Civic Action กับการขับเคลื่อนชุมชนแนวปฏิบัติ


....ชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice) เมื่อนำมาเป็นแนวทางจัดการเชิงยุทธศาสตร์ขององค์กรนั้น มีแนวทางในการขับเคลื่อนและส่งเสริมหลายแนวทางด้วยกัน แนวทางหนึ่งก็อาจประยุกต์ใช้แนวคิดการขับเคลื่อนกลุ่มประชาคม แต่หลักคิดในแง่จุดหมายก็คงจะคล้ายกัน กล่าวคือ เป็นการจัดการเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ความเปลี่ยนแปลง การพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การพัฒนานวัตกรรม ไม่เหมาะสำหรับการขับเคลื่อนเพื่อทำงาน Ruetine....

ชุมชนแนวปฏิบัติ

        การขับเคลื่อนชุมชนแนวปฏิบัติ  เป็นยุทธศาสตร์การจัดการองค์กร  ที่ประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องชุมชนและการรวมกลุ่มโดยธรรมชาติมาสู่การพัฒนาองค์กรที่เป็นทางการ  ซึ่งในบริบทมหาวิทยาลัยนั้น เราสามารถถ่ายเทประสบการณ์การทำงานชุมชนและการทำงานประชาคม มาใช้เป็นแนวขับเคลื่อนชุมชนแนวปฏิบัติได้เช่นกัน

กลุ่มประชาคม : ชุมชนแนวปฏิบัติในระบบธรรมชาติ

        กลุ่มประชาคม (Civic group) หรือวิธีที่ปัจเจกรวมกลุ่มกัน เพื่อทำในสิ่งที่ตนเองรักและสนใจ จัดว่าเป็นการจัดองค์กรจัดการ (Organization) ที่รองรับวัฒนธรรมการทำงานอีกแบบหนึ่ง  เป็นองค์กรที่การจัดความสัมพันธ์ของสมาชิก มิใช่เกิดจากการรวมตัวเพราะมีตำแหน่งหน้าที่และการมอบหมาย  แต่เกิดจากการเรียนรู้  เห็นภาพร่วมกับคนอื่น จนเห็นความพอเหมาะที่ความพิเศษของตนเองและศักยภาพส่วนตน จะเข้าไปมีส่วนต่อการสร้างสรรค์การจัดการของกลุ่ม  ทำให้สามารถจัดระเบียบและจัดตั้งตนเอง (Self-Organized) รู้ความพอเหมาะ และกาละ-เทศะ  ทำเรื่องส่วนรวมแบบใจสั่งมา หรือกำหนดออกมาจากตนเอง (Self-determination)

        ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นองค์กรอีกชนิดหนึ่ง ที่กลุ่มคนที่เป็นสมาชิก จะก่อเกิดพลังการทำงานด้วยจิตสาธารณะ หรือมีพลังการเอาธุระต่อเรื่องส่วนรวมสูง อีกทั้งมีพลังการเรียนรู้ ที่จะพัฒนาและหล่อหลอมให้สมาชิก มีศักยภาพและภาวะผู้นำแบบรวมหมู่ (Collective Leadership) ซึ่งมีความเก่งเป็นเลิศแบบปัจเจกและสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่นได้ดี  

        องค์กรที่เกิดจากกระบวนการรวมตัวในลักษณะดังกล่าวนี้  มีพลังการริเริ่มสร้างสรรค์ รวมทั้งมีพลังในการจัดการความเปลี่ยนแปลงสูง  ทางด้านสุขภาพนั้นองค์การอนามัยโลก ให้ความสำคัญว่า จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) อีกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่าจะสอดคล้องกับความจำเป็นและมีบทบาทต่อโลกสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21

        ในการขับเคลื่อนกลุ่มการรวมตัวของปัจเจก หรือกลุ่มประชาคมนั้น คนทำงานประชาคมจะมีแนวทางที่สำคัญคือ 

  1. ค้นหา วิเคราะห์ และถอดบทเรียน (Mapping and Reflection of Lesson learned) 
  2. เรียนรู้ระหว่างกันและพัฒนาประเด็นร่วม (Sharining and develop common goals)
  3. พัฒนายุทธศาสตร์ร่วม เพื่อขับเคลื่อนพลังชุมชนแบบประชาคม หรือพลังกลุ่ม
  4. วางแผนปฏิบัติการอย่างประสานสอดคล้อง  มีจุดหมายร่วม และวัตถุประสงค์ย่อยก็ยังคงอยู่
  5. วางแผนประสานความเชื่อมโยงและจัดการแบบเครือข่าย
  6. ดำเนินการและปฏิบัติการตามแผน
  7. ถอดบทเรียนและสะท้อนสู่การยกระดับ 

        จะเห็นว่า  การจัดองค์กร  ก่อเกิดจากกลุ่มพื้นฐาน หรือความมีอยู่แล้วของปัจเจกที่มีลักษณะเป็นคนแบบ Active Participant หรือ Active citizen องค์กรจัดการที่ขับเคลื่อนกลุ่มประชาคม จึงตั้งอยู่บนศักยภาพและทุนทางสังคม  จัดการชีวิตส่วนรวมของตนเอง ด้วยตนเอง และเพื่อตนเอง  ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการเริ่มต้นจากการออกแบบงานและออกแบบหน้าที่ ตลอดจนแนวการปฏิบัติต่างๆ แล้วจึงจัดคนลงไป  ซึ่งจะเหมาะสำหรับการจัดองค์กรในส่วนที่ต้องเน้นการกำกับควบคุมด้วยเครื่องมือทางอำนาจ และการมีบทบาทหน้าที่ชัดเจน  ค่อนข้างลงตัวดีแล้ว 

การขับเคลื่อนชุมชนแนวปฏิบัติในองค์กรมหาวิทยาลัย

         ชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice) เมื่อนำมาเป็นแนวทางจัดการเชิงยุทธศาสตร์ขององค์กรนั้น มีแนวทางในการขับเคลื่อนและส่งเสริมหลายแนวทางด้วยกัน  แนวทางหนึ่งก็อาจประยุกต์ใช้แนวคิดการขับเคลื่อนกลุ่มประชาคม แต่หลักคิดในแง่จุดหมายก็คงจะคล้ายกัน  กล่าวคือ เป็นการจัดการเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ความเปลี่ยนแปลง  การพัฒนาสิ่งใหม่ๆ  การพัฒนานวัตกรรม  ไม่เหมาะสำหรับการขับเคลื่อนเพื่อทำงาน Ruetine  

        ในการประยุกต์ใช้กับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ขององค์กร  จำเป็นต้องบูรณาการองค์ประกอบต่างๆที่ต้องให้ความสำคัญไปพร้อมกัน คือ  การพัฒนาคน  การแปรภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ที่จำเป็นใหม่ๆขององค์กรไปสู่การปฏิบัติ  การก่อเกิดกลไกและนวัตกรรมจัดการความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ดังนั้น จึงควรมีกระบวนการที่สำคัญ ดังนี้

  1. ค้นหา วิเคราะห์ และถอดบทเรียน (Mapping and Reflection of Lesson learned) 
  2. เรียนรู้ระหว่างกันและพัฒนาประเด็นร่วม (Sharining and develop common goals)
  3. พัฒนายุทธศาสตร์ร่วม เพื่อขับเคลื่อนพลังชุมชนแบบประชาคม หรือพลังกลุ่ม
  4. วางแผนปฏิบัติการอย่างสอดคล้องกัน มีจุดหมายร่วม และวัตถุประสงค์ย่อยก็ยังคงอยู่
  5. วางแผนประสานความเชื่อมโยงและจัดการแบบเครือข่าย
  6. ดำเนินการและปฏิบัติการตามแผน
  7. ถอดบทเรียนและสะท้อนสู่การยกระดับ
  8. ปรับตัวชี้วัด ค่านิยมร่วมขององค์กร  วัฒนธรรมองค์กร
  9. ทดสอบและสรุปบทเรียน  ก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆขององค์กร เช่น ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ วัฒนธรรมองค์กร และเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ ทีมเข้าใจ  
  10. ขยายผลและจัดการความเปลี่ยนแปลง

        ในบริบทของมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษานั้น เราสามารถขับเคลื่อนชุมชนแนวปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม จัดการความรู้ในการปฏิบัติ ทั้ง Tacit-explicit knowlege สู่การริริ่มสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมการจัดการองค์กร  เพื่อพัฒนาคุณภาพงานในภารกิจหลักต่างๆ เช่น การวิจัย  การเรียนการสอน  การบริการทางวิชาการ  การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการปฏิรูปองคืกร  เพื่อนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆให้เกิดขึ้น

          ตอนนี้ สถาบันของผม กำลังทำในกระบวนการนี้อยู่  ส่วนหนึ่งก็ทำกันเองมาก่อนโดยสรุปบทเรียนการทำงานชุมชนและงานประชาคม  แล้วนำมามององค์กรในด้านที่เป็นชุมชนอีกชนิดหนึ่งจากนั้นก็ลองทำกันดู  และอีกส่วนหนึ่ง ก็ได้รับการสนับสนุนในการยกระดับเป็นแผนแม่บทในการขับเคลื่อนองค์กรจัดการความรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม โดยแผนงาน สอส ของกองทุน สสส ได้ผลอย่างไรก็จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อยๆครับ

         แล้วก็เมื่อวานนี้ (8 พฤษภาคม 2549) ก็ลองใช้กระบวนการนี้ จัดเวทีขับเคลื่อนประชาคมวิจัย และวางแผนโครงการสร้างจิตสำนึกสาธารณะของพลเมือง ทางด้านสุขภาพ ของเครือข่ายภาคีร่วมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ของชุมชนเทศบาล ในอำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  กระบวนการคล้ายกับการวิจัยแบบ CO-PAR ซึ่งเน้นการจัดตั้งกลุ่มจัดการของชุมชน  และชุมชนแนวปฏิบัติ  ก็ได้ผลดีพอสมควรครับ คนในเวทีมีความเป็นตัวของตัวเอง  ร่วมคิดร่วมแสดงออก ทำให้ได้โครงการและกรอบการขับเคลื่อนประชาคมวิจัย  ที่สะท้อนการมีสำนึกร่วมพอประมาณ  คิดว่าขับเคลื่อนบ่อยๆ  น่าจะช่วยให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานด้วยกันได้ดีมาก

หมายเลขบันทึก: 27612เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2006 05:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เป็น best practice มากครับผม

ขอบคุณครับ คุณขจิต ฝอยทอง ที่แวะมาเยี่ยมชมและให้กำลังใจ

วิรัตน์  คำศรีจันทร์

ขอบพระคุณอาจารย์คับ ......ตอนนี้ผมจะขับเคลื่อน กลุ่มผู้ประกอบการร้านขายอาหารในเขต และช่าวบ้าน บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ทอผ้าไหม ให้ผู้นำเอเป็ค และผ้าที่ถวายกับ ราชวงศ์ ต่างประเทศในช่วง ฉลอง60 ปีครองราช .....ที่มาที่ไปของโครงการ คือ ผู้ว่าราชการท่านกำหนดให้หมู่บ้านแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านที่จะทำhome stay แล้วจัดให้มีในเรื่องของอาหารปลอดภัยเข้าไปเกี่ยวข้อง. ....รบกวนอาจารย์แนะนำด้วยคับ..
  • โอ ผ่านไปนานแล้วนะครับเนี่ย
  • ขอบคุณการปรับหน้าจอใหม่ของ GotoKnow ที่ทำให้ผมได้มีโอกาสแวะมาดูในนี้อีกครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท