สรุปการเรียนรู้ของทีม จากตลาดนัดเบาหวานนครพนม 2


ทุกคนจะรู้สึกในการเข้าถึงจากการปฏิบัติเหล่านั้นว่ารู้อิ่มเอิบ(Appreciated) ที่จะถ่ายทอด เล่าให้เพื่อนฟัง เรามีความเชื่อว่า ทุกคนสามารถสร้างความสำเร็จเล็กๆได้อยู่เสมอ ดังนั้นอยากให้พวกเรามาค้นหาสิ่งมหัศจรรย์เล็กๆจากการดูแลผู้ป่วยกันเถอะ

เรียนรู้จาก นายแพทย์ปรเมศร์  กิ่งโก้ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร เริ่มจากการทำงานที่โรงพยาบาลกุสุมาลย์ โดยเริ่มต้นจากส่งพยาบาลไปฝึกอบรมที่โรงพยาบาลเทพธารินทร์ จากนั้นจัดระบบบริการผู้ป่วยเบาหวาน โดยแยกเป็นคลินิกเบาหวาน (โดยมีพยาบาลให้การดูแลโดยเป็นห้องเรียนรู้โดยเป็นซุ้ม อาหาร การใช้ยา ฯลฯ) ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่ สสจ. สกลนคร  และได้ลองนำมาปรับใช้ในการบริการในจังหวัด โดยเริ่มต้นจาก การอบรมพยาบาลไปอบรมที่ โรงพยาบาลเทพธารินท์ จำนวน สี่สิบกว่าคน นำมาเป็นกรรมการเบาหวานจังหวัด ร่วมกับทีมแพทย์ที่เกี่ยวข้องเช่น หมอตา หมอเมด และ เภสัชกร(อย่าตั้งคนเรื่องมาก) ทั้งหมดจากประสบการณ์คือ ต้องมีเวทีในการแลกเปลี่ยน ทุกปี มีการประกวดให้รางวัล หรือให้ สองขั้นไป / เรื่องที่สองคือการจัดระบบริการ ให้จัดเป็นรูปทีมในสถานบริการ หากใครเวอร์คก็ให้ใครเป็นหัวหน้า เช่น เป็นเภสัช เป็นพยาบาลก็แล้วแต่ ต้องมี GUIDE LINE ของจังหวัด เช่น เรื่อง อาหารไปอบรมจากที่อบรมแตกต่างจากที่อบรม เมนูอาหาร จึงได้ส่งไปให้อาหารเปรียบเทียบกับเมนูพื้นบ้าน / ต่อมาก็เป็นเรื่องการตรวจเท้า อยากยกตัวอย่าง การดูแลเท้า เราต้องไปวิเคราะห์ ว่า ต้องมีตัวชี้วัด เพื่อให้เราติดตามงาน แต่ต้องวิเคราะห์เอง อย่าไปลอกคนอื่น ต้องสอดคล้องกับชีวิต อยากฝากไว้ว่า ทีมต้องเข็มแข็ง และต้องมีเครือข่ายโดยเฉพาะสถานีอนามัย แพทย์เป็นเพียงที่ปรึกษา มีระบบการเชื่อมกันระหว่างสถานบริการกับผู้ป่วยและครอบครัว ( สัมภาษณ์ ผู้ป่วย ต้องสัมภาษณ์ญาติ เพราะภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ญาติสามารถช่วยเหลือได้) ระบบการเยี่ยมบ้าน เราอาจใช้ อสม. ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคได้ดี เขาเหล่านี้สามารถดูแลกันเอง เราต้องมีระบบจูงใจให้เขาเป็นตัวอย่างที่ดี เขาได้รับการเชิดชูคุณค่าในตัวเขา ( อาจให้รางวัลผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำตาลได้ดี ) การสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น การสอนโดยเจ้าหน้าที่ ไม่ได้ดีเท่า อสม.ที่มีประสบการณ์ในการดูแลตนเองทีดี จะสามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้ / การร่วมมือกับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เช่นการขอความร่วมมือในการขอเครื่องตรวจน้ำตาลจาก อบต. / ควรให้ผู้ป่วยมีกลุ่มที่มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง / สำหรับหน่วยที่เปิดบริการใหม่ และควรให้ความสำคัญกับผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนใหม่ หากดูแลผู้ป่วยเบาหวานเก่าจะทำให้ท้อแท้ จะทำให้เราได้เรียนรู้จากการปฏิบัติของผู้ป่วยใหม่ที่มีพฤติกรรมการดูแลตนเอง เช่น ออกกำลังการ หรือใช้อาหารควบคุมโรค จะทำให้เกิดตัวอย่างและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลง / กลุ่มเบาหวานในชุมชน โดยใครที่ดูแลได้ดี จะมีกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นบัดดี้ที่เป็นกลุ่มที่อยู่ในละแวกเดียวกัน และติดตามดูแลกันเอง และเติมให้ความรู้และทักษะต่างๆ ให้ดูแลกันเอง / ในระดับจังหวัด การที่มีหมอตาน้อย ต้องมีระบบการจัดการที่ดีแบ่งโซน และทำตารางในการออกตรวจ จังหวัดสนับสนุนการจัดหาเครื่องมือสนับสนุน ทั้งหมดหากระบบอำเภอ และจังหวัด เชื่อมกันจะทำให้ระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้น / หากจะจัดเวที อาจจะแชร์ร่วมกับจังหวัดสกลนคร / การเก็บคำถามจากผู้ป่วย เราอาจตอบไม่ได้ เราจำเป็นต้องมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนกัน และจำเป็นต้องมีทีม / ทีมพยาบาลมีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยในการจัดกิจกรรม / เราอาจนำเสนอผลที่เราทำงานในเวทีต่างๆ ได้ และสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนา HA และ HPH ได้ / ยกตัวอย่าง การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่สูงอายุ มีความประทับใจ เพราะเราเซ็ตระบบดีๆ ทำให้ผู้ป่วยรับบริการที่ดีคือ จากความท้อแท้สู่ความหวัง


 สรุปการเรียนรู้ในสองวันนี้ ในฐานะผู้เฝ้าดูกระบวนการแลกเปลี่ยน ทำให้เราได้เรียนรู้จากสิ่งที่ผู้ดูแลได้ปฏิบัติ เราได้เห็นว่า สิ่งที่เราได้สัมผัสจากว่า ความรู้ของทุกคนเกิดจากการปฏิบัติจริง และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทที่ตนเองดำรงอยู่ (มิใช่การคัดลอกมาทั้งหมดโดยมิได้ปรับเปลี่ยน) ทุกคนจะรู้สึกในการเข้าถึงจากการปฏิบัติเหล่านั้นว่ารู้อิ่มเอิบ(Appreciated) ที่จะถ่ายทอด เล่าให้เพื่อนฟัง  เรามีความเชื่อว่า ทุกคนสามารถสร้างความสำเร็จเล็กๆได้อยู่เสมอ ดังนั้นอยากให้พวกเรามาค้นหาสิ่งมหัศจรรย์เล็กๆจากการดูแลผู้ป่วยกันเถอะ

 

ผู้เล่าเรื่อง สมพัฒน์ สมจิตรสกุล

หมายเลขบันทึก: 27978เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากที่ภก.เอนกที่ช่วย post ที่ผมบันทึก หากใครอยากมาแลกเปลี่ยนกับผม เชิญที่ www.gotoknow.org/learn4life หรือ www.gotoknow.org/community2nurse ที่เป็นพื้นที่เรื่องเล่าของพยาบาลที่ทำงานในชุมชน ในการนำงานวิจัยเชิงคุณภาพไปใช้ในพื้นที่ทำงาน หรือใครที่มีBlogแล้วอยากเข้าร่วมชุมชนเรียนรู้กับพวกเรา(พยาบาลชุมชน) เชิญที่ชุมชน พยาบาลชุมชน www.nurse-community/gotoknow.org ผมคิดว่า หากเราเข้ามาร่วมเรียนรู้มากๆขึ้น เราก็จะมีพลังและสามารถสิ่งดีให้เกิดแก่ตัวเราและสังคม ตามเป้าหมายของการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Community of Practice)

                                      สุพัฒน์

พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล

ระยะนี้เราประชุมทีม DM บ่อย ชื่อคุณ เอนกถูก mention บ่อยครั้งไปด้วย   ร่องรอยการทำงาน สิ่งดีๆที่คุณทำไว้ยังอยู่  มีแต่คนเสียดายที่ไปอยู่ไกล   คงต้องขอความรู้ทางไกลจากคุณและ  ทีมของนครพนมต่อค่ะ

ถามเรื่อง program การเก็บข้อมูลDM ว่าหาได้ที่ไหน ใช้แล้วมีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรบ้างคะ

 คิดถึง และ ขอบอบคุณ

ทีมเชียงราย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท