นักข่าวเยาวชนไทยหัวใจKM


เราได้เรียนรู้อะไรจากข่าว กระบวนการผลิตข่าวสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ได้หรือไม่.... จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้กระบวนการผลิตข่าว
             ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมานอกจากอากาศจะร้อนแล้ว   บรรยากาศทางการเมืองของบ้านเรายิ่งร้อนแรงกว่าอากาศ    ใครที่ติดตามข่าวสารอยู่ประจำคงรู้สึกเครียดต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เราได้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อมวลชน   เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดเป็นข่าว   บางครั้งมิใช่เป็นแค่ข่าว....ยิ่งในยุคITที่ข้อมูลข่าวสารมีความสำคัญสามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้แม้ในช่วงวินาที    สถานการณ์บ้านเมืองของเรามาถึงจุดที่  "สื่อมวล"  อาจเป็นได้ ทั้ง "ผู้พิพากษา"  หรือ "จำเลย"  นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ       ความสำคัญอยู่ที่เราได้เรียนรู้อะไรจากข่าว   กระบวนการผลิตข่าวสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน   ได้หรือไม่....  แล้วจะเกิดอะไร   ถ้าเราสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้กระบวนการผลิตข่าว    นี่คือคำถามที่เราพยายามตอบมานานถึง 6 ปี   

                                         

                   โครงการจัดตั้งโรงเรียนศูนย์ข่าวเยาวชนไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ   ถึงแม้กระทรวงศึกษาธิการจะเพิ่งเข้ามามีส่วนในการดูแลเมื่อปี 2546   คงมีคนอีกจำนวนมากมายที่ไม่เคยได้ยินชื่อโครงการนี้เลย   โครงการนี้เกิดขึ้นจากความต้องการจะสนับสนุนเยาวชนให้มีส่วนร่วมต่อปรากฏการณ์ทางสังคม  และพิทักษ์สิทธิเด็ก  ได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ  และองค์กรเอกชนอื่นๆ   ได้แก่ สสส. สอดย.  สท.(สยช.เดิม)  กกต.  เริ่มต้นโครงการมาตั้งแต่ปี  2542 จนถึงปัจจุบัน  มีโรงเรียนต่างๆเข้าร่วมโครงการ 52 โรงเรียนใน 32 จังหวัดทั่วประเทศ   

                เมื่อวันที่  24 - 30 เมษายน  2549  กระทรวงศึกษาธิการ  องค์การยูนิเซฟ  และสมาคมศูนย์ข่าวเยาวชนไทย   จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ และถอดบทเรียน  เพื่อกำหนดแนวทางในโครงการจัดตั้งโรงเรียนศูนย์ข่าวเยาวชนไทย   การอบรมแบ่งเป็น  5  กลุ่ม  คือ  1. การเขียนบท   2.  การตัดต่อภาพ   3.  เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้น    4. การจัดรายการวิทยุโทรทัศน์   5.  การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์     บรรยากาศการอบรมมีทั้งสนุกทั้งน่าสนใจชวนให้อยากติดตาม   เด็กๆไม่รู้สึกเบื่อหรือเหน็ดเหนื่อยกับการฝึกอบรมตลอด7วันเลย  เมื่อถึงคราวที่เด็กๆต้องสรุปหรือนำเสนอเรื่องราวในแต่ละกลุ่มเด็กก็สามารถทำได้อย่างดี  ไม่น่าเชื่อว่า.....ฝีมือเด็กทำข่าวจะมีมุมมองที่น่าสนใจ   ผู้ใหญ่หลายคนทึ่งกับวิธีคิดวิธีนำเสนองานของเด็ก  บางชิ้นวิทยากรแอบปลื้มใจยิ้มได้ทั้งวันเพราะผลงานสร้างสรรค์ของเด็กกับความรู้ที่วิทยากรถ่ายทอดให้    การอบรมสร้างทักษะครั้งนี้จะไม่เกิดประโยชน์อันใด   หากไม่ได้นำความรู้นั้นกลับไปใช้ให้เกิดการต่อยอดสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้น    แต่เจ้าของโครงการ(คุณวีระ  สุวรรรโชติ หรือพี่วีของน้องๆ   นายกสมาคมศูนย์ข่าวเยาวชนไทย) และกระทรวงศึกษาธิการ  ได้กำหนดให้มีการสร้างสรรค์ผลงานของสมาชิกศูนย์ข่าวฯแต่ละศูนย์บนพื้นฐานของความเอื้ออาทร มีการติดตามและประเมินโครงการนี้เป็นระยะโดยทีมงานจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  

                สิ่งที่ได้จากที่ประชุมของคุณครูที่ปรึกษาศูนย์ข่าวเยาวชนไทย  คือ  แผนปฏิบัติการของศูนย์ข่าวฯตั้งแต่ปี 2549 - 2550  กิจกรรมที่เด็ก  ครู  โรงเรียนต้องปฏิบัติจะเป็นผลสะท้อนถึงสถานศึกษาและชุมชน คือ 

                1. การผลิตข่าว  

                                   1. school TV  เดือนละ 1 ครั้ง/ภาคเรียนละ 2 ครั้ง                                           2. National TV  ภาคเรียนละ 1  ครั้ง                                                         3. National Forum  1 ข่าว เป็น  spacial scoop 3 - 5 นาที ที่จะนำมาร่วมในงานวันวิทยุโทรทัศน์เพื่อเด็กสากล  จัดโดย  องค์การยูนิเซฟ  กรมประชาสัมพันธ์          

               2.  ผลิตจดหมายข่าว ชื่อ  จดหมายข่าวหัวใจยิ้ม   เป็นการบอกเล่าผลการทำงาน  หรือกิจกรรมของทุกศูนย์ข่าวฯ

            3.  เยี่ยมชมศูนย์ข่าวฯ  เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ให้กำลังใจ  และสร้างประสบการณ์ที่ดีระหว่างศูนย์ข่าวฯด้วยกันจะได้ช่วยเหลือกันบ้างเมื่อมีโอกาสและมีความสามารถมากกว่า 

                       

               กระบวนการผลิตข่าว คือ หัวใจของการสร้างองค์ความรู้  เพราะกว่าจะเป็นข่าว/เป็นสารคดี  เด็กๆต้องระดมสมองต้องสุมหัวกัน  สร้างกระบวนการ ดังนี้ 1. เลือกประเด็นทั้งที่เป็นปัญหา  หรือเรื่องราวที่จะเป็นการนำเสนอเพื่อสร้างสรรค์ปรากฏการณ์ใหม่ในโรงเรียน ท้องถิ่น หรือสังคม  2. ศึกษาหาข้อมูล ข้อเท็จจริง มานำเสนอต่อที่ประชุม ร่วมกันวิจารณ์ข้อเท็จจริง  เลือกประเด็น  เสนอต่อคุณครูที่ปรึกษา   จนได้ข้อตกลง    3.  เขียนบท   นำเสนอต่อที่ประชุมและคุณครูที่ปรึกษา วิจารณ์และแก้ไขจนได้บทที่ดี  มีความเหมาะสมทั้งการใช้ภาษา  ความเป็นไปได้ของการจัดวางองค์ประกอบเมื่อมองผ่านกล้อง  การแทรกภาพ  เสียง   หรือ  เอฟเฟคต่างๆ    4.  ติดต่อประสานงานผู้เกี่ยวข้องกับข่าว/สารคดีที่จะถ่ายทำ  เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์การถ่ายทำ  5. ถ่ายทำ  ตัดต่อ  บันทึกเสียง และเอฟเฟคต่างๆ     5. ทุกขั้นตอนจะมีการระดมสมองร่วมกันคิดร่วมกันวางแผนทั้งเด็กๆและครู   เพื่อให้ได้ผลงานที่ทุกคมีส่วนร่วม มีความพึงพอใจ และเหมาะสมถูกต้องทั้งข้อมูล  ข้อเท็จจริง(ไม่มั่ว)    

             กระบวนการเหล่านี้ทุกขั้นตอนเป็นการสร้างองค์ความรู้   เพราะเด็กๆต้องมีการสืบค้นข้อมูล  สัมภาษณ์  ความเป็น KM เกิดขึ้นเมื่อทั้งครูและเด็กต้องการสร้างผลงานที่ดี  มีคุณค่า  จึงเกิดคำถามมากมายว่าจะทำอะไร  ทำอย่างไร  ทำแล้วจะเกิดผลอย่างไรกับสังคม  นี่..คือ..สิ่งที่ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยคำนึงถึงพอๆกับการนำกระบวนการผลิตข่าวไปใช้....KMก็เข้ามามีบทบาท   เพราะคุณครูและเด็กๆมีการบริหารจัดการร่วมกันในการผลิตข่าว  เริ่มตั้งแต่ออกแบบการผลิตข่าว/ชิ้นงานร่วมกัน   ผลงานแบบนี้คุณครูไม่สามารถสั่งให้ผลงานออกมาเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้(เพราะถ้าเป็นแบบนั้นคุณครูต้องผลิตเอง)  แต่ผลงานที่ปรากฏเป็นมุมมองของเด็กๆที่สะท้อนผลการเรียนรู้  ความคิดเห็นของเขาต่อปัญหา   หรือเรื่องราวต่างๆในสังคมผ่านกล้องโทรทันศ์ราคา 1.5 แสนบาท            ขณะเดียวกันเด็กๆในค่าย  ในชมรมศูนย์ข่าวเยาวชนไทยก็ได้ฝึกทักษะชีวิตในหลากหลายแง่มุมไปพร้อมๆกัน   รู้จักยอมรับในความสามารถของกันและกัน   มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ให้เกียริตกันและกัน   เคารพในสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น  มีความเอื้ออาทรกันในกลุ่ม  ที่สำคัญพวกเขาเคารพในกฎกติกา  ดิฉันได้เห็นความร่วมมือร่วมใจ  เอาใจใส่ต่อการฝึกฝนทั้ง 5 กลุ่มแล้วปลื้มใจ   อย่างน้องบางคนใช้กล้องดีวีดีบันทึกภาพไม่คล่อง  ไม่เก่ง  เพื่อนจากต่างโรงเรียนที่เก่งกว่าก็จะคอยช่วยชี้แนะบอกเทคนิคที่เขารู้ให้แก่กัน  หรือเทคนิกการตัดต่อ  การแทรกเสียง ทำเอฟเฟคบางโรงเรียนตามไม่ทัน  เพื่อนอีกโรงเรียนก็คอยบอก  พี่ๆก็คอยให้กำลังใจ   ประสบการณ์แบบนี้เด็กๆจะจดจำ  นำความรู้ไปใช้ได้ตลอดและยั่งยืน ......ถึงตรงนี้ก็เกิดคำถามขึ้นว่า....  ถ้าไม่มีกล้องราคา 1.5 แสน จะผลิตข่าวได้อย่างไร....  คำตอบง่ายๆ... คือ  ...ข่าวและกล้องโทรทัศน์เป็นแค่เครื่องมือ  แต่..กระบวนการผลิตข่าว...เป็นหัวใจของการจัดการองค์ความรู้ที่จะทำให้เด็กๆไปศึกษาค้นคว้า  รวบรวม    ประเมินคุณค่า   เรียบเรียง  และสรุปองค์ความรู้ที่ได้ไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบจริงนะจะบอกให้....อย่างนี้เรียกว่า "นักข่าวเยาวชนไทยหัวใจKM" ได้หรือยัง!?!..

                 

                        การเข้าค่ายครั้งนี้จะไม่เกิดขึ้น  จะไม่สำเร็จ  จะไม่เกิดผลเป็นการขับเคลื่อนองค์กร  ไม่สร้างสรรค์องค์ความรู้อันไม่รู้จบ   ถ้าไม่มีผู้ใหญ่ใจดีท่านเหล่านี้   พี่วี  คุณครูทุกท่าน  ผู้บริหารสถานศึกษา    ดร.สายพันธ์และคณะ  ดร.สุพักตร์(จากมสธ.) ท่านรองอารีย์รัตน์ วรรธนสิน ท่านพรทิภา  ลิมปพยอม ท่านวินัย   รอดจ่าย  คุณหญิงดร.กษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา  รวมถึงองค์กรต่างๆที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมทุกกิจกรรมของศูนย์ข่าวเยาวชนไทย  อันได้แก่   กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์การยูนิเซฟ  กองบัญชาการทหารสูงสุด  สสส.  กกต.กลาง  สท.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย  กรมประชาสัมพันธ์  สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง  11 สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7    ทีมวิทยากรที่มาให้ความรู้แก่เด็กๆจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คณะวารสารศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                                                                       ท่านสามรถติดตามผลงานของเด็กๆได้ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11  ทุกวันพุธ  เวลา  17.00 - 17.30 น. รายการมุมทอล์ควัยทีน    สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 ทุกวัน จันทร์ถึงศุกร์ เวลา 7.00 น.   และสถานีโทรทัศน์ ETV ทุกวัน                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                

 ทีมข่าวหัวใจยิ้ม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27986เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
น่าสนใจมากครับ.. แล้วจะค่อยติดตามอ่านความคืบหน้าต่อไปครับ.. คิดว่า สื่ออินเตอร์เน็ต ผ่านทางเว็บไซด์ น่าจะช่วยงานนี้ได้เยอะนะครับ เป็นอินเตอร์เน็ตทีวี รายงานข่าวแบบออนไลน์ แบบเป็น VCD ก็มีหลายทางเลือกนะครับ..
ดีจังนะค่ะ
ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีคับอาจารย์....

คิดถึงบรรยากาศตอนนั้นจังเลยครับ

อยากเจอเพื่อนๆศูนย์ข่าวฯทุกโรงเรียนเลย

อยากเข้าไปเป็น TYNUจังเลยคับแต่ไม่มีเวลาเลยเพราะเรียนหนัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท