004 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษหน้า (1)


ตอน วิสัยทัศน์ของนัก HRD มืออาชีพ

สวัสดีค่ะ  นักศึกษาปริญญาโท คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ทุกท่าน (รวมทั้ง ท่านผู้อ่านที่สนใจในหัวข้อเรื่องนี้)

วันนี้ แอมมี่ได้รับเกียรติจากท่านรองคณบดีฯ (อ.ใจชนก ภาคอัต) ให้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษหน้า” ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 Sessions คือ เสาร์นี้และเสาร์หน้าค่ะ

ในวันแรก ขอเรียกชื่อตอนว่า “วิสัยทัศน์ของนัก HRD มืออาชีพ” นะคะ เพราะวันนี้ เราได้เรียนรู้ถึงภาพกว้างๆ ของแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในโลก  ซึ่งมีทิศทางว่าจะส่งผลกระทบต่อองค์การและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตข้างหน้าอย่างแน่นอนที่สุด


ammy@nida 1 by you.

แอมมี่เริ่มต้นโดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม  เพื่อระดมสมองในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างก้าวกระโดดที่นัก HR ควรรู้  ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 หัวข้อ ได้แก่

    1.  ภาวะวิกฤตโลก 

    2.   การพัฒนาเทคโนโลยี 

    3.   ลักษณะการบริหารจัดการแบบใหม่ๆ 

    4.   Lifestyle คนที่เปลี่ยนไป

    5. ขนาดและความมั่นคงขององค์กร

 

ซึ่งนศ. ได้ present หน้าชั้นมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ

  • ภาวะวิกฤตโลก  กลุ่มนี้วาดออกมาเป็น mind map สวยงาม  สรุปว่า โลกเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จาก hamburger crisis, วิกฤตการเมือง (ที่ไม่มั่นคง, จากการก่อการร้าย, นโยบายรัฐบาล, new world order), วิกฤตสังคม (คนว่างงาน, ความยากจน, ขาดการศึกษา, ขาดทักษะ, ขาดการพัฒนาตนเอง) วิกฤตสุขภาพ โรคระบาด ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009, โรคเครียด, วิกฤตความเชื่อทางศาสนา ที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรง, วิกฤตพลังงาน (น้ำมันแพง, แก๊สขึ้นราคา, ไฟฟ้าต้องประหยัด, พลังงานทดแทนมีราคาแพง), วิกฤตสิ่งแวดล้อม (ปัญหามลพิษ, เรือนกระจก, โลกร้อน, เสียสมดุลทางชีวภาพ, การทำลายธรรมชาติ), วิกฤตภัยธรรมชาติ (สึนามิ, ฝนตกหนัก, น้ำท่วม,แผ่นดินไหว,แผ่นดินถล่ม, พายุไต้ฝุ่น, พายุเฮอริเคน, ไฟไหม้ป่า, ความแห้งแล้ง,ฯลฯ
  •  การพัฒนาเทคโนโลยี ทางด้านการสื่อสาร (ระบบอินเตอร์เน็ต lan - wireless, สัญญาณดาวเทียม, เคเบิ้ลใยแก้ว, โทรศัพท์ vdo conference, คอมพิวเตอร์ netbook) ด้านสาธารณูปโภค (รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยน้ำ, รถไฟฟ้าที่ต่อไปจะเป็นแบบความเร็วสูง รถไฟฟ้าใต้ดินไปต่างประเทศ), ด้านการผลิต (จำนวนมาก, รวดเร็ว, ลดต้นทุนการผลิตลง), ยุคดิจิตอลและ 3G, นาโนเทคโนโลยี, Smart Card บัตรพลาสติก บัตรเดียวที่ใช้ได้ทุกอย่าง, ช่วยให้เกิดการบริการแบบ One-Stop-Service (เช่นที่ 7-11, ไปรษณีย์ไทย)
  • ลักษณะการบริหารจัดการแบบใหม่ๆได้แก่ เครื่องมือและกลยุทธ์การบริหารองค์กรต่างๆ, การ outsource, cross functional, การตั้ง business strategic unit,การทำ KM & LO, สนใจ CSR มากขึ้นเพราะโลกสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม, human rights, ISO 26000, การประเมินผลการปฏิบัติการและการบริหารผลปฏิบัติการ (เป็นทีม), การ forecasting พยากรณ์แนวโน้มอนาคตในด้านต่างๆ, การใช้ BSC (Balance Scorecard มาประเมินประสิทธิภาพการทำงาน)

  • Lifestyle คนที่เปลี่ยนไป (กลุ่มบอกว่า คิดไว้ 300 กว่าข้อ (ขนาดนั้น^^) แต่สรุปสั้นๆ ว่า) การศึกษา - นิยมมากขึ้น, ค่านิยม/ทัศนคติที่เปลี่ยนไป ซึ่งเกิดจาก 3 ข้อด้านบน เช่น ทัศนคติทางการเมือง (การแบ่งเสื้อเหลือง-แดง ทำให้ต้องไปร่วมชุมนุมตอนเย็น lifestyle ก็ต้องเปลี่ยนไปจากเดิมๆที่อาจจะเคยกลับบ้านเร็ว), ครอบครัว - มีขนาดเล็กลง คนแต่งงานช้าลง หรือนิยมอยู่ก่อนแต่ง, เทคโนโลยีทำให้ lifestyle เปลี่ยน, ความต้องการความเป็นส่วนตัว, ต้องการความสะดวกรวดเร็ว (นิยม delivery service, one-stop service, shopping 24 ชั่วโมง - ทางเน็ต), ไม่ต้องการคนกลาง, ทำงาน-พัก-สันทนาการ 8-8-8, นิยมอยู่คอนโดในเมืองมากกว่าอยู่บ้านชานเมือง, นั่งรถไฟฟ้าสะดวกกว่าขับรถยนต์, นิยมใช้บัตรเครดิตมากกว่าใช้เงินสด 
  • ขนาดและความมั่นคงขององค์กร - จากที่เคยเป็นองค์กรเดี่ยว ก็ร่วมทุน, joint venture เพื่อขยายกิจการ และความมั่นคงขององค์กร, ใช้ CSR มากขึ้น, ความสำคัญของผู้นำ ที่ต้องมีวิสัยทัศน์, กลยุทธ์, รู้จักกระจายอำนาจ, ทำ SWOT, ใช้ที่ปรึกษาธุรกิจมากขึ้น, โครงสร้างองค์กรแนวระนาบมากขึ้น (horizontal), HRD เน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้, เน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากขึ้น (อ. แอมมี่ เพิ่มเติมว่า ในหัวข้อนี้ องค์กรจะมีแนวโน้มไปใน 4 ลักษณะ คือ 1) การลดขนาด (downsizing)  จากข่าวการปลดพนักงานของหลายองค์กรในปีที่ผ่านมา  2) มอบงานให้บริษัทที่เป็นมืออาชีพทำ (outsourcing) เช่น การจ้าง head hunter ของหลายบริษัท, การจ้างบริษัทดูแลด้าน IT โดยเฉพาะ, การใช้ Call Center เช่น ในอินเดียและฟิลิปปินส์ ที่คนสามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ  3) การควบรวม/ซื้อกิจการ (merger & aquisition) เช่น การควบรวมบริษัท CP ตอนเหนือ และตอนใต้ ในประเทศเวียดนามเข้าด้วยกันเป็นองค์กรเดียว, การซื้อกิจการของบริษัทรถยนต์ GM ในอเมริกาจากบริษัทในอิตาลี 4) การปรับไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) นอกเหนือไปจากการทำ KM เช่น ธนาคารกสิกรไทยเริ่มทำ K-NOW เพื่อเป็นแหล้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริการและความรู้อื่นๆให้กับลูกค้าและผู้สนใจ  หรือ IBM ที่เป็นบริษัทแรกที่เริ่มทำ KM และ LO เพื่อให้การขายและการให้บริการผลิตภัณฑ์ต่างๆของบริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ammy@nida 2 by you.

แนวโน้มการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคหน้า จำเป็นที่จะต้องเข้าใจแนวคิดสำคัญในเรื่องของเทรนโลก โดยเฉพาะแนวคิดเรื่อง คลื่นลูกที่สาม ของ ศ.อัลวิน ทอฟเลอร์ (ผู้บัญญัติศัพท์ คำว่า Globalization) และปัจจุบันมีผู้รู้คิดไว้จนถึง คลื่นลูกที่ 5 แล้ว สรุปสั้นๆ ดังนี้

     คลื่นลูกที่ 1   ยุคเกษตรกรรม             อำนาจ คือ ที่ดิน   ผู้ใดมีที่ดินมาก ผู้นั้นมีอำนาจมาก  เกิดจาก นวัตกรรมการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ทำให้คนไม่ต้องเร่ร่อน (เป็นผีตองเหลือง - ที่ย้ายถิ่นเมื่อใบตองที่มุงหลังคาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง) และอยู่ติดที่มากขึ้น เกิดระบบตลาด  การแลกเปลี่ยน แต่อยู่ในชุมชนของตัวเองหรือหมู่บ้านใกล้ๆ

     คลื่นลูกที่ 2   ยุคอุตสาหกรรม            อำนาจ คือ ทุน    ปัจจัยแห่งยุคคือ เครื่องจักร/เครื่องกลต่างๆ   ยุคนี้เริ่มจากเมื่อเจมส์ วัตต์ประดิษฐ์รถไฟพลังไอน้ำได้ ทำให้การขนส่งสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว การพัฒนาเครื่องจักรทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น  เกิดการสร้างถนนหนทาง สร้างทางรถไฟ ต้องการคนมาทำงานในโรงงานมากขึ้น คนย้ายถิ่นฐานมาสู่เมืองเพื่อทำงานในโรงงาน เกิดระบบโรงเรียน มหาวิทยาลัย เพื่อสอนให้คนมีความรู้ จบมาก็ไปทำงานเป็นลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก  เกิดระบบราชการ  เกิดระบบธนาคาร  การทำงานในสายการผลิต (assembly line) (ทอฟเลอร์กล่าวว่า ปัญหาสังคมยุคปัจจุบัน เกิดขึ้นจากผลกระทบของยุคนี้เป็นหลัก)  เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงให้เกิดไวขึ้น

     คลื่นลูกที่ 3   ยุคสารสนเทศ (IT)        อำนาจ คือ ข้อมูลข่าวสาร/สารสนเทศ  เริ่มจากเมื่อเกิดการพิมพ์  การประดิษฐ์โทรเลข โทรศัพท์  โทรทัศน์  วิทยุ  มีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นมากมาย  พิมพ์หนังสือจำนวนมาก (แทนการใช้คนคัดลอกซึ่งช้ามากกว่าจะได้มาเล่มนึง และความผิดพลาดจากต้นฉบับสูง) เกิดอินเทอร์เน็ต  ดาวเทียม wireless เข้าสู่ยุคดิจิตอล  องค์กรมีข้อมูลข่าวสารก่อนคนอื่น จะเป็น competitive advantage ที่สำคัญ เพราะจะช่วยให้สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ดีกว่า  ครองใจลูกค้าได้เร็วกว่าคนอื่น

     คลื่นลูกที่ 4   ยุคการจัดการความรู้ (KM)  อำนาจ คือ ความรู้   ศาสตร์แขนงต่างๆ องค์กรใดมีพนักงานที่มีความรู้  มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำงานเป็นทีมที่มาจากหลายฝ่าย นำความเชี่ยวชาญของแต่ละคนมาช่วยในการแก้ปัญหาร่วมกัน องค์กรนั้นจะมั่นคง ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพประสบความสำเร็จมากกว่า

     คลื่นลูกที่ 5   ยุคแห่งปัญญา (Wisdom)   อำนาจ คือ ปัญญา  "ศ.ดร.เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์เรียกว่า “ปราชญสังคม” เป็นยุคของนักคิด การบูรณาการความรู้และใช้ปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สังคมใดสามารถพาตนสู่การเป็นปราชญสังคมได้สำเร็จ สังคมนั้นจะอยู่ต้นแถวของโลก"

(อ่านเพิ่มเติม คลื่นลูกที่ 5 ปราชญสังคม ที่ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=286338
อ่านเพิ่มเติม New World Order ที่ http://leadership.exteen.com/20090420/new-world-order)

 

ammy@nida 3 by you.

Global Trends ที่น่าสนใจ ที่นัก HRD ควรจะต้องรู้ไว้เพื่อการเข้าใจแนวโน้มอนาคต รวมทั้งเพื่อนำไปวางแผนการบริหารการพัฒนามนุษย์ในอนาคต ก็คือ แนวคิดจากงานวิจัยของ Euromonitor International ที่ได้ทำนายเทรนโลกไว้ดังนี้

  1.      Connectedness (การเชื่อมต่อ)  ด้วยเครือข่ายการสื่อสาร (ดิจิตอล, อินเตอร์เน็ต, ดาวเทียม, ใยแก้ว)  โลกแคบลง  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่หนึ่ง คนที่อยู่อีกฟากหนึ่งของโลกสามารถรับรู้ในเวลาเดียวกัน  การติดต่อถึงกันเร็วขึ้น สะดวกขึ้น ราคาถูกลง โทรศัพท์มือถือเข้าเน็ตได้  ไป-มาถึงกันรวดเร็วขึ้นจากการพัฒนาระบบขนส่งทั้งทางบก เรือ อากาศ  (ความเร็วของเทรนการเชื่อมต่อนี้ทำให้การระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 แพร่กระจายได้รวดเร็วขึ้นสองสามเท่าตัว และควบคุมได้ยาก) เกิดจากกระแสโลกาภิวัฒน์ของแท้  ลักษณะการทำงานต่อไปจะเป็น mobile work station ทำงานที่ไหนก็ได้ ที่สัญญาณอินเทอร์เน็ตส่งไปถึง  มีสัญญาณมือถือ  และมีระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวกและปลอดภัย
  2.      Identity & Self - expression (ตัวตนและการแสดงออก) นิสัยและความต้องการของมนุษย์คืออยากให้คนยอมรับในตัวตน  เกิดสินค้าที่ customized ที่เจาะจงเพื่อผู้บริโภคเฉพาะบุคคลมากขึ้น เช่น Dell คอมพิวเตอร์ ที่ผลิตสินค้าตามความต้องการเฉพาะตัว (made-per-order) เท่านั้น  กางเกงยีนส์ลีวายส์ที่สั่งทำเฉพาะ  ความนิยมในการสร้างบล็อค (blog) เกิด blogger ขึ้นมากมาย เพื่อแสดงออกถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต  การฝึกอบรม การเทรนนิ่งก็เปลี่ยนลักษณะจากการบรรยายเฉยๆ มาเป็นการทำกิจกรรม workshop, brainstorm, roleplay, เกมส์ต่างๆ มากขึ้น (ผู้เข้าอบรมบางคนก็แสดงออกไม่หยุดเลยจริงๆค่ะ ^^ นี่แหละ ตัวตนและการแสดงออก)
  3.      Work-Rest-Play 8-8-8 (งาน-พัก-เล่น) คนสมัยหน้าจะเริ่มต้องการทำงานแค่ 8 ชั่วโมง พักอีก 8 ชั่วโมง ส่วนเวลาที่เหลืออีก 8 ชั่วโมงต้องการใช้ในการสันทนาการ ท่องเที่ยว เล่นกีฬา พักผ่อน พูดคุยกับเพื่อน อยู่กับครอบครัว หรือทำกิจกรรมอื่นๆ  เด็กรุ่นใหม่จะไม่ต้องการทำงานเสาร์-อาทิตย์ เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ (ไม่แลกกับต้องทำงานเพิ่มเด็ดขาด ยกเว้นเมื่ออยากได้มือถือรุ่นใหม่ใสกิ๊ก หรือโปรแกรมเกมส์ที่กำลังนิยมในกลุ่มเพื่อน ... ไม่ได้เดี๋ยวตกรุ่นแบบข้อ 4) 
  4.      Generational Diversification (ช่องว่างระหว่างรุ่น) คนยุค baby boomer จะมี lifestyle ต่างจากคนยุค Gen X (Generation X) รุ่น อ.แอมมี่  ที่ดูโดราเอมอน กระโดดหนังยาง เล่นหมากเก็บ  ฟัง แกรนด์เอ๊กซ์  เกิดทันวงสุนทราภรณ์  เดินเซ็นทรัลลาดพร้าวเมื่อเพิ่งเปิดวันแรก  ซาวน์อะเบ้าท์คือสิ่งที่เด็กไทยทุกคนต้องมี (น้องๆ รู้จักกันมั๊ยเนี่ย???) ติวเลข อ.สกนธ์ และอื่นๆ  ส่วนเด็กยุค Generation Y เค้าจะไม่เหมือนเรา คือ โตมากับโทรศัพท์มือถือ  ทีวีสี  เปิดท่อน้ำก็มีน้ำประปาไหลออกมา  โน้ตบุ้ค  โรงเรียนสองภาษา  mp3/4  เกมส์  รถไฟฟ้า  ถ้าไม่พัฒนาตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก รับรองว่าจะต้องตกยุคแน่นอน
  5.      Health & Well being (สุขภาพ & กินอยู่ดี) คนรุ่นใหม่จะห่วงใยสุขภาพมากขึ้น ออกกำลังกายมากขึ้น  ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายดีขึ้น (เพราะมีความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อาหารเพิ่มขึ้น)  เทคโนโลยีความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้สามารถรักษาโรคให้หายป่วย ยามีประสิทธิภาพ เครื่องมือทางการแพทย์ดีขึ้น  คนมีอายุยืนมากขึ้น (retirees)  ในญี่ปุ่น มีการออกนโยบายยืดการเกษียณอายุไปที่อายุ 65 ปี เพราะยังแข็งแรงอยู่ และความรู้บวกกับประสบการณ์ทำงานก็ยังมีมากกว่าคนหนุ่มสาวที่เพิ่งจบจากรั้วมหาวิทยาลัย จึงถือว่าเป็นแรงงานที่มี competency มากกว่า แต่หากคนสูงวัยมีมากขึ้น การคำนวณค่าใช้จ่ายในเรื่องประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาล และบำเน็จบำนาญก็จะสูงมากขึ้นตามไปด้วย

ammy@nida 4 by you.

สัปดาห์หน้า จะแลกเปลี่ยนในเรื่องของ บทบาทหน้าที่ของนัก HR ในยุคหน้า และกลยุทธ์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเตรียมคนให้เหมาะสมกับความต้องการแรงงานในยุคของการเปลี่ยนแปลง ค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะ ^^

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • บริหารคนในทศวรรษหน้า  ดร.ดนัย  เทียนพุฒ (กุมภาพันธ์ 2551)
  • กรอบความคิดสำหรับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดย Gary Dessler แปลโดย ดร.ชำนาญและคณะ (มิถุนายน 2552)


นักศึกษาสามารถช่วยเพิ่มบทสรุป รวมทั้งแสดงความคิดเห็นว่า "นักศึกษาในฐานะนัก HR จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ไปพัฒนาตัวเองและเตรียมความพร้อมให้กับองค์กรอย่างไร?"  (ความยาวอย่างต่ำ 15 บรรทัด  ส่งก่อน 6 โมงเย็นของวันศุกร์ที่ 24 ก.ค. 2552)

 

อ่านต่อ ตอนที่ 2 กรุณาคลิก http://gotoknow.org/blog/best-training/279896

ติดต่อ อ.แอมมี่ ที่ บริษัท Brainwatch Consulting Group Co.,Ltd

อีเมล [email protected], [email protected]


 

คำตอบของคุณบิ๊กค่ะ

ศักดิ์สิทธิ์ บานชื่นวิจิตร ATS06 NIDA 5110627047

 

            การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษหน้า โดยส่วนตัวชอบการตั้งชื่อหัวข้อในการพูดคุยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นงานที่รับผิดชอบโดยตรงทั้งงานประจำและงานการเป็นที่ปรึกษา/วิทยากร โดยเนื้อหาที่พูดคุยในวันนี้ได้พยายามเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบและได้มีการอ้างอิงเหตุปัจจัยในอดีตจนไปถึงการคาดการณ์ในอนาคตว่าในองค์กรจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง และในแง่ของ HR จะต้องเตรียมตัวอย่างไรทั้งส่วนตัวและการทำงานในองค์กร

                ซึ่งจากการที่ผมมีส่วนรับผิดชอบงานด้าน HRD ผมได้นำโมเดลการพัฒนาบุคลากรที่ได้เรียนในหลักสูตรการบริหารทรัพยากรมนุษย์มาประกอบความรู้ที่ได้รับในวันนี้เพื่อความชัดเจนครับ

 

 

 

(ภาพไม่ขึ้น เลยขอใช้ภาพนี้แทนค่ะ - อ.แอมมี่)

 

                จากโมเดลจะเห็นว่า ผู้ที่รับผิดชอบในงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น จะต้องมีความเข้าใจในปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกับงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยผู้ที่รับผิดชอบในงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีความสามารถแบบ Generalist หมายถึง จะต้องรู้รอบทั้งในงาน HR และงานในหน่วยงานอื่น รวมถึงเทคนิคและวิธีการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ (ผู้รับผิดชอบงาน HR ในบางองค์กรยังทำตัวเป็น Specialist โดยเข้าใจว่าตัวเองเก่งงานด้านบุคคลแล้วจะสามารถอยู่รอดปลอดภัยได้ในสภาวะปัจจุบัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก)

                จากรายละเอียดทั้งหมด จะพบว่า การเตรียมตัวที่จะเป็นผู้รับผิดชอบงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน 5 ปี หรือ 10 ปีข้างหน้าไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะจะต้องเดิมพันด้วยอนาคตขององค์กร การดึงความสามารถของพนักงานในแต่ละหน่วยงาน แต่ละตำแหน่ง แต่ละคนออกมาเพื่อประโยชน์ขององค์กร จึงเป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนจะต้องมีพื้นฐานทางทฤษฎีที่แน่นพอ รวมถึงหาเวทีในการฝึกปฏิบัติจริง ทั้งในเชิงลึกเรื่อง HR และเทคนิค วิธีการบริหารจัดการต่าง ๆ จึงจะสามารถนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ตามที่ต้องการ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 277682เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2009 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (51)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ทำไมป้าแดงไม่เห็นเนื้อหาคะเนี่ย ......

สวัสดีค่ะ ป้าแดง

แอมมี่เปิด entry ใหม่ เพื่อให้นักศึกษาเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันค่ะ

แต่ท่านอื่นที่สนใจในหัวข้อนี้ ก็สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อต่อยอดความรู้กันได้ค่ะ ^^

ยินดีรับฟังทุกความเห็นนะคะ

คุณศักดิ์สิทธิ์ ส่ง file มาประเดิม แต่เป็นไฟล์ pdf ยังงงว่าจะเอาขึ้นยังไงดี (ใหม่ต่อ gotoKNOW ค่ะ ^^)

ยังไงถ้าคุณบิ๊กมาอ่าน ก็มาช่วยใส่ความเห็นไว้ที่นี่ก็จะดีมากค่ะ

(โดยคลิกที่ใช้งานตัวจัดการข้อความ ก็จะเป็นเมนู word ให้เราใช้กันง่ายๆ)

มนนิภา ชยาธารรักษ์

นางสาวมนนิภา ชยาธารรักษ์ รหัส 5110627043 ATS06

สวัสดีค่ะอาจารย์แอมมี่ ขอส่งการบ้านค่ะ

ในฐานะของคนที่ทำงานในส่วนของ HR การเรียนรู้ในวันนี้ให้แนวคิดและมุมมองใหม่ ๆ ของ HRM ที่ดีต่อไปในอนาคต ว่า HRM ไม่ได้เป็นแค่เพียงผู้ทำงานเช่น จับผิดคนเข้า-ออก หรือมาทำงานสายแล้วเท่านั้น แต่ HRM ในยุคหน้าต้องพัฒนาตนเองให้ทันยุคทันสมัยตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และไม่เพียงแต่มองแค่ในประเทศเท่านั้น แต่ต้องมองไปถึงโลกของ Globalization คือในโลกของการสื่อสารข้ามชาติที่รวดเร็ว ฉับไว ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ และที่มากไปกว่านั้น HRM ที่ดีต้องมีความรู้อย่างมาก ในการที่จะนำกลยุทธ์ของทั้งในระดับองค์กร, กลยุทธ์การแข่งขัน และระดับหน้าที่มาปรับใช้ให้ได้อย่างลงตัวเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งการได้เรียนรู้ข้อมูลของในแต่ละยุคนั้น ทำให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นว่า โลกไม่ได้หยุดนิ่งเลย แต่พัฒนาต่ออย่างไม่หยุดยั้ง ตั้งแต่เกิดยุคของเกษตรกรรม ตามด้วยยุคอุตสาหกรรม ยุคข้อมูลข่าวสาร และยังตามมาอีกด้วยยุคของสังคมความรู้ และปัจจุบันคือ ยุคแห่งปัญญา ซึ่งในฐานะของ HRM จะต้องเล็งเห็นถึงคุณค่าของการเรียนรู้ และเพิ่มพูนปัญญาให้กับการพัฒนาคนในองค์กรเป็นอย่างมาก เพื่อให้องค์กรคงอยู่ และสามารถเติบโตไปแข่งขันกับบริษัทอื่น ๆ ได้ และในขณะเดียวกันเราจะต้องตอบสนองอย่างไรเพื่อรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรต่อไปได้อีกนานเท่านาน

แต่หากมองเข้าไปในบ้างบริษัทชั้นนำ ที่คิดว่าตนเองมีความแข่งแกร่งในด้านการฝึกอบรมและพัฒนา จากประสบการณ์จะเห็นได้ว่า องค์กรหรือแผนก HR ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนมากเท่าที่ควร เพราะถือว่าสามารถสร้างคนเก่งขึ้นมาแทนอีกเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งการทำเช่นนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้พนักงานไม่มั่นใจในตัวองค์กร และย้ายไปอยู่บริษัทอื่นซึ่งคิดว่าเห็นความสำคัญ และตอบสนองสิ่งที่ตนต้องการได้ดีกว่า HRM ในยุคปัจจุบันจึงต้องมองให้ลึกลงไปถึงความสำคัญของทุนมนุษย์ที่มีว่ามันเหมาะสม และคุ้มค่าหรือไม่กับการต้องลงทุนสร้างคนใหม่เพื่อเป็นคนเก่งให้กับองค์กรต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

สวัสดีค่ะ คุณมนนิภา

15 บรรทัดพอดีจริงๆ (ทำได้ไงเนี่ย ^^)

ได้ใจความและบทสรุปดีมากค่ะ

แต่ขอปรับความเข้าใจนิดเดียวค่ะ คือ ทั่วโลกเพิ่งจะก้าวเข้าสู่สังคมยุคที่ 5 คือยุคแห่งปัญญานะคะ แต่แต่ละประเทศอาจจะมีคนเพียงกลุ่มน้อยๆ 1% ที่มีปัญญาจริงๆ

"อาจารย์เกรียงศักดิ์ได้ยกตัวอย่างว่าปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีประชากรเพียง 1% เท่านั้นที่เป็นสังคมของคลื่นลูกที่ 1 ประชากรถึง 70% นั้นอยู่ในคลื่นลูกที่ 4 และประชากรส่วนที่เหลืออยู่ในสังคมคลื่นลูกที่ 2 และ 3"

จะเห็นว่าแม้แต่ประเทศในกลุ่ม G7 ที่ถือว่าพัฒนาสูงมากนั้น คน 70% ยังอยู่ในคลื่นลูกที่ 4 ที่อาจจะพัฒนาไปสู่สังคมอุดมปัญญาได้เร็วและจำนวนมากซัก 10% ของประชากรสหรัฐอเมริกาทั้งหมด 300 กว่าล้านคน

อ.แอมมี่ค่อนข้างชื่นชมกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมอุดมปัญญาคลื่นลูกที่ 5 ของ มอ.และ gotoKNOW.org เพราะนี่คือตัวอย่างวิธีการสร้าง ba (หรือสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้)(อ่านเพิ่ม KM ของ ศ.โนนากะเองค่ะ) ที่จะช่วยต่อยอดวิชาความรู้ได้เป็นระบบระเบียบและรวดเร็วขึ้น โดยผู้ที่มีความรู้ในหลายๆ ด้านมาแชร์ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่มี ระหว่างกันด้วยความสุภาพ และเคารพในความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย

นศ.และท่านที่สนใจ สามารถลองเข้าอ่านบทความต่างๆ ที่คนใน community ค่อยๆ สร้าง content ในศาสตร์ต่างๆ ที่ตนถนัด + ชอบ ก็จะเข้าใจได้เองว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้กับ KM หรือรูปแบบการสร้าง KM มีลักษณะอย่างไรนะคะ และการที่ท่านแสดงความคิดเห็นด้วยการสรุป การนำไปประยุกต์ใช้ การแสดงออกว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร --> นี่คือ ท่านกำลังสังเคราะห์ และต่อยอดความรู้เพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งถือว่าเป็นการจะช่วยพัฒนาสังคม หรือองค์กรให้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งแล้วค่ะ

รอการบ้านของนักศึกษาท่านอื่นๆ อยู่นะคะ ^^

อุริสสา คล่องกิจเจริญ รหัส 5110627042 ATS06

สวัสดีอาจารย์ แอมมี่ คะ

ส่งงานตามที่ได้รับมอบหมายคะ

ชื่อ อุริสสา คล่องกิจเจริญ รหัส 5110627042 ATS06

สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์ทำให้เกิดมุมมองการเรียนรู้ที่กว้างขึ้นและคิดว่า มีประโยชน์มากที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาตนเองและองค์การให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดโดยเกิดขึ้นในแต่ละยุค เริ่มตั้งแต่ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม ยุคสารสนเทศ ยุคการจัดการความรู้และยุคแห่งปัญหาในอนาคต ซึ่งจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันนี้สังคมในประเทศไทยยังกำลังพัฒนาจากยุคสารสนเทศ เข้าสู่การจัดการความรู้ที่เรียกกันว่า "องค์กรแห่งการเรียนรู้" และสำหรับในอนาคตนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือ HRD จำเป็นต้องเป็นนักคิดในการนำสังคมแห่งปัญญารวมทั้งเรียนรู้และติดตามความเคลื่อนไหวรวมทั้งทราบทิศทางแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงบทบาทที่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรในอนาคต

หลังจากที่ได้เรียน "บทบาทนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษหน้า" ในฐานะนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีความรอบรู้และความสามารถหลายๆ ด้านไม่ว่าจะต้องเป็นคู่คิดทางกลยุทธ์ร่วมกับผู้บริหารในด้านการวางแผนวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กรร่วมกัน และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ HRD จะ้ต้องมีการพัฒนาตนเองไปพร้อม ๆ กับบุคลากรในการขับเคลื่อนองค์กรร่วมกันเพื่อนำไปสู่เป้าหมายขององค์กร นอกจากนี้นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากร ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ากับองค์กรมากที่สุด โดยจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนให้กับองค์กร ในขณะเดียวกันนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องธำรงรักษาบุคลากรอัจฉริยะ หรือคนเก่งเพื่อสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นในองค์กรต่อไปในทศวรรษหน้า

สรุปว่า บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการวางแผน วิเคราะห์สถานการณ์รอบด้านเหมือนอย่างที่ซุนวูกล่าวไว้ว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง" คงจะเป็นคำพูดที่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนบทบาทให้ทันกับยุคแห่งสังคมอุดมปัญญาในโลกที่ไร้พรมแดน

บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการวางแผน วิเคราะห์สถานการณ์รอบด้าน ...และจะต้องตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนบทบาทให้ทันกับยุคแห่งสังคมอุดมปัญญาในโลกที่ไร้พรมแดน

สรุปได้ดีมากค่ะ คุณอุริสสา ^^

สวัสดีค่ะคุณครูเอมมี่

ขอสารภาพตามตรงว่าเข้าห้องเรียนช้ามากมาย ... แต่ว่าถึงจะช้า แต่ความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ มากมายเหลือเกินค่ะ ;)

สำหรับสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในวันนี้คือ อ.สวยค่ะ เอ๊ย !! ไม่ใช่ (สวยนั่นอะชัวร์อยู่แล้ว) แต่ที่แน่ ๆ กว่าอีก คือ ความรู้ที่ได้รับสามารถต่อยอดความคิดที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น สังคม เศรษฐกิจ การเมือง หรืออื่น ๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เราในฐานะของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควรจะต้องศึกษาและก้าวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เราจะทำอย่างไรล่ะ? ถึงจะตอบโจทย์แรงงานในอนาคตข้างหน้า ซึ่งไม่เหมือนกับแรงงานในรุ่นก่อน ๆ อีกแล้ว เพราะเด็ก รุ่น Gen Y (เอ..ก็รุ่นเราเน๊าะ)กำลังจะก้าวเข้าสู่องค์กรอย่างมากมาย Gen นี้เค้าเกิดมาพร้อมกับ การ Chat MSN, Facebook, 3G ในขณะที่ Gen Y กำลังจะเข้าสู่องค์กร Baby bloomer และ Gen X ก็กำลังจะหายไปจากองค์กรเช่นกัน เราควรจะทำอย่างไรล่ะกับคนกลุ่มนี้ “การจัดการองค์ความรู้” (Knowledge Management) ในองค์กรถือเป็นเรื่องที่น่าคิดนะ จัดการความรู้ รู้แค่ไหน รู้ถึงระดับนำไปใช้ หรือ ระดับการปรับปรุง หรือ ระดับนำไปบูรณาการได้

ถ้าในเมื่อคนรุ่นก่อน ๆ มีทั้งทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ สำหรับคนรุ่นใหม่ ๆ ก็มีทั้งความรวดเร็วของเทคโนโลยี เราก็นำความรู้คนรุ่นเก่ามาผนวกกับเทคโนโลยีของคนรู่น ใหม่ ๆ เราก็จะได้ การเก็บรักษาความรู้ขององค์กรให้อยู่กับองค์กร หากใครต้องการความรู้ใดๆ ที่ตนไม่ชำนาญ หรือ อยากรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เราก็แค่เข้าไปศึกษาด้วยตนเอง (Self learning) แค่นั้นก็ได้ ทั้งนี้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษหน้า บางครั้งเราอาจจะแค่พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรให้ทันสมัย และพัฒนาพนักงานในองค์กรในการเรียนรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเท่านั้นก็ได้ ส่วนงาน Routine อื่น ๆ เราอาจจะกระจายออกไปให้ Outsource แต่ถ้ามองในเรื่องของขวัญและกำลังใจพนักงานแล้ว HR อาจต้องหาในเรื่องของการทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible time) เข้ากี่โมงก็ได้ ก็นับชั่วโมงการทำงานกันไปให้ครบ หรือจัดสวัสดิการแบบพนักงานไปเลือกShop เอาตามวงเงินที่ให้ไว้ อาจจะตอบโจทย์แรงงานในทศวรรษหน้าก็ได้น๊า (เพราะเป็นหนี่ง Gen Y ที่ชอบการทำงานแบบยืดหยุ่น จัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่น อยากได้อะไรก็เลือกเอาให้เหมาะกับตัวเอง)

ขอบคุณมากค่ะ P  คุณ tanapol kortana ที่เข้ามาเยี่ยมชม

แนวคิดของคุณ suparat buasombat(Mhon) ID 5110627049 ก็น่าสนใจมากค่ะ ที่บอกว่า "Gen Y ที่ชอบการทำงานแบบยืดหยุ่น จัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่น อยากได้อะไรก็เลือกเอาให้เหมาะกับตัวเอง"

ล้ำยุคจริงๆ จ้า ^^

แล้วท่านอื่นว่าอย่างไรกันบ้างคะ

เรียนอาจารย์ dr-ammy

ผมขอส่งhttp://gotoknow.org/blog/tanapol-human-tree มาให้ลดลองดู นะครับ

การสอนหนังสือแบบนี้เป็นความคิดที่ดีมาก ๆ เลยนะครับ

ด้วยความนับถือ

ธนพล ก่อฐานะ

นางสาว ปรัชจนีย์ จีระสวัสดิ์ 5110627033

ในการเรียนวันนี้สนุกมาก ตื่นเต้นและ ประทับใจ กับเรื่องที่อาจารย์นำมาสอนให้เป็นอย่างมากค่ะ พร้อมกับรู้สึกว่าคิดไม่ผิดที่เลือกเรียนสาขานี้ และคณะนี้ มหาวิทยาลัยนี้ จริงๆแล้วงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นงานที่น่าสนใจและใช้ความรู้มากมายหลายด้านมาก และมันยิ่งทำให้รู้สึกตื่นเต้นว่าที่ได้ค้นพบสัจธรรมว่า “ การที่เราจะพัฒนาคนอื่นถ้าเราไม่เริ่มจากการพัฒนาตนเองคงทำได้ลำบาก “ เพราะโลกเปลี่นแปลงอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดดและไร้พรมแดนคนที่สามารถอยู่รอดได้ในสนามแข่งขันทางธุรกิจคือคนที่พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้เป็นอย่างดี บางครั้งหลายๆองค์กรโดยเฉพาะองค์กรระดับกลางและเป็นองค์กรที่มีเจ้าของเป็นคนไทย ยังไม่ค่อยมองเรื่องงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นงานที่สำคัญหรือเป็น CORE SUPPORT ยังคงมองเป็นงาน SUPPORT มากกว่าซึ่งจากที่อาจารย์บอกว่ายุคนี้เป็นยุคแห่งปัญญา องค์กรที่มีคนเก่งและรักษาไว้ได้ถึงจะสามารถแข่งขันได้ในสนามนี้ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะถ้าเรามีปัญญาเป็นทรัพยากรเราคงไม่ใต้องใช้ เทคโนโลยี มาตรฐาน เครื่องมือ ระบบการจัดการ ต่างๆของต่างชาติ อย่างไม่มีประสิทธิผลและมีราคาแพงมาก ต้องบอกก่อนนะค่ะของเขาดีจริงๆแต่ต้องถามก่อนนะค่ะว่าเข้าใจเค้าจริงๆหรือแค่ทำตามเค้า ทุกวันนี้เราเดินตามคนอื่นจนหามาตรฐานขององค์กรของตนเองไม่เจอ ขอออกตัวก่อนนะค่ะอาจารย์ทุกวันนี้ไม่ได้ทำงานในหน่วยงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นะค่ะ แต่เป็นผู้บังคับบัญชาในสายงาน ซึ่งก็จะบอกไม่ได้ว่าไม่รู้จักงานด้านพัฒนาคนคงไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะในหน้าที่ของหัวหน้างาน เราต้องพัฒนาตนเองรวมทั้งผู้ใต้บังคบบัญชา ดังนั้นการที่เราพัฒนาบุคลากร และรักษาคนเก่งให้อยู่ในองค์กรเรา หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์จึงต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญและต้องเร่งพัฒนาหน่วยงานของตนเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้บริหารและหน่วยงานต่างๆในองค์กรต่อไปค่ะ

เรียนอาจารย์ dr-ammy

ผมจะรีบอธิบายในตอนต่อ ๆ ไปนะครับ(ต้องขอโทษทีผมจะทะยอนเขียนเป็นตอน ๆ เพราะการเขียนแต่ละครั้งมีเวลาจำกัด เพราะทำงานประจำอยู่ด้วยจะเขียนตอนว่างแต่ละตอนผมใช้เวลาประมาณ 1ชม.ในการเขียนนะครับ

แต่ผมได้ส่งหัวข้อมาให้ก่อนนะครับ

ทุน 8K's คือ

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ พฤติกรรม

ทุน 5K's คือ

1. Creative Capital

2. Knowledge Capital

3. Innovation Capital

4. Emotional Capital

5. Culture Capital

สำหรับ 4L's คือ

Learning Methodology

Learning Environment

Learning Opportunities

Learning Communities

ผมจะรีบอธิบายโดยเร็วที่สุดนะครับ

ขอบคุณมาก ๆ ๆ ๆ สำหรับคำแนะนำนะครับ

ผมรู้สึกดีใจอย่างมาก ที่ได้เห็นความตั้งใจสอนลูกศิษย์ของอาจารย์ และดีใจมากขึ้นที่เห็นลูกศิตย์ได้แสดงออกและตอบรับครับ

ด้วยความนับถือ

ธนพล ก่อฐานะ

ท่านอาจารย์ธนพลคะ

ขอขอบพระคุณมากค่ะ ที่ได้ส่งรายละเอียดทางด้านทฤษฎีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ทุนมนุษย์) ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทฤษฎี ทุน 8K's, ทุน 5K's, และ 4L's ค่ะ

ท่านอื่นที่สนใจ สามารถหาอ่านเพิ่มเติมที่บล็อคของท่าน ที่นี่

http://gotoknow.org/blog/chirakm/toc

  • คุณปรัชจนีย์ จีระสวัสดิ์
  • ถูกต้องที่สุดค่ะ ว่านัก HR ที่ดี ควรจะต้องรู้จักพัฒนาตัวเองก่อนที่จะไปพัฒนาคนอื่นๆ นะคะ
  • และเพราะการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดนี่แหละค่ะ ที่ทำให้เราต้องเตรียมการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
  • อ.แอมมี่ชอบคำพูดประโยคนี้ที่สุดค่ะ "ถ้าเรามีปัญญาเป็นทรัพยากรเราคงไม่ใต้องใช้ เทคโนโลยี มาตรฐาน เครื่องมือ ระบบการจัดการ ต่างๆของต่างชาติ อย่างไม่มีประสิทธิผลและมีราคาแพงมาก"
  • แล้วเจอกันวันเสาร์ค่ะ ^^

 

พิมภากร วรตินันท์ ID No. 5110627053

เรียน ท่านอ.ดร.แอมมี่ (ที่สวยกว่านศ.นิดนึง)

ขออนุญาตส่งการบ้านตามที่ได้รับมอบหมายค่ะ

เนื่องจากปกติไม่เคยได้สัมผัสกับงานด้าน HR มาก่อนเลย แต่จากการที่ได้ร่ำเรียนที่นิด้าแห่งนี้มาเป็นระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับการที่ได้รับความรู้จากท่านอ.แอมมี่มา 3 ชั่วโมงนี้ จึงทำให้รู้สึกว่าได้ความรู้เกี่ยวกับ HR เพิ่มเติมมากมาย ซึ่งโดยสายงานแล้วมุ่งเน้นที่การบริหารจัดการฝึกอบรมเป็นหลักค่ะ ซึ่งเมื่อได้ฟังการบรรยายจากอ.แอมมี่แล้วก็ทำให้รู้สึกว่าถึงจะไม่ได้ทำงานด้าน HR แต่เรื่องที่เรียนนี้ไม่ไกลตัวเลย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีหรือวิวัฒนาการต่างๆ ลองนั่งนึกย้อนดูสมัยเด็กซึ่งคิดว่าตัวเองน่าจะอยู่ในรุ่นที่คาบเกี่ยวระหว่าง GEN X และ GEN Y ซึ่งนึกแล้วก็น่าตกใจเพราะการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก โดยที่เราไม่ทันรู้ตัว กว่าจะรู้ตัวอีกครั้งก็ได้รู้ว่าตัวเราเองก็มีการพัฒนาไปไม่น้อย จากเด็กที่ไม่รู้เรื่องของเทคโนโลยีมาก่อน จำได้ว่าเรียนคอมพิวเตอร์ครั้งแรกตอนสมัยมัธยมซึ่งตอนนั้นรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยาก แต่ปัจจุบันเรากลับสามารถใช้มันได้อย่างคล่องแคล่วประหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่ 5 สำหรับชีวิตไปเสียแล้ว เมื่อนึกถึงงานของตัวเองก็นึกถึงการพัฒนาว่าต่อไปในฐานะที่เราเป็นนักฝึกอบรมควรจะมีการพัฒนาอย่างไรบ้างเพราะนักฝึกอบรมเปรียบเสมือนผู้ให้ความรู้กับคนทั้งในและนอกองค์กร ดังนั้นนักฝึกอบรมจึงควรพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุดให้แก่ผู้เรียน หรือควรจะพัฒนาตนเองให้ก้าวให้ไกลกว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 1 ก้าว ซึ่งเราอาจจะต้องนำความรู้เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงเข้ามาใช้เป็นความรู้เพิ่มเติมในการทำงานอีกด้วย ซึ่งจากที่เรียนจากอ.แอมมี่นี้ทำให้คิดว่าจะทำอย่างไรให้การฝึกอบรมสามารถก้าวสู่คลื่นลูกที่ 5 ได้ และคิดว่าวิธีการขอท่านอ.แอมมี่นี้เป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่คลื่นลูกที่ 5 แล้วค่ะ เพราะเราสามารถแสดงความคิดเห็น เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราเริ่มก้าวเข้าสู่ยุคแห่งปัญญาแล้ว แล้วตัวเราเองล่ะพร้อมที่ก้าวให้ทันแล้วหรือยัง (คิดว่าจะนำความรู้นี้ไปพัฒนาการฝึกอบรมของตัวเองให้เข้าสู่ยุคแห่งปัญญาให้ได้ค่ะ)

โลกใบนี้ไม่เคยหยุดนิ่ง ดังนั้น การที่จะมองผ่านไปยังศตวรรษ (100 ปี) หรือแม้แต่เพียงทศวรรษ (10 ปี) ข้างหน้านั้น จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ณ วันนี้ และทุก ๆ วันนับจากวันนี้

ในฐานะนัก HR (มืออาชีพ) สิ่งสำคัญลำดับแรกคือ การยอมรับและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะสิ่งที่นัก HR จะต้องมีและจะต้องเป็นนั้น คือการรู้เท่าทัน เพื่อนำไปสู่การเป็น Change Agent แน่นอนว่านัก HR จะต้องเป็นผู้ตระหนักและรู้เท่าทันโลก ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ ศึกษา และค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ซึ่งจากการเรียนในวันเสาร์ที่ผ่านมานั้น จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 ประการนั้น เป็นสิ่งที่บอกนัก HR ว่า “อะไร” ที่เปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมีผลกระทบ “อย่างไร” ต่อโลก เพราะเมื่อโลก “เปลี่ยน” คนก็ “เปลี่ยน” ฉะนั้นสิ่งที่ HR จะต้องเตรียมพร้อมนั่นก็คือ การบริหารและพัฒนาคนในองค์การให้เหมาะและทันต่อยุคสมัย ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดที่นัก HR จะต้องจัดการคือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ทั้งระยะสั้น กลาง และระยะยาว รวมทั้งต้องตรวจสอบอยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนในองค์การมองไปข้างหน้า พร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสม และเตรียมการบริหารและพัฒนาพนักงานให้เหมาะกับความหลากหลายของคนที่อยู่ร่วมกันในองค์การทั้งในเรื่องของ เพศ วัย เชื้อชาติ เพราะลักษณะของการทำงานอาจหมดยุคสมัยของ Work hard – Play hard แต่กลายมาเป็น Work-Rest-Play แทน

ดังนั้น นัก HR ต้องหาวิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในการรักษาและพัฒนาคนในองค์การ เพื่อตอบโจทย์องค์การที่เป็นยุคของการแสวงหากำไรแต่ลดต้นทุน แต่สามารถนำทางพนักงานให้มุ่งไปสู่เป้าหมายหลักขององค์การร่วมกัน

วราภรณ์ เสพมงคลเลิศ 5110627032

เรียน ท่านอ.ดร.แอมมี่

วราภรณ์ เสพมงคลเลิศ 5110627032 ATS06

ส่งงานที่ได้รับมอบหมายค่ะ (เพื่อนบอกมาอีกทีค่ะ)

ขอสวัสดีอ.ดร.แอมมี่อย่างเป็นทางการก่อนค่ะ เนื่องจากวันเสาร์ที่ผ่านมาไม่ได้เข้าเรียน(เพราะป่วยกลัวเดี๋ยวเพื่อนไม่กล้านั่งด้วยค่ะ) แต่เพื่อนเล่าว่าสนุกและชอบมาก โดยส่วนตัวแล้วไม่เคยมีพื้นฐานด้าน HR เลยแม้แต่นิดเดียว(ขอออกตัวอย่างแรงค่ะ) พอจบก็มาทำงานต่อของที่บ้าน เป็นงานทั่วไปไม่ใหญ่ไม่เล็ก มีพนักงานให้คุมบ้างพอประมาณ ยังไม่เป็นระบบมากมายเหมือนบริษัทใหญ่ชั้นนำทั่วไป พอทำงานดูงานไปได้สักพักก็เลยสนใจมาเรียนที่คณะนี้ เพราะส่วนตัวเท่าที่เรามององค์กรของที่บ้านเรายังมีความรู้สึกว่ายังขาดอะไรไป นั้นก็คือการบริหารและพัฒนาคนในองค์กรและองค์กรที่เป็นระบบเป็นหลักทฤษฏีอย่างแท้จริงที่จะพลักดันให้องค์กรเราก้าวไปข้างหน้าได้ตลอด เพราะของเดิมจะเป็นคนอาวุโสในองค์กรรวมทั้งเบื้องบน(คุณแม่นั้นเอง) ท่านบริหารอยู่ก็จัดว่าดี(ไม่งั้นคงไม่มีให้เราดำเนินงานต่อ)แต่เป็นในลักษณะรุ่นเก่า ก็เลยตัดสินใจมาหาความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นระบบระเบียบ เป็นหลักทฤษฎีอย่างแท้จริง ด้านการบริหารและพัฒนาทัพยากรมนุษย์ ในความเข้าใจส่วนตัวเกี่ยวกับ HR ก็จะเป็นแค่ดูเวลาเข้า-ออกงานของพนักงาน ดูงานดูผลตอบแทนของผลงานต่อบุคคล ดูเกี่ยวกับสวัสดิการ แต่พอได้มาเรียนที่นิด้าแล้ว มันมีมากกว่านั้น(มากกว่ามากมายค่ะ) ยอมรับว่ามาเรียนแล้วเก็บความรู้ใหม่ๆ กลับไปอย่างเดียวเลย(จนบางครั้งไม่สามารถออกความคิดเห็นอะไรได้ จนเพื่อนลืมว่าเรานั่งอยู่ด้วย อิอิอิ เพราะส่วนตัวไม่ได้มีประสบการณ์อะไรเหมือนเพื่อนเท่าไหร่)ถึงจะไม่ได้เข้าเรียนแต่ได้เข้ามาอ่านบทความโดยสรุปที่อ.แอมมี่ได้ทำไว้ในเว็บและไฟล์ที่เพื่อนแนบให้ดู รู้สึกเสียดายที่ไม่ได้เข้าเรียนวันนั้นเพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก(แต่ครั้งหน้ายังมีค่ะ)พออ่านจบก็รู้สึกอีกแล้วว่ามันเป็นความรู้ใหม่ และเป็นมุมมองใหม่(จิงๆค่ะ)ยิ่งช่วงเนื้อหาของ Global Trend เพื่อการเข้าใจแนวโน้มอนาคต รวมทั้งเพื่อนำไปวางแผนการบริหารการพัฒนามนุษย์ในอนาคต แนวคิดจากงานวิจัยของ Euromonitor International ที่ได้ทำนายเทรนโลกไว้ พออ่านจบเริ่มมองภาพทรัพยากรณ์มนุษย์ในองค์กรของตัวเองเห็นภาพลางๆ เลยค่ะ อันที่เป็นข้อ3 Work-Rest-Play8-8-8(งาน-พัก-เล่น)คนสมัยหน้าจะเริ่มต้องการทำงานแค่ 8 ชั่วโมง พักอีก 8 ชั่วโมง ส่วนเวลาที่เหลืออีก 8 ชั่วโมงต้องการใช้ในการสันทนาการ เด็กรุ่นใหม่จะไม่ต้องการทำงานเสาร์-อาทิตย์ เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ(ถ้าไม่จำเป็น)เนื้อหาอันนี้โดนใจสุดๆค่ะ หายสงสัยเลยว่าเพราะอะไรการทำงานของคนรุ่นใหม่(Y)และคนรุ่นเก่า(X)ทำไมถึงต่างกัน รวมทั้ง Generational Diversification(ช่องว่างระหว่างรุ่น)อ่านเนื้อหาที่อ.แอมมี่ สรุปเหมือนเป็นมุมมองใหม่อีกอันที่น่าจดจำลงในกล่องความรู้ด้าน HR ของตัวเองที่ยังไม่ค่อยเต็มกล่องนี้มากมายเลยค่ะ และยังสามารถทำความเข้าใจและนำไปประยุกต์และพัฒนาสิ่งต่างๆ ได้มาก เพื่อที่จะให้ไปสู่คลื่นลูกที่ 4 ค่ะ คือ ยุคการจัดการความรู้(KM)มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ นำความเชี่ยวชาญของแต่ละคนมาช่วยในการแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อนำพาองค์กรให้มั่นคง และก้าวสู่คลื่นลูกต่อไป อาจจะช้าหน่อยแต่น่าจะไปได้ดีค่ะ อิอิอิ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • คุณพิมภากร วรตินันท์ ID No. 5110627053
  • คุณPiyanart                       5110627048
  • คุณวราภรณ์ เสพมงคลเลิศ     5110627032
  • ยินดีมากค่ะ ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น & ให้ feedback เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในหัวข้อนี้
  • ดีใจที่ทุกท่านเข้าใจในเรื่องความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง และสามารถมองเห็นแนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคหน้า (ไม่ว่าจะกี่ปีข้างหน้า 10, 20, 50, 100 ปี) ว่าจะดำเนินไปในลักษณะอย่างไร
  • แล้วเจอกันวันเสาร์นะคะ ^^

สวัสดีค่ะอาจารย์ เอมมี่

วิธีการสื่อสารทางนี้ยอดเยี่ยมเลยค่ะอาจารย์ มีการแลกเปลี่ยนความรู้แบบทันสมัยดีมากและมีผู้รู้คอยเพิ่มเติมและให้ความคิดเห็น ขอสารภาพนะค่ะ ปรัชจนีย์ หรือเพื่อนๆเรียกว่า พัชชา เป็นคนที่มีความคิดนะค่ะอาจารย์ แต่ไม่รู้จะไปแสดงออกที่ไหน (อึดอัดมาก) ขอคุณที่ให้ได้แสดงออกนะค่ะ

ปล. ขอบคุณอาจารย์จ๋าที่ทำให้ได้พบกับอาจารย์ค่ะ ยิ้ววววววว

บอมบ์ -พัชชา

กฤษณาวลัย ศิริไพบูลย์ รหัส นศ. 5110627037

เรียน ท่านอาจารย์อิศราวดี ชำนาญกิจ

ทำการบ้านช้านิดหน่อยค่ะ จากการได้เข้าเรียนในวันเสาร์ที่ผ่านมา ความรู้ที่ได้รับคุ้มค่ามาก

ในฐานะที่ทำงานด้านบุคคลของภาคราชการ หรือตอนนี้ปรับเปลี่ยนใหม่ให้ทันสถานการณ์ปัจจุบันเรียกงานด้านทรัพยากรมนุษย์ ในฐานะ ที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบงาน HR ขององค์กร ควรรู้เรื่อง และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดในข้างหน้า ตามที่ท่านอาจารย์ได้ให้การชี้แนะ เรื่องต่าง ๆไว้ นั้น สามารถปรับแนวคิดใหม่ๆนำมาปรับใช้กับตนเอง องค์กร เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว และ บุคคลอื่น ได้เป็นอย่างดีที่สุด ได้ทั้งความรู้ พร้อมต้องพัฒนาการเสาะแสวงหาความรู้และวิธิการปฏิบัติเพิ่มขึ้นให้กับตนเอง จะทำให้ตนพร้อมสำหรับในอนาคตข้างหน้า แม้การส่งการบ้านก็ต้องฝึกปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงานของตนเองแล้วค่ะ

คุ้มค่าในการเข้าเรียนวิชานี้ คุ้มค่าในการสมัครเข้าเรียนที่นิด้า แม้จะเหนื่อยน้อยบ้างมากบ้างก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป เราจะเรียกกับมาไม่ได้นอกจากความทรงจำที่เหลืออยู่ พร้อมความรู้และประสบการณ์

ขอขอบพระคุณ

สวัสดีค่ะ อาจารย์แอมมี่

นางสาวชนมนี ถวิลกานนท์ เลขที่5110627060 นักศึกษาATs 06

อาจารย์แอมมี่สอนแล้วทำให้รู้สึกว่าเนื้อหามีความสนุก ความสด และความแปลกใหม่เพื่อนักศึกษาจะได้นำความรู้ไปพัฒนาใช้ในสายงาน และก็ไม่ผิดหวังค่ะ รู้สึกว่าเป็นความรู้ที่ดี อุดมไปด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ด้านความรู้ ความสามารถ วัฒนธรรม ที่ยังมีอีกมุมมองหนึ่ง ที่เราคนไทยยังไม่เคยสัมผัส หรืออาจจะเคยสัมผัสแต่แทบจะลืมมันไปในบัดดล ยิ่งตอนที่อาจารย์ถามว่า คลื่นลูกที่5 คืออะไร ถ้าถามคนไทยทุกคนก็จะตอบไปตามความรู้สึกของตนเองโดยที่เรามักจะพบเห็นหรือได้รับฟังจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์บ้านเรา มีแต่คนพูดติดปาก คลื่นลูกที่5 แล้วมันคืออะไร ? อืม นั่นซิ มันคืออะไร ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนภาษาอังกฤษที่อาจารย์ได้เปรียบเทียบนั่นแหละค่ะ เพราะคนไทยเป็นชนชั้นที่รับรู้ทุกๆเรื่องเก็บมาคิดทุกๆอย่างแต่ไม่เคยที่จะศึกษาและหยั่งรากให้ลึกลงไปว่าจริงๆแล้วเรื่องนี้คืออะไร มีความสำคัญแค่ไหน(หนูว่าอาจารย์เพิ่งกลับมาน่าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน) คือเรารับเอาวัฒนธรรมทุกๆชาติมาแต่ไม่กลั่นกรอง หรือหาแนวความคิดทฤษฎีที่เป็นหัวใจได้เลยสักครั้ง นี่จึงเป็นที่มาว่า ทำไมคนไทยจึงเป็นคนที่ชอบพูดคำว่า"ไม่เป็นไร" แล้วก็เป็นชาติเดียวในโลกนี้ที่ทั่วโลกเห็นสิ่งที่ดีงามทั้งธรรมชาติ ทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ แต่เรากลับทำลายด้วยมือของเราเหมือนที่เค้าว่าไว้ว่า "ใกล้เกลือกินด่าง" ที่พูดมาทั้งหมดนี้เพราะว่าได้มีโอกาสไปสอบถามผู้รู้มา ซึ่งเป็นผู้บริหารใหญ่ของสายการบินใหม่ล่าสุดที่เปิดตัวในไทยเค้าก็ถามเราว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษหน้า มันจะสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้จริงหรือ ในเมื่อคนทั้งองค์การก็มีวัฒนธรรม มีความรู้ความสามารถ นำเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามาใช้ในการทำงาน ในชีวิตประจำวัน แต่ไม่เคยเล็งเห็นว่าการพัฒนาคนจะทำได้อย่างที่พูด เพราะจิตใจของคนเรามันสามารถแปรเปลี่ยนไปได้ตามกาลเวลา ตามยุคสมัยที่ต้องแข่งขันกันแค่แก้ปัญหาไปวันๆก็หมดเวลาทำงานแล้ว เอาตัวรอดไปวันๆ ทำเงินเดือน หักขาด-ลา-ป่วย-สาย ก็หมดเวลาของHRแล้ว การพูดคุยในวันนั้น ทำให้หนูรับทราบว่าโลกของการทำงานยังคงสวนทางกันโลกทางด้านความรู้และทฤษฎีอยู่มาก และหนูก็อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวกระโดดในโลกวิชาการทางด้านHR เพื่อให้คนไทยได้เล็งเห็นความสำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ค่ะ

ดังนั้น เนื้อหาของอาจารย์ในวันเสาร์หน้านี้น่าจะตอบคำถามในใจของหนูได้ว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในบทบาทหน้าที่ทางด้านHR เพื่อเป็นคนรุ่นใหม่ ในยุคGeneration Y ที่สามารถกลั่นกรองความคิดให้ตกผลึกและสามารถที่จะให้คำแนะนำรวมถึงลดปัญหาของGenerational Diversification(ช่องว่างระหว่างรุ่น)ได้จนสามารถนำกระบวนการความรู้ต่างๆทำลายความเหลื่อมล้ำทางด้านอายุเพื่อหลอมรวมองค์การให้เป็นหนึ่งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ค่ะ

ศิโรวรรดิ์ พุ่มกลั่น ID 5010627047

นางสาวศิโรวรรดิ์ พุ่มกลั่น รหัส 5010627047 ATS05

สวัสดีค่ะ อาจารย์แอมมี่

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ใน class เรียนครั้งนี้ เนื่องจากตนเองไม่ได้ทำงานด้าน HR และหน่วยงานที่ทำอยู่ก็ห่างไกลจากวงการ HR เพราะเป็นหน่วยงานบริการระดับรากหญ้าของกระทรวงสาธารณสุข มีบุคลากร 6 คน แต่เมื่ออาจารย์พูดถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เรานึกถึงแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่เน้นคนเป็นจุดศูนย์กลาง

ความรู้ที่เราได้รับในวันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของเราได้ ทั้งเพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร และบริการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม ยุคสารสนเทศ ยุคการจัดการความรู้และยุคแห่งปัญญาในอนาคต ปัจจุบันสังคมไทยยังคงอยู่ในยุคสารสนเทศ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่ยุคการจัดการความรู้

การนำความรู้ไปใช้ ขนาดและความมั่นคงขององค์กร องค์กรของเราเป็นหน่วยงานราชการมีการพัฒนาที่ตรงข้ามกับองค์กรเอกชน องค์กรของเรามีการเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อยๆ จากบุคลากร 3 คนเป็น 6 คนและมีแผนพัฒนาให้โตขึ้นเรื่อยๆ มีกรอบขยายเป็น 12 คนในปีหน้า และพัฒนาเป็นโรงพยาบาลระดับตำบล บุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้ตลอดเวลาโดยการเข้ารับการฝึกอบรม มีการแข่งขันการบริการเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดและการซื้อใจประชาชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีกลยุทธ์สร้างขวัญและกำลังใจด้วยโบนัสจากกระทรวงสาธารณสุข

การมองดู นัก HR ในหน่วยงานแม่ของเรา คิดว่าต้องพัฒนาอีกมาก เพราะกรอบขององค์กรสาธารณสุขไม่เปิดโอกาสให้นัก HR ได้แสดงความสามารถ เป็นการทำงานเพื่อสนองนโยบาย และงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น

สวัสดีค่ะ

  • คุณบอมบ์ - พัดชา  - ต้องหาเวทีให้ได้แสดงออกเยอะๆแล้วจ้า
  • คุณกฤษณาวลัย ศิริไพบูลย์ รหัส นศ. 5110627037
  • คุณชนมนี ถวิลกานนท์ เลขที่5110627060
  • คุณศิโรวรรดิ์ พุ่มกลั่น รหัส 5010627047
  • ขอบคุณที่ได้แสดงความคิดเห็นไว้นะคะ
  • อ.แอมมี่  หวังเพียงให้เราเริ่มต้นง่ายๆ ที่การพัฒนาตัวเองก่อนอื่นเลยค่ะ 
  • เมื่อตัวเราเข้าใจ  เราจะสามารถเป็น change agent ช่วยให้คนรอบข้างเข้าใจ แล้วมันจะขยายวงออกไปเองอย่างรวดเร็ว (ตามกฎ 6 degree - คนทั่วโลกห่างกันแค่ 6 ช่วงเพื่อนเท่านั้นเอง  ลองทดลองดูค่ะ) ^^
นางสาววรมน ปัณณราช

วรมน ปัณณราช รหัส 5110627057

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์แอมมี่ สำหรับการเรียนรู้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ในมุมมองของตนเองคิดว่าระบบงานด้าน HR ต้องการ HR Leader ที่รู้ลึก สามารถประยุกต์และนำมาปฏิบัติได้จริง เรียกว่าสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบงาน HR ได้ด้วย คือ อาจมีการวางโครงสร้าง องค์ประกอบต่างๆให้เหมาะสม มีการคิดวางแผน การกำหนดทิศทางและควบคุมกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานที่ Link กับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและองค์กร และที่สำคัญต้องทำให้พนักงานทุกคนได้รับรู้ เข้าใจได้ และเกิดความร่วมมือกันในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายหลักร่วมกัน ผู้ที่ทำงานด้าน HR จะต้องรู้เรื่องสภาพแวดล้อมต่างๆ กว้างขึ้น (ต้องพยายามรู้ 360 องศา) มีมุมมองในการมองภาพ แนวโน้มและวางแผนงานในอนาคตได้เฉียบคม ควรมีทั้งความเป็นวิชาการ มืออาชีพและเป็นนักปฏิบัติด้าน HR ด้วย ต้องเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทุกเวลา และเทรนของโลกซึ่งขณะนี้มีคลื่นถึง 5 ลูก (ซึ่ง HR จะสามารถพัฒนาคนได้ยังไงและคนจะมีความรู้สึกอยากพัฒนาตนเองให้ก้าวไปคลื่นลูกที่ 5 เมื่อไหร่) ต่อไปการบริหาร HR จะไม่ใช่การทำงานตามหน้าที่อย่างเดียวแต่จะต้องเป็นเหมือนที่ปรึกษาในการเพิ่มความสามารถให้เกิดขึ้นกับองค์กร นอกจากนั้น HR ควรทำระบบการวัดประสิทธิภาพของทุนมนุษย์และการวัดประสิทธิภาพ HR ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องถูกวัดผลในเรื่องของการผลักดันธุรกิจ แทนที่จะเป็นการวัดผลในเรื่องของการทำงานประจำวัน และการวัดผลลัพธ์ที่ได้และผลสำเร็จด้าน HR ควรสามารถแสดงออกมาในรูปของตัวเงินหรือควรวัดออกมาเป็นตัวเลขให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม การที่จะพัฒนาให้องค์กรเติบโตได้ องค์กรจะต้องรู้ในเรื่องธุรกิจต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภคที่เริ่มจะมีแนวโน้มที่ชอบสินค้าที่ลักษณะเฉพาะตัว มีเอกลักษณ์ มี Design มากขึ้น องค์กรจะต้องปฏิบัติและมีความสามารถซึ่งคู่แข่งไม่อาจจะทำตามหรือเลียนแบบได้ ต่อไปตลาดจะเต็มไปด้วยคู่แข่งมากขึ้นและมีต้นทุนที่ต่ำมากกว่า ดังนั้น องค์กรที่ก้าวไกลต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ดีกว่าหรือมีคนที่เก่งกว่าคู่แข่ง แต่สิ่งสำคัญ HR ก็ควรจะปลูกฝังค่านิยม วัมนธรรมและเลือกคนที่มีคุณธรรมมากกว่าเข้ามาทำงานด้วย และควรมีระบบสื่อสารหลายรูปแบบเพื่อให้ทุกคนมีส่วนรับรู้ระหว่างพนักงานได้เร็วขึ้น มีการใช้ (Human Resource Information System:HRIS )มากขึ้นและส่งเสริมให้คนในองค์กรรู้จักคิด วิเคราะห์และอบรมพัฒนาเรื่องต่างๆที่เป็นจุดอ่อนของแต่ละคน โดยเฉพาะการฝึกอบรมและพัฒนาควรจะพัฒนาให้พนักงานได้เรียนรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตเต็มรูปแบบ โดยองค์กรจะเป็นผู้จัดการดำเนินการและสนับสนุนพนักงานอย่างเต็มที่ และต้องสร้างรางวัลจูงใจเพื่อรักษาคนดี คนเก่ง มีคุณธรรมให้อยู่กับองค์กรแต่สิ่งที่ทุกองค์กรจะต้องมีการพัฒนามากขึ้นกว่าเดิมคือเรื่องการพัฒนาให้พนักงานในองค์การมีศักยภาพการเป็นผู้นำ รู้จักคิด วิเคราะห์มากกว่าการปฏิบัติที่รวดเร็วเพียงอย่างเดียว เพราะมันจะได้งานที่เร็วแต่อาจขาดการวิเคราะห์หรือต่อยอดผลงานใดๆได้ นอกจากนั้นจะต้องเข้าใจในแนวคิดและ Perspective ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ต้องสามารถจัดการกับคนที่มีความแตกต่างกันให้นำความโดดเด่นที่แตกต่างกันในแต่ละคนมาใช้ร่วมกันในการทำงานให้มีประสิทธิภาพค่ะ

น.ส. ปาลิดา เรือนวงค์ ID 5110627051

น.ส. ปาลิดา เรือนวงค์ ID 5110627051

เรียน อาจารย์เอมมี่

ยินดีมากค่ะที่ อ. มาสอนในหัวข้อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษหน้า และก็ชอบวิธีการสอนของอาจารย์มากค่ะ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แชร์ความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งจะทำให้แต่นักศึกษาแต่ละคนเข้าใจได้มากขึ้น ในส่วนของตัวเองไม่ได้อยู่ในส่วนของ HR โดยตรง แต่ก็มีส่วนร่วมในงานของ HR บ้าง ซึ่งตอนแรกเข้าใจบทบาทของ HR ว่าเป็นแค่ การสรรหาคัดเลือกคน เช็คการขาด ลา มาสาย คิดเงินเดือน ประมาณนี้ค่ะ แต่พอมาเรียนกับอาจารย์แล้ว ทำให้รู้บทบาทของ HR มากขึ้นว่า HR ควรต้องพัฒนาบทบาทของตัวให้ทันกับทศวรรษหน้า ซึ่งจะต้องเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะวิกฤตโลก การพัฒนาเทคโนโลยี ลักษณะการบริหารจัดการแบบใหม่ๆ Lifestyle คนที่เปลี่ยนไป ขนาดและความมั่นคงขององค์กร รวมถึง Global Trend ซึ่ง HR ต้องรู้ไว้เพื่อการเข้าใจแนวโน้มอนาคต เพื่อนำไปวางแผนการบริหารการพัฒนามนุษย์ในอนาคต ซึ่งเป็นประโยชน์กับตัวเองและองค์กรเป็นอย่างมาก เนื่องจากองค์กรที่ทำงานอยู่เป็นระบบราชการ เพิ่งนำระบบ HR เข้ามาใช้ได้ไม่นาน บทบาทของ HR ยังไม่ครอบคลุมถึงขั้นนี้ ตัวหนูเองจะนำความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้ไปเสนอให้กับฝ่าย HR ในองค์กร เพื่อพัฒนาองค์กรให้ทันกับยุคปัจจุบัน ซึ่งพนักงานในองค์กรส่วนใหญ่อยู่ใน Gen Y โตมากับเทคโนโลยี HR ต้องเข้าใจวิถีชีวิตของเค้าให้มากขึ้น และปรับวิธีการทำงานให้เข้ากับพนักงาน และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติมากขึ้น สร้างบรรยากาศในการทำงาน เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน ให้พนักงานเกิดความจงรักภักดีในองค์กร ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่จะรักษาคนเก่งไว้ในองค์กรได้ เพราะที่ผ่านมามีพนักงานเข้า-ออก จากงานตลอดเวลา

นอกจากจะนำความรู้นี้ไปเสนอกับฝ่าย HR แล้ว ความรู้นี้ยังเป็นการเปิดโลกของ HR ให้กับตัวหนูเอง เพื่อที่จะทำให้ทราบว่า HR ยุดใหม่ ต้องทันต่อเหตุการณ์โลกตลอดเวลา และจะได้ปรับตัวให้เข้ากับยุค HR ยุคใหม่ได้ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างมากที่ได้ให้ความรู้ใหม่ๆ ค่ะ และจะรอพบกับ ความรู้ใหม่ๆ แบบนี้อีกในอาทิตย์หน้าค่ะ

ชลาธิป อินทรมารุต รหัส 5110627059

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษหน้า

การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เทคโนโลยี และกลยุทธในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้ทุกคน ทุกบริษัท และทุกประเทศมีความเท่าเทียมกัน สามารถแข่งขัน ในโลกไซเบอร์ (Cyber World) ด้วยอินเตอร์เนต ตลอดจนเทคโนโลยีทางการสื่อสาร และสารสนเทศในรูปแบบอื่นๆ ช่วยให้การฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงการใช้ทรัพยากรและแหล่งความรู้ทุกรูปแบบจากทุกแห่งบนโลกใบนี้ เพื่อนำมาศึกษาและพัฒนา จนเกิด องค์ความรู้ใหม่ๆ ช่วยให้เข้าใจภาพรวม ก่อนลงลึกในรายละเอียด จนเกิดทักษะความชำนาญ หรือ ปัญญาที่แท้จริงในการนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อการเป็นผู้นำทางธุรกิจ สร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในองค์กร

บทบาทที่สำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับ HR หรือนักพัฒนาองค์กร ในการที่จะนำองค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ทุกหนแห่งบนโลกใบนี้ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม และขนาดขององค์กร โดยสิ่งสำคัญของการพัฒนา ผมให้ความสำคัญ ดังนี้

1. มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ (Initially creative thinking) หากลยุทธ ตลาด และกระบวนการใหม่ๆ ในการเพิ่มศักยภาพ ลดต้นทุน กระตุ้นตลาด

2. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) เป็นตัวอย่างที่ดี ในการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิด และกระบวนการ

3. คิดแบบองค์รวม (Holistic thinking) เข้าใจภาพรวม ก่อนศึกษารายละเอียด เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างตรงจุด คล้ายกับการต่อจิ๊กซอว์ ถ้ามองเห็นภาพใหญ่ จะช่วยประหยัดเวลา และสามารถวางแผนการทำงาน จัดคนให้เหมาะสมกับงาน

4. ทำแบบบูรณาการ (Integrated action) พัฒนาสร้างวิสัยทัศน์ ด้วยการคิดใหม่ ทำใหม่ และรักษาให้คงอยู่ในองค์กร อย่างยั่งยืน

ปัจจัยที่สำคัญ 4 ข้อนี้ เป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรต้องช่วยกันพัฒนาให้เกิดขึ้นกับตนเอง และองค์กร โดยผู้บริหารต้องชัดเจนในการกำหนดวิสัยทัศน์ และเป้าหมาย เพื่อให้การพัฒนาดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน

และจากที่ได้ศึกษาจากการบรรยายของ อาจารย์ อิศราวดี ชำนาญกิจ (อ.แอมมี่) ทำให้เกิดภาพที่ชัดเจน ในภาวะสถานการณ์ของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนกลยุทธต่างๆ ที่หลายองค์กรนำมาใช้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับคลื่นลูกที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแห่งปัญญา ใครที่รู้ลึก รู้จริง เป็น Professional จะเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีค่าต่อองค์กร

ความรู้ที่ได้รับจากการฟังการบรรยายเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 52 สามารถนำมาคิด และศึกษาต่อยอดได้อย่างดี เนื่องจากวิธีการสอนที่ชี้ให้เห็นสถานการณ์โลก การเปลี่ยนแปลง และวิกฤตต่างๆ และนำเข้าสู่การใช้ทฤษฎีเข้ามาอธิบายการแก้ปัญหา และปิดสรุปด้วยกลยุทธที่ HR ควรนำมาใช้ ซึ่งผมได้ประโยชน์มาก จากการบรรยายของ อ.แอมมี่ ครับ

น.ส.ภิญญะภัทร์ คูคลองทุ่ง

นางสาวภิญญะภัทร์ คูคลองทุ่ง

5110627036

สวัสดีค่ะ อ.เอมมี่ ก่อนอื่นขอขอบคุณ อ.เอมมี่ ที่ให้เกียรติมาถ่ายทอดวิชาแลกเปลี่ยนความรู้ ในหัวข้อ "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษหน้า"

ทำให้ทราบถึงมุมมองใหม่ ๆ ของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เพื่อรับมือกับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในโลกอนาคต การเปลี่ยนแบบก้าวกระโดดในด้านต่าง ๆ ของการเปลี่ยนวิกฤตโลก การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ลักษณะการจัดการแบบใหม่ ๆ Lifestye รวมถึงขนาดและความมั่นคงขององค์กร เหล่านี้ล้วนแต่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างและรอบรู้ เพื่อจะก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจขององค์กร

จากแนวคิดสำคัญในเรื่องของเทรนโลกและแนวคิดคลืนลูกที่สาม ของ ศ.อัลวิน คอฟเลอร์(ผู้บัญญัติคำว่า Globalization)และปัจจุบันมีผู้รู้คิดไว้ถึงคลื่นลูกที่ 5 จากแนวคิดนี้ยิ่งทำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของวิวัฒนาการของโลกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จากคลื่นลูกที่ 1 ยุคเกษตรกรรม อำนาจคือที่ดิน คลื่นลูกที่ 2 ยุคอุตสาหกรรม อำนาจคือทุน เครื่องจักร เครื่องกุล คลื่นลูกที่ 3 ยุคสารสนเทศ อำนาจคือข้อมูลข่าวสาร คลื่นลูกที่ 4 ยุคการจัดการความรู้ อำนาจคือความรู้ และคลื่นลูกที่ 5 ยุคแห่งปัญญา อำนาจคือปัญญา เป็นยุคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน คือจะต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เพิ่มพูนและพัฒนาให้เป็นผู้มีสติปัญญา เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความสำเร็จ

สวัสดีครับ อ.เอมมี่

ผม นิติ หีมกุล รหัส 5110627046 ผู้เกี่ยวกับ "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษหน้า"

ปัจจุบันโลกของเราใช้ระบบบคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเป็นหลัก การที่เราทำงานทางด้าน HR เราต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับการพัฒนาตลอดเวลา ต้องมีการยืดหยุด ปรับเปลี่ยน และพัฒนาอยู่ตลอดเวลาผมมองว่า HR ในอนาคต ต้องประกอบด้วยกัน 4 รู้ คือ รู้เขา รู้เรา รู้สร้างสรรค์ และรู้เปลี่ยน

1.รู้เขา เราต้องรู้ตลาดทางด้าน HR เป็นอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และพัฒนาไปถึงไหนแล้ว ถ้ามั่วแต่เอาระบบเดิมและยืดถือแบบวัฒนธรรมเดิมๆมากเกินไปทำให้คนในองค์กรไม่มีความกระตือรืน หรือทำงานแบบหาเช้ากินค่ำ

2.รู้เรา เรามีจุดดี จุดเด่น จุดด้อยตรงไหน ก็ลองมาวิเคราะหฺ SWOT ดู และทำ SWOT Matrix เพื่อพัฒนาในสิ่งที่เราเด่น หรือมีโอกาสในการแข่งขันกับคนอื่น ซึ่งมีผลดีต่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

3.รู้สร้างสรรค์ เมื่อเรารู้ทั้งข้อ 1 และข้อ 2 เราก็สามารถดำเนินการทำสิ่งต่างที่วางแผนไว้ ดำเนินการนำสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในบริษัทมาคิดรูปแบบกิจกรรมต่างๆ โดยให้ทุกคนร่วมกันคิด ร่วมกันทำรูปแบบใหม่ๆ ทำให้มีการเกิดการกระตุ้นการทำงานอีกทางหนึ่ง

4.รู้เปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมขององค์กรไม่มากเกินกำลัง ไม่น้อยเกินไปจนล้าสมัย

การพัฒนาทรัพยากรย์ในศตวรรษหน้า คนที่ทำงานด้านงาน HR ต้องรู้ทั้ง 4 รู้ที่ได้กล่าวมาเพื่อให้ทันกับสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา รวมไปถึงการพัฒนาตนเองในการเท่าทันสิ่งเหล่านั้นด้วย

อมรรัตน์ ชุมแสง รหัสนักศึกษา 5110627052

เรียนอาจารย์แอมมี่

ดิฉันรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เรียนกับอาจารย์แอมมี่คะ ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับ global Trend ซึ่งทำให้ดิฉันทราบเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับอนาคตทั้งในด้านร่างกาย ทักษะ ความคิด โดยจะต้องศึกษาหาความรู้ให้มีความรู้ที่หลากหลาย รวมทั้งจะต้องมีความชำนาญเฉพาะด้านในงานที่ทำ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรได้เป็นอย่างดี เนื่องจากดิฉันทำงานด้านพัฒนาบุคคลากร ทำให้ดิฉันมีแนวทางในการวางแผนเพื่อพัฒนาคนในองค์กรใหเสอดคล้องกับอนาคต ตระหนักถึงการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับอนาคตมากขึ้น และให้ความสำคัญกับจิตใจและสุขภาพร่างการของพนักงานมากขึ้น รวมทั้งสามารถพัฒนาคนให้เหมาะสมกับวัยหรือช่วงอายุของแต่ละคนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการอบรมมากขึ้น

และทำให้ดิฉันทราบถึงภาวะวิกฤตโลก การพัฒนาเทคโนโลยี ลักษณะการบริหารจัดการแบบใหม่ Lifestyle คนที่เปลี่ยนไป ขนาดและความมั่นคงของคนในองค์กร ช่วยให้สามารถมีมุมมองที่กว้างขึ้นทั้งในการดำเนินชิวิต การแก้ไขปัญหา เข้าใจเพื่อนร่วมงานมากขึ้น รวมทั้งสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรในด้านการวางแผนการพัฒนาคนและคำนึงถึงการโตบโตอย่างยั่งยืน และเข้าใจเกี่ยวกับคลื่นลูกที่ 1 ถึงคลื่นลูกที่ 5 ทำให้เตรียมพร้อมเพื่อปรับตัวให้เหมาะสมกับยุคสมัยต่าง ๆ และหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีความพร้อมอยู่เสมอ

ไม่ได้เป็นนิสิตนักศึกษาครับ

แต่เป็นผู้สนใจ ข้อคิดเห็นดีดีแบบนี้ปล่อยให้พลาดไปในชีวิตไม่ได้หรอกครับ

ขอบคุณค่ะ

  • คุณวรมน ปัณณราช รหัส 5110627057
  • เป็นการแสดงความคิดเห็นได้ครอบคลุมและยอดเยี่ยมมากค่ะ ^^
  • คุณปาลิดา เรือนวงค์ ID 5110627051
  • ดีใจที่คุณจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับตัวเองและการพัฒนาองค์กรค่ะ
  • คุณชลาธิป อินทรมารุต รหัส 5110627059
  • ขอบคุณสำหรับปัจจัยการพัฒนาองค์กรทั้ง 4 ข้อนะคะ ^^
  • .
  • คุณภิญญะภัทร์ คูคลองทุ่ง 5110627036
  • ขอบคุณที่เข้ามาเพิ่มบทสรุปให้ค่ะ
  • .
  • คุณนิติ หีมกุล รหัส 5110627046
  • อันนี้ดีมากค่ะ "HR ในอนาคต ต้องประกอบด้วยกัน 4 รู้ คือ รู้เขา รู้เรา รู้สร้างสรรค์ และรู้เปลี่ยนแปลง"
  • .
  • คุณอมรรัตน์ ชุมแสง รหัสนักศึกษา 5110627052
  • "พัฒนาคนให้เหมาะสมกับวัยหรือช่วงอายุของแต่ละคนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการอบรมมากขึ้น"
  • แนวคิดนี้ นัก HR น่าจะนำไปคิดต่อจริงๆค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณอาทร

ดีใจที่ชื่นชอบการแสดงความคิดเห็นในลักษณะนี้นะคะ ^^

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการสร้าง Community of Practice (CoP) เพื่อการต่อยอดความรู้ในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคหน้าต่อไปค่ะ

เรียนท่านอาจารย์

ประภาพร วัฒนา (แท้) 5110627045

ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่นำสิ่งดีๆทั้งด้านความรู้ และประสบการณ์ต่างๆมาแบ่งปันให้กับพวกเราในครั้งนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในภาวะปัจจุบันได้อย่างดีเยี่ยมค่ะ อีกทั้งยังได้แง่คิดและมุมมองต่างๆในงานด้าน HR เพิ่มเติมขึ้นอีกเยอะทีเดียวค่ะ

สำหรับตัวแท้เองไม่ได้ทำงานในด้าน HR โดยตรง แต่ก็มีโอกาสได้สัมผัสและประสานงานกับทาง HR อยู่บ่อยครั้ง แท้ทำงานในด้าน Training ที่ดูแลรับผิดชอบการสอนงานเฉพาะ แผนก Call Center ทำให้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยและสัมผัสกับผู้คนหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานใหม่ที่เข้ามาร่วมงานกับ Call Center จะต้องผ่านมือแท้มาแล้วทั้งสิ้น ซึ่งนักเรียนหรือพนักงานใหม่ที่เข้ามาแต่ละรุ่นค่อนข้างแตกต่างกัน ส่งผลให้ทีมงานและตัวแท้เองจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพัฒนาตนเองไปอย่างไม่หยุดเช่นกัน จากเหตุผลดังกล่าวมุมมองของแท้ สำหรับ HR ในปัจจุบันที่ควรจะเป็นนั้น น่าจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1.ในด้านของคุณสมบัติของบุคลากร HR ที่ทำหน้าที่คัดสรร /ฝึกอบรม หรือพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าณ ปัจจุบัน โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เป็นโลกแห่งการสื่อสารแบบไร้ขีดจำกัด ดูเหมือนโลกแห่งอนาคตน่าจะหนีไม่พ้น เทคโนโลยีและไซด์เบอร์ แต่ในทางตรงกันข้ามด้านของจิตใจ ผลลัพธ์ที่ได้มีแนวโน้มออกมาในแง่ลบ ดังนั้นบุคคลากรของ HR ซึ่งขออนุญาต เน้นลำดับความสำคัญไปที่ บุคลากรที่ทำหน้าที่คัดสรร (Recruit) และฝึกอบรม (Training) ก่อน เพราะบุคลากรกลุ่มนี้ของ HR มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการตัดสินใจ คัดเลือก พนักงานผู้ที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้องค์กรไปในทิศทางไหน และนำไปสู่ความสำเร็จหรือเป้าหมายขององค์กรหรือไม่ ดังนั้นบุคลลากรกรกลุ่มนี้ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเตรียมพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งและต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วนคือ

• ศักยภาพในการถ่ายทอดและสื่อสาร ในที่นี้หมายรวมไปถึง ทักษะการฟัง การวิเคราะห์ และการจับประเด็น

• ด้านเทคโนโลยี

• การปรับตัว ทัศนคติที่ดี Positive thinking และมีความเป็นกลาง หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในองค์กร เพราะ HR เป็นตัวแทนในการถ่ายทอดให้ข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรให้กับพนักงาน และเป็นตัวแทนของพนักงาน นำขอร้องเรียนหรือปัญหา เพื่อรวบรวมและแจ้งสู่ระดับผู้บริหาร เพื่อแก้ไขและตัดสินใจต่อไป ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีบุคลากรในลักษณะนี้ เพื่อลดและป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

• EQ และ IQ

2.ในด้านของ การคัดสรรจัดรับพนักงาน

พนักงานถือว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้องค์กรไปสู่เป้าหมายหรือความสำเร็จได้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรฐานหรือกระบวนการในการคัดสรรอย่างละเอียดถี่ถ้วน ทักษะที่ควรพิจารณาสำหรับบุคคลที่จะเข้ามาร่วมงานกับองค์กรคือ

• EQ และ IQ ทัศนะคติในเชิงบวก Positive thinking

• ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์

• ความสามารถในการใช้ภาษา

• ทักษะในการฟัง การวิเคราะห์ และการจับประเด็น เป็นต้น

ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ ที่เปิดโอกาสให้พวกเราได้แสดงความคิดเห็น

เมธัส ไชยศิลป์ (เบน)

เมธัส ไชยศิลป์ ID: 5110627050

สวัสดีครับ ท่าน อ.ดร. เอมี่

ก่อนอื่นเลยต้องขออภัยท่านอาจารย์ครับ เนื่องจากส่งการบ้านมาล่าช้า เนื่องจากสัปดาห์นี้ผมต้องเดินทางไปปฏิบัติงานทั้งหมด 3 จังหวัด เวลาส่วนใหญ่จึงใช้ไปกับการเดินทาง แต่เชื่อว่าแนวคิดที่ผมได้นำเสนอมาใน Topic ที่อาจารย์กำหนด “นักศึกษาในฐานะนัก HR จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ไปพัฒนาตัวเองและเตรียมความพร้อมให้กับองค์กรอย่างไร?” จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านได้บ้างครับ

ผมขอสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ และการจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในตอน “วิสัยทัศน์ของนัก HRD มืออาชีพ” เป็น 3 topics ครับ

1. Overview

ในภาพรวมของสิ่งที่ได้เรียนรู้ ประเด็นสำคัญที่ท่านอาจารย์ต้องการให้นัก HRD ทราบนั้นคือ โลกเราไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้น

ส่งผลกระทบต่อหลายๆ สิ่ง ซึ่งรวมไปถึงการทำงานด้าน HRD ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคนและพัฒนาองค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่นัก HRD ต้องเตรียมพร้อมหรือเคลื่อนไหวให้ทันกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป (แบบเกาะติด) เพราะจะทำให้เรามีข้อมูลต่างๆ ในการนำมาวางแผนหรือปรับกลยุทธ์การทำงานของเราให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ภาพการทำงานของ HRD หรือ HRM แสดงออกมาในลักษณะของ Business Partner อย่างแท้จริง

การให้วิสัยทัศน์ของนัก HRD ที่อาจารย์ได้ให้ ถือเป็นแนวคิดในภาพรวมที่ดีมาก สามารถ Conceptualization เกิดเป็น Concept ที่นำมาจัดกระบวนการคิดเพื่อนำไปศึกษา หาข้อมูลเพิ่มเติมใน

Topic ต่างๆ ที่ Relevant กับองค์กรในแต่ละธุรกิจมากที่สุดได้เป็นอย่างดีครับ

2. Self development

ในส่วนของการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในตอน “วิสัยทัศน์จองนัก HRD มืออาชีพ” ไปพัฒนาตัวเองนั้น ผมต้องออกตัวก่อนเลยว่า งานที่ผมรับผิดชอบหรือปฏิบัติในองค์กรนั้น ไม่ใช่งานด้าน HRD หรือ

HRM เป็นงานที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย, การประเมิน/ตรวจสอบเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายสำหรับการดำเนินงานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ (QESH) ซึ่งถือได้ว่างานทางด้านนี้มีความสำคัญในระดับหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ผมทำงานอยู่ (ปิโตรเคมี) และหัวใจสำคัญของการทำงานในด้านนี้อย่างหนึ่งคือ “การสร้างทัศนคติด้าน QESH” ที่ถูกต้องให้กับพนักงานทุดคนในบริษัท (เป็นการทำงานกับคน) ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับ HRD มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในการปรับจิตสำนึก, พฤติกรรม รวมทั้งทัศนะคติของพนักงานด้วยการฝึกอบรม หรือการ Enforcement ด้วยวิธีการอื่นๆ ที่จะจูงใจให้พนักงานเกิดพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยได้ การได้ทราบถึง “การเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ทั้ง 5 ด้าน” ทำให้ผมตื่นตัวในการพัฒนาตัวเองที่ต้องหาความรู้เพิ่มเติม ให้ตัวเองพร้อมกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ (ต้องเตรียมพร้อมตัวเอง เพื่อให้ตัวเองสามารถเตรียมพร้อมผู้อื่นได้) เช่น

2.1 วิกฤติโลกเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน

ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับพนักงานที่จะสื่อให้พนักงานทราบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (ซึ่งตัวเองต้องมีข้อมูลที่พร้อมและชื่อถือได้) ให้บริษัท ดำเนินธุรกิจด้วยการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของ Customer ในปัจจุบันที่ต้องการให้แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมได้อีกด้วย

2.2 การพัฒนาเทคโนโลยี

ผมขอ Focus ที่เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ในธุรกิจปิโตรเคมี ที่สามารถลดการปลดปล่อยมลพิษต่อสิ่งแวดล้มได้ดีกว่าการผลิตแบบเดิม เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นอย่างมากที่ผม

ต้องทราบ เพื่อนำมาเสนอต่อผู้บริหารในการเปลี่ยนแปลงครับ เช่น การเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากถ่านหิน เป็นก๊าซธรรมชาติทั้งหมด

2.3 การบริหารจัดการแบบใหม่ๆ

ข้อนี้สำคัญมากครับ การตื่นตัวของผู้บริโภคเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) หรือต่อ Steak holder กำลังเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น การมีความรู้และเตรียม

ความพร้อมเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO 26000 หรือ Corporate Social Responsible: CSR ให้กับตัวเองและเสนอแนะให้ผู้บริหารดำเนินการเป็นสิ่งที่ต้องทำในปัจจุบัน ซึ่งผมและหน่วยงานประสบความสำเร็จในการดำเนินการเรื่องนี้ซึ่งผู้บริหารได้รับข้อมูลจากหน่วยงานของผมและมี Policy ที่มุ่งมั่นปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจน

2.4 Life Style

ข้อนี้ไม่ Significant กับงานของผมชัดเจนครับ

2.5 ขนาดและความมั่นคงขององค์กร

องค์กรของผมเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีพนักงานจำนวนมาก (2500+) แต่ปัจจุบันมีการปรับโครงสร้างต่างๆ อย่างทันทีทันใด ทำให้พนักงานบางท่านไม่พร้อมในการรับการ

เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ข้อนี้หน่วยงาน HR ได้ขอความร่วมมือมายังหน่วยงานผมครับ ที่จะทำ Management of Change เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของพนักงาน

ที่จะส่งต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาข้อมูลในการดำเนินการ

ตัวอย่างที่ผมได้กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งครับที่ตัวเองต้องตื่นตัว และพัฒนาตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมในการวางแผน ปรับกลยุทธ์ในการทำงานให้เหมาะสม

ในส่วนของความรู้ในเรื่องคลื่นลูกที่ 1-5 และ Global trend ที่นัก HRD ควรรู้นั้น เป็นความรู้ที่ทำให้นัก HRD ตื่นตัว เตรียมพร้อม ซึ่งก็ต้องเตรียมพร้อมตัวเองในแต่ละประเด็นในลักษณะเดียวกับ

การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆครับ

3. Organization development

ในมุมมองของการนำความรู้เกี่ยวกับ “วิสัยทัศน์ของนัก HRD มืออาชีพ” ไปใช้ในการพัฒนาองค์กรนั้น ผมมองว่าเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากผลของการพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับตัวเอง

เพราะผมเชื่อว่าการที่ตัวเราเองมีความรู้ที่เพียงพอและมีความพร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ แล้ว “องค์กรย่อมได้รับประโยชน์จากความพร้อมของเราด้วย” เพราะเราต้องนำความรู้ที่มีอยู่ใน

ตัวเองเผยแพร่ให้กับทุกคนในองค์กรทราบ (Knowledge sharing: KM) องค์กรจะมีความพร้อมและพัฒนาไปพร้อมกับตัวเราครับ (แต่หากมีความรู้แล้วไม่ Sharing ความรู้ก็จะตายไปกับเรา ดังนั้น ตัวเราต้อง Sharing ครับ)

หวังเป็นอย่างยิ่งครับว่า แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ในตอน “วิสัยทัศน์จองนัก HRD มืออาชีพ” ของ อ.เอมี่ นี้ จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย และหากท่านใดสนใจในประเด็นต่างๆ ที่ผมได้นำเสนอไป ยินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

ขอบคุณครับ

เมธัสไชยศิลป์

Metat Chaisin

Engineer

QESH Audit Division

PTT Chemical Public Company Limited

Tel. 038-925873

  • คุณประภาพร วัฒนา (แท้) 5110627045 และ
  • คุณเมธัส ไชยศิลป์ ID: 5110627050
  • ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีประโยชน์มากๆค่ะ ^^
จิตติกา ด่านวิริยะกุล

น.ส.จิตติกา ด่านวิริยะกุล รหัส 5110627055

สวัสดีค่ะ ท่าน อ.แอมมี่

ขอโทษด้วยนะคะที่ส่งมาช้าเนื่องจากไม่สบายเป็นไข้หวัดมา 3 วันแล้ว((ไม่ใช่ไข้หวัด 2009 แน่นอนค่ะ)) สำหรับการเรียนในวันเสาร์ที่ผ่านมาถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากเลยค่ะ วิธีการสอนของ อ. สนุกสนานเป็นกันเองสุดๆ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ สำหรับตนเองนั้นปัจจุบันทำงานอยู่ในระบบราชการ ดังนั้น รูปแบบการทำงานยังเป็นระบบขั้นตอนจึงทำให้บางครั้งการดำเนินงานจึงใช้เวลาพอสมควร พอได้มาเรียนกับ อ.แอมมี่ทำให้ทราบว่าตอนนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาวะวิกฤตโลก การพัฒนาเทคโนโลยี ลักษณะการบริหารจัดการแบบใหม่ๆ Lifestyle และ ขนาดและความมั่นคงขององค์กร ดังนั้น คนที่ทำงานด้าน HR จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จากตัวอย่างที่ อ.แอมมี่ ได้อธิบายทำให้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงขององค์กรแต่ละองค์กรชัดขึ้น อย่างเช่น

ไปรษณีย์ไทยที่ตอนนี้ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่ส่งจดหมายหรือพัสดุเท่านั้น แต่มีบริการใหม่เพิ่มขึ้น นั่นคือ การสั่งอาหารภายในประเทศแบบ Delivery

ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 ที่มีบริการให้ชำระเงินผ่านระบบ online ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ หรือบัตรเครดิต เป็นต้น

หลังจากที่ได้เรียนแล้วก็กลับมานั่งคิดต่อเหมือนกันว่าเราจะพัฒนาระบบราชการอย่างไรให้มีความรวดเร็วและทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่ด้วยความคิดที่แตกต่างกันจึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของระบบราชการยังไม่เห็นผลมากนักซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงพอสมควร

คุณจิตติกา ด่านวิริยะกุล รหัส 5110627055

ขอบคุณมากจ้า

ถ้ายังไม่หายก็ไม่เป็นไรนะคะ  พักผ่อนต่อได้ค่ะ (อ.กลัวติด ^^)

ล้อเล่นนา

น.ส.พัชราภรณ์ กลิ่นสอน รหัส 5110627054

สวัสดีค่ะ ท่าน อ.แอมมี่

ต้องขอโทษท่าน อ.ด้วยนะค่ะที่ส่งการบ้านมาช้าเกินกว่ากำหนดที่ท่าน อ.ได้สั่งไว้ค่ะ เนื่องจากติดภารกิจเร่งด่วนที่ทำงานค่ะ

สำหรับตัวเองไม่ได้ทำงานที่เกี่ยวกับด้าน HR และทำงานในส่วนของรัฐวิสาหกิจจึงทำให้ต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้นค่ะ โดยส่วนตัวแล้วคิดว่านักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องพยายามเปิดโลกกว้างหาความรู้สาระที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรอยู่เสมอเพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ ต้องสามารถปรับเปลี่ยนสมรรถนะ เพื่อสนับสนุนการบริหารตามกลยุทธ์องค์กรได้อย่างเหมาะสม ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และวิธีการในการทำงานในองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการนำการเปลี่ยนแปลงไปได้ดีแค่ไหนต้องอาศัยทัศนคติ หรือกรอบความคิดของคนในองค์กรด้วยว่ามีความคิดที่จะปรับตัวเอง หรือมีความคิดจะปฏิบัติตัวตามกระแสของการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคนมักจะเกิดความเคยชินในสิ่งที่ทำอยู่ จึงไม่ต้องการการเปลี่ยแปลงและต่อต้านสิ่งใหม่เสมอๆ ทำให้องค์กรเดินไปได้ช้าหรือหยุดชะงัก หากองค์กรสามารถทำให้คนในองค์กรเปลี่ยนทัศนคติหรือเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น น่าจะเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น

หลังจากที่ได้รับความรู้จากท่าน อ.ทำให้ต้องกลับมาคิดทบทวนว่าองค์กรของเราน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น เพื่อที่จะได้ทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้บ้างไม่มากก็น้อยค่ะ

พัชราภรณ์ กลิ่นสอน

น.ส.พัชราภรณ์ กลิ่นสอน รหัส 5110627054

เรียน ท่าน อ.แอมมี่ ค่ะ นู๋ความเห็นที่ 40 (คิดว่าน่าจะเป็นคนสุดท้ายของห้อง)เมื่อกี้ลืมแสดงตนค่ะ นู๋เลยมาปรากฎตัวแสดงตนให้ อ.ทราบอีกครั้งค่ะ

ขอบคุณค่ะ... (^^)

ไม่ใช่นักศึกษาเเต่เข้ามาเห็นเรื่องน่าสนใจครับ

ภัณฑิรา รัตนพรนิมิต

ภัณฑิรา รัตนพรนิมิต ID: 5110627021

สวัสดีครับ ท่าน อ.ดร. เอมี่

ก่อนอื่นต้องขออภัยด้วยค่ะ ที่ส่งงานช้า เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วติดงานเยอะมาก และก็ขอขอบพระคุณที่กรุณามาสอนทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และเปิดวิสัยทัศน์มาขึ้น หัวข้อที่เรียนในวันที่ 18/7/2009 คือเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษหน้า ทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่เดิมนั้นจะไม่เคยทราบว่าการเปลี่ยนแปลงของโลกก็มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย ทำให้ไม่เคยสนใจในการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเรียนในวันนั้นก็ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจ การเมือง สังคม พลังงาน สิ่งแวดล้อม หรือภัยธรรมชาติ ก็มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย ทำให้ต้องมีการพัฒนากลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ทั้งนี้จะไม่สามารถใช้กลยุทธ์ใด กลยุทธ์หนึ่งได้เท่านั้น ทุกกลยุทธ์เป็นสิ่งทีสำคัญ ขึ้นอยู่กับการนำมาปรับใช้เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงไม่ควรใช้เพียงกลยุทธ์เดียว แต่ควรพิจารณาถึงสภาพความเหมาะสมของสถานการณ์ รวมถึงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ให้เข้ากับองค์กร หรือสภาพทางสังคมที่ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะโลกในปัจจุบันที่มีการปรับเปลี่ยนไปมากมาย โดยปัจจุบันจะมองที่ Life Style ของคนมากขึ้น และมนุษย์แต่ละคนมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการที่องค์การจะสามารถพัฒนาได้ก็จะต้องปรับให้ตอบสนองต่อ Life Style ของคน ซึ่งจะพบได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในโลก เมื่อก่อนจะมองเพียงคลื่นลูกที่ 3 แต่ปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดคลื่นลูกที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแห่งปัญญา เป็นการมุ่งที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในองค์กร การที่องค์การมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจะก่อให้เกิดการพัฒนาในองค์การ ซึ่งจะพบว่าการเกิดคลื่นลูกต่าง ๆ แสดงว่าเทรนของความต้องการจะเปลี่ยนแปลงตามกระแสของโลก ดังนั้น HR จึงจำเป็นต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโลก และกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานให้เข้ากับกระแสของโลกได้

ขอบคุณมากค่ะ

  • คุณพัชราภรณ์ กลิ่นสอน รหัส 5110627054
  • คุณภัณฑิรา รัตนพรนิมิต ID: 5110627021
  • อย่าลืมอ่านและแสดงความคิดเห็นของวันเสาร์นี้นะคะ ^^

ขอบคุณอาจารย์กู้เกียรติ ญาติเสมอ  มากค่ะที่เห็นว่าเนื้อหาน่าสนใจ ^^

ได้ทราบว่า ข้อมูลมีประโยชน์

ดีใจค่ะ ^^

จะนำไปใช้กับคลาสอื่นด้วยค่ะ

อยากได้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมแบบ swot ของลีวายส์

มีอุปสรรคอะไรบ้าง และ ควรทำอย่างไร

ขอขอบคุณล่วงหน้านะค่ะเร็วหน่อยก็ดีนะค่ะ

เรียน ดร เอ็มมี่

เป็นประโยชน์กับการบริหารงานมากครับ ไม่ใช่นักศึกษาท่านคงอนุญาติให้ศึกษานะครับ

ผู้บริหารต้องปรับเลี่ยนสไตล์การบริหาร จากบนลงล่าง เป็นบริหารแนวราบ หรือจากล่างสู่บนครับ การมีส่วนร่วมสำคัญยิ่ง

  • สวัสดีค่ะ คุณ gartoon ป่านนี้คงจะได้รับคำตอบเกี่ยวกับ SWOT ของลีวายส์ไปแล้วนะคะ^^
  • คุณพรชัย  "ผู้บริหารต้องปรับเลี่ยนสไตล์การบริหาร จากบนลงล่าง เป็นบริหารแนวราบ หรือจากล่างสู่บนครับ การมีส่วนร่วมสำคัญยิ่ง"  บทสรุปนี้ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งค่ะ ยิ่งยุคนี้  การขอมีส่วนร่วมถือเป็นเรื่องที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถพัฒนาองค์กรไปได้อย่างรวดเร็วมากๆนะคะ ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกวิธี
  • ขอให้ทุกท่านมีความสุขในวันปีใหม่ไทยค่ะ ^^

เข้ามาดู.. *-*

ผมนั่งอ่านแล้วได้ความรู้มากครับ 

แต่อยากจะเรียนถามว่า ในการที่บริษัทธุรกิจ ในยุคโลกาภิวั็ตน์ จะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องให้ความสำคัญในส่วนของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยเํฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการพัตนาทรัพยากรมนุษย์(HRD) ท่านมีความคิดเหฺ๋นกันอย่างไรบ้างครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท