ทฤษฎีการรับรู้


การรับรู้เป็นกระบวนการนำไปสู่การเรียนรู้

ทฤษฎีการรับรู้ (Perception Theory) การรับรู้ป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของบุคคล   เพราะการตอบสนองพฤติกรรมใดๆ   จะขึ้นอยู่กับการรับรู้จากสภาพแวดล้อม  ของตน และความสามารถในการแปลความหมายของสภาพนั้นๆ  ดังนั้น  การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยการรับรู้  และสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพ  ซึ่งปัจจัยการรับรู้ประกอบด้วยประสาทสัมผัส และปัจจัยทางจิต คือความรู้เดิม  ความต้องการ   และเจตคติเป็นต้น การรับรู้จะประกอบด้วยกระบวนการสามด้าน คือการรับสัมผัสการแปลความหมายและอารมณ์

 

            การรับรู้ หมายถึง  การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว  เช่นในขณะนี้  เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious)  คือลืมตาตื่นอยู่  ในทันใดนั้น  เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation)  แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร  เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้  แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น  ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้

 

 การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น   และผิวหนัง

 

 

  จากการวิจัยมีการค้นพบว่า   การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75%      จากการได้ยิน13%    การสัมผัส 6%     กลิ่น 3%      และรส 3%  ดังแผนภูมิต่อไปนี้

              การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดขึ้น อยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล   หรือปัจจัยในการรับรู้  ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้   ลักษณะของสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้นก่อน    เพราะการรับรู้ เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้    ซึ่งหมายถึง  การรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้    การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญ  ที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด   ทัศนคติของมนุษย์   อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอน    

 

พฤติกรรมต่างๆนำไปสู่การกำหนดทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ 

 

 

  

การจัดระบบการรับรู้         

          มนุษย์เมื่อพบสิ่งเร้าไม่ได้รับรู้ตามที่สิ่งเร้าปรากฏแต่จะนำมาจัดระบบตามหลักดังนี้ 

           1. หลักแห่งความคล้ายคลึง (Principle of similarity)     สิ่งเร้าใดที่มีความคล้ายกันจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 

          2. หลักแห่งความใกล้ชิด     (Principle of proximity )    สิ่งเร้าที่มีความใกล้กันจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน   

3.หลักแห่งความสมบูรณ์    (Principle of  closure)       เป็นการรับรู้สิ่งที่ไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ขึ้น  

 

 

การเรียนรู้ของคนเราจากไม่รู้   ไปสู่การเรียนรู้   มี  5  ขั้นตอน     ดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้

  

             "…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อ  สิ่งเร้า มาเร้า ประสาทก็ตื่นตัว  เกิดการรับสัมผัสกับอวัยวะรับสัมผัสด้วยประสาททั้ง  5  แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง  ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้น โดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่นๆ  เรียกว่า  การรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้วก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอด  แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง(response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้   เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"

  

 

การเรียนรู้เป็นพื้นฐาน   ของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี

 

 

 

ดาวน์โหลด  ทฤษฎีการรับรู้  รูปแบบแผ่นพับทฤษฎีการรับรู้

 

 

 

อ้างอิง http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/cognitive/pic/re2/4.jpg

         http://www.thaidocscandal.com/image_thaidoc/jit2.gif

 

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีการรับรู้
หมายเลขบันทึก: 282194เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2009 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เป็นความรู้ที่ดีมากเลยค่ะ

เนื้อหาชัดเจน เข้าใจได้ง่ายดีมาก ผมไม่แน่ใจว่าพอจะใช้ได้หรือไม่ถ้าจะขยายความเปรียบเทียบกับ รายละเอียดของขบวนการของขันธ์ 5 ที่มีความพอใจและความไม่พอใจ เป็นจุดแตกหักสำคัญ ตัวอย่างเช่น คนเรา(นักเรียนหรือนักศึกษา) จะดิ้นรนขวนขวายอย่างไม่หยุดหย่อน ถ้ารับรู้แล้ว มีความพอใจ หรือชอบ โดยจะส่งผลก่อให้เกิดความอยากรู้ต่อเนื่องไปอีกเรื่อย ๆ ซึ่งอาจมีผลดีและมีส่วนเสริมต่อการเรียนรู้ นอกเหนือจากการผลักดันของรางวัล หรือ คะแนน ที่จะทำให้เรียนจบไปได้ ขณะเดียวกัน ถ้ารับรู้แล้วไม่พอใจ หรือไม่ชอบ ความสนใจก็จะลดลงไป อาจทำให้ได้เกรดไม่ดีเป็นผลตามมา

ขอบคุณมากเลยค่ะ ที่มีข้อความแบบนี้

นางสุภา บัณฑิตพรหมชาติ

เป็นเกร็ดความรู้ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย mapping ชัดเจน ใช้อ้างอิงในการทำรายงาน/งานวิจัยได้ดียิ่ง

ขอบคุณที่ท่านได้สร้างผลงานดีๆออกมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียรู้ หวังว่าคงจะมีผลงานดีๆอย่างต่อเนื่องนะคะ

สวัสดีครับ น้องวชิระ

พอดีพี่กำลังต้องการข้อมูลของทฤษฎีหลายทฤษฎีเลยครับ แต่ไม่เจอเอกสารอ้างอิงครับ

เลยอยากจะคุยเมลล์ด้วยครับ พอดีตอนนี้พี่เรียนต่อครับ กำลังหาแหล่งข้อมูล

ช่วยหน่อยนะครับ

อยากทราบว่าความคงที่ในการรับรู้ และการรับรู้การเลื่อนไหว มีรายละเอียดอบ่างไรบ้างค่ะ จะใช้ทำรายงานค่ะ

ถัใครกรุณา ก็ช่วยตอบหรือโทร มาก็ได้ค่ะ ที่ 086-7992756 หรือ [email protected] ขอบคุณมากค่ะ

มีแผนภาพของกระบวนการเกิดการรับรู้ที่ละเอียดกว่านี้ไหมค่ะ

ข้อมูลบางส่วนผมก็ได้มาจากเวบที่อ้างอิงไว้ แต่เวบเหล่านั้นโดนลบไปแล้ว ส่วนข้อมูลในหนังสือต่างๆ เช่น ศาสตร์การสอน(อ.ทิศนา แขมมณี) จะมีทฤษฎีต่างๆเขียนไว้อย่างละเอียด หรือ จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีการสอน ต่างๆ หนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ ลองหาตามห้องสมุดของมหาลัยดูนะครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ มีประโยชน์แบบนี้ ดีใจที่มีคนแบบคุณ ใฝ่เรียนใฝ่รู้ดูเป็นแบบอย่างกับน้องๆ

ปัจจัยอะไรที่มีอิทธิพลต่อการตีความ Sensation ของเรา

พี่ค่ะ ช่วยสรุปเรื่องความรู้ของมนุยษ์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ให้หน่อยได้มั้ยค่ะ สรุปเป็นmapping อ่ะค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ^^"

ข้อมูลของพีสุดยอดมากเลยค่ะ

ทฤษฏีการรับรู้ของใครค่ะใครรู้ช่วยตอบที   เช่น ทฤษฏีความพึงพอใจของ มาสโลว์ (Maslow’s theory motivation) ช่วยหน่อนะค่ะขอบคุณค่ะ

ใช่ครับผมก็อยากรู้ของใครเพราะทำงานใช้ทฤษดีนี้ ใช่ของกลุ่มเกสตัลท์เปล่าครับ คุณYAYA 4 ปีเเล้วำด้คำตอบยังครับบอกผมด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท