KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 64. ชัดเจน


• ความไม่ชัดเจน หรือสภาพ chaos คือบ่อเกิดของการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม  
• ความชัดเจน มีมาตรฐานในการทำงาน คือสภาพสันติ / สมดุล    ที่เปิดโอกาสให้ได้ผ่อนคลาย ใช้เวลาคิดการณ์ระยะยาว  
• องค์กรที่มีความมั่นคง   มีผลสัมฤทธิ์สูง สร้างสรรค์สูง จะต้องมีความสามารถในการเคลื่อนตัวไปมาระหว่างสภาพการทำงานที่ชัดเจน (routine) และไม่ชัดเจน (chaos)     
• ภารกิจอย่างหนึ่งของการบริหารระดับสูง คือการสร้างความไม่ชัดเจน ไม่แน่นอน ขึ้น ณ เวลาที่เหมาะสม   ในเรื่องที่เหมาะสม   ในกลุ่มคนที่เหมาะสม  
• ความไม่ชัดเจน สร้างได้ง่ายๆ โดยการตั้งคำถามที่ท้าทาย ให้ช่วยกันคิด / ตอบ
• ตัวอย่างการตั้งคำถามที่ท้าทายอยู่ในหนังสือ The Toyota Way ในเรื่องการพัฒนารถ Lexus และ Prius  
• จากคำถามที่ท้าทาย นำมาเป็นประเด็นระดมความคิด   ทดลอง   ลปรร.  ค้นคว้า    จะค่อยๆ เปลี่ยนความไม่ชัดเจนเป็นความชัดเจน และโอกาสใหม่ – โอกาสในการสร้างนวัตกรรม 
• หน้าที่ของ “คุณเอื้อ” คือการสร้างความไม่ชัดเจน และความชัดเจน ในเรื่อง “หัวปลา” และ “หางปลา”
• ทีม “คุณกิจ” จะช่วยกันทำให้ “หัวปลา” ที่ไม่ชัดเจน มีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ   และ ลปรร. กับ “คุณเอื้อ” เกี่ยวกับทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ของ “หัวปลา” หลายทางเลือก ที่ค่อยๆ ชัดเจนขึ้น  
• สำหรับนวัตกรรม เมื่อ “หัวปลา” ชัดเจน    วิธีการบรรลุ “หัวปลา” จะยังไม่ชัดเจน    ต้องมีการพัฒนาโดยการทดลอง ต่อยอดวิธีการจากความรู้ที่มีอยู่แล้ว และนำผลมา ลปรร. จนวิธีการชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ    วิธีการนี้โดยทั่วไปเรียกว่าการวิจัยและพัฒนา    โดยที่มีองค์ประกอบด้าน KM อยู่ในกระบวนการด้วย
• คนที่ทำงานอยู่ในองค์กรเรียนรู้ต้องไม่กังวลใจที่จะทำงานภายใต้สภาพ “ไม่ชัดเจน” เป็นช่วงๆ
• ความไม่ชัดเจน เป็นคุณลักษณะหนึ่งของ องค์กรเรียนรู้

วิจารณ์ พานิช
๒๓ กพ. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 27998เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2006 08:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ผมได้ข้อคิดอย่างมาก (เป็นพิเศษ) จากบันทึกนี้ กราบขอบพระคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท