่ในการใช้นวัตกรรมฯ จำเป็นต้องเข้าใจหลักการ กระบวนการ และสามารถเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่เหมาะสม จงแสดงให้เห็นว่า

4.1 ประเภทของการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ควรให้ความสำคัญนวัตกรรมฯ ประเภทใด เพราะเหตุใด

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
          นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ 

          1.หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
          2. หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
          3. หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
4หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง


นวัตกรรมการเรียนการสอน
          เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

 

นวัตกรรมสื่อการสอน
          เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่
          - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
          - มัลติมีเดีย (Multimedia)
          - การประชุมทางไกล (Teleconference)
          - ชุดการสอน (Instructional Module)
          - วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)


นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
          เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่
          - การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
          - การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา
          - การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
          - ฯลฯ


นวัตกรรมการบริหารจัดการ
          เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
          นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง
          นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา

 

ควรให้ความสำคัญทุกๆ ด้านร่วมกันไป เนื่องจากเป็นการแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  การผลิตและการพัฒนาสื่อใหม่ ๆขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ด้วยระยะเวลาที่สั้นลง  การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด 

ที่มา : http://kruatapon.blogspot.com/2007/11/blog-post.html
         

          http://kanok-orn.blogspot.com/2007/10/blog-post.html

http://kulratee.multiply.com/journal/item/3

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22 "การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ" การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ
          1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
          2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
          3. นวัตกรรมสื่อการสอน
          4. นวัตกรรมการประเมินผล
          5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

4.2 รูปแบบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา แบ่งได้กี่แบบ แต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร

จำแนกได้ดังนี้ 

ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับครู

ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับนักเรียน

- คู่มือครู

- เอกสารประกอบการสอน

- ชุดการการสอน

- สื่อประสมชนิดต่างๆ

- หนังสืออ้างอิง

- เครื่องมือวัดผลประเมินผล

- อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ

- โครงการ

- วิจัยในชั้นเรียน

- การศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล

- วิธีสอนแบบต่างๆ

                      ฯลฯ

 

 

-  บทเรียนสำเร็จรูป

- เอกสารประกอบการเรียน

- ชุดฝึกปฏิบัติ

- ใบงาน

- หนังสือเสริมประสบการณ์

- ชุดเพลง

- ชุดเกม

- โครงงาน

                                              ฯลฯ

 

 

 
 

ข้อดีคือ

            1)  นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

            2)  นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม

            3)  บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน

            4)  บทเรียนน่าสนใจ

            5)  ลดเวลาในการสอน

            6)  ประหยัดค่าใช้จ่าย  

ข้อเสียคือ

            1. ด้านบุคคลากร ขาดความรู้ความเข้าใจ

            2. ด้านอุปกรณ์ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

            3. ด้านการสนันสนุน ขาดการสนับสนุนที่ดี

            4. ด้านผู้เรียน ใช้ได้กับนักเรียนบางคน เพราะบางคนขาดวินัยในตนเอง

            5. ด้านงบประมาณ

 4.3 ทำไมครู จึงต้องเรียนรู้เรื่องการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพราะเหตุใด

    เพราะเป็นการพัฒนาการศึกษาทางหนึ่ง เป็นเครื่องมือที่สามารถนำประโยชน์มาสู่วงการศึกษาได้อย่างเหมาะสม ถ้ารู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อประโยชน์ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูทั่วไป เช่น การใช้ผลิตเนิ้อหาให้อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้นักเรียน เช่น การที่นักเรียนเรียนรู้ได้ช้าสามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดี รอม เพื่อตามให้ทันเพื่อนเป็นต้น หรือนักเรียนที่เรียนได้ตามปกติ ก็ยังสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อีกด้วย หรือในขณะเดียวกัน ครูจะต้องมีการเตรียมการที่ดี วางเเผนการชี้เเนะที่ดี เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิภาพเเละประสิทธิผลที่ดีขึ้นเเละยังเป็นการพัฒนาทักษะในด้านการสร้างเนื้อหาให้แก่ครูด้วยกันอีกด้วย เป็นการสร้างโอกาสในการเรียนตามนโยบายการศึกษา "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน" และยังเป็นการเเก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน เป็นการสร้างนวตกรรมใหม่เพื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเเละเหมาะสมกับผู้เรียนอีกด้วย
   เเละนอกจากจะช่วยในเรื่องการจัดการเรียนการสอนเเล้ว ยังช่วยจัดการเเละบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำระบบ MIS, EIS, Decision, Support System (DSS) เข้ามาช่วยจัดระบบฐานข้อมูลการศึกษาเป็นต้น
ที่มา : (ไพรัช ธัชยพงษ์, รายงานการศึกษาวิจัยประกอบการร่างพระราชบัญญัติการศึกษาเเห่งชาติ พ.ศ....ประเด็น เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, พฤษภาคม 2541.)
          http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-521/Trang/Group-03/it2.htm
http://www.nectec.or.th/hrd/schoolnet.php
หมายเลขบันทึก: 283084เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอสอบถามหน่อยค่ะ กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศ

คืออะไรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท