พฤติกรรมสุขภาพ


พฤติกรรมสุขภาพ

พฤติกรรมสุขภาพ

มาจากคำว่า พฤติกรรม + สุขภาพ หมายถึง การกระทำต่างๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลต่อสุขภาพ

1.  สุขภาพ (Health)

ความหมายของคำ สุขภาพ(Health)

                สุขภาพ ตามนิยามของWHOหมายถึง สภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย และจิตใจ รวมถึงความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี ทั้งนี้ไม่ใช่หมายเพียงแต่การปราศจากโรคหรือปราศจากทุพพลภาพเท่านั้น มีรายละเอียด ดังนี้

                1.1.1 สุขภาพทางกาย (Physical Health )หมายถึง สภาวะของความสมบูรณ์ของร่างกาย

                1.1.2 สุขภาพทางจิต (Mental Health) หมายถึง สภาพความสมดุลในทุกด้านของชีวิตทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาต่างๆ

                1.1.3 สุขภาพทางสังคม หมายถึง ความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี

2.  ความสุขสมบูรณ์ (Wellness)   

ความหมายของคำว่า ความสุขสมบูรณ์ (Wellness)    

                หมายถึง สภาวะของความสุข ทั้งทางร่างกาย (Physical)  อารมณ์ (Emotional)  สติปัญญา (Intellectual)  และสังคม(Social)

3. พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior)

3.1 ความหมายของพฤติกรรมสุขภาพ

                หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพซึ่งเกิดขึ้นทั้งภายใน และภายนอก พฤติกรรมสุขภาพจะรวมถึงการปฏิบัติที่สังเกตได้และการเปลี่ยนแปลงในที่สังเกตไม่ได้แต่สามารถวัดได้ว่าเกิดขึ้น เป็นการปฏิบัติหรือการแสดงออกของบุคคลในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำในสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพ โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติตนทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม

3.2 ประเภทของพฤติกรรมสุขภาพ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.พฤติกรรมการป้องกันโรค หมายถึง พฤติกรรมที่ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

2.พฤติกรรมเมื่อเจ็บป่วย เป็นการปฏิบัติเมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติหรือเจ็บป่วย ได้แก่ การเพิกเฉย การถามเพื่อนฝูงเกี่ยวกับอาการของตน การแสวงหาการรักษาพยาบาล การหลบหนีจากสังคม ฯลฯ

3.พฤติกรรมบทบาทของการเจ็บป่วย เป็นการปฏิบัติตัวเมื่อทราบผลการวินิจฉัยโรคแล้ว เช่น รับประทานยาตามแพทย์สั่ง เลิกสูบบุหรี่ ฯลฯ

4. ตัวกำหนดพฤติกรรมสุขภาพ ( Determinants of Health)

4.1 แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพสุขภาพ พฤติกรรมมนุษย์อาจถูกกำหนดโดยหลายปัจจัยด้วยกัน คือ

4.1.1 ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม

4.1.2 ปัจจัยทางชีววิทยา

4.1.3 ปัจจัยทางศาสนา

4.1.4 ปัจจัยทางมนุษยชาติในแง่ของความเป็นมนุษย์

4.2 ปัจจัย/ตัวกำหนดพฤติกรรมสุขภาพ

4.2.1 วิถีการดำรงชีวิตหรือครรลองชีวิต

4.2.2 สภาพความเป็นอยู่

5. พฤติกรรมเสี่ยง (Risk Behavior)

                หมายถึง รูปแบบจำเพาะของพฤติกรรมซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความสัมพันธ์กับการเพิ่มโอกาสที่จะป่วยจากโรคบางชนิดหรือการเสื่อมสุขภาพมากขึ้น

6. เป้าหมายสุขภาพ (Health Target)

                เป้าหมายสุขภาพเน้นที่การเปลี่ยนแปลง (โดยใช้ตัวชี้วัดสุขภาพเป็นเกณฑ์)ที่จะเกิดแก่ประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะในระดับที่มีความเป็นไปได้ ในช่วงเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้

                6.1 คุณภาพชีวิต  (Quality of Life) เป็นเป้าหมายของการดำเนินงานสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

คุณภาพชีวิต หมายถึง การดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ อีกทั้งยังทำประโยชน์ให้กับตนเอง สังคมและประเทศชาติด้วย คุณภาพชีวิตเป็นเครื่องชีวัดความเจริญก้าวหน้าของมิติทางด้านประชากร สังคม สุขภาพ จิตวิญญาณ สิ่งแวดล้อม และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ เป็นเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาประชากรของประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่า คำว่า สุขภาพกับคุณภาพชีวิตนั้นมีความสัมพันธ์อย่างมาก นั่นคือ มนุษย์ทุกคนต้องการที่จะมีชีวิตที่มีคุณภาพในทุกๆด้าน ซึ่งการที่มนุษย์เราจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้นจำต้องมีสุขภาพที่ดีประกอบด้วยเสมอ ซึ่งการมีสุขภาพดี ก็จะต้องครอบคลุมทั้งในด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ ไปพร้อมๆกัน การมีสุขภาพดีเพียงด้านหนึ่งด้านใด ก็ไม่สามารถที่จะทำให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสมบูรณ์ได้

6.2 สุขภาพดีถ้วนหน้า (Health for all) หมายถึง การที่พลโลกทุกคนบรรลุถึงสถานะสุขภาพในระดับที่เอื้อให้ใช้ชีวิตที่มีประโยชน์ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาสาธารณสุขที่ให้โดยWHO มาเป็นเวลาเกือบ 2 ทศวรรษ ถึงแม้แต่ละประเทศจะตีความแตกต่างกันตามลักษณะจำเพาะทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่สุขภาพดีถ้วนหน้าก็เป็นหลักชัยอันพึงปรารถนาตามแนวคิดเสมอภาคทางสุขภาพ

คำสำคัญ (Tags): #พฤติกรรมสุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 273962เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ดีมากเลยคะ ทำให้ได้รับความรู้เยอะเลย

เถพะรถภะถะภัถภะรุ้ถ่

ขอบคุณครับ

ได้ความรู้อีกมากมายเลยยย

โครงการ w.a.s.h. ของโพรเทคส์ 1 Like = 1บาท สำหรับสร้างอ่างล้างมือให้โรงเรียน ดีมากๆ ช่วยกันคลิกหน่อยค่ะ

http://www.facebook.com/nuttc#!/ProtexThailand?sk=app_125060207565984

 

ใครเปนคนกล่าวอะค่ะ คือแพนจะเอาไปทำวิจัยอะค่ะ ช่วยหน่อยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ...ได้ความรู้มากเลยค่ะ

เสริมศักดิ์ ธุรานุช

ขอแหล่งอ้างอิงด้วยครับ.......[email protected]


ดีมากเลยค่ะมีงานส่งครู55+

ขออ้างอิงได้มั้ยคะ พอดีจะทำรายงานส่งอาจารย์ค่ะ

ขอเอกสารอ้างอิงหน่อยครับ

ขอเอกสารอ้างอิงหน่อยครับ ขอบคุณครับ

[email protected]

ขอเอกสารอ้างอิงหน่อยครับ

ขอเอกสารอ้างอิงหน่อยครับ ขอบคุณครับ

[email protected]

ขอแหล่งอ้างอิงด้วยได้มั้ยคะ จะไปทำวิจัยค่ะ

ขอแหล่งอ้างอิงทำวิจัยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท