inclusive-t12


เชื่อในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่เชื่อ

 

สรุปความรู้จากการศึกษาดูงาน

"คลิก"

ความรู้จากการร่วมกิจกรรม จากการที่ได้ไปดูงานในวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ที่แรกที่เราไปถึงคือ  โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนนทบุรี การจัดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ
  • ระดับอนุบาล อนุบาลปีที่ 1-2
  • ระดับประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 1-6
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาปีที่ 4-6

มีกระบวนการสอนหลายรูปแบบ ดังนี้

  • มีห้องฝึกพูด
  • บริการตรวจวัดการได้ยิน
  • ภาษามือ
  • มีเครื่องช่วยฟัง
  • คำศัพท์พจนานุกรมภาษามือ

โรงเรียนใช้หลักสูตรขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 อาจารย์ผู้สอนมีพื้นฐานความรู้ทางการศึกษาพิเศษ หากอาจารย์บางท่านยังไม่มีพื้นฐานก็มีการอบรมแล้วให้ทำแผนการสอน ในส่วนของนักเรียนจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ อยู่หอพัก 180 คนและไปกลับ ที่โรงเรียนมีการสนับสนุนความสามารถพิเศษ เช่น นาฏศิลป์ กลองยาว กีฬาลีลาศ กีฬาประเภทต่างๆ การประเมิน จะมีการประเมินโดย สมศ. ทั้งภายในและภายนอก

แห่งที่สอง คือ
ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดนนทบุรี มีหน้าที่ คือ เตรียมความพร้อมให้เด็กพิเศษ บริการโรงเรียนเรียนร่วม บริการสื่อตามกฎกระทรวง และบริการเคลื่อนที่

ซึ่งที่นี่มีนักเรียนตั้งแต่ 1 ขวบ และมีพ่อแม่ผู้ปกครองเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย กิจกรรมเช่น การเต้น การร้องเพลง

มีห้องฝึกพูด เด็กจะได้เข้าเรียนทุกคน อาจารย์จะสอนเรื่องง่ายๆ เช่น จำนวน ตัวเลข การแยกสี การฝึกพูด (ออกเสียง) ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมฝึกพูด Speech Viewer 3 มีการฝึกบริหารรูปปาก ฝึกการหายใจ ฝึกเป่าลม ฝึกเปล่งเสียง ในการฝึกฟัง ให้ฝึกฟังโดยใช้เสียงเครื่องดนตรี เช่น กลอง ฉิ่ง กรับ

แห่งที่ 3 คือ
ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 5 จังหวัดสุพรรณบุรี มีการให้บริการดังนี้
  • บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
  • บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม และเตรียมความพร้อม
  • ให้คำแนะนำปรึกษา
  • ประสานการจัดเรียนร่วม
  • ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
  • ศูนย์วิชาการ วิจัย และพัฒนาหลักสูตร
  • บริการช่วยเหลือด้านอื่นๆ

ที่นี่จะรับเด็กตั้งแต่แรกเกิด เด็กต้องมาพร้อมกับผู้ปกครอง การเรียนการสอนจะสอนเป็นทักษะ เช่น ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ทักษะทางสังคม ทักษะการดำรงชีวิต ทักษะทางการสื่อสาร

ตัวอย่างของกิจกรรม เช่น กิจกรรมดนตรีเพื่อการพัฒนา มีกลอง ขลุ่ย คีย์บอร์ด

กิจกรรมศิลปะเพื่อการพัฒนา เช่น สีสื่ออารมณ์ การระบายสี พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การเคลื่อนไหว พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ ที่ศูนย์แห่งนี้มีการจัดทำแผนการศึกษา การประเมินเด็กจะประเมินจากความสามารถและพัฒนาการของเด็ก

และแห่งสุดท้าย คือ โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จังหวัดสุพรรณบุรี

ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 26 ไร่ 2 งาน 27 ตารางวา

บุคลากร ผู้ชาย 21 คน ผู้หญิง 60 คน รวม 81 คน

จำนวนนักเรียน 444 คน แบ่งเป็นนักเรียนประจำ 435 คน ไปกลับ 9 คน

การจัดการเรียนการสอน (อนุบาล-ม.3)

  • คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  • มีการฝึกงานอาชีพ (ประดิษฐ์จากกล่องนม)
  • กายภาพบำบัด
  • ทัศนศึกษา
  • ฝึกศิลปะบำบัด

มีกิจกรรมต่างๆให้เด็กเข้าร่วม เช่น พิธีไหว้ครู การแห่เทียนพรรษา เป็นต้น

จากการร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานในครั้งนี้ ทำให้ได้รับสาระ ประโยชน์และข้อคิด ดังนี้

  • ทำให้ได้รู้จัก คำว่า เด็กพิเศษ มากขึ้น
  • มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเด็กพิเศษ
  • รู้จักการเรียนการสอนแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาเด็กพิเศษแต่ละประเภท
  • รู้จักสื่อต่างๆที่นำมาใช้ในการพัฒนาเด็กพิเศษ
  • ในฐานะที่ดิฉันจะเป็นครูต่อไปในอนาคต เมื่อดิฉันเจอเด็กพิเศษ ก็จะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนในวิชานี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ในการเรียนนั้นไม่ควรแยกเด็กพิเศษกับเด็กปกติออกจากกัน เพราะเราเชื่อว่าหากได้ส่งเสริม พัฒนาความสามารถเด็กพิการก็ย่อมจะมีศักยภาพ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้นสิ่งที่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ก็คือ การให้เด็กได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกับเด็กปกติ ทั้งนี้การเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเด็กที่มีความต้องการพิเศษจำเป็นต้องได้รับความร่วมร่วมมือจากครอบครัว โรงเรียน และบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ เข้ามามีส่วนร่วมในการ สนับสนุน ส่งเสริม เป็นกำลังใจ และช่วยกันพัฒนาเด็กให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

    จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานมาที่จังหวัดนนทบุรีและสุพรรณบุรีมานั้น ทำให้รู้ว่า เด็กพิการก็เหมือนกับเด็กปกติ เพียงแต่อาจมีความพิการเฉพาะส่วนเท่านั้น แต่ในเรื่องของความสามารถพวกเขาก็มีไม่แพ้กัน เช่น ที่โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดนนทบุรี เด็กที่นี่มีความสามารถพิเศษในด้านนาฏศิลป์ กลองยาว กีฬาลีลาศ กีฬาประเภทต่างๆ และที่โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จังหวัดสุพรรณบุรี เด็กที่นี่มีการฝึกงานอาชีพ (ประดิษฐ์จากกล่องนม) ซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กพิการก็มีความสามารถเช่นเดียวกับเด็กปกติ เพียงแต่เราต้องให้โอกาส และมองพวกเขาในด้านดี อย่าไปมองว่าเด็กพิการคือภาระของสังคม เพราะเด็กพิการสามารถทำอะไรดีๆให้สังคมได้เช่นกัน

 

 

นางสาวเรืองสิริ เรืองหิรัญ

รหัสนักศึกษา 4711101012

คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2792เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2005 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดี เป็นการใช้เทคโนโลยีที่เกิดประโยชน์สูงสุด ทางที่ดีควรฝึกหัดการนำข้อมูลมาลงเองจะดีมากนะ เพื่ออนาคต.......

น่าสนใจดีมาก  ทำให้ทราบถึงผู้มีความบกพร่องว่าพวกเขาเป็นอย่างไรกัน  ขอบคุณจริงๆที่ทำให้ผมมีความรู้มากขึ้น  ซึ้งจัง

มีการนำเสนอที่ดี  เนื้อหาคลอบคลุมเกี่ยวกับเด็กพิการแต่ละที่  แล้วเอามาสรุปได้ดี  การทัศนศึกษาผู้เขียนเว๊ปมีความสนใจเมื่อไปศึกษา  ดังนั้นวันหลัง  ควรจะบรรยายให้ละเอียดในบางจุด  ยินดีคะ
อ.วิรัตน์ชัย ผอ.สถานศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนนทบุรี

เด็กพิการก็มีความสามารถเช่นเดียวกับเด็กปกติ เพียงแต่เราต้องให้โอกาส และมองพวกเขาในด้านดี อย่าไปมองว่าเด็กพิการคือภาระของสังคม เพราะเด็กพิการสามารถทำอะไรดีๆให้สังคมได้เช่นกัน

เป็นข้อคิดที่ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท