แนวคิด ทฤษฎี การบริหารในแต่ละยุกต์


แนวคิด ทฤษฎี การบริหารในแต่ละยุกต์

การใช้หลักการ แนวคิด ทฤษฎี มาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาหรือหน่วยงา

1 การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach)
ทัศนะเกี่ยวกับการบริหารในยุคต้นสุดในปี 1911 เป็นทัศนะของเฟรดเดอริค ดับบริวเทเลอร์(Frederic W. Taylor) ถือว่าเป็นบิดาแห่งการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ สรุปความสำคัญของการบริหารไว้ดังนี้
1. ความเป็นเลิศของการบริหารอยู่ที่การรู้อย่างแน่นอนว่าเราต้องการให้คนทำอะไร และดูแลว่าเขาได้ทำงานอย่างดีที่สุดและประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด
2. ไม่ควรนำแผนการบริหาร ซึ่งในระยะยาว ก่อให้เกิดความไม่พอใจทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างมาใช้
3. สิ่งที่คนงานต้องการจากนายจ้างนอกเหนือจากสิ่งอื่น ๆ ก็คือ ค่าจ้างที่สูงและสิ่งที่นายจ้างต้องการจากคนงานมากที่สุดก็คือค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำ

หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ (Taylor) มีดังนี้
1. หลักเรื่องเวลา (Time Study Principle)
2. หลักการกำหนดหน่วยค่าจ้าง (Price Rate Principle)
3. หลักการแยกงานวางแผนออกจากงานปฏิบัติ (Separation of Planning Performance Principle)
4. หลักการทำงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Methods of Work Principle)
5. หลักการควบคุมงานโดยฝ่ายบริหาร (Managerial Control Principle)
6. หลักการจัดระเบียบการปฏิบัติงาน (Functional Management Principle)
แนวคิดของเทเลอร์ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนา ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในวงการบริหารการศึกษา เช่นเดียวกับวงการอื่น ๆ มากมาย บอบบิด (Bobbitt) ได้ให้ข้อคิดว่า นักการศึกษาควรได้ประยุกต์วิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการกำหนดมาตรฐานและผลผลิต (วิธีสอน) คุณสมบัติของผู้ผลิต (ตัวครู) การให้การฝึกอบรมผู้ทำการผลิต (การพัฒนาครู) และการแจ้งรายละเอียดความรับผิดชอบของงานที่จะต้องทำ (กำหนดหน้าที่) เกณฑ์มาตรฐานของงานที่ควรทำให้ได้ (คุณภาพ) วิธีการคัดเลือกคนเข้าทำงาน (การบรรจุแต่งตั้ง) และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน (เทคโนโลยีการสอน)

จุดอ่อนของหลักการทำงานเชิงวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ (Taylor)
1. เทเลอร์ (Taylor) และคณะ มองเห็นคนงานเป็นเสมือนเครื่องจักร และพยายามทำลายคนงานเสมือนทำลายเครื่องจักรกล่าวคือให้ทำงานโดยให้ได้ผลผลิตมากที่สุด
2. เทเลอร์ (Taylor) ไม่ได้มองการบริหารในแง่พฤติกรรมศาสตร์ การบริหารสามารถดำเนินไปโดยไม่ต้องสนใจในตัวของคนงาน
3. เทเลอร์ (Taylor) ปฏิเสธถึงความร่วมมือในการทำงานระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายคนงาน คนงานต้องการแรงจูงใจในการทำงานเขาจะทำงานได้ดีหากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับฝ่ายบริหาร

หลักการบริหารของฟาโยล (Fayol)
1. การแบ่งงานกันทำ
2. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
3. ความมีระเบียบวินัย
4. ความมีเอกภาพในการบังคับบัญชา
5. เอกภาพในการอำนวยการ
6. ประโยชน์ส่วนบุคลถือว่าเป็นองจากประโยชน์ส่วนรวม
7. การให้ผลประโยชน์ตอบแทน
8. การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง
9. สายการบังคับบัญชา
10. คำสั่ง
11. ความเสมอภาค
12. ความมั่นคงในหน้าที่การงาน
13. ความคิดริเริ่ม
14. ความสามัคคี

การนำหลักการบริหารของฟาโยล มาเป็นแนวทางเพื่อใช้ในการบริหารธุรกิจและการบริหารโดยทั่วไป ช่วยให้การบริหารมีการจัดการระบบระเบียบในเชิงของการจัดการมากขึ้น ปรัชญาของการบริหารสมัยนี้จึงได้ปรับเปลี่ยนจากการที่เห็นเครื่องจักร มาเป็นใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Use People Efficiently) ผู้ปฏิบัติจึงมีโอกาสที่จะถูกผู้บริหารให้ช่วยคิด ช่วยวางแผน และช่วยทำมากขึ้นกว่าเดิมที่เคยเป็นมา

การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
1. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะใช้ในกาดำเนินจัดตั้งมาตรฐานที่ต้องการเกี่ยวกับผลผลิตของโรงเรียน
2. วิธีการผลิตควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
3. คุณสมบัติของผู้ผลิต (ครู) ควรจะถกกำหนดขึ้น และควรได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมตามแนวทางวิทยาศาสตร์
4. ผู้ผลิต (ครู) ควรได้รับการชี้แจงให้รู้เกี่ยวกับมาตรฐานที่กำหนด วิธีการว่าจ้างและการใช้เครื่องมือต่าง ๆ
5. บุคลากรทางการศึกษามรมาตรฐานต่ำ จึงควรได้รับการตระเตรียมมาเป็นอย่างดี ก่อนปฏิบัติงาน

คับเบอร์เลย์ (Cubberley)กล่าวถึงหลัก 3 ประการ ของผู้ตรวจการศึกษา คือ
1. การจัดองค์การ
2. การบริหาร
3. การนิเทศ

ในทัศนะของ คับเบอร์เลย์ (Cubberley) ผู้ตรวจการศึกษา ซึ่งเป็นผู้นำทางการศึกษาจะต้องคุณสมบัติดังนี้
1. จะต้องเป็นคนแจ่มใส
2. จะต้องเป็นคนรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา
3. จะต้องเป็นคนซื่อสัตย์
4. ไม่ดูถูกผู้อื่น
5. จะต้องเป็นคนมีวินัยในตนเอง
6. จะต้องเป็นมากกว่าแด่ครูของครู
7. จะต้องมีความสำนึกที่ดี
8. จะต้องสามารถทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีโดยวิธีใช้คนอื่นทำงาน
9. จะต้องมีเวลาสำหรับการสังเกต ศึกษา คิดวางแผน ให้คำแนะนำ แนะแนวทางและเป็นผู้นำ

สามารถการประยุกต์ใช้กับการบริหารสถาบัน ได้มาก เพราะ มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานที่มีความสร้างสรรค์มากขึ้น ในส่วนของผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงานก็มีการร่วมกันคิดแก้ปัญหาในการทำงานจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดหลักการบริหารที่มุ้งเน้นพิจารณาถึงเรื่องมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารงาน ความสำคัญของบุคคลในฐานะที่เป็นองค์ประกอบของการบริหารมากกว่าวิธีการทำงานและผลิตตามแนวคิดของการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ที่เน้นพฤติกรรมความร่วมมือของผู้ร่วมงาน โดยใช้หลักการมนุษยสัมพันธ์ภาวะผู้นำ การจูงใจ การฝึกอบรม และการติดต่อสื่อสารเป็นเครื่องช่วย รัฐเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แนวความคิดทางการบริหารจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยการนำเอาแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารองค์การ โดการการพิจารณาองค์การอย่างเป็นระบบให้ความสำคัญต่อบุคคลและการมีส่วนร่วมในองค์การ

2 การบริหารเชิงมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation Approach)
การบุกเบิกของ ฟอลเล็ต เป็นผลให้เกิดการค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารขึ้นเป็นจำนวนมาก ผลการทดลองที่น่าสนใจอันหนึ่งของ เมโย (Mayo) รอลิส เบิอร์เกอร์ (Roethlisberger) และดิกสัน (Diokson) ที่โรงงานฮอธอน(Howthrone) ของบริษัท เวสตัน อีเลคตริค(western Electric company) เพื่อต้องการค้นคว้าว่าสภาพแวดล้อม (Physical) อะไรบ้างเช่น แสงสว่าง การหยุดพักระยะสั้นๆ ระหว่างการทำงาน ช่วงเวลาการทำงาน วิธีการจ่ายค่าแรงที่มีผลต่อผลผลิตของกรรมการ การทดลองพบว่าเมื่อเพิ่มแสงสว่างในห้องทำงานของคนงาน ผลผลิตในการทำงานจะเพิ่มขึ้นมากน้อยตามลักษณะการเพิ่มแสงสว่างในห้องทำงานนั้นๆ แต่ภายหลังเมื่อลดแสงสว่างในห้องทำงานลงบ้าง ปรากฏว่าผลผลิตยังเพิ่มเช่นเคย ในที่สุดผู้วิจัยทั้งหมด จึงสรุปว่า " ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นสาเหตุทางจิตวิทยา" เช่นสมาชิกมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น ความคิดเห็นของสมาชิกนั้นผู้บริหารรับฟังและหาทางแก้ไข ตัวแทนของสมาชิกมีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางในการบริหารในหน่วยงาน
การบริหารเชิงมนุษย์สัมพันธ์ได้เข้ามามีบทบาทแทนความสนใจในโครงสร้างขององค์การโดยมุ่งถึงการจูงใจและความพอใจ (Motivation and Satisfaction) ของพนักงานเป็นหลัก เกิดความพอใจที่ผู้บริหารสนใจพวกเขา ทำให้ต่างก็รู้สึกว่าได้รับกานยกย่องและมีสถานะสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นหรือจูงใจให้พวกเขาเพิ่มผลผลิตได้สูงขึ้น นับว่าการวิจัยนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่ามนุษย์สัมพันธ์มีความสำคัญยิ่งต่อการบริหาร

จากการศึกษาทดลองของเมโย (Mayo) และคณะสรุปได้ดังนี้
1. คนงานมิใช่เศรษฐทรัพย์ที่จะปฏิบัติได้เช่นเดียวกับปัจจัยทางกายภาพอื่น ๆ คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญกำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
2. เงินมิใช่สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยไปกว่าเงิน
3. ปริมาณการทำงานของคนงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพแต่เพียงอย่างเดียว หากขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมของหน่วยงานด้วย ทำนองคับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก
4. อิทธิพลของกลุ่มมีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน

การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องมนุษย์สัมพันธ์
1. บรรยากาศเผด็จการ ผู้นำจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย เป็นผู้นำในการกระทำกิจกรรม เป็นผู้ออกคำสั่งกำหนดงานให้ทำ และตัดสินใจว่าใครควรทำงานอะไร

2. บรรยากาศของผู้นำแบบประชาธิปไตย มีการใช้กระบวนการหมู่คณะ ใช้การอภิปรายเป็นหมู่คณะเกี่ยวกับนโยบาย การตัดสินใจ การประเมินผล การทำงาน การวางเป้าหมายเป็นหมู่คณะ มีเสรีภาพในการเลือกงานและผู้ร่วมงาน ผู้นำจะให้ความช่วยเหลือให้คำนำ

3. กลุ่มแบบตามสบาย ให้เสรีภาพอย่างเต็มที่ แต่ละคนจะตัดสินใจในทุก ๆ เรื่องด้วยตนเอง ผู้นำจะให้ความช่วยเหลือ แต่ผู้นำจะไม่มีส่วนร่วมในการอภิปราย ไม่มีการให้แนะนำในการทำงานเด็กจะต้องอาศัยตัวเองเป็นหลัก

การประยุกต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
1. ผู้บริหารควรจะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีกับครูเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
2. ปัญหาเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ ซึ่งเบื้องต้นไม่ค่อยมีความสำคัญแต่ต่อมาได้มีการยอมรับมากขึ้น
3. ผู้อำนายการโรงเรียนสามารถสร้างภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยได้มากกว่าเพราะตำแหน่งของเขาเอื้ออำนวยให้
4. ครูทุกคนรวมเป็นกลุ่มสังคมที่ซับซ้อน ผู้อำนายการโรงเรียนจะต้องร่วมงานกับครูเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
5. ครูและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ได้รับผลกระทบกระเทือนต่อการตัดสินใจควรจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนั้นด้วย

สามารถการประยุกต์ใช้กับการบริหารสถาบัน ได้มาก เพราะการสร้างมนุษยสัมพันธ์องค์การต่าง ๆ สามารถสร้างได้โดย การแก้ไขความแตกต่างสามารถกระทำได้โดยการประชุมและร่วมมือมากกว่าการใช้กฎระเบียบบังคับ กลุ่มคนแต่ละกลุ่มจะต้องเข้าใจทัศนะซึ่งกันและกัน มีเป้าหมายร่วมกัน และดำเนินงานด้วยความสามัคคี เพื่อให้เป้าหมายนั้นประสบกับความสำเร็จ การบริหารเชิงมนุษย์สัมพันธ์ได้เข้ามามีบทบาทแทนความสนใจในโครงสร้างขององค์การโดยมุ่งถึงการจูงใจและความพอใจ (Motivation and Satisfaction) ของพนักงานเป็นหลัก (ครู) การประสานงานต้องเป็นขบวนการต่อเนื่อง ฉะนั้นผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีวิธีการมีข้อมูลที่ทันเหตุการณ์และมีความรู้ที่จะเป็นรากฐานในการพัฒนาองค์การและบุคลากรในองค์การของตนได้

3 การบริหารเชิงพฤติกรรม (Behavioral Science Approach)
ทฤษฎีการบริหารเชิงพฤติกรรม ในช่วงปี ค.ศ. 1950-1980 จนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของการบริหารองค์การเชิงสถานการณ์ ในยุคนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ทางการบริหารหลายประการ เช่น

1. การมองว่าองค์การเป็นระบบเปิด (Organization as an Open System) ซึ่งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2. องค์การจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้หลายกลยุทธ์ทางการบริหารและการวางแผนโดผู้บริหารต้องจัดให้มีการกระจายอำนาจ (Decentralization) แทนการตัดสินใจสั่งการ (Decision Making) และการแก้ปัญหา (Problem Solving) ในทุกระดับขององค์การ
3. ผู้บริหารจะต้องทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถควบคุมตนเอง (Self-Control) โดยการมองผู้ปฏิบัติในแง่ที่ดี และมีการสร้างขวัญและกำลังใจด้วยวิธีการจูงใจ (Human Motivation)
4. พฤติกรรมของบุคคล (Individual Behavior) และพฤติกรรมของกลุ่ม (Group Behavior) มีผลต่อระบบการบริหารองค์การและสิ่งแวดล้อม
5. การทำงานเป็นกลุ่มจะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้บริหารจึงควรนำหลักการของทฤษฎีหมุดเชื่อมโยง (Linking Pin Theory) มาใช้เนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบสูงส่งผลให้การทำงานเกิดประสิทธิผล

 

หมายเลขบันทึก: 276228เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2009 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

อ่านแล้ว ได้ประโยชน์มาก เดี๋ยวจะเข้ามาทบทวนตอนสอบคอมอีกนะ

รับความรู้มาก จนจำไม่ได้

ขอไปใช้ทำงานส่งอาจารย์นะคะ

คุณพี่

ขอบคุณครับกำลังหาข้อมูลพอดีเลย

รบกวนขอข้อมูลพัฒนาการของทฤษฎีและแนวคิดทางการบริหารยุคทัศนะเชิงพฤติกรรมหน่อยครับ เพราะอ.ให้ทำเพาเวอร์พอยด์และให้พีเซนต์ยังไปไม่ถูกเลย ไม่ทราบจะหาข้อมูลจากไหน ช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ขอบคุณมากนะคะกำลังหาอยู่เลย ^^

ใครมีข้อมูล ทฤษฎีบริหารของ Paugh (วิทยาศาสตร์)

ขอด้วยค่ะ

ดีมากได้ความรู้มากค่ะ ขอบคุณค่ะ หวังว่าจะได้อ่านบทความดี ๆ อย่างนี้อีกค่ะ

อยากทราบทฤษฎีเคครื่องจักอ่า

กำลังหาข้อมูลอยู่พอดีเลยค่ะ ขอบคุณมากเลยนะคะ แต่ว่าอยากได้ที่มาด้วยค่ะ ยังไงก็รบกวนด้วยนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

อยากรู้ทิดสดีของนักวิทะยาสาดที่เกี่ยวกับกานบริหานองกรสะไหมใหม่

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท