ดนตรี นาฎศิลป์และการขับร้องเพลงไทยเดิม การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมสู่เยาวชนไทย


ศิลปะดนตรีไทย นาฎศิลป์และการขับร้องเพลงไทยเดิมจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝน

                สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศักษาขั้นพื้นฐาน  มีนโยบายสนับสนุนกิจกรรมศิลปะ
ดนตรีและนาฎศิลป์ไทย ซึ่งดนตรีและนาฎศิลป์ไทยเป็นศิลป์และศาสตร์ขั้นสูงที่พัฒนาศักยภาพมนุษย์ทางสติปัญญา  สมอง  อารมณ์ให้มีความสมบูรณืทั้งทางร่างกาย จิตใจ  เกิดสุนทรีย์และความเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆให้เกิดการพัฒนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
                ในปัจจุบันบุคลากรผู้สอนดนตรีและนาฎศิลป์ไทยในสถานศึกษาไม่เพียงพอ 
และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดให้เป็นวิชาแกนทุกระดับชั้น  ดนตรีและนาฎศิลป์ไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ซึ่งได้สั่งสมและสืบทอดมาจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง 
                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยดร.นิวัตต์  น้อยมณี
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 เห็นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน
ตามสาระการเรียนรู้วิชาดนตรีและนาฎศิลป์ในสถานศึกษาจึงจัดอบรมปฏิบัติการครูผู้สอน
เพื่อสามารถจัดการเรียนการสอนดนตรี นาฎศิลป์และขับร้องเพลงไทยเดิมได้อย่างมีคุณภาพ
โดยรับการถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญกาารสอน ผู้ทรงคุณวุฒิทางดนตรี นาฎศิลป์และการขับร้องเพลงไทย
เนื่องจากศิลปะดนตรีไทย นาฎศิลป์และการขับร้องเพลงไทยเดิมจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝน
สืบทอดจากผู้รู้คือครู  ไปยังผู้เรียนคือศิษย์  จะต้องมีการเรียนเพื่อรู้ การฝึกฝนเพื่อความชำนาญ
สำหรับการประชุมปฏิบัติการครูผู้สอนดนตรี นาฎศิลป์และขับร้องเพลงไทยเดิม  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 - 19กรกฎาคม 2552  ณ โรงเรียนพุทธโสธร  อำเภอเมือง  จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยได้รับความอนุเคราะห์
การบรรยายและสาธิตจากท่านวิทยากร ดร.สุรพล  จันทราปัตย์  และคณะ(สภาโจ๊ก)และดาราอาวุโส สีเทา
อัศวิน  รัตนประชา  ครูผู้สอนที่เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการจะได้รับความรู้จากวิทยากรและ
ฝึกปฏิบัติตามประเภทของเครื่องดนตรี เช่น  ระนาดเอก ระนาดทุ้ม   ฆ้องใหญ่ ฆ้องเล็ก ซอด้วง ซออู่
ขิม  ขลุ่ย  จะเข้  เครื่องประกอบจังหวะ ฉิ่ง โทน รำมะนา กลองแขก กิจกรรมนาฎศิลป์และการขับร้องเพลงไทยเดิมโดยในวันที่ 19 กรกฎาคม  2552 จะมีการนำเสอนนิทรรศการการแสดงจากการฝึกปฏิบัติของครูผู้เข้ารับการอบรม   

หมายเลขบันทึก: 276927เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2009 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขยันเขียนดีนะคะ

อีกไม่นานจะมาเยี่ยมค่ะ

อยากทราบว่า การร้องเพลงไทยมีคำศัพท์เหล่านี้จริงรึเปล่าแล้วปฏิบัติอย่างไรกรุณาอธิบายด้วยครับ

เพราะมีในข้อสอบ o-net กำลังติวเด็กอยู่ครับ

1.การกระทบเสียง

2.การครั่น

3.การโหนเสียง

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท