มุมมองของผู้ตรวจประเมิน


ผู้ตรวจประเมินมืออาชีพที่ไม่มองผ่านรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของรายงานที่ได้รับ.....การบอกปัญหาอุปสรรคเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการนำไปแก้ไขปรับปรุง

          เมื่อวานนี้  (8 พ.ค. 2549) ได้มีโอกาสร่วมฟังการประชุมติดตามผลสรุปการดำเนินงาน 2 ไตรมาสแรกของกรมควบคุมโรคโดยบริษัททริส ทำให้เห็นมุมมองของผู้ตรวจประเมินมืออาชีพที่ไม่มองผ่านรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของรายงานที่ได้รับ และได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

           1. ตัวชี้วัดที่ผลการดำเนินงานเป็น NA ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดการรายงาน ที่ปรึกษาแนะนำว่าต้องลงไปดูรายละเอียดด้วย อาจจะทำให้ช็อคตอนปลายปีงบประมาณได้ จะแก้ไขไม่ทัน คือ ถึงแม้จะยังไม่ถึงกำหนดการรายงานก็ต้องมีตัวเลขเบื้องต้นมาแสดงด้วย 

          2. ตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ 2 ไตรมาสแรกเป็นความจริงตามนั้นหรือไม่ แสดงถึงประสิทธิภาพของงานจริงหรือไม่ และเวลาที่เหลืออีก 2 ไตรมาสจะทำอะไร

          3. ตัวชี้วัดที่มีแนวโน้มจะไม่ผ่านเกณฑ์ ต้องพิจารณาถึงปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานที่ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดเสนอมา ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้บริหารต้องพิจารณาให้ความช่วยเหลือ 

          การบอกแค่ผลสำเร็จและปัจจัยสนับสนุนจะไม่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนานัก (อาจจะใช้ได้ในการวิเคราะห์จุดแข็ง) แต่การที่ผู้รับผิดชอบบอกปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการนำไปแก้ไขปรับปรุง

         ข้อคิดและข้อเสนอแนะเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตอบตัวชี้วัดของสถาบันบ้างนะคะ

 

คำสำคัญ (Tags): #kpi#งานคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 27749เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2006 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณที่เล่าให้ฟัง    เราคงต้องนำมาพัฒนาต่อค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท