ใช้ Linux เหรอ? OpenBSD ถาม


ถ้าถามนักวิจัยด้าน Human-Computer Interaction ก็คงบอกว่าก็เพราะ FreeBSD มี usability ที่ดีกว่านั่นเอง

Forbes พึ่งออกบทความสัมภาษณ์ Theo de Raadt หัวเรื่องว่า "Is Linux For Lossers?" อ่านแล้วก็ขำดีครับ คนใน Slashdot.org ก็ discuss กันใหญ่ ในหลายจุดที่ De Raadt พูดก็เป็นประเด็นก็น่าสนใจมากครับ

ผมเองไม่ได้ใช้ OpenBSD แต่ใช้ทั้ง Linux และ FreeBSD โดยส่วนตัวค่อนข้างจะพอใจ FreeBSD มากกว่า อืมม... จริงๆ ก็อยากจะบอกว่า "มากกว่า" นี่ มากกว่ามากทีเดียวครับ

แต่อย่างไรก็ตามผมนับตัวเองเป็น user ของระบบปฎิบัติการทั้งสองนี้เท่านั้น เพราะไม่ได้ไป hack ใน kernel หรือ base กับเขาหรอก และในฐานะ user ผมชอบใจในความเสถียร (reliability) และความเสมอต้นเสมอปลาย (consistency) ของ FreeBSD มาก ในขณะเดียวกันเรื่อง security ของ FreeBSD ก็ไม่เคยทำให้ผมนอนไม่หลับตอนกลางคืน (ทั้งๆ ที่เครื่องที่ทำ GotoKnow นี้มีความพยายาม crack มาจากทั่วโลกมาตลอด) ถ้าถาม ดร.จันทวรรณ (คนด้าน Human-Computer Interaction) ก็คงบอกว่าก็เพราะ FreeBSD มี usability ที่ดีกว่านั่นเอง

จริงๆ แล้ว จะว่าผมไม่เคย hack ใน base ของ FreeBSD ก็ไม่ค่อยจริงเสียทีเดียวหรอกครับ ผมทำ thailocale สำหรับ FreeBSD (แล้วก็ได้ใช้กับ GotoKnow นี่ล่ะ) ตอนนี้กำลังจะ submit ไปเป็นส่วนหนึ่งของ base แต่ส่วนระบบภายในเพื่อการประมวลผล locale ของ FreeBSD ตอนนี้ทำ era ไม่ได้ (ดู email discussion นี้ครับ) ก็เลยคิดว่าถ้ามีโอกาสก็อยากทำในส่วนนี้เข้าไปใน FreeBSD เพราะถ้าคนไทยหรือคนญี่ปุ่นไม่ทำก็คงไม่มีคนชาติไหนทำ ก็รู้สึกมี 2 ชาตินี้ที่ใช้ era ไม่เหมือนชาติอื่น (ใช่ไหมครับ)

สรุปก็คือ อยากให้ตัวเองมีเวลาว่างสักช่วงจะได้ hack FreeBSD ให้สนับสนุน thailocale ได้เต็มที่จังเลย จบข่าว

สรุปเพิ่มเติมก็คือ ปัจจุบันเครื่อง development machine ของผมก็ยังใช้ Windows XP แล้วผมใช้ VNC ไปหาเครื่อง FreeBSD เพราะ "Developing a Windows application still gets me a buck or two." จบข่าว (อีกที)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 280เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2005 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

นอกจากพุทธศักราชแบบไทย กับศักราชตามการครองราชย์ของจักรพรรดิแบบญี่ปุ่นแล้ว เท่าที่ทราบยังมีศักราชอิสลาม กับศักราชยิว ด้วยครับ ที่ใช้กันในรัฐอิสลาม กับ รัฐยิว (มีที่เดียว คืออิสราเอล)

เผอิญว่าเคยทำเกี่ยวด้าน software localization มาบ้างน่ะครับ เลยทราบ

ลองดู ICU4J Calendar จะพบว่ามี subclass ChineseCalendar, GregorianCalendar, HebrewCalendar, IslamicCalendar

โดยใน GregorianCalendar ก็จะมี subclass BuddhistCalendar, JapaneseCalendar ต่อไปอีก

 

อาจจะเคยเห็นแล้ว Thai Locale, พี่เทพทำไว้ :)

 

 

เคยเห็นงานของคุณเทพพิทักษ์มาเป็นอย่างดีเลยครับ ดังที่ได้เขียนไว้ใน README ของ thailocale

  This  software is a remade of Mr. Theppitak's locale definition
  for use with 'mklocale' and 'colldef' facilities in FreeBSD. It
  aims  to be 100% compatible with the original, although the ac-
  tual result may vary.

กระบวนวิธีในการสร้าง locale ของ libc (ใน FreeBSD) กับ glibc ต่างกันครับ ดังนั้นวิธีการทำของผมก็คือเอา source ของคุณเทพพิทักษ์มาแปลเป็น source ของ libc แต่ทำได้ไม่สมบูรณ์ครับเพราะติดปัญหาที่ era นี่ล่ะ

ตอนนั้นก็พยายามหาวิธีทำ era ครับ ถามไปถามมาจนในที่สุดก็พบว่า FreeBSD libc ยังไม่สนับสนุน era ใน LC_TIME (ดังรายละเอียดใน mailing list) ดังนั้นถ้าอยากได้ era ก็ต้องไปเพิ่มความสามารถในส่วนนี้ใน libc เอง

พอรู้อย่างนี้ก็เลยอยากทำครับ เพราะในที่สุดก็ได้เจออะไรที่จะได้ hack ไปใน base กับเค้าบ้างเสียที แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะจัดเวลาช่วงไหนทำ เลยบ่นว่าอยากทำไปเรื่อยๆ :-)

นาน ๆ จะเจอแฟน FreeBSD

(เหมือน Pantip.com ก็จะใช้แฮะ) 

กับ OpenSolaris เราก็เหมือน long-lost cousins นะ ;-)

โดยส่วนตัวของผมแล้วรู้่สึกว่าตระกูล BSD หนังเหนียว เหมาะสำหรับทำ network

ที่ประทับใจมากก็คือผมเคยเจอปัญหาต้องหาวิธีเข้า root นั่งหน้า console 
ตอนนั้นผมใช้ freeBSD 3.1 แต่มีหนังสือคู่มือเล่มหนาเตอะเวอร์ชั่น 3.0
ปรากฏว่าหาทางเข้าไม่เจอ เพราะ interface ต่างกันเยอะ
ตอนนั้นจึงพยายามใช้ freeBSD เพราะคาดหวังว่าลดความเสี่ยงจากการโดน  hack  เพราะมีผู้รู้ไม่มาก

ตอนหลังผมเปลี่ยนมาใช้ลินุกซ์ เพราะคนรุ่นใหม่คุ้นลินุกซ์มากกว่า
ผมอยากให้คนรุ่นใหม่เล่นโอเพนซอร์สง่ายขึ้น ถ้ายุ่งยากแบบ freebsd
ใจต้องเกินร้อย ม่ายงั้นคงวิ่งหนีหมดซะก่อน
จึงได้หันมาสนับสนุนลินุกซ์แทน  

สรุปความว่าสำหรับกรณีของประเทศไทย
ถ้าเล่นแบบง่ายๆทั่วไปไม่ลึกเกินไป ผมว่าลินุกซ์ง่ายดี มีเพื่อนเยอะ
แต่ถ้าต้องการความปลอดภัยสูงมากและใจสู้เพียงพอ ควรเล่นตระกูล BSD ครับ

ผมว่า FreeBSD version 4.x/5.x ไม่ยุ่งยากเท่าไหร่แล้วนะครับ จริงๆ ด้วยความ consistency ของ FreeBSD ทำให้คน Linux พยายามทำ Gentoo เพื่อให้ Linux มีรูปแบบการใช้งานเหมือนกับ FreeBSD นะครับ (แต่ผมว่า Gentoo ยังยุ่งยากกว่า FreeBSD เยอะเลย)

อย่างไรก็ตาม ผมเองก็ใช้ Fedora Core เพราะถ้าพัฒนา application แล้วผูกติดกับ FreeBSD อย่างเดียวก็คงหาฐานผู้ใช้ได้น้อย เรื่องการสนับสนุนคนรุ่นใหม่ใช้ Linux ผมเห็นด้วย เพราะเขาสามารถขยายฐานความรู้ได้เร็วและมากกว่าครับ

ลูกหลานตระกูล Debian อย่าง Ubuntu กำลังมาแรง แต่อันนั้นคงเน้นเดสก์ท็อปมากกว่า

ถ้ามีเครื่องอีกเครื่องก็อยากจะลองเอามาเล่นมั่ง เครื่องที่ใช้อยู่ตอนนี้ฮาร์ดดิสก์เต็มเอี้ยด -_-"

ไป bid เครื่อง SPARC ตกรุ่นถูก ๆ ใน eBay มาเล่นดีมั๊ยเนี่ย :P
 

ผมลองลง Ubuntu แล้ว ดูดีน่าใช้เหมาะกับการเป็น desktop มาก แถมใช้ Python ในการทำ utilities ต่างๆ อีก

แต่ ... ตอนหลังก็ลบทิ้ง ไม่ได้ใช้ เป็นโรค harddisk เต็มเหมือนกัน

FreeBSD นี่ตาม ISP คนใช้เป็น Server เยอะเลยละครับ ถ้าไปเดินจาก Server Farm ที่กทม. ผมว่าน่าจะเป็น Most Popular OS นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท