ปรับวิธีเรียนรู้ กศน.อย่างไรให้เข้ากับวิธีเรียนรู้ของคุณกิจ


รูปแบบการเรียนรู้ดังกล่าวถือว่าสอดคล้องกับยุคสมัยของการจัดการความรู้เป็นอย่างยิ่ง เพียงแต่เราเปลี่ยนผู้เรียนจากนักศึกษาเป็นชาวบ้านเสียเท่านั้นเอง

การจัดการความรู้ในงานใดๆก็ตาม มักจะอาศัยวิธีเรียนรู้ไม่เรียนรู้ด้วยตนเองก็เรียนรู้กันเป็นกลุ่ม ขึ้นกับว่ากำลังทำงานลักษณะใดอยู่ แต่ไม่ว่าจะเรียนวิธีใด แต่สำหรับชาว กศน.แล้ว ผมเชื่อว่าชาว กศน.คุ้นเคยวิธีเรียนรู้ทั้งสองวิธีเป็นอย่างดี

เพราะเหตุใดถึงเชื่ออย่างนั้น เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ชาว กศน.(ทั้งผู้จัดกิจกรรม กศน. และผู้เรียนหรือผู้เข้าร่วมโครงการ กศน.) อยู่แต่กับกระบวนการกลุ่ม ทั้งทำกลุ่มตามใต้ต้นไม้ ในห้องประชุม (ถือเป็นบุคลิกอย่างหนึ่งของชาว กศน.) หลังสุดก็จะสังเกตได้จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ก็ออกแบบวิธีเรียนรู้ผู้เรียน ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น ให้ทำรายงาน ให้อ่านหนังสือ ให้ทำใบงาน ให้ทำแบบแบบฝึกหัด ให้ทดลอง ให้สังเกต จะมีหรือไม่มี มีมากมีน้อยขึ้นอยู่กับสาระหรือหมวดวิชานั้น ๆ ส่วนที่เรียนรู้เป็นกลุ่ม เช่น ให้ทำโครงงาน ให้ทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น สาระความรู้ที่ได้ไม่ว่าจากวิธีเรียนรู้ใดก็จะนำมาแชร์หรือแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับผู้เรียนคนอื่นๆ ณ ที่พบกลุ่มซึ่งมีครูประจำกลุ่ม / ครูศูนย์การเรียนชุมชน (วิทยากรกระบวนการเช่นเดียวกับคุณอำนวยอย่างไงอย่างนั้น) และถ้ามีเนื้อหายากมาก ก็เชิญผู้รู้ วิทยากรมาบรรยายได้อีก

รูปแบบการเรียนรู้ดังกล่าวถือว่าสอดคล้องกับยุคสมัยของการจัดการความรู้เป็นอย่างยิ่ง เพียงแต่เราเปลี่ยนผู้เรียนจากนักศึกษาเป็นชาวบ้านเสียเท่านั้นเอง  ถ้าจะว่าไปแล้วนักศึกษากับชาวบ้านก็คือคนเดียวกันนั่นเอง หากจะประยุกต์วิธีเรียนรู้ของนักศึกษาตามหลักสูตรฯเข้ากับวิธีเรียนรู้ของชาวบ้าน (คุณกิจผู้ปฏิบัติกิจกรรมแก้ไขปัญหาความยากจน)  ตามโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะเป็นการเสริมการเรียนรู้ชาวบ้านให้มีพลังเข้มแข็งมากขึ้น เสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาในหลักสูตรฯได้อย่างมากมายเช่นกัน ชาวบ้านที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมจนมีความรู้หรือประสบการณ์ก็จะมาเล่ากันในเวทีประชาคม เช่นเดียวกับที่ นักศึกษา กศน.มาอภิปรายกันในกลุ่ม แต่ต้องคำนึงว่าทำอย่างไรไม่ให้ชาวบ้านเกิดความรู้สึกว่าถูกใครเขาสอนหรือจัดการกับตนเองอยู่ ให้มันพลิ้วหรือลื่นไหลไปเองตามสภาพและความต้องการของชาวบ้านเป็นสำคัญ

หมายเลขบันทึก: 28070เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2006 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     หากให้เขาเรียนรู้ด้วยกันเป็นกลุ่ม แน่นอนครับ "ครู" จะเพิ่มขึ้นมากมาย ที่ว่าขาดแคลนจะหายไปในพริบตา
     เห็นด้วยกับมุมมองของอาจารย์มากเลยครับที่ว่า รูปแบบการศึกษาและเรียนรู้อย่างที่อาจารย์เล่า โดยเฉพาะแบบที่คน กศน ทำอยู่ เป็นการสอดคล้องกับการที่สังคมกำลังตื่นตัวกับเรื่องจัดการความรู้ อาจารย์เก็บมาเล่าให้เรียนรู้บ่อยๆนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท