องค์กรแห่งความรู้ (Knowledge Organization)


แปลงความรู้เป็นทุน (Knowledge Capitalization Bureau),สร้าง Value Added ให้กับ Tacit Knowledge, อารยะทางความรู้ (Knowledge Civilization) ,สร้างคุณค่าและจิตสำนึกด้านความรู้ในองค์กร (Knowledge Community Building),ทำทุกวันทำงานให้มีความสุข นี่แหละรางวัลสุดยอดของการทำงาน,กระตุ้นให้เกิดความกระหายในความรู้ เปรียบเหมือน “ใฝ่หาเมธีดังหนึ่งกระหายน้ำ”

องค์กรแห่งความรู้ (Knowledge Organization)

          องค์กรคืออะไร?

          ตามหลักการแล้ว องค์กร ก็หมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายและจุดประสงค์เดียวกัน แบ่งได้หลากหลายขนาด เล็ก กลางใหญ่ หลากหลายประเภท องค์กรธุรกิจ องค์กรการกุศล องค์กรของรัฐ องค์กรเอกชน แล้วแต่เราหรือใครจะกำหนดและตั้งกฎเกณฑ์เอาไว้ แต่องค์กรจะดำเนินการไปถึงเป้าหมายสูงสุดขององค์กรนั้นจะต้องมีคน มีเงิน มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร แล้วนำสิ่งต่าง ๆ นั้นบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่ ความสำเร็จ


           แล้วความรู้ล่ะ เป็นองค์ประกอบหนึ่งขององค์กรหรือไม่?


           ไม่เห็นอยู่ใน 4 M’s เลย (Man, Money, Material and Management) หรือ 7 M’s , 8 M’s ก็ไม่มีนะ เพราะความรู้ นั่นคือ Knowledge


            แล้ว K จะเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบไหนล่ะ ?


            Knowledge Management  ใช้ K ไปจัดการกับทุก M ต่อไปจะมีอีกซักกี่ M เกิดขึ้นในอนาคต K จัดการได้หมด


                แล้ว Knowledge อยู่ที่ไหนบ้างล่ะ


                เป็นหน้าที่ของใครที่จะมาจัดการกับ Knowledge ให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & Effectiveness) จนกระทั่งเกิดผลิตภาพ (Productivity) ขององค์กรได้


                ใครจะเป็นคนค้นหาและจัดการความรู้ที่มีอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกองค์กร ออกมาให้เป็นองค์ความรู้และปัญญาองค์กร และบริหารความรู้และปัญญานั้นให้เกิด ประโยชน์กับองค์กรสูงสุด?


                 ผู้บริหารและผู้รับการบริหารจะต้องทำอย่างไร


                 ผู้บริหารจะต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในการที่จะดึงเอาทุนความรู้ที่มีอยู่ในหัวของพนักงานแต่ละคนออกมาให้ได้ จะต้องใช้ประโยชน์จากหัวคนใช้ประโยชน์จากสติปัญญาของเขาให้ได้มากที่สุด ดังคำกล่าวในหนังสือเรื่องสามก๊กที่ว่า “คนที่ใช้แต่กำลังตัวเองเป็นสุภาพชนชั้นต่ำ คนที่สามารถใช้กำลังคนอื่นเป็นสุภาพชนชั้นกลาง คนที่สามารถใช้สติปัญญาคนอื่นเป็นสุภาพชนชั้นเลิศ(หานเฟย)” เอาสติปัญญาทั้งหมดมาใช้ประโยชน์ “แปลงความรู้เป็นทุน (Knowledge Capitalization Bureau)” เพื่อนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของทุกส่วนงานในองค์กร และสำคัญที่สุดก็คือ การวางแผนในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ หรือ Man ตัวแรกและตัวที่สำคัญที่สุดตามหลักการพื้นฐานขององค์กร (4 M’s)


                   การวางแผนทรัพยากรมนุษย์หรือการบริหารงานบุคคล องค์กรเรามีใครอยู่บ้าง แต่ละคนนั้นมีความรู้อะไรบ้าง ขาดความรู้ด้านไหน คนเพียงพอหรือไม่ ต้องจ้างใครเพิ่มหรือปลดใครออกหรือไม่


                   ผู้บริหารจะต้องจัดกระบวนการเพื่อที่จะ “รู้เรา” (จงรู้จักตนเอง รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิพ่าย) รู้ว่าเรามีใครอยู่บ้าง แต่ละคนมีความรู้ประสบการณ์ ทุนความรู้ ทุนชีวิต ทุนประสบการณ์ อย่างไร เท่าไหร่ เพื่อที่จะได้วางแผนได้ว่า เป้าหมายขององค์กรที่เราวางแผน เราจะเดินไปถึงได้อย่างไร ผู้บริหารจะต้องเอื้ออำนวยให้เกิดกระบวนการในการค้นหาและบริหารจัดการความรู้เหล่านี้ให้ได้ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยการประสานกิจกรรมต่าง ๆ หลอมรวมงานให้เป็นเนื้อเดียวกับการจัดการความรู้ สร้างขุมทรัพย์และศาสตราวุธที่ทรงพลังที่เรียกว่า “ความรู้” ให้เกิดขึ้น เข้าถึงได้ ใช้ได้ ใช้เป็น


                   เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในการเปิดความรู้และรับความรู้นั้นอย่างเต็มที่ สร้างกระบวนการ บรรยากาศขององค์กรให้เขาได้รู้จักตนเอง รู้จักองค์กร แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจองค์กร รักองค์กร ศรัทธา ซื่อสัตย์และกตัญญูต่อองค์กร


                   ค้นหาและจัดการความรู้ในงาน (Job Knowledge) เมื่อเราทำงานไปเราจะรู้ว่ามีจุดดี จุดบกพร่องอะไรบ้าง บางครั้งสิ่งเหล่านั้นอยู่ในใจเรา อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ อยู่หลังกำแพงของฝ่าย แผนก เอามันออกมาเถอะ ออกมาเพื่อเป็นประโยชน์ขององค์กร
กระตุ้นให้ทุก ๆ คนเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม Initiative และความคิดสร้างสรรค์ creative Thinker ในการแสวงหารูปแบบวิธีการในการจัดการความรู้ที่เขามี เพื่อสร้างจินตนาการในการทำงานที่มีเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจน จัดการความรู้ที่เพื่อน ๆ เขามี แสวงหาวิธีการจัดเก็บในรูปแบบของเขา (Life style) แหละนั่นจะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์ของเราเอง


                    เขาจะรู้สึกว่า เนี่ยแหละ คือ องค์กรของเขา เขาจะรู้สึกรัก และเป็นเจ้าขององค์กร ความศรัทธา ซื่อสัตย์และการทำงานอย่างถวายชีวิตก็จะตามมา เพื่อเขาจะสนุกกับการทำงาน ส่งผลไปถึงความรุ่งเรืองความเจริญก้าวหน้าขององค์กร บริษัท แน่นอน ยอดขาย กำไร กำไรสูงสุด  “ไม่” ผู้บริหารต้องตอบเขาไปอีกว่า เมื่อองค์กรได้กำไรแล้ว เขาจะได้อะไร ได้อะไรมากกว่าที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน ได้อะไรตอบแทนจากการทำงานแบบถวายชีวิตนั้น จัดให้เขา บอกเขาให้รู้ ธรรมชาติของคน ถ้ารู้ว่าจะได้รับสิ่งดี ๆ แน่นอน เขาจะกระโดดเข้าใส่ ทั้งเงินทั้งกล่อง เกียรติยศ ชื่อเสียง ความก้าวหน้า ความมั่นคง สุดท้ายและท้ายสุด “ทุกวันทำงานจะเต็มไปด้วยความสุข”


                    ทำทุกวันทำงานให้มีความสุข นี่แหละรางวัลสุดยอดของการทำงาน


                    สร้าง Value Added ให้กับ Tacit Knowledge ที่มีอยู่ในองค์กร ค้นหาและสร้าง Tacit Knowledge ขององค์กร ให้กำลังใจและความมั่นใจกับทุก ๆ คนทุก ๆ ความรู้ ว่าสิ่งเหล่านั้นทรงด้วยคุณค่า เพิ่มศักดิ์ศรีให้กับความรู้ที่เขามี ยอมรับ เชื่อมั่น สร้างภาพลักษณ์ (Image) ขององค์กรแห่งความรู้ (Knowledge Organization) ให้กับลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอกได้เห็น ได้สัมผัส ซึ่งจะนำไปสู่ความน่านับถือ (Respect) ความไว้วางใจ (Trust) ก็จะตามมาโดยอัตโนมัติ
องค์กรแห่งความรู้ (Knowledge Organization) นั้นจะต้องทำให้ความรู้เป็นบรรทัดฐานขององค์กร โดยสร้างกระบวนการความสัมพันธ์ (Interactive Relation) ระหว่างความรู้ คน และองค์กร ให้ประสมและผสมกันอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน เป็นส่วนหนึ่งของลมหายใจสำหรับทุก ๆ ชีวิตในองค์กร กระตุ้นให้เกิดความกระหายในความรู้ เปรียบเหมือน ใฝ่หาเมธีดังหนึ่งกระหายน้ำ การกระหายในความรู้เหมือนเล่าปี่ที่ใฝ่หาเมธี  ดังหนึ่งกระหายน้ำ หรือเหมือน เซียวเหอซึ่งติดตามอัจฉริยะไม่ยอมวางมือ กระหายอยากรู้ อยากเรียน อยากทดลองใช้ อยากปฏิบัติ อยากเผยแพร่


                  เพื่อได้ความรู้เหล่านั้นมาเรียบร้อยแล้ว นำความรู้ที่ได้มาร่วมกันกำหนดเป็นนโยบาย (Shared Policy Making) ว่าการจัดการความรู้นั้นเป็นเปรียบเหมือนฐานขององค์กร แสดงความเป็นอารยะทางความรู้ (Knowledge Civilization) สร้างคุณค่าและจิตสำนึกด้านความรู้ในองค์กร (Knowledge Community Building) มีอุดมคติรักในความรู้ร่วมกัน บริหารจัดการให้การไหลของความรู้นั้นเป็นไปอย่างธรรมชาติ ตามวัฒนธรรมองค์กร ผ่านทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ในองค์กร ทุนที่ทุกคนเข้าถึงได้ 


                  และจะทำอย่างไรล่ะ ที่จะไปให้ถึงจุดนั้น..........

หมายเลขบันทึก: 28306เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2006 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • น่าสนใจดีครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณมากครับสำหรับการต้อนรับที่ดีจากชุมชน

ขอฝากตัวด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

 

 

  • ย้อนกลับมาดูบันทึกแรก และการแลกเปลี่ยนครั้งแรก มิใช่ใครที่ไหน ท่านดร.ขจิตนี่เอง
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์ขจิตอย่างสูงที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เสมอ ๆ ครับ
  • ไม่ทราบว่าเป็นคนแรก
  • อยากให้เขียนอย่างสม่ำเสมอครับ
  • แวะมาให้กำลังใจ
  • ขอบคุณมากครับ
  • ขอบพระคุณท่าน ดร.ขจิต
  • คนแรกมีคุณค่าเสมอครับ ดั่งหยาดทิพย์ชะโลมใจสร้างกำลังใจให้กับนั่งเขียนหน้าใหม่ตัวน้อย ๆ เสมอครับ
  • ขอบพระคุณท่านนักเขียนหน้าใหม่ทุก ๆ ท่านที่ท่านอาจารย์ขจิตช่วยให้กำลังใจตลอดมาครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท