รายงานผลการดำเนินงานโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน


การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน

     สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2548  โดยมี

    เป้าหมาย เพื่อพัฒนาข้าราชการในหน่วยงานของสำนักงานปลัดกระทรวงที่รับผิดชอบในการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน 40 คน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานได้ถูกต้อง

     วิธีดำเนินการ  ได้ศึกษาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาหลักสูตรและโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการประสานด้านวิชาการ ประสานให้ผู้เข้าประชุมจัดทำพันธกิจของหน่วยงานและคำพรรณนางานของตนเองเพื่อส่งให้วิทยากรจัดทำสื่อฝึกปฏิบัติ ชี้แจงและให้ผู้เข้าประชุมจัดทำเอกสารล่วงหน้า เช่น รายงานการเดินทาง ทะเบียนประวัติกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติระหว่างประชุม

     ระยะเวลาและสถานที่จัดประขุม  ระหว่างวันที่ 5-6  กรกฎาคม  2548 เป็นเวลารวม 1 วันครึ่ง โดยจัดประชุมที่ สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา

     วิทยากร  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ  อัครปฐมพงศ์      ผู้ช่วยอธิการบดี เป็นที่ปรึกษาและวิยากร คือ อาจารย์โชค  ไชยวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์

     งบประมาณที่ใช้  33,230  บาท

     ผลการดำเนินงาน

     1. ผู้เข้าประชุม จากกลุ่มเป้าหมาย 43 คน มีหน่วยงานขอส่งผู้เข้าประชุมเพิ่มโดยใช้งบประมาณจากต้นสังกัด คือ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป. 3 คน และผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง จำนวน 3 คน รวมเป็น 49 คน สามารถเข้าประชุมตลอดโครงการ 46 คน คิดเป็นร้อยละ 115 ของเป้าหมาย

     2. สิ่งที่ผู้เข้าประชุมได้เรียนรู้ ได้ศึกษาพันธกิจหน่วยงานและภารกิจหน้าที่ของตนเองก่อนเข้าประชุมได้แนวคิดโดยสรุปเรื่อง Balanced Scorecard การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ แผนที่กลยุทธ์ ความสำคัญของการประเมินผล การกำหนดตัวชี้วัด การทดสอบคุณภาพของตัวชี้วัด ลักษณะตัวชี้วัดที่ดี การแปลง BSC จากระดับองค์การสู่ระดับหน่วยงานและบุคคล หลักการกำหนด Personal Scorecard และแนวทางการนำ KPI ไปใช้ประโยชน์ในด้านบุคลากร ผู้เข้าฝึกอบรมได้ฝึกปฏิบัติจัดทำร่างตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน โดยวิทยากรให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

     3. การประเมินผล วิทยากรใช้การซักถามความเข้าใจ และชี้แจงวิธีดำเนินงานเมื่อผู้เข้าประชุมกลับไปดำเนินงานที่หน่วยงานของตน โดยใช้แบบฟอร์มต่างๆ พร้อมทั้งให้ E-mail Address เพื่อให้ผู้เข้าประชุมจัดส่งร่างผลงานให้วิทยากรตรวจแก้ไขและให้คำแนะนำ ทั้งนี้ เพราะในการปฏิบัติจริงผู้เข้าประชุมจะต้องไปประชุม อภิปรายระดมความเห็นและรวบรวมข้อมูลร่วมกับสมาชิกในหน่วยงาน

     ผลการประเมินความคิดเห็นในการบริหารโครงการและการจัดบริการต่างๆ ของสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง-สูง ด้านหลักสูตรและวิทยากรอยู่ในระดับดี ข้อเสนอแนะคือ ควรขยายเวลาให้มากขึ้นเป็น 3-5 วัน ผู้เข้าประชุมพอใจวิทยากร ผู้บริหารโครงการและสถานที่ฝึกอบรม

     4. สิ่งที่ผู้บริหารโครงการได้เรียนรู้และพัฒนา ใช้การบริหารจัดการมาช่วยเพื่อให้การประชุมด้านวิชาการเป็นไปตามแผนของวิทยากร โดยจัดส่งเอกสาร แบบฟอร์ม คำชี้แจง ให้ผู้เข้าประชุมดำเนินการล่วงหน้าและส่งมอบให้ผู้บริหารโครงการในเวลาลงทะเบียนเข้าประชุม

     ผู้บริหารโครงการใช้ ICT เช่น E-mail ในการประสานงานวิชาการ ได้แก่ การประสานงานติดต่อวิทยากร การส่งเอกสารประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตร กระบวนการอบรมกับที่ปรึกษาโครงการและวิทยากร การติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการของผู้สนใจทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน เวลา วัสดุและค่าสาธารณูปโภค

     วิทยากรมอบหมายงานและตรวจงานให้แก่ผู้ส่งผลงานทาง E-mail ทำให้ประหยัดเวลาและทรัพยากรในการบริหารโครงการ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2759เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2005 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท