รูปแบบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ


การรับรู้จากเรื่องเล่า

จากประสบการณ์ที่ได้ใช้ รูปแบบการจัดการความรู้มาแทนการให้สุขศึกษาแบบเดิมๆ ได้9เดือน เห็นได้ชัดเจนว่ามีการรับรู้เรื่องสุขภาพมากขึ้น หลายๆคนเปลี่ยนไป เป็นคนละคน ที่เคยพูดคุยลำบากมาก แนะนำอะไรก็บอกทำไม่ได้ จะเป็นอย่างนี้แหละ  แต่พอได้มารับฟังเรื่องราวที่คนอื่นๆเล่า ก็ทำให้ท่าทีเปลี่ยน ปรับ เป็นคนที่เริ่มมีสุขภาพดีขึ้นไปได้

 ตามแนวคิดของ แพนเดอร์ กล่าวว่าบุคคลจะลงมือทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและจะปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตนั้น ต้องมีปัจจัย3ด้านคือ

1.ด้านความรู้และการรับรู้ เช่น ความสำคัญของสุขภาพ การควบคุมสุขภาพ ความสามารถในตน

การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ  การรับรู้อุปสรรค

2.ปัจจัยร่วม เช่น อายุ เพศ การศึกษา รายได้ เชื้อชาติ  น้ำหนักของร่างกาย อิทธิพลระหว่างบุคคล  ด้านสถานะการณืสิ่งแวดล้อม  ประสบการณ์เดิม

3.ตัวชี้แนะการกระทำ ได้แก่ ตัวชี้แนะภายในคือการับรู้ศักยภาพของตนเองต่อความรู้สึกสุขสบายขึ้นเมื่อเริ่มต้นกระทำพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ   ส่วนตัวชี้แนะภายนอกคือ การสนทนากับผู้อื่นในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพจะเป็นตัวผลักดัน 

ด้วยแนวความคิดทั้งหมดที่กล่าวมา  เมื่อนำมาปรับใช้การจัดกลุ่ม ลปรร. การสร้างบรรยากาศที่ให้ทุกคนได้เล่าประสบการณของตัวเอง ร่วมกันสรุปแต่ละประเด็นที่ได้เล่าจบ และAAR ทุกครั้งที่ทำ ผลก็พบว่ารูปแบบนี้ได้ผลดี โดยการประเมินผลจากพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นเช่นระดับน้ำตาลลดลง ความดันโลหิตลดลง  น้ำหนักตัวลดลง  และมีการสรุปคลังความรู้ที่ได้ทุก3เดือนติดบอดร์เผยแพร๋

และจัดระดับกลุ่มของผู้เข้า ลปรร. เป็น 5ระดับ

ระดับ1.ไม่สนใจที่จะรับรู้เรื่องสุขภาพ

ระดับ2.รับรู้ แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติได้

ระดับ3.เริ่มปฏิบัติ แต่ยังไม่สม่ำเสมอ เห็นผลไม่ชัดเจน

ระดับ4.ปฏิบัติได้ต่อเนื่อง เห็นผลชัดเจน

ระดับ5.สามารถปฏิบัติได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นได้ เป็นผู้นำการถายทอดวิธีปฏิบัติของตนเองได้

   ท่านเชื่อหรือไม่ว่า  จากเดิม(9เดือนที่แล้ว) เรามีคนที่อยู่ระดับ2-3  คิดเป็นร้อยละ90-95  แต่ขณะนี้เรามีคนที่เป็นระดับ4-5 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ70-80  และนำวันกลุ่มนี้จะมีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามาที่เริ่มจากระดับ1  และเมื่อมา ลปรร. กับกลุ่มบานไม่รู้โรย(ชื่อที่กลุ่มตั้งขึ้น) ก็น่าจะปรับเลือนระดับเป็น3-4-5  ได้ต่อไป  เราจะนำมาเล่าต่ออีก

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28084เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2006 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เชื่อค่ะ เพราะได้ไปดูมาแล้ว คนไข้ทุกคนมีส่วนร่วมกับการพูดคุยมากมายจริงๆ ก็ไม่ผิดเลยกับคำพูดที่ว่า คนทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้อยู่แล้ว เพียงแต่เราให้โอกาสได้เขาเรียน และรู้ ในสิ่งที่เรารู้ ดูสิคะ ว่าคนไข้ เช่น เบาหวาน ความดัน ก็มีอาการที่ดีขึ้นได้ เมื่อมีการปฏิบัติเรื่องการดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง

จะเป็นกำลังใจให้อุ้ยอย่างนี้ และตลอดไป

Yes! you can do it.

เสน่ห์...ของ KM คือ ความสุขจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่คุณดื่ม(สัมผัส)ได้

หากเราเชื่อสมมุติฐานว่า คนทุกคนมีศักยภาพ

 ความสามารถของอุ้ย...ซึ่งได้ทำหน้าที่ FA อย่างสมบูรณ์ จึงเกิดผลลัพธ์ในเชิงประจักษ์อย่างที่เห็นนี้ ขอบคุณสำหรับผลงานดีดีที่อุ้ยอุตสาหะในการลงมือทำ

เป็นกำลังใจให้สู้ ต่อไปนะ แล้วถึงงานมหกรรมKM กรมอนามัย อยากให้ชวนคนไข้เก่งๆ ที่เป็นดาวระดับ5 มาร่วมในงานของกรมฯด้วยจ้า...*_*

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท