๖๔. คำกล่าวรายงาน..จะเขียนอย่างไร


หลักการเขียนคำกล่าวรายงาน

ในแต่ละปีงบประมาณ สำนักงานมีโครงการจะจัดอบรมและประชุมสัมมนาหลายหลักสูตร บางหลักสูตรต้องร่วมจัดทำกับหน่วยงานของส่วนกลาง ในการจัดการอบรมแต่ละครั้ง นอกจากจะจัดทำโครงการและขออนุมัติแล้ว งานด้านอำนวยการไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งคณะทำงาน การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิทยากรและด้านอื่น ๆ แล้ว มีงานชิ้นหนึ่งที่หาคนทำยาก และไม่มีใครอยากจะทำด้วย แต่ก็ต้องทำเพราะเป็นหน้าที่บังคับ งานที่ว่าคือ...งานเขียนคำกล่าวรายงาน และคำกล่าวเปิดการอบรม/สัมมนาของประธาน

ผู้เขียนประสบปัญหามาตลอด ระยะแรก ๆ จะค้นหาเรื่องเก่า ๆ ว่าเขาเขียนกันอย่างไร และนอกจากนี้ หากได้ไปอบรมหรือสัมมนาที่ไหน จะนั่งจดหลักการเขียนคำกล่าวของแต่ละงานที่ไป บางงานก็เขียนได้ดี บางงานก็เขียนวกวน แล้วนำข้อดีและข้อเสียของแต่ละงานที่พบเห็น นำมาปรับปรุงและประยุกต์ใช้ ก็พอทำให้การเขียนคำกล่าวพอใช้ได้ แต่ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้ที่จะเขียนคำกล่าวรายงานและคำกล่าวของประธานในพิธีได้ดี จะต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันกับคนที่เขียนโครงการ และจัดทำหลักสูตร เพราะจะมีข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ รู้หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ และรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ มากกว่าคนอื่น

นอกจากนี้ผู้ที่จะเขียนคำกล่าวรายงานได้ดี จะต้องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปีของสำนักงาน และกฏหมายที่เกี่ยวข้องด้วย จะทำให้การเขียนคำกล่าวได้รวดเร็ว ถูกต้อง สละสลวย และครบถ้วนยิ่งขึ้น

ในการเขียนคำกล่าวรายงาน เป็นการสรุปแนวคิด โครงสร้าง วิธีการ แลผู้สนับสนุนการจัดงานหรือพิธีการนั้น ๆ โดยเขียนให้สั้น มีหลักการเขียนคำกล่าว โดยสรุปได้ดังนี้ (ทองสุข มันตาทร : ศิลปการพูดและการเป็นพิธีกร .บริษัทเพ็ญพริ้นติ้ง จำกัด.ขอนแก่น ๒๕๕๑)

  • บทนำขอบคุณประธานในพิธี
  • แนวคิดในการจัดงานหรือจัดพิธีการ เช่นกล่าวถึงวัตถุประสงค์  หรือระบุแนวคิดที่มาของโครงการ
  • โครงสร้างการจัดงาน เช่น กลุ่มเป้า หลักสูตร ระยะเวลา และวิทยากร
  • ผู้มีอุปการคุณหรือผู้ที่สนับสนุนตามสมควร
  • ส่วนลงท้าย ซึ่งมักจะลงท้ายด้วยข้อความลักษณะที่ว่า "บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว " หรือ "บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์แล้ว "

ส่วนคำกล่าวของประธานในพิธีนั้น มีองค์ประอบในการเขียน ดังนี้

  • บทนำ เช่น ขอบคุณที่ให้เกียรติเชิญมาเป็นประธาน
  • หลักการ หรือแนวคิดกว้าง ๆ ของเรื่องนั้น ๆ โดยอย่าเขียนให้ซ้ำกับของผู้กล่าวรายงาน และนอกจากนั้นคำกล่าวของประธานควรเป็นคติเตือนใจ หรือหลักการที่เกี่ยวข้องในการอบรมด้วย
  • กล่าวชมเชย หรือเห็นด้วยกับกิจกรรมที่จัดขึ้น
  • กล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนหรือผู้อุปการะคุณ ถ้ามีไม่มากควรระบุให้หมด
  • ส่วนลงท้าย เช่น พูดว่า "บัดนี้ ได้เวลาอันสควรแล้ว ผมขเปิดการ.....ณ บัดนี้ "

                -----------------------------------------

 

 

หมายเลขบันทึก: 277999เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2009 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

ขอบคุณมากครับที่นำความรู้มาแบ่งบันกัน

เป็นประโยชน์มากเลยครับ

  • สวัสดีคุณฤทธิชัย
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ค่ะ...

ในการสรรหาสิ่งดีๆๆมาให้ได้ศึกษากัน

นกฟ้าได้นำความรู้ที่ท่านอาจารย์ได้นำมาให้ศึกษานี้

ไปเขียนคำกล่าวรายงานในมหกรรม KM ของอำเภอพอดีเลยค่ะ

กราบขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท