Mind Mapping และสื่อเพื่อระดมพลังกลุ่มชุมชนแนวปฏิบัติ


...Mind Mapping ถ้าใช้ส่วนตัว หรือใช้เพื่อการเรียนรู้คนเดียว (Individual Learning) สามารถใช้ช่วยบันทึกความจำได้ เพราะถ้าหากมองในทางทฤษฎีการศึกษา และการทำ Interactive Learning Design แล้ว มันคือการใช้ช่องทางการรับรู้และระดับการปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ เพิ่มขึ้นหลายช่องทาง (ดู ฟัง วาดภาพ จดบันทึก) ทฤษฎีการศึกษาแนวอิงเกณฑ์ บอกว่า การเรียนรู้ คือ ปริมาณเวลา และระดับความเข้มข้นของการปฏิสัมพันธ์ กับบทเรียนและกิจกรรมการเรียน (Learning activities)แต่ถ้าใช้เป็นกลุ่ม กลุ่มและชุมชนการคิด (Gruop-Based Learning) ต้องการการมีส่วนร่วมในการช่วยกันคิด ดังนั้น ควรใช้ Mind Mapping เป็นวิธีการและเครื่องมือ เพื่อส่งเสริมการคิดและเรียนรู้เป็นทีม กระตุ้นการช่วยกันคิด ...

      การระดมพลังกลุ่ม หรือ การจัดการความรู้ในชุมชนแนวปฏิบัติ นับแต่การจัดการความรู้ในตัวคน(Tacit knowlege) จนถึงระดับจัดการความรู้ที่มีเครื่องมือต่างๆ ช่วยสร้างความรู้ขึ้นจากประสบการณ์ให้เป็นความรู้ที่จัดการอย่างเป็นระบบภายนอกตัวคน (Explicit knowlege) เป็นกระบวนการเรียนรู้และมีพัฒนาการอยู่เสมอ  มากกว่าที่จะเป็นสิ่งของที่เบ็ดเสร็จ ตายตัว ดังนั้น การขับเคลื่อนชุมชนแนวปฏิบัติ  จึงควรเน้นทั้งจุดหมาย  ผลลัพธ์ และตัวกระบวนการ ซึ่งเครื่องมือในการจัดการความรู้  โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนบทเรียนและการระดมพลังวางแผนเป็นกลุ่ม จะมีบทบาทมาก หากไม่มีการคำนึงองค์ประกอบสำคัญทั้งสองด้าน  เราอาจได้สิ่งที่เป็นผลลัพธ์  แต่ไม่ได้กระบวนการเรียนรู้  ดังนี้เป็นต้น

         Mind Mapping และสื่อต่างๆ เพื่อการระดมพลังกลุ่มในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการการขับเคลื่อนชุมชนแนวปฏิบัติ เช่น การพบปะพูดคุย  การเยี่ยมเยือนแบบสร้างพลัง  การถอดบทเรียน  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์  การสื่อสารและนำเสนอรายงาน ผลการดำเนินงาน  กระบวนการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม  เหล่านี้ หากคำนึงถึงการนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือและวิธีการจัดการความรู้ เพื่อเป็นนวัตกรรมการจัดการความรู้ชุมชนปฏิบัติ  ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนชุมชนแนวปฏิบัติไปด้วยแล้ว  กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง  จะสามารถออกแบบให้เป็นเครื่องมือเชิงกระบวนการ  ที่เป็นการจัดการความรู้และการทำงานเป็นทีม อยู่ในตัวเองไปด้วย  เช่น การพบปะพูดคุยกัน  การประชุมอย่างสร้างสรรค์  การจัดเวทีระดมความคิด  การจัดเวทีถอดบทเรียนและเสริมศักยภาพเพื่อกลับไปทำงานให้มีพลังยิ่งๆขึ้น  เหล่านี้เป็นต้น

        เพื่อดำเนินการดังกล่าว  หลักคิดในการประยุกต์ใช้ Mind Mapping และ สื่อต่างๆ จะมีหลักคิดและความเป็นเหตุเป็นผล  กำกับอยู่เบื้องหลัง  ซึ่งจะทำให้กิจกรรมการขับเคลื่อนชุมชนแนวปฏิบัติ  เป็นการปฏิบัติทางความคิด และการออกแบบเชิงยุทธศาสตร์การคิดที่ลุ่มลึก รอบด้าน ไปด้วย  ที่สำคัญคือ

  • ความสอดคล้องกับพลังกลุ่มปัจเจก หรือชุมชนแนวปฏิบัติ  ซึ่งทุกคนมีพลัง  มีศักยภาพ เมื่อรวมกันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชนทางปัญญาปฏิบัติ ก็คิดและแสดงออกแบบไม่ต้องเป็นเส้นตรง  ไม่เป็นตามลำดับก่อนหลัง แต่ช่วยกัน  คิดและทำไปด้วยกัน
  • การเน้นบทบาทของคน  ศักยภาพปัจเจก  และการปฏิสัมพันธ์กันของคน (Face to Face และ Interactive  Learning)      
  • การเน้นความคิดต่อความคิด 
  • ช่วยการทำความคิดให้เป็นภาพ และรักษาประเด็นไว้  ให้กลับมาคิดต่ออีกได้เสมอ 
  • ช่วยการจำเป็นภาพติดตาตรึงใจ สื่อสารกันอย่างง่ายๆ เพื่อลดอุปสรรคจากความแตกต่างของปัจเจก

        Mind Mapping และสื่อต่างๆ ที่นำมาใช้ ควรมีหลักที่สอดคล้องกับหลักคิดดังกล่าว เช่น 

  • ช่วยให้ทุกคนได้คิดและพูดอย่างเป็นธรรมชาติ  พูดพร้อมกันก็ได้ การทำ Mind Mapping และสื่อที่นำมาช่วย จึงควรเป็นบอร์ด ฟลิปชาร์ต
  • เน้นการวาดภาพ  ใช้สัญลักษณ์ง่ายๆ เข้าช่วย  มีสีสัน  เขียนตัวใหญ่ๆ เห็นพร้อมกันทั่วถึง
  • วิทยากรกระบวนการ หรือผู้อำนวยความสะดวก ต้องฝึกทักษะการจับประเด็นเพื่อเขียนให้ทุกคนเห็น เป็นวัตถุดิบเอื้ออำนวยการคิด ต่อเติมความคิด
  • หากใช้เครื่องมือทันสมัยช่วย  เช่น โปรแกรมสำเร็จรูป Mind Manager ฉายขึ้นจอภาพด้วย LCD ต้องพยายามจัดการให้สนองตอบกับหลักคิดดังกล่าว 
  • Mind Mapping ถ้าใช้ส่วนตัว หรือใช้เพื่อการเรียนรู้คนเดียว (Individual Learning) สามารถใช้ช่วยบันทึกความจำได้ เพราะถ้าหากมองในทางทฤษฎีการศึกษา และการทำ Interactive Learning Design แล้ว มันคือการใช้ช่องทางการรับรู้และระดับการปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ เพิ่มขึ้นหลายช่องทาง (ดู  ฟัง วาดภาพ จดบันทึก) ทฤษฎีการศึกษาแนวอิงเกณฑ์ บอกว่า  การเรียนรู้ คือ ปริมาณเวลา และระดับความเข้มข้นของการปฏิสัมพันธ์ กับบทเรียนและกิจกรรมการเรียน (Learning activities)
  • แต่ถ้าใช้เป็นกลุ่ม กลุ่มและชุมชนการคิด (Gruop-Based Learning) ต้องการการมีส่วนร่วมในการช่วยกันคิด ดังนั้น ควรใช้ Mind Mapping เป็นวิธีการและเครื่องมือ เพื่อส่งเสริมการคิดและเรียนรู้เป็นทีม กระตุ้นการช่วยกันคิด หากใช้เพื่อจดบันทึกการประชุม  นอกจากจะทำให้บรรยากาศการประชุมไม่เป็นไปตามหลักคิดเบื้องหลังของมันแล้ว บันทึกการประชุมจาก Mind Map จะเป็นบันทึกการประชุมที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะตัวโปรแกรมและหลักคิดของ Mind Mapping มิใช่เน้นการบันทึกการประชุมเป็นวัตถุประสงค์สุดท้าย ปัจเจกต้องมีส่วนร่วมอย่างเข้มข้น (Active Participation) จนได้แก่นของเรื่องที่ทำเป็นทีม บันทึกแบบ Mind Map จึงจะช่วยฟื้นความจำให้  แต่จะบันทึกแบบสรุปการประชุม  จะผิดวัตถุประสงค์ของมันไปหมด
  • การจดบันทึกการประชุมต้องมีกระบวนการอย่างอื่นขึ้นมาเสริม

        ด้วยแนวทางดังกล่าวนี้  Mind Mapping และการใช้สื่อ  ก็จะมีพลังในฐานะเป็นกระบวนการจัดการความรู้  และเป็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนแนวปฏิบัติ  พัฒนาคน  พัฒนางานเชิงยุทธศาสตร์ และก่อเกิดนวัตกรรมการจขัดการใหม่ เป็นทีม  พร้อมกันไปด้วย

หมายเลขบันทึก: 27875เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
อ่านบันทึกของคุณแล้ว ดูเป็นแนวเดียวกับบล็อกของ Digital Mind Map ของคุณประชาสรรณ์เลยนะครับ
ซึ่งมีการนำ เครื่องมือตัวนี้มาใช้มากมายจริงๆ ทำเป็นบล็อกย่อยต่างๆ อาทิ

ขอบคุณมากเลยครับที่แนะนำ จะหาโอกาสเข้าไปเรียนรู้ในแหล่งที่คุณบอนกรุณาแนะนำไปนะครับ  ขอบคุณมากเลยครับ
     ลองแวะเข้าไปดูแล้วครับ เป็นเรื่องเป็นราวเลย มันคนละเรื่องเชียวแหละครับ  คุณประชาสรรค์เขาเล่นแบบมืออาชีพ กับกลุ่มนักวิชาชีพเป็นส่วนใหญ่  ส่วนผมนั้นลองใช้บันทึกนี้เก็บเกี่ยวบทเรียนเอาจากการทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นชุมชนและกลุ่มนักปฏิบัติ  พร้อมๆกับลองแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับคนอื่น  ด้านหนึ่งก็เป็นการช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลที่คู่ขนานไปกับการทำงานในช่วงต่างๆ แต่ก็ดีครับ  เป็นแหล่งศึกษาเทียบเคียงกับความเป็นจริงของการปฏิบัติ ได้ดี 
สุรศักดิ์ แจ่มเจริญ

         ผมอ่านแล้ว ได้เห็นแนวทางในการทำงานร่วมกับกลุ่มต่างๆในพื้นที่เพิ่มขึ้นครับ

         ไม่ได้พบกับพี่นานมากครับตั้งแต่ปี 2532 (อดีต บอส.รุ่น 1  ของ รศ.ดร.สมอาจ วงษ์ขมทอง Chantaburi Project)

วิรัตน์ คำศรีจันทร์

      ดีใจมากเลย  พี่เพิ่งคุยให้กับหลายคนฟังว่า มี อ.สุรศักดิ์ อดีต บอส. ยังคงก้าวหน้าในเส้นทางที่เคยเริ่มต้นมาด้วยกันกับสถาบันฯอาเซียน  พี่จำได้สิ  รุ่นแรกๆ ของ บอส. พี่ยังนับถือในอุดมคติและความสดในการเรียนรู้จากสนาม

     ยิ่งเห็นเส้นทางของสุรศักดิ์ ที่ก้าวมาถึงกระทั่งเวลานี้แล้ว น่าชื่นชมมากเลย  เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่ามาก ขอให้งอกงามและเติบโตในแนวทางนี้ต่อไปมากๆนะ เพราะหาคนที่สะสมภูมิปัญญาจากการปฏิบัติอย่างบูรณาการแบบนี้ยาก

    ถ้ามีโอกาส  อยากชวนสรุปบทเรียนและเก็บเกี่ยวแรงบันดาลใจในการทำงาน  มาคุยที่สถาบันบ้าง  รวมทั้งเวลาพี่จัดเวทีชุมชนในพื้นที่  ซึ่งตอนนี้พี่ทำเครือข่ายวิจัยในเขตเมือง-ชนบท ของลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง อยู่  อยกเชิญไปช่วยเป็นคนถ่ายทอดบทเรียนและจุดประกายการทำงานให้เครือข่ายนักวิจัยท้องถิ่นบ้าง

    อีกอย่าง  ถ้าเป็นไปได้  เราอาจจะเป็นตัวเชื่อม  พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน จากต่างมหาวิทยาลัย ทั้งเรื่องการทำวิจัย  การเรียนการสอน  การฝึกอบรม และการดำเนินโครงการบริการทางวิชาการต่างๆ

   ดีใจและขอบคุณมากเลย  พี่จะบอกต่กับพวกเราที่เคยทำงานด้วยกัน  ทุกคนต้องดีใจมาก  ต้องจัดว่าเป็นตัวตนและความเป็นรูปธรรมของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ปรากฏอยู่ในตัวคน จริงๆ

สุรศักดิ์ แจ่มเจริญ
อ่านแล้วปลื้มมากครับ มีโอกาสผมตั้งใจมาเยี่ยมแน่ๆ เบอร์โทรผม 0 1861 2519 ครับ
...ได้อ่านบทความของอาจารย์แล้ว รู้สึกเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ผมเป็นคนหนึ่งที่หันมาใช้ Mind Mapping ในการจัดลำดับการคิด ถึงแม้บางคนจะคิดว่า มันเป้นอะไรที่เชย แต่ผมกลับคิดตรงกันข้าม คนที่ทำMind Mapping เป็นคนที่มีความละเอียดอ่อน มีศาสตร์ และศิลป์จำเพาะที่หาตัวจับได้ยากมากกว่า.. ....ผมรู้จักกับพี่ประชาสรรค์ เป็นการส่วนตัว เพราะอยู่ในแวดวง สาธารณสุขด้วยกัน...โปรแกรมที่พี่ประชาสรรค์ใช้(เคยขอมาลงเครื่องที่สำนักงานแล้ว) ข้อดีก็อยู่ตรงที่การจัดเก็บรักษา และการทำงาน เป็นไปด้วยความสะดวก แต่ก็เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ เจนจัดแล้วเพื่อทำความเข้าใจ ..ส่วนของอาจารย์วิรัตน์ ก็ดึงดูดด้วยลูกเล่น โดยใช้ศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ดึงดูดและน่าสนใจอีกแบบ... ...ผู้ที่ได้ใช้ทั้งสองแบบ ถือเป็นสุดยอดในการประยุกต์ใช้.. .....พี่ประชาสรรค์ เคยสอนผม ว่า..ถ้าอยากรู้กว้าง รู้มาก รู้ลึก...ให้ทำMind Mapping วันละ 1 เรื่อง .........แล้วท่านก็จะเป็นจอมยุทธ ที่ไร้เที่ยมทาน..

ใช้ Mind Map นำเสนองานและข้อมูลองค์กร เพื่อเปิดเวทีเสวนาแบบสบายๆ กับคนภายนอก

http://www.pantown.com/board.php?id=11476&area=4&name=board5&topic=94&action=view

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท