การวิจัยในชั้นเรียน : ใบความรู้ที่ 5


ใบความรู้ที่ 5
การดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน
ขั้นตอนที่ 2 : การกำหนดวิธีการในการแก้ปัญหา
ตอนที่ 2 การกำหนดวิธีการหรือแนวทางในการแก้ปัญหา
          
             จากผลการปฏิบัติกิจกรรมคาม ใบความรู้ที่ 4 การดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน  
ขั้นตอนที่ 2 : การกำหนดวิธีการในการแก้ปัญหา ตอนที่ 1 การระบุสภาพปัญหา
/ หัวข้อการวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย มีผลให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถ
กำหนดหัวข้อการวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างมีเหตุมีผล รวมทั้งได้กำหนดวัตถุประสงค์
ในการวิจัยในชั้นเรียน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั้น
การดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อการ
แก้ไขปัญหาในขั้นเรียนจามที่กำหนดไว้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องรู้และเลือก
ใช้แนวคิด ทฤษฎี หลักการการจัดการเรียนการสอนให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อสภาพ
การแก้ปัญหาที่กำหนด
แนวคิด ทฤษฎี หลักการจัดการเรียนการสอน มีมากมายและหลากหลาย ใน
การฝึกอบรมครั้งนี้จะนำเสนอ แนวคิด ทฤษฎี หลักการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้อง
แนวทางและปรัชญาการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ในส่วนของคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ในประเด็นการคิด วิเคราะห์ เพื่อให้สอดรับกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและมาตรฐาน
การศึกษานอกโรงเรียนที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ เพื่อการเสริมสร้างให้ผู้เรียนตาม
หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน “ คิดเป็น”
ทั้งนี้ ก่อนที่จะกำหนดเลือก แนวคิด ทฤษฎี หลักการจัดการเรียนการสอน
เพื่อการวิจัยในชั้นเรียน ครูต้องทำความเข้าใจและเลือกรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสมกับ
สภาพปัญหาที่กำหนด โดยรูปแบบการวิจัย สามารถประมวลได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
1. การวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหา / สถานการณ์
2. การวิจัยเพื่อการปรับเปลี่ยน จำแนกรายละเอียดได้
2 รูปแบบย่อย ได้แก่
2.1 การวิจัยเพื่อส่งเสริมสัมฤทธิผลทางการเรียน
2.2 การวิจัยเพื่อปรับพฤติกรรมเฉพาะราย
รายละเอียดของรูปแบบวิจัย สามารถธิบายได้ดังนี้
1. การวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหา / สถานการณ์
มีรูปแบบการดำเนินงานดังนี้
1.1 การสำรวจในชั้นเรียน
เป็นรูปแบบการวิจัยในชั้นเรียนที่รู้จักแพร่หลายมากที่สุด
มีจุดมุ่งหมาย เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ สภาพปรากฏการณ์
ตามที่เป็นอยู่ในชั้นเรียนได้แก่ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรู้ ความคิด พฤติกรรม ของผู้เรียน
ลักษณะ ใช้วิธีการสอบถามข้อมูลจากผู้เรียนโดยตรง
โดยอาศัยข้อมูลของผู้เรียนจำนวนมากในชั้นเรียน ใช้เครื่องมือการสำรวจข้อมูลด้วย
แบบสอบถาม แบบสำรวจ หรือ แบบสัมภาษณ์ตามที่ผู้เก็บข้อมูลมีความถนัด ทั้งนี้
ในการวิจัยในชั้นเรียน จะมีขอบเขตที่แคบกว่าการสำรวจข้อมูลโดยทั่วไป โดย
ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ความติดเห็น ความรู้สึกเกี่ยวกับ
การเรียนการสอนโดยตรง
ข้อจำกัด การสำรวจข้อมูลในชั้นเรียนด้วยวิธีการนี้ อาจจะ
ทำให้ ผู้สอน ได้ข้อมูลพื้นฐานเป็นหลัก ส่วนข้อมูลเชิงลึกผู้สอนอาจจะไม่ได้ข้อมูลที่
ตรงและแท้จริงเสมอไป ดังนั้น การสำรวจข้อมูลโดยวิธีการนี้ มักใช้เป็นรูปแบบใน
การวิจัยเสริม ไม่ควรกำหนดเป็นรูปแบบในการวิจัยในชั้นเรียนหลักเช่น นำไปใช้หลังจาก
สิ้นสุดการเรียนการสอนหรือสิ้นสุดการทำกิจกรรม
ตัวอย่าง เช่น - ผู้เรียนเพศหญิงกับผู้เรียนเพศชาย มีความรู้สึก
ต่อการประเมินแฟ้มสะสมงานต่างกันหรือไม่ อย่างไร
- ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรม
การเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่มย่อยหรือไม่ อย่างไร
1.2 การศึกษาเฉพาะกรณี
เป็นรูปแบบการวิจัยในชั้นเรียน ในลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ เพราะ
จะได้ข้อมูลที่ลึกและครอบคลุม
มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาทำความเข้าใจผู้เรียนเฉพาะกรณี ทั้งใน
ระดับลึกและภาพรวม
ลักษณะ หนึ่งกรณีศึกษาอาจได้แก่ผู้เรียน 1 คนหรือผู้เรียน 1 กลุ่มเล็ก
โดยกรณีศึกษา อาจมีลักษณะพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งในทางบวกหรือทางลบ แต่โดยมาก
มักมุ่งศึกษากรณีที่มีพฤติกรรมทางลบ โดยการเก็บข้อมูลเป็นแบบเจาะลึกตามธรรมชาติ เช่น
การสังเกต การสนทนา (สัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสะท้อน
ความรู้สึกนึกคิด และข้อมูลหรือเอกสารส่วนบุคคล
ข้อจำกัด ผลการศึกษา ผู้สอนจะนำไปใช้ได้เฉพาะกรณีได้เท่านั้น
ตัวอย่าง เช่น - ทำไม นาย ก. จึงมีพฤติกรรมก้าวร้าวทั้งในเวลาเรียน
และนอกเวลาเรียน
- นางสาว X และ นาย Y มีพฤติกรรมไม่มุ่งมั่น ในการ
ทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในกลุ่มของตนเอง เป็นเพราะอะไร
1.3 การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน
มีจุดมุ่งหมาย เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
ผู้เรียนภายในกลุ่มหรือในชั้นเรียน หรือระหว่างนักเรียนกับครูในระหว่างเรียน
ลักษณะ เป็นการศึกษาพฤติกรรม โดยเน้นการปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน
โดยผู้สอนสามารถเก็บข้อมูลได้ใน 2 ลักษณะคือ 1) การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้สอนจะเก็บ
ข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง (ระบุประเด็นในการศึกษา พร้อมกับกำหนดค่าเชิง
ตัวเลข เป็นผลการประเมินที่เกิดจากพฤติกรรม) เพื่อเก็บข้อมูลเป็นตัวเลข แล้วนำมาวิเคราะห์
หรือ 2) การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตแบบธรรมชาติและบันทึกพฤติกรรมที่ปรากฏ
แต่ต้องอาศัยเวลาและการสังเกตต่อเนื่อง แล้วจึงนำผลการบันทึกมาวิเคราะห์สรุปผล ทั้งนี้
การใช้รูปแบบการวิจัยแบบนี้ เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ในสาระและกิจกรรมที่มีการปฏิบัติ
ข้อจำกัด การวิจัยรูปแบบนี้ ต้องอาศัยเวลาในการสังเกต และ
การวิเคราะห์พฤติกรรม ทั้งนี้ พฤติกรรมบางอย่างอาจไม่แสดงออกอย่างชัดเจน จะไม่สามารถ
สังเกตได้ในระยะเวลาสั้น
ตัวอย่าง - ศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
1.4 การศึกษานิเวศวิทยาในชั้นเรียน
เป็นการศึกษาภาพรวมทุกด้านของชั้นเรียน ทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ
และสังคม ไม่มุ่งเจาะจงที่พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง
มีจุดมุ่งหมาย เพื่อทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในทุกด้านของชั้นเรียน
ลักษณะ เป็นการศึกษาทุกปัจจัยในชั้นเรียนแบบองค์รวม ไม่มีการแยก
ส่วนในการศึกษา เหมาะสมกับชั้นเรียนที่มีการจัดการศึกษาคละอายุ เป็นการจัดการเรียนการสอน
ร่วมกันระหว่างผู้เรียนปกติกับผู้เรียนพิเศษ ผู้สอนจะนำผลการวิจัยไปวิพากษ์ โดยการวิเคราะห์
จุดดี จุดด้อยของหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้
ข้อจำกัด เป็นการวิจัยที่ต้องใช้เวลา ใช้แนวคิด มุมมองทั้งมุมมอง
ภายใน (ผู้สอน) และมุมมองภายนอก (ผู้สังเกตการณ์) เพราะองค์ประกอบในชั้นเรียนมี
ความซับซ้อน หลายมิติ แต่เป็นองค์ประกอบที่มีความเกี่ยวข้องกัน
2. การวิจัยเพื่อการปรับเปลี่ยน
การดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน โดยรูปแบบการวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น
การดำเนินงานเป็นการดำเนินงานในลักษณะการวิจัยเชิงทดลอง โดยผู้สอนต้องทดลองปฏิบัติ
ด้วยวิธีการใหม่กว่าเดิม เพื่อทำให้ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนดีขึ้น หรือการทดลองปฏิบัติวิธีใหม่ๆ
ทดแทนวิธีเดิมเพื่อประหยัดเวลาและทรัพยากร
การทดลองปฏิบัติวิธีการใหม่ เรียกว่า “ treatment ” ทั้งนี้ เมื่อได้ทดลองปฏิบัติ
กับผู้เรียนแล้ว ต้องมีการวัดประสิทธิภาพของ “ treatment ” ในด้านค่างๆเช่น ความรู้ความเข้าใจ
ทักษะการปฏิบัติ ผลงาน ความรู้สึกหรือเจตคติ เป็นต้น
ในการทดลอง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการทดลอง “ treatment ” รูปแบบ
พื้นฐานในการทดลองเพื่อการวิจัยที่นิยม ได้แก่ การทดลองกลุ่มเดียว วัดผลครั้งเดียว
                                            X        O
                       X    หมายถึง     การทดลองปฏิบัติวิธีการใหม่ “ treatment ” ที่ให้กับผู้เรียน
O หมายถึง ผลที่วัดได้หลังการทดลอง (ผลสัมฤทธิ์ หรือ พฤติกรรม)
                      รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง มีหลายรูปแบบ สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ 
การทดลองรายกลุ่ม และ การทดลองเฉพาะราย มีรายละเอียด ดังนี้
1. การทดลองรายกลุ่มเพื่อส่งเสริมสัมฤทธิผลทางการเรียน
เป็นวิธีการทดลองที่ได้รับความนิยมในการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่
ทางจิตวิทยา และทางการศึกษา ซึ่งตอบสนองการวิจัยและพัฒนาเทคนิควิธีการสอนได้ดี
มีจุดมุ่งหมาย เพื่อตอบคำถามว่า วิธีการสอนนี้ ให้ผลดีหรือไม่กับผู้เรียน
กลุ่มนี้ ผลดีในที่นี้อาจหมายถึง ดีกว่าวิธีการสอนแบบเดิม ดีเท่าเทียมการสอนแบบเดิม
(ทดแทนกันได้) เป็นการทดลองโดยให้ treatment กับกลุ่มผู้เรียน แล้ววัดผลว่า มีผลเป็นอย่างไร
บ้างหลังจากการใช้ treatment
รูปแบบการดำเนินการ สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ คือ
1) ทดลองกลุ่มเดียว เพื่อตอบคำถามว่าวิธีการสอนนี้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนดีขึ้นหรือไม่
2) ทดลองเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่ม เพื่อตอบคำถามว่า วิธีการสอนนี้ดีกว่าวิธีการสอบแบบเดิม
ข้อจำกัด ผลการทดลองจะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ
การเลือกรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการ รวมทั้ง การทดลองแบบนี้
เป็นการทดลองแบบกลุ่ม อาจไม่สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเฉพาะรายได้
ตัวอย่าง - การใช้ใบงานเชิงสืบสอบ ทำให้รู้เชิงปฏิบัติดีกว่าการสอน
ปกติในสาระ............หรือไม่
- การใช้วีดีทัศน์ เรื่อง....................ทดแทนการสอนแบบ
บรรยาย จะมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นหรือไม่ กับผู้เรียนระดับประถมศึกษา
2. การทดลองเฉพาะรายเพื่อปรับพฤติกรรม
ในการวิจัยในชั้นเรียน ได้มีการนำรูปแบบการทดลองเฉพาะราย เพื่อปรับ
พฤติกรรมมาใช้มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียนรายบุคคล
มีจุดมุ่งหมาย เพื่อตอบคำถามว่า วิธีการสอนนี้ สามารถปรับ
พฤติกรรมของผู้เรียนคนนี้ได้หรือไม่ การทดลองในรูปแบบนี้ เป็นการวัดประสิทธิภาพของ
treatment โดยทำกาสรเปรียบเทียบผลของพฤติกรรมก่อนและหลังการใช้ treatment เพื่อสรุป
ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนรายนั้นๆ
รูปแบบการดำเนินการ เหมาะสำหรับการปรับพฤติกรรมที่ไม่
พึงประสงค์ หรือส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้มากขึ้นเช่น เด็กก้าวร้าว เด็กซึมเศร้า
เด็กไม่กล้าแสดงออก เด็กที่มีปัญหาในการทำงานกลุ่ม เป็นต้น
ข้อจำกัด ผลที่ได้เป็นผลจากการทดลองใช้รูปแบบกับผู้เรียนรายบุคคล
ดังนั้น ผลจากการทดลองใช้รูปแบบที่ประสบความสำเร็จกับผู้เรียนรายหนึ่ง อาจไม่สามารถนำไป
ใช้กับผู้เรียนรายอื่นที่มีพฤติกรรมเดียวกันได้
ตัวอย่าง - การเสริมแรงเชิงบวก จะช่วยให้ นาย ก. และ นางสาว ข.
มีพฤติกรรมในการทำโครงงานดีขึ้นหรือไม่

จากการศึกษารูปแบบการวิจัยทั้ง 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. การวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหา /
สถานการณ์ และ 2. การวิจัยเพื่อการปรับเปลี่ยน พบว่า หากในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน
ผู้สอนกำหนดใช้รูปแบบการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหา / สถานการณ์ ในการดำเนินงานจะ
เน้นในการเก็บและรวบรวมข้อมูล โดยกำหนดใช้เครื่องมือที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็น แบบสังเกต
แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ กำหนด ตัดสินใจ ในการพัฒนา การจัด
การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับลักษณะนิเวศฯในชั้นเรียน ในการนี้ หากผู้สอน
กำหนดใช้รูปแบบการวิจัยเพื่อการปรับเปลี่ยน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องศึกษา และเลือก
แนวคิด ทฤษฎี หลักการจัดการเรียนการสอน เพื่อการนำไปใช้ออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อ
การแก้ปัญหาในชั้นเรียน จะเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ตาม
แนวคิด ทฤษฎี หลักการจัดการเรียนการสอน ที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาการ
เรียนรู้ของผู้เรียนนั้น มีแนวคิด ทฤษฎี หลักการจัดการเรียนการสอนมากมาย ทั้งนี้ ตามแนวทาง
การปฏิรูปการศึกษา กำหนดให้การจัดการเรียนรู้ให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น เพื่อให้การวิจัย
ในชั้นเรียน มีผลสนองตอบต่อการปฏิรูปการศึกษา ในการฝึกอบรมครั้งนี้ จะนำเสนอแนวคิด
ทฤษฎี หลักการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่กำหนด
1. วิธีสอนแบบใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์
วิธีสอนแบบใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ เป็นวิธีสอนที่เชื่อมโยง
การกระทำกับการคิดวิเคราะห์เข้าด้วยกัน โดยให้ผู้เรียนจะได้เผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็น
ส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยการนำหลักคุณธรรม หลักธรรมต่างๆ รวมทั้งความรู้
ข้อมูล ข่าวสาร มาใช้เป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติและการตัดสินใจ เพื่อสรุปประเมินค่าว่า สิ่งใด
ถูกต้องดีงาม เกิดประโยชน์ สิ่งใดบกพร่อง ไม่ถูกต้อง
ขั้นตอนการจัดการสอน
ขั้นที่ 1 การสร้างศรัทธา เป็นขั้นการสร้างความสนใจและความเชื่อมั่น
ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนว่า บทเรียนนี้มีความสัมพันธ์และมีคุณค่ากับการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ศึกษาสังคม (ฝึกทักษะการรวบรวม ข้อมูล ข่าวสาร
ข้อเท็จจริง ความรู้และหลักการ) เป็นขั้นการเสนอสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของ
ผู้เรียน พร้อมกับการวิเคราะห์ วิพากษ์ เพื่อนำไปสู่การฝึกนิสัยและการฝึกทักษะการแสวงหา
ข้อมูลข่าวสาร มิใช่การเสนอข้อมูลจากการเล่าขาน ขาดแหล่งข้อมูลอ้างอิง
ขั้นที่ 3 ระดมเผชิญสถานการณ์ (ฝึกทักษะการประเมินค่า) เป็นขั้นตอน
การนำข้อมูลข่าวสารที่ได้สรุปประเด็นแล้ว มาฝึกคิดประเมินค่าว่า ประเด็นไหนถูกต้อง ดีงาม
เหมาะสม และเกิดประโยชน์แท้จริง ประเด็นไหนบกพร่อง ผิดพลาด ไม่ถูกไม่ควร หากนำไปใช้
จะเกิดความเสียหาย
ขั้นที่ 4 วิจารณ์ความคิด (ฝึกทักษะการเลือกและการตัดสินใจ) เป็น
ขั้นตอนที่เร้าให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ทางเลือกต่างๆ ก่อนการตัดสินใจ
ขั้นที่ 5 ปรับพฤติกรรม (ฝึกการปฏิบัติ) เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนนำ
ทางเลือกที่ตัดสินใจ มาเสนอแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
ขั้นที่ 6 สรุปและประเมิน เป็นการนำสาระและกิจกรรม ตั้งแต่เริ่มต้น
มาสรุป ย้ำ และตรวจสอบ โดยให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน และครูประเมิน
ผู้เรียน พร้อมวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2. การสอนแบบโครงงาน
เป็นการจัดการเรียนการสอน ที่จัดประสบการณ์การปฏิบัติงานให้กับผู้เรียน ได้
ปฏิบัติเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้ทดลองพิสูจน์ด้วยตนเอง มีการทำงานอย่างเป็นระบบขั้นตอน
มีการวางแผนการทำงาน ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม และฝึกการคิดวิเคราะห์ การสอนแบบ
โครงงาน สามารถแยกประเภทได้ดังนี้ 1) โครงงานแบบสำรวจ 2) โครงงานแบบทดลอง
3) โครงงานสิ่งประดิษฐ์ และ 4) โครงงานทฤษฎี
ขั้นตอนการจัดการสอน
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมี 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 กำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงงานโดยตัวนักเรียนเอง
ขั้นที่ 2 วางแผนหรือวางโครงงาน นักเรียนต้องช่วยกันวางแผนว่าจะทำ
อะไร ใช้วิธีการหรือกิจกรรมใด จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย
ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการ ลงมือทำกิจกรรมหรือแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 ประเมินผล โดยประเมินว่ากิจกรรมหรือโครงงานนั้นบรรลุผล
ตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ มีข้อบกพร่อง และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร
รูปแบบการจัดทำโครงงาน มีองค์ประกอบ ประกอบด้วย
1) ชื่อโครงงาน 2) คณะทำงาน 3) ที่ปรึกษา 4) แนวคิด / ที่มา /
ความสำคัญ 5) วัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมาย 6) ขั้นตอนการดำเนินงาน / วิธีการศึกษา
7) แหล่ง / สถานศึกษา (ถ้ามี) 8) วัสดุ อุปกรณ์ 9) งบประมาณ 10) ระยะเวลาการ
ดำเนินงาน และ 11) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การประเมินผลการทำโครงงาน
ผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินการทำโครงงานของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม โดยใช้แบบ
ประเมินแผนผังโครงงานพิจารณาตามรายละเอียดดังนี้
                               1.  ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด
3. สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม
4. วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
5. แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้
6. วิธีการนำเสนอชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา
3. การสอนแบบกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม
การสอนรูปแบบนี้ สามารถกล่าวได้ว่าเป็นรากฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน
ตามแนวคิดการเสริมสร้างความรู้ เป็นรูปแบบที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการเหมาะสม
สำหรับการจัดการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีการค้นหาคำตอบจากการลงมือปฏิบัติกิจกรรม
ขั้นตอนการจัดการสอน
ขั้นที่ 1 ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์ที่ชวนให้งุนงงสงสัย ต้อง
เป็นปัญหาหรือสถานการณ์ที่เหมาะสมกับวัย และความสนใจของผู้เรียน เพื่อท้าทายความคิด
และความใฝ่รู้ของผู้เรียน
ขั้นที่ 2 ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาหรือสถานการณ์ ผู้สอน
ต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และพยายามกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้ง
หรือความแตกต่างทางความคิด
ขั้นที่ 3 ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนในการแสวงหาความรู้ เมื่อ
แต่ละกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ผู้สอนจัดให้สมาชิกแต่ละกลุ่มวางแผนว่า จะแสวงหา
ความรู้อะไร พิสูจน์อะไร ตั้งสมมุติฐานอะไร จะไปแสวงหาที่ไหน ใช้เครื่องมืออะไร
จะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้อย่างไร สมาชิกแต่ละคนจะช่วยกันอย่างไร ใช้เวลาเท่าไร เป็นการฝึก
ให้ผู้เรียนมีการวางแผนเพื่อการสืบสอบ ใช้ทักษะกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ทักษะ
กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ผู้สอนคอยอำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำกับผู้เรียนในการ
วางแผน
ขั้นที่ 4 ให้ผู้เรียนดำเนินการแสวงหาความรู้ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มดำเนินการ
แสวงหาความรู้ตามแผนที่กำหนด ผู้สอนให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวก และติดตามผล
การดำเนินงาน
ขั้นที่ 5 ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล นำเสนอ และอภิปราย
ผู้สอนสนับสนุน แนะนำการวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลให้แก่ผู้เรียน จากนั้น จัดให้แต่ละกลุ่ม
นำเสนอข้อมูลพร้อมอภิปรายถึงผลการสืบสอบที่ได้รับ และกระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับ
ขั้นที่ 6 ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการสืบเสาะหาคำตอบใน
ประเด็นต่อไป ผู้เรียนเมื่อศึกษาแสวงหาข้อมูลตามขั้นตอนข้างต้น อาจมีประเด็นที่สงสัย
ต้องการศึกษาต่อ ผู้สอนสามารถจัดให้ผู้เรียนศึกษาตามวงจรการเรียนรู้ เริ่มต้นตั้งแต่ ขั้นที่ 1
ใหม่


4. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา
เป็นกระบวนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นกระบวนการ
ขั้นตอนการจัดการสอน
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา เน้นให้ผู้เรียนเห็น เข้าใจปัญหา และ
ขอบเขตของปัญหา
ขั้นที่ 2 ขั้นตัดสินใจ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนร่วมกันกำหนดวิธีการ
ในการค้นคว้าหาข้อมูล
ขั้นที่ 3 ขั้นเก็บข้อมูล ผู้เรียนลงมือค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ 4 ขั้นตั้งสมมุติฐาน เป็นขั้นที่ผู้เรียนวางแนวทางที่จะหา
คำตอบของปัญหา ผู้เรียนต้องตั้งสมมติฐานว่า ปัญหานั้นจะมีสาเหตุจากอะไร หรือวิธีการ
แก้ปัญหานั้น น่าจะแก้ไขได้ด้วยวิธีใด
ขั้นที่ 5 ขั้นพิสูจน์ ผู้เรียนนำเอาสมมุติฐานที่ตั้งไว้หลายๆอย่าง
มาทดลองพิสูจน์ ตรวจสอบ
ขั้นที่ 6 ขั้นวิเคราะห์ เป็นขั้นตอนเพื่อพิจารณาดูว่า ข้อมูลใด
มีหลักเกณฑ์หรือมีหลักฐานสนับสนุนมาก
ขั้นที่ 7 สรุปผล ผู้เรียนสามารถสรุปหลักการ หรือสามารถ
ประเมินผลวิธีการแก้ปัญหา หรือเลือกวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานั้นๆ

ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทางไกล สามารถศึกษารูปแบบการสอนเพิ่มเติมได้ที่
http://www.moe.go.th/wijai/profile1.html
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=11&group_id=50&article_id=910
http://www.tungsong.com/tsg_muni/School_4/manage_learn.html
http://freehost19.websamba.com/sobbanju/edu/teaching5.htm
http://freehost19.websamba.com/sobbanju/edu/teaching4.htm
               5.  การสอนโดยการใช้สื่อการเรียนรู้
การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ/หรือพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ของผู้เรียนนั้น นอกจากการใช้รูปแบบการเรียนรู้เป็นเครื่องมือการดำเนินการแล้ว การใช้สื่อ
การเรียนรู้ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถและช่วยให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นได้
เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ มีวีการหลายแบบ ได้แก่
1. แบบฝึกทักษะ * ชุดครูช่วยสอน
2. บทเรียนสำเร็จรูป * เอกสารประกอบการสอน
3. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน * ชุดเสริมความรู้/ประสบการณ์
4. หนังสือแบบเรียน * ชุดเสริมสร้างลักษณะนิสัย
5. ชุดเรียนรู้ด้วยตนเอง * คู่มือการทำงานกลุ่ม
6. แบบฝึกทักษะต่างๆ * คู่มือการเรียนรู้
7. ชุดการเรียนรู้ทางไกล * คู่มือการพัฒนาตนเอง
8. ชุดสื่อผสม * เกมส์ / บทละคร / บทเพลง
9. ชุดสื่อ VCD , CD , VDO
                     10.  หนังสือ / แบบเรียนเพิ่มเติม         
          
          
เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ. คู่มือการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษา : การสอนที่เน้นนักเรียน
เป็นสำคัญ. ม.ป.พ., 2539.
--------------. วิจัยเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2542.
กาญจนา วัฒานยุ. การวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. นครปฐม : สถาบัน
พัฒนาผู้บริหารการศึกษา, 2544.
เฉลิมพล แก้วสามสี. การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://www.geocities.com/jackypoll2/working.html . 6 มีนาคม 2549
เบญจนี บุญอบ. การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการเสริมสร้างความรู้ เพื่อ
เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง 
การปลูกผักสวนครัวโดยใช้เทคนิคชีวภาพ โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด. ปริญญานิพนธ์
ค.ม. (หลักสูตรและสอน). จันทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี, 2547.
ผ่องพรรณ ตรับมงคลกูล. การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543.
มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี. การวิจัยในชั้นเรียน (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
www.kru.ac.th/commit/education/e-training/e-training.html. 8 มีนาคม 2549.

          
 
          
          
 คำสั่ง  เมื่อทำการศึกษาสาระตามใบความรู้ที่ 5 เสร็จเรียบร้อยแล้ว  ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ทางไกลทำกิจกรรมตามแบบฝึกปฏิบัติที่ 5 เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ส่งผลการปฏิบัติกิจกรรม
ได้ที่ [email protected] ภายใน ในที่ 17 พฤษภาคม 2548
  
          





                                       
















คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27446เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2006 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท