ผลงานวิจัยของรองชุมพล ศรีสังข์


คุณภาพการประเมินระดับชาติ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 3

       ผลการประเมินคุณภาพระดับชาติ  กลุ่มการวัดผลประเมินผลวิธีบูรณาการกับกลุ่มการวัดผลประเมินผลวิธีปกติ  โดยจำแนกเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอบ  คือ  ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษาอังกฤษ  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา  2548 โดย         รองชุมพล  ศรีสังข์  รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 3  พบว่า

     ผลการประเมินคุณภาพระดับชาติของกลุ่มการวัดผลและประเมินผลวิธีบูรณาการ  ทุกกลุ่มค่า    เฉลี่ย  42.30
     เมื่อจำแนกเป็นรายกลุ่ม  พบว่า  

     กลุ่มสาระภาษาไทย ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ49.84 

     กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ44.09 

     กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ40.62

    และกลุ่มสาระภาษาอังกฤษได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ34.63

     กลุ่มสาระภาษาไทยได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด   

    กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ ได้เฉลี่ยต่ำสุด   

    ส่วนกลุ่มการวัดผลและประเมินผลวิธีปกติ   พบว่า

    ภาพรวมค่าเฉลี่ย 49.11เมื่อจำแนกเป็นรายกลุ่มพบว่า

    กลุ่มสาระภาษาไทย ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ52.86

    กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ52.76 

    กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ43.39

    และกลุ่มสาระภาษาอังกฤษได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ47.41

    กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด   

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27395เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2006 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

  

   ขอให้บอกเหตผลว่าทำว่าทำไมผลการวิจัยออกมาอย่างนี้และเป็นเพระเหตุผลใด 

                                   ขอบคุณครับ

การที่ผลการประเมินระดับชาติของกลุ่มใช้วิธีการวัดผลประเมินผลบูรณาการกับกลุ่มการวัดผลประเมินผลวิธีปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  น่าจะมาจากสาเหตุ

   1.การจัดการเรียนการสอนของครูที่แตกต่างกัน   กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด  การกำหนดจุดหมาย  สาระกิจกรรม  แหล่งเรียนรู้   สื่อการเรียนและการวัดผลประเมินผล  น่าจะมาจากสาเหตุแรงจูงในของนักเรียนที่แตกต่าง  ซึ่ง สุจินดา  จันทวรรณ์ (2529 : บทคัดย่อ )  พบว่าปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปัจจัยคัดสรรที่มีมีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์มในวิชาภาษาไทยมากที่สุดคือ  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียน การได้รับบริการสื่อการเรียนการสอนของครูผู้สอนภาษาไทย  เช่นเดียวกันกับ(  ฉัตรศิริ  ปิยะพิมลสิทธิ์ . 2548: 8 ) สิ่งร้าวย่อมจะมีผลต่อการวัดให้พฤติกรรมนั้นแสดงออกมา ซึ่งเป็นธรรมชาติของการวัดผลการศึกษาอย่างหนึ่ง 

    2.น่าจะมาจากสาเหตุการใช้สื่อการเรียนการสอนที่แตกต่างกันโรงเรียนที่มีความพร้อมด้านสื่อการเรียนรู้และได้ใช้สื่อให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนแล้วคุณภาพการศึกษาของนักเรียนน่าดีขึ้นด้วย   และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง  สถานศึกษา
    3.น่าจะมาจากความสมบูรณ์ตามแนวทางการจัดการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  ( ฉบับที่ 2 )  พ.ศ. 2545  ที่กำหนดที่จะดำเนินการปฏิรูปการศึกษา  9  ได้แก่   ความมุ่งหมายและหลักการ    สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา    ระบบการศึกษา    แนวการจัดการศึกษา     การบริหารและการจัดการศึกษา  การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ   มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา     ครู  คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา   ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา    และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  ซึ่งสถานศึกษาได้ดำเนินการปฏิรูปการได้แตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยที่ปฏิรูปที่แตกต่างกัน 

     สรุปน่าจะมาจากสาเหตุ การความรู้ทักษะในการจัดการเรียนการสอน  การใช้สื่อการเรียนการสอน   แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียน  และความก้าวหน้าของสถานศึกษาที่ปฏิรูปการศึกษาได้แตกต่างกัน  จึงทำให้ผลการประเมินคุณภาพระดับชาติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เมื่อวันที่ 8 พค.49 ได้มีการพูดคุยถึงเรื่องการวิจัยทีเสนอไว้ใน blog มีคนสังสัยว่าการประเมินแบบบูรณาการหมายถึงอะไรในเรื่องผลการวิจัยนี้ ขอเรียนให้ผู้ที่สงสัยว่าการประเมินแบบบูรณาการที่ให้คำจัดความของการวิจัย หมายถึงการนำผลการประเมินระดับชาติไปใช้เป็นผลการสอบประเมินปลายปี เพื่อกำหนดเกรด ซึ่งจะทำให้การประเมินครั้งเดียวสามารถนำไปใช้ได้ทั้งการประเมินระดับชาติและการประเมินปลายปี เป็นการบูรณาการการประเมินตามความหมายของการวิจัยนี้ ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท