ขับเคลื่อนเครือข่าย Suicide


จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ... ณ การเสวนา"suicide ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นเรื่องของคนทุกคนในสังคม" เมื่อต้นเดือนก่อนนำมาสู่การจัดการความรู้ในหมู่คนหน้างาน...ที่ทำงานทางด้าน suicide

วันนี้ทางเครือข่ายทำงานอำเภอเมือง ได้เลือกนำแนวทางการสุนทรียสนทนา...มาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอด เพื่อนำไปสู่

"การพัฒนาขับเคลื่อนการทำงานด้านนี้ให้ดีขึ้น"

เป็นการเรียนรู้ผ่านปัญหาและประสบการณ์การแก้ปัญหา...

เราเริ่มต้นด้วยการ...ตามดูและตื่นรู้ลมหายใจ

การเตรียมความพร้อมแห่งกายใจ เพื่อนำไปสู่การใช้ศักยภาพที่มีอยู่ภายใต้ความเป็นมนุษย์...มาสู่บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

จากประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายการทำงานในวันนี้

นำไปสู่การขับเคลื่อนและต่อยอด...การทำ R2R...ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 282645เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดี ครับ

มาติดตามงานคุณ Ka-Poom

ขอบคุณ ครับ

 

 

กลุ่มพี่สุภาพ

 

  • พี่อ้อยพูดก่อนในเรื่องมุมมองในเขตเมือง มีการต่อยอด และเข้าสู่การเรียนรู้แบบสุนทรียสนทนา
  • คุณกบเป็นคุณลิขิต
  • ประเด็น ลปรร. สาเหตุการฆ่าตัวตาย
  1. จากผู้ป่วย...กลุ่มผู้ป่วยจิตเวช ที่ขาดยากและไม่สนใจดูแล และกลุ่ม alc
  2. กลุ่มเรื้อรัง เช่น TB เราอาจปูพื้นฐานความรู้ได้ไม่ดี
  3. ปัญหาครอบครัว เช่น มีกิ๊ก ด้วยตัวสามีหรือภรรยา
  4. ผู้ดูแลในการขาดความตระหนัก มีความท้อแท้ เบื่อหน่าย ความอาย ปัญหาค่าใช้จ่าย
  5. เครือข่าย อสม. ยังไม่เข้มแข็งในการรายงาน หรือประเมิน
  6. เจ้าหน้าที่ภาระงานที่เยอะ

 

การแก้ปัญหา...เริ่มจากญาติเพราะใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุด และเริ่มเครือข่าย อสม. น่าจะไปพัฒนา อสม. แล้วเชื่อมโยงมาที่โรงพยาบาล ในเรื่องการขาดยาและนำไปสู่การเยี่ยมบ้าน

ส่วนเรื่องความตระหนักในกลุ่มญาติ ... เราให้ความสนใจในการแก้ปัญหา

และให้ความสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังมากขึ้น

ปัญหาครอบครัว ต้องให้ความสนใจ เนื่องจากเดิมทีไม่ตระหนักเพราะคิดว่าเป็นเรื่องครอบครัว แต่จากมุมมองการทำงานน่าจะเปลี่ยนไปคือ ให้ความสนใจในความครอบคลุมและครบวงจรในการดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว โดยนำไปสู่การพัฒนาระบบที่มีความเข้มข้นมากกว่านี้

เจ้าหน้าที่ หากคิดว่าเป็นภาระที่หนักต้องสำรวจและตระหนักในตนเอง เป็นการประเมินตนเอง

 

กลุ่มที่สอง กลุ่มพี่ตู่

  • ได้พยายามสุนทรียสนทนา แต่ก็ยังมีอุปสรรค
  • ปัญหา ครอบครัวไม่ตระหนัก ชุมชนไม่ร่วมแก้ไข
  • ครัวและชุมชนขาดความสนใจ และขาดความเข้าใจ ครอบครัวชุมไม่ออนซอน ไม่หัวซา
  • กรณีที่อยู่ได้ คือ มีคนใส่ใจ เข้าใจ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น คิดว่าประเด็นนี้น่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่นำไปสู่การเยียวยาผู้ป่วยได้ดีขึ้น
  • ดังนั้นครอบครัว จึงเป็นปัจจัยสำคัญ
  • การเยี่ยมบ้าน และการพูดคุยอยู่บ่อยๆ น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยเหลือได้
  • ผู้ป่วยคิด ว่าตนเองป่วย มีโรคประจำ เนื่องมาจากความคิดที่ชั่วแว้ป แต่นั่นก็นำไปสู่การฆ่าตัวตายสำเร็จ
  • ขาดการแจ้งข้อมูล แสดงว่าจุดอ่อน ของระบบเครือข่าย
  • นำแนวคิด Dot มาใช้น่าจะแก้ปัญหาได้
  • ฆ่าตัวตายซ้ำซาก (จนท.ต้องเอ๊ะแล้วล่ะว่าจะทำอย่างไร) นำแนวคิด dot มาใช้ในการดูแลและเยียวยาผู้ป่วยโดยญาติเป็นกำลังสำคัญ
  • เกิดการเกี่ยงงานของบุคลากร เช่น ในการปฏิเสธเคส ซึ่งอาจให้การช่วยเหลือได้บ้างในเบื้องต้น
  • สรุป...
  • ปัญหา เป็นโรคเรื้อรัง ญาติไม่เข้าใจ ครอบครัวไม่ตระหนัก ชุมชนและเครือข่ายไม่เข้มแข็ง

 

กลุ่มที่สาม กลุ่มพี่วิ

  • ใช้ case study มาเป็นต้นแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เกิดในกลุ่มวัยแรงงาน สาเหตุจากเครียด การเผชิญปัญหาไม่เหมือนกัน การปรับตัวไม่สมดุล ปัญหาทางเศรษฐกิจ หากเมื่อวิเคราะห์ลงลึกลงไป มองไปที่ครอบครัว เชื่อมโยงมาสู่เคส
  • พบได้ในคนไข้ทั่วไป อาจมีปัญหาในสัมพันธภาพ ทำให้เกิดสภาวะทางจิตเฉียบพลัน เรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้เครือข่ายในชุมชน เช่น ผอ.โรงเรียน หลวงปู่ บุคลากรนำตนเองแสดงบทบาทเพื่อนำไปสู่การเยียวยา เชื่อมโยงการเยี่ยม ...
  • จุดอ่อน คือ ความต่อเนื่อง และการสร้างทีมของการเยี่ยม สร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง
  • มุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ เพราะการทำงานที่ผ่านมาดูเหมือนไปแก้ไขที่ปลายเหตุ
  • สรุป
  • ปัญหา...ไม่เฉพาะที่ผู้ป่วยจิตเวชแล้ว ยังรวมไปถึงบุคคลทั่วไป
  • ปัญหาเรื่องการกินยา ... เช่น นำแนวคิด Dot โดยญาติน่าจะดีกว่า จนท.
  • การมารับยาน่าจะมีญาติมาดูเพื่อนำไปสู่การครอบคลุมในการ

กลุ่มที่สี่ พี่หน่อย

  • ใช้การ discussion มานำการพูดคุย
  • การที่จะแก้ปัญหา ต้องไปค้นหาในชุมชน มีการคัดกรองด้วยสองคำถาม ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ได้ผล เช่นให้คนในครอบครัวมาคัดกรองกันเอง
  • เมื่อเกิดปัญหา ควรจะมีการนำมาสู่การ interaction เพื่อนำมาสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  • บุคคลที่จะดูแลผู้ป่วยได้ดีที่สุด คือ ครอบครัว ผู้ป่วยแต่ละคนมีภูมิต้านทานต่อปัญหาที่แตกต่างกัน
  • คนในครอบครัวและชุมชนไม่รู้ปัญหา หรืออาจไม่ได้สนใจหรือไม่ได้ดูแล เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในญาติ เจ้าหน้าที่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ชุมชนไม่ตระหนัก ครอบครัวไม่ให้ความสำคัญ การซักประวัติไม่ครอบคลุม การคัดกรองไม่มีคุณภาพ (น่าจะเป็นเรื่องของการเชื่อมโยง)
  • เครือข่ายขาดความต่อเนื่อง การส่งต่อข้อมูล ไปไม่ทันท่วงที ขาดข้อมูล และความครอบครัว
  • การทำงานแบบมีเจ้าภาพหลัก
  • แนวทางการแก้ไข...
  • แบ่งออกเป็นห้าส่วน... ไม่สนใจกินยา ไม่ยอมรับว่าตนเองป่วย ติดตามเยี่ยม ดูแลการกินยาให้ต่อเนื่อง
  • สร้างความตระหนักของครอบครัวและชุมชน
  • ระบบการคัดกรอง ควรมีการ review กันอีกครั้งหนึ่ง
  • การจัดส่งต่อข้อมูล
  • คณะกรรมการ ควรมีการแต่งตั้งแบบจริงจัง ลงมือทำจริง มีแพทย์ เภสัช ... นำเสนอ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ มีตั้งแต่ในระดับความคิด และระดับการใช้ปัญญาใคร่ครวญผ่านประสบการณ์ทำงานที่ประสบโดยคนหน้างาน

 

ในตอนท้าย...

พี่จา ในฐานะผู้รับผิดชอบในเครื่องระบบ EMS มาชวนคิดชวนมองการทำงาน

เสนอแนะ... ระบบการทำงานที่เริ่มจากหน่วยกู้ชีพหากรณีที่เกิดเหตุ ... ทางศูนย์กลางเสนอว่าอาจมีความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่และ จนท.อนามัยร่วมประเมิน

 

ประเด็นนี้จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งต่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท