ตัดกรรมตามแนวพุทธ (๓) ... การให้ผลของกรรม ... (ว.วชิรเมธี)


บันทึกที่ผ่านมา ท่าน ว.วชิรเมธี ได้นำเข้าสู่เรื่องของ "การตัดกรรมตามแนวพุทธ" (ตัดกรรมตามแนวพุทธ (๑) ... บทนำ ... (ว.วชิรเมธี)) และ "ความหมายของกรรม" (ตัดกรรมตามแนวพุทธ (๒) ... ความหมายของกรรม ... (ว.วชิรเมธี))

 

 

ตอนที่ ๓ นี้ ... เรามาทำความเข้าใจ "การให้ผลของกรรม" นะครับ ;)

 

 

ตัดกรรมตามแนวพุทธ (๓)

การให้ผลของกรรม ... (ว.วชิรเมธี)

 

 

การให้ผลของกรรม เป็นเรื่องซับซ้อนยากเกินกว่าที่คนธรรมดาจะเข้าใจได้อย่างทะลุปรุโปร่ง พระพุทธองค์ตรัสว่า เรื่องที่เข้าใจยากสี่เรื่องซึ่งคนธรรมดาไม่ควรนำมาคิดให้เปลืองสมอง คือ

 

๑. เรื่องพุทธวิสัย ...

ความสามารถพิเศษหรืออัจฉริยภาพของพระพุทธเจ้า

 

๒. เรื่องฌานวิสัย ...

ความสามารถพิเศษหรืออัจฉริยภาพของคนที่ฝึกจิตมาเป็นอย่างดี

 

๓. เรื่องกรรมวิบาก ...

การให้ผลของกฎแห่งกรรม

 

๔. เรื่องโลกจินตา ...

การคิดปัญหาอภิปรัชญา เช่น โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้สร้างโลก

 

สี่เรื่องนี้พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็น "อจินไตย" คือ เป็นเรื่องที่ไม่ควรนำมาคิด (แต่ไม่ได้ห้ามคิด) เพราะอาจจะทำให้เสียเวลาเปล่า ชวนใจฟุ้งซ่าน ไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาของชีวิต และเป็นเรื่องที่เหนือสามัญวิสัย พิสูจน์ได้ยาก ใครมัวคิดค้นหรือหาทางพิสูจน์ ยังไม่ได้รู้ความจริงก็อาจจะตายเสียก่อน หรือเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ กล่าวโดยย่อ ถึงคิดอย่างไรก็ไม่มีทางได้คำตอบที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะเรื่องทั้งสี่นี้อยู่เหนือวิสัยที่จะเข้าถึงได้ด้วยการคิดหรือการใช้ตรรกะ คิดมากอาจเป็นบ้าเพราะคิด

อย่างไรก็ตาม ที่ท่านไม่แนะนำให้คิดค้นนั้นไม่ได้หมายความว่า เรื่องเหล่านี้ไม่มีอยู่จริง ตรงกันข้าม เรื่องทั้งสี่นี้เป็นความจริงที่มีอยู่ในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกรรมวิบาก หรือการให้ผลของกฎแห่งกรรม เป็นความจริงตามธรรมชาติที่มีอยู่ เป็นอยู่เอง และเกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง โดยไม่เกี่ยวกับการค้นพบของพระพุทธเจ้าแต่เป็นธรรมดาตามธรรมชาติของกฎแห่งกรรมก็เหมือนกับความมีอยู่ของไฟที่ไม่ว่าเราจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม แต่เมื่อเอามือไปจี้ไฟทั้งคนที่เชื่อและไม่เชื่อว่า ไฟร้อนก็จะไดรับผลเหมือนกัน คือ จะรู้ด้วยตัวเองว่า ไฟนั้นร้อนอย่างไม่มีทางปฏิเสธเป็นอื่นได้ 

 

(โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป)

 

......................................................................................................................................

 

"อจินไตย" ไม่ใช่เรื่องพระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ควรจะนำมาคิด เพราะสิ้นเปลืองเวลาที่จะทำความดีในช่วงเวลาของการเกิดมาเป็นมนุษย์ แต่นั่นก็มิได้หมายรวมว่า "ห้ามคิด" แต่ประการใด

ประสบการณ์ตรงที่ได้สัมผัสกับบุคคลที่คิดลักษณะเช่นนี้ว่า อยากรู้ อยากลอง อยากพิสูจน์ เรื่องพวกนี้ ลงทุนในเวลาและชีวิตของตัวเองเข้าไปพิสูจน์ว่า จริงหรือไม่จริง เพียงแต่คำว่า "จริงหรือไม่จริง" เป็นแค่คำแก้เขินเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง บุคคลนั้นได้ตกหลุมพลางของความอยากรู้ของตัวเองไปเรียบร้อยแล้ว ผมเองก็ไม่แน่ใจว่า ยิ่งหลงเข้าไป ยิ่งถอนตัวไม่ขึ้น เพราะความอยากรู้ ซึ่งเป็นกิเลสของมนุษย์มันมีปริมาณหนามากขึ้นเรื่อย ๆ ยากที่จะละทิ้ง ด้วยหัวใจที่อ่อนแอ และอ่อนไหว ไม่รู้ว่านานเท่าไหร่ จะสามารถขึ้นมาหลุมกิเลสนั้นได้

นักวิจัย เพียรพิสูจน์ "อจินไตย" เป็นเรื่องที่นอกเหนือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ นำภูมิปัญญาตะวันตกมาคิดพิสูจน์สัจธรรมที่ปฏิบัติมาเป็นพันปี น่าขันหรือน่าเศร้าก็ไม่แน่ใจ ... แต่คนที่อยู่ใกล้เป็นห่วงกันทุกคน

ละทิ้ง ปล่อยวาง หันหลังกลับมาสู่เส้นทางที่ถูกต้อง เส้นทางที่ไม่ได้ใช้ความลุ่มหลง จึงจะเป็นสิ่งดี

บุญรักษา ผู้เพียรทำดี ครับ ;)

 

......................................................................................................................................

 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง ...

 

 

......................................................................................................................................

 

หนังสือธรรม

ว.วชิรเมธี (นามแฝง).  ธรรมะศักดิ์สิทธิ์.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพฯ: อมรินทร์ธรรมะ, ๒๕๕๒.

 

หมายเลขบันทึก: 274560เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ผมก็มองว่า กรรม เราควร "อจินไตย" ครั้งจะมาตัดกรรม หรือ สแกนกรรม หรือ กระบวนการใดๆก็ตามเพื่อรื้อฟิื้นมาคิด มาดู เป็นการเสียเวลา

เพราะคนเรามีกรรมเป็นเจ้าเรือน เราวันนี้คือ ผลจากกรรมที่เราทำผ่านมา ซึ่งแก้ไขไม่ได้เเล้ว ก็ต้องคอยรับผลแห่งกรรมนั้น

สิ่งที่เราควรคิดและตระหนัก และกลัว(กลัวการทำผิด ทำมิชอบ)ให้มากคือ การทำกรรมในปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลต่อเราในอนาคตกาล ต่างหาก

ขอบคุณครับ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจค่ะ

หนูเองก็เคยคิดเรื่องวิบากกรรมเหมือนมันเกิดขึ้นได้อย่างไร

ก็ยงไม่พบคำตอบค่ะ

แต่ก็พอรู้บ้างว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ

 

สวัสดีค่ะ  พี่อาจารย์ Wasawat Deemarn

น้องนีนานันท์ คิดว่า ขอเพียงแต่ มี หิริโอตัปปะ คือ ความละอายต่อบาป  และ เป็นสัมมาทิฎฐิ  กรรมที่ทำ ก็จะเป็นกรรมดี และจะส่งผลดีเมื่อถึงเวลาที่เราควรได้ เหมือน ปลูกต้นผลไม้ใด ก็ได้ผลไม้นั้น...

ขออนุญาตฝากเพลงค่ะ

เพลง เงา      พิ้งค์แพนเตอร์

http://www.imeem.com/glaibarn/music/88h5_S10//?rel=1

คนเรา เผลอไปไม่นาน    
เวลาหมุนผ่านจากวันเป็นเดือนเลื่อนไปเป็นปี
ลอง... ลองคิดดูให้ดี    
ตลอดชีวี เรานี้ทำอะไร    
ชีพคน หมุนวนสั้นนัก    
โลภ หลง โกรธ รัก สุดหักหลีกหนี  
บางคนหมองไหม้ ทุกข์ใจทวี    

บางคนชาตินี้ มีแต่สุขนิรันดร์  ทำดี มีแต่สุขสันต์

ทำชั่วสักวัน คงต้องหมองเศร้า  
บาปเวรเวียนวน ชีวิตคนเรา    
เปรียบดังดุจเงา ที่คอยเฝ้าติดตัว...       

ขอบคุณค่ะ

Grace is a Virtue by Kausthub  I'mPerfect by Kausthub  Wings of Fire by Kausthub  Hi(gh)biscus by Kausthub  Morning Duty by Kausthub  Eve...Teasing by Kausthub  Rise above the rest by Kausthub  Lilly & Bee by Kausthub

My Best by Thumbnails

http://www.flickr.com/photos/kausthub/3379940995/in/set-72157616043959648/

http://www.flickr.com/photos/kausthub/sets/72157614661290485/

Thank You.

ขอบคุณมากครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ;)

"อจินไตย" คือ สัจธรรมแห่งพระพุทธองค์ ครับ

หลายคนมีความหลงและมัวเมาในกิเลสเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งอัตตาในตนก็เพียบพร้อม พอจะให้กิเลสชักนำไปในทางที่ผิดได้

ผมเห็นมากะตา ครับ ;)

ขอบคุณมากครับ น้อง berger0123 ;)

คำตอบมีอยู่แล้วเมื่อสองพันห้าร้อยปีก่อน เพียงแต่น้องคงต้องค่อย ๆ ศึกษา หาคำตอบด้วยตนเองครับ

ป.ล. ขออภัยที่ต้องลบ "จอง" ออกครับ ;)

มันเป็นเรื่องของ "กรรม" ครับ น้อง นีนานันท์ ;)

สิ่งที่น้องควรทำ ณ เวลานี้ คือ ปล่อยและวางครับ

"กรรม" เป็นของใครของมัน ใครทำสิ่งใด ย่อมได้ผลสิ่งนั้น แต่หากน้อง นีนานันท์ ยังคงคิดถึงอยู่แต่ผู้ทำกรรมนั้นตลอดเวลา อาจจะไม่มีความสุขไปตลอด บาปกรรมก็เกิดกับตัวเอง ปล่อย ละ วาง ครับ

ปล่อยไปเถอะ มันเป็นเช่นนั้นเอง ไม่มีใครหนีกรรมพ้น ครับ ;)

สิ่งที่น้องควรทำ ณ เวลานี้ คือ ปล่อยและวางครับ  

ขอบคุณพี่อาจารย์ Wasawat Deemarn  ค่ะ 

ร้องเพลงไปด้วย  โลกนี้คือละคร บทบาทบางตอน ชีวิตยอกย้อน(ซับซ้อน)ยับเยิน  แล้วก็  ปล่อย... วาง   โห...  ได้ยินเสียงดังตุ๊บเบาๆ  เพราะว่า วางเบาๆ ค่ะ  อิ อิ 

Samkok_san_cover_small น่าอ่านมาก อ่านได้บ่อยเท่าที่อยากอ่าน ตอนที่ชอบก็คั่นเป็นตอนๆ ไว้ เพื่อจะได้อ่านตรงนั้นบ่อยๆ...  

  • ผมว่า "การตลาด" ก็หลอกให้คนไปหลงเชื่อกันเยอะแล้วนะครับ 
  • ขอบคุณมากครับ จะได้ไม่หลงกลการตลาด และชาญฉลาดแบบหมดกรรม 
  • นี่ก็อยากบอกเหล่านักเขียน หนังสือตัดกรรมเหมือนกันนะ ว่าเค้าสร้างกรรมใหม่ให้ตัวเองนะนั่น 

หนังสือขายดี คือ หนังสือที่ขึ้นปกว่า "ตัดกรรม" "หนีกรรม" แถม VCD บทสวดให้อะไรพวกนี้ครับ ... น้ำขึ้นให้รีบตัก บาปกรรมรีบทำเข้าไป

มันเป็น "อจินไตย" จริง ๆ ครับ

ขอบคุณครับ ท่าน ตาเหลิม ;) วันนี้แวะมาเยี่ยมบันทึกของผมมากมายทีเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท