รัชดาวัลย์
นาง รัชดาวัลย์ แอ๊ว สวนจันทร์

สรุปทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ


สรุปทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ

 

 

สรุปทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ

เราสามารถนำทฤษฎีเหล่านี้เพื่อใช้ในการปรับปรุงกำลังใจของพนักงงานได้มากมาย

            ทฤษฏีความต้องการ  5 ขั้นของอับราฮัม มาสโลว์ ได้แก่ ความต้องการด้านกายภาพ ความปลอดภัย ความต้องการ ด้านสังคม ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ และความต้องการสำเร็จสมหวังในชีวิต

            ทฤษฏีความต้องการ 5 ขั้นของอีริค  ฟรอมม์ มนุษย์มีความต้องการ 5 ประการ ได้แก่ มีสัมพันธภาพ สร้างสรรค์ มี สังกัด มีเอกลักษณ์แห่งตน และมีหลักยึดเหนี่ยว

            ทฤษฏีความต้องการความสัมฤทธิ์ผลของแมคเคลแลนด์ มนุษย์มีความต้องการ 3 ด้าน ได้แก่ ความสำเร็จ อำนาจ และความต้องการทางสังคม

            ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย 3 ประการ ได้แก่   มนุษย์จะมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงานของตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสมนั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และที่ไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือ การให้รางวัลจากการสามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้

            ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง 3 ประการ ได้แก่  Id Ego และ Superego

             ทฤษฏีสององค์ประกอบของเฟรเดอริค เฮอร์ซเบิร์ก แรงจูงใจของมนุษย์เกิดขึ้นจากปัจจัยสองอย่าง ได้แก่ สิ่งทำให้เกิดความไม่พอใจและสิ่งที่ทำให้เกิดความพอใจ

             ทฤษฏีแห่งบทบาท สมาชิกในสังคมต่างมีตำแหน่ง มีบทบาท ต่างก็ต้องแสดงบทบาทของตนไป ในกลุ่มต้องมีผู้นำ และผู้นำต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกลุ่มด้วย มนุษย์มีบทบาท 3 อย่าง ได้แก่ บทบาทที่พอดี บทบาที่ขาดไป และบทบาทที่ล้นเกิน

             ทฤษฏีบุคลิกภาพของเชลดอน บุคลิกภาพของมนุษย์จะขึ้นอยู่กับรูปร่างที่ปรากฎของบุคคลนั้น บุคคลิกภาพของ มนุษย์แยกเป็นสามประเภท 1) ผู้มีรูปร่างอ้วนกลม ป้อม ชอบความสบาย การสังคมดี 2) ผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ กล้ามเนื้อแข็งแรง ชอบออกกำลังกาย จิตใจเป็นนักกีฬา 3) ผู้มีรูปร่างบอบบาง อ่อนแอ ไม่ชอบออก สังคม

             ทฤษฏีการจูงใจของเรนซิส ลิเคอร์ท ในการปฏิบัติงาน ฝ่ายบริหารจะได้รับประโยชน์เต็มที่จากทรัพยากรบุคคล ต่อเมื่อแต่ละคนในองค์กรได้เป็นสมาชิกของกลุ่ม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

             ทฤษฏี ERG ของอัลเดอร์เฟอร์ มนุษย์มีความต้องการ 3 ขั้น ได้แก่ ต้องการมีชีวิตอยู่ ต้องการมีความสัมพันธ์ และ ต้องการมีความงอกงาม

             ทฤษฏีการจูงใจของเมอร์เรย์ เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจไว้ 20 ประการ ได้แก่ ความนอบน้อมถ่อมตน ความสำเร็จ ความต้องการมีเพื่อน ความก้าวร้าว ความมีอิสรภาพ การมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่มุ่งแก้ไขพฤติกรรมตนเอง การป้องกันตนเองจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่น การกระทำตนให้เป็นที่ประทับใจของผู้อื่น การหลีกเลี่ยงอันตราย การหลีกเลี่ยงความละอาย การทนุถนอมสิ่งที่น่าเอ็นดู ความมีระเบียบ การเล่น การปฏิเสธคนบางคนและพฤติกรรมบางอย่าง ความสนุกสนานชื่นบาน ความต้องการทางเพศ การให้ความช่วยเหลือ และจงรักภักดีต่อผู้มีอำนาจเหนือตน และการเข้าใจเหตุการณ์ต่าง ๆ

             ทฤษฏีแรงจูงใจของพอร์เตอร์และลอว์เลอร์ ปริมาณของความพยายามขึ้นอยู่กับค่าของรางวัล บวกกับจำนวนพลังงานที่บุคคลมีความเชื่อ และความน่าจะเป็นของการได้รับรางวัล การปฏิบัติงานนำไปสู่รางวัลภายในและภายนอก และรางวัลนำไปสู่ความพึงพอใจ

            ทฤษฏีการจูงใจของเอลตัน มาโย ปัจจัยทางสังคมและจิตวิทยา มีความสำคัญต่อความพึงพอใจของมนุษย์มากกว่า สภาพแวดล้อมในการทำงาน

            ทฤษฏีหน้าต่างสี่บานของโจฮารี มีชื่อเรียกว่า ทฤษฎีหน้าต่างดวงใจบ่งบอกว่า ลักษณะจิตใจมนุษย์ ประดุจห้อง  4 ห้อง หรือมีหน้าต่างดวงใจอยู่ 4 บาน ได้แก่ ส่วนที่เปิดเผย จุดบอด ส่วนที่ซ่อนเร้น และก้นบึ้งที่ล้ำลึก

             ทฤษฏีอารมณ์ขัน แยกออกได้เป็น 8 ทฤษฏี ได้แก่ทฤษฏีจิตวิทยาและวิวัฒนาการ ทฤษฎีความเหนือกว่า ทฤษฎี ความไม่ลงรอยกัน ทฤษฏีความประหลาดใจ ทฤษฏีความขัดแย้งกันในตัวเอง ทฤษฏีการปลดปล่อยและการผ่อนคลาย ทฤษฏีการศึกษา พฤติกรรมส่วนรวมของมนุษย์ และทฤษฎีจิตวิเคราะห์

                          ทฤษฏีวุฒิภาวะของคริส อากิริส มนุษย์มีวุฒิภาวะ และบางส่วนก็ไม่มีวุฒิภาวะ

            ทฤษฏีความคาดหวังของวรูม การจูงใจของคนเพื่อกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะถูกกำหนดโดยคุณค่าของผลลัพธ์ที่ ได้จากความพยายาม คูณกับความเชื่อมั่นที่ว่าความพยายามนั้นช่วยให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

            ทฤษฏีต้นไม้จริยธรรมของดวงเดือน พันธุมนาวิน มนุษย์มีจิตใจและภูมิธรรมที่แตกต่างกัน แยกได้เป็นมนุษย์ที่มี จิตใจเป็นสัตว์ มนุษย์ที่มีจิตใจเป็นคน และมนุษย์ที่มีจิตใจเป็นเทวดา

            ทฤษฏีต่างตอบแทนของแชปแมน การจูงใจกันและกันของบุคคลสองกลุ่ม เช่น นายกับลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน ต่างฝ่ายต่างก็ได้รับประโยชน์จากกันและกัน

            การที่เราได้ศึกษาแนวทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจนั้นเป็นประโยชน์ต่อบุคคลที่ศึกษา    เพราะสามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด  ไม่ว่าผู้นำ  ผู้บริหารทุกหน่วยงาน    เพื่อนร่วมงาน   ผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนการอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมโลก   ตราบใดที่มนุษย์มีความต้องการไม่รู้จบ  ทฎษฎีเหล่านี้ก็ยังมีประโยชน์สามารถนำมาใช้ได้ตลอดไป  

 

 

หมายเลขบันทึก: 279549เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

แวะมาทบทวนวิชาความรู้คะ

ขอบคุณมากนะคะที่สรุปย่อให้อย่างมีคุณค่า

อ่านแล้วสามารถทบทวนความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีแรงจูงใจ  พี่แอ๊วรวบรวมไว้ได้ดีมากค่ะ

 

 

เป็น สว.ที่เก่งมากๆเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับ ทฤษฎีต่างๆเอาไปใช้ประโยชน์ได้ทั้ง 3 วิชาเลยนะค่ะเนี่ย ครูนวยเองค่ะ

ชอบทฤษฏีของฟอร์ยค่ะพี่แอ๊ว มันทำให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับระดับความรู้สึกของมนุษย์ได้

ขอบพระคุณสำหรับความรู้ที่นำมาฝากนะค่ะ

ขอบคุณมากที่ให้เกียรติมาเยี่ยมชมผลงานของ "สว."

ไปดูงานมาวันนี้เห็นชัดเจนเลยพี่ ทฤษฎีสององค์ประกอบของเฟรเดอริคเฮอร์ซเบิร์ก

ทันสมัยที่ซู้ด...ประยุกต์ได้ตรงประเด็น และเหมาะแก่เวลา

บทความที่นำมาน่าสนใจมากเลยคะขอนำไปใช้นะคะพี่

อนุญาตตามที่ขอ ...ขอบคุณค่ะที่ให้เกียรติมาเยี่ยมชม

หัวข้อมีมนุษยสัมพันธ์ แต่เนื้อหาไม่มีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท