การเรียนรู้แบบร่วมมือ


การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative  Learning) หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึงเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน  มีการทำงานร่วมกัน  มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม  เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้      (ดร.สุวิทย์มูลคำ.  :  134)

วัตถุประสงค์

       1. เป็นวิธีการทีพัฒนาผู้เรียนในด้านวิชาการและทักษะทางสังคม

       2. เป็นการเตรียมผู้เรียนให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข

องค์ประกอบสำคัญ

       การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

       1. การมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในการบวก (Positive  Interdependence) หมายถึงการที่สมาชิกภายในกลุ่มมีการทำงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน  มีการแข่งขัน  มีการใช้วัสดุอุปกรณ์และข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน มีบทบาทหน้าที่และความสำเร็จร่วมกัน  รวมทั้งได้รับผลประโยชน์หรือรางวัลเท่าเทียมกัน

       2. การปฏิบัติสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างการทำงานกลุ่ม (Face to Face Promotion Interaction) เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อธิบายความรู้ให้เพื่อนภายในกลุ่มฟัง และมีการให้ข้อมูลย้อนกลับซึ่งกันและกัน

       3. การตรวจสอบความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน(Individual Accountability) เป็นกิจกรรมที่ตรวจเช็คหรือทดสอบให้มั่นใจว่าสมาชิกมีความรับผิดชอบต่องานกลุ่มหรือไม่  เพียงใด โดยสามารถที่จะทดสอบเป็นรายบุคคล เช่นการสังเกต การทำงาน การถามปากเปล่า เป็นต้น

       4. การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interdependence and Small Group  Skills) ในการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้เพื่อให้งานกลุ่มประสบความสำเร็จ ผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่ม เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการเป็นผู้นำ ทักษะการตัดสินใจ การแก้ปัญหา และทักษะกระบวนการกลุ่ม เป็นต้น

      5. กระบวนการกลุ่ม (Group  Process) เป็นกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอน ซึ่งสมาชิกแต่ละคนจะต้องทำความเข้าใจในเป้าหมายการทำงาน มีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน ประเมินผลงานและปรับปรุงงานร่วมกัน

       องค์ประกอบการเรียนรู้แบบร่วมมือทั้ง 5 องค์ประกอบนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้งานกลุ่มประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสมาชิกทุกคนต้องมีความมุ่งมั่น มีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างจริงจังในการดำเนินกิจกรรม จึงจะทำให้งานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 275821เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2009 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นายบุญจันทร์ ป้องขวาเลา

การเรียนรู้แบบร่วมมือ

การเรียนรู้แบบร่วมมือ มีหลายเทคนิคด้วยกัน

ลองเลือกไปใช้สักวิธีก็คงดีนะคะ

หนูกำลังจะทดลองใช้ STAD อยู่

ขอบคุณนะคะที่ให้ความรู้เพิ่มเติม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท